องค์บาก 2 (อังกฤษ: Ong Bak 2) เป็นภาพยนตร์ศิลปะการต่อสู้ ที่นำแสดงโดย ทัชชกร ยีรัมย์ เป็นภาพยนตร์ภาคต่อของ องค์บาก ของสหมงคลฟิล์ม ซึ่งกำกับโดยปรัชญา ปิ่นแก้ว ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในตลาดต่างประเทศ
ภาพยนตร์กำกับโดย ทัชชกร ยีรัมย์ ร่วมกับผู้กำกับและการสนับสนุนของ พันนา ฤทธิไกร โดยมีการนำศิลปะการต่อสู้ของไทย มาผสมผสานกับศิลปะการแสดงโขน เริ่มถ่ายทำตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 มีกำหนดออกฉายช่วงต้นปี พ.ศ. 2551[1] แต่ภาพยนตร์ประสบปัญหาเนื่องจากเปลี่ยนผู้ควบคุมงานซึ่งเดิมคือ แวว ยีรัมย์ และ ธรัช ศุภโชคไพศาล ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งไอยราฟิล์มออก จึงทำให้เกิดปัญหาของการควบคุมงาน และปัญหาความล่าช้าในการถ่ายทำ และใช้งบประมาณบานปลาย จนต้องหยุดการถ่ายทำ และเกิดความขัดแย้งระหว่าง จาพนม ยีรัมย์ กับ ปรัชญา ปิ่นแก้ว และบริษัท สหมงคลฟิล์ม จนต้องมีการเจรจาไกล่เกลี่ยกันหลายครั้ง
ได้เปิดตัวในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และมีกำหนดการฉายอย่างเป็นทางการ ในประเทศไทย วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ทำรายได้รวมในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 97.44 ล้านบาท[2] วีซีดีและดีวีดีวางจำหน่าย วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552
เรื่องย่อ
เหตุการณ์เกิดขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 "เทียน" (ทัชชกร ยีรัมย์) บุรุษผู้ถือกำเนิดมาพร้อมกับคำทำนายที่ว่า "จะเติบโตกาย ใต้วังวนแห่งคมดาบและกลิ่นคาวเลือด" เข่าเป็นหอก ศอกเป็นดาบ ทุกส่วนของร่างกายใช้เป็นสรรพาวุธสยบคู่ต่อสู้ให้พ่ายแพ้ไร้ข้อต่อรอง โดยการสอนของ "เชอนัง" (สรพงศ์ ชาตรี) หัวหน้ากองโจรผาปีกครุฑผู้ยิ่งใหญ่ที่ช่วยเทียนไว้จากตลาดการค้าทาส และสอนทุกศาสตร์ให้โดยหวังให้สืบทอดตำแหน่งหัวหน้ากองโจรต่อไป แต่สิ่งเดียวที่เทียนต้องการ คือการเปิดสังเวียนเลือดล้างเลือด ล้างแค้นให้ผู้เป็นพ่อ "ออกญาสีหเดโช" (สันติสุข พรหมศิริ) ที่ต้องตายอย่างทุกข์ทรมาณโดยฝีมือของ "พระยาราชเสนา" (ศรัณยู วงษ์กระจ่าง)
นักแสดง
รางวัลในประเทศไทย
ตารางสาขารางวัลที่ได้เข้าชิงรางวัล สีเขียวคือได้รับรางวัล สีแดงคือได้รับการเสนอชื่อแต่พลาดรางวัลไป
ผู้มอบรางวัล
|
สาขารางวัล
|
ผล
|
รางวัลสุพรรณหงส์
|
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม
(ทัชชกร ยีรัมย์)
|
เสนอชื่อเข้าชิง
|
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
(ณัฐดนัย กองทอง)
|
เสนอชื่อเข้าชิง
|
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
(สรพงษ์ ชาตรี)
|
ได้รับรางวัล
|
ลำดับภาพยอดเยี่ยม
(ศราวุธ นะคะจัด), (นนทกร ทวีสุข)
|
เสนอชื่อเข้าชิง
|
บันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม
(สุนิตย์ อัศวินิกุล)
|
เสนอชื่อเข้าชิง
|
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม
(เอก เอี่ยมชื่น), (บรรพต งามขำ), (สุประสิทธิ์ ภูตะคาม)
|
เสนอชื่อเข้าชิง
|
ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม
(ชาติชาย ไชยยนต์)
|
เสนอชื่อเข้าชิง
|
แต่งหน้ายอดเยี่ยม
(ภูษณิศา กิติเกรียงไกร)
|
เสนอชื่อเข้าชิง
|
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง
|
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
(สรพงษ์ ชาตรี)
|
ได้รับรางวัล
|
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม
(เอก เอี่ยมชื่น), (บรรพต งามขำ), (สุประสิทธิ์ ภูตะคาม)
|
เสนอชื่อเข้าชิง
|
ลำดับภาพยอดเยี่ยม
(ศราวุธ นะคะจัด), (นนทกร ทวีสุข)
|
เสนอชื่อเข้าชิง
|
คมชัดลึก อวอร์ด
|
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
(สรพงษ์ ชาตรี)
|
ได้รับรางวัล
|
เฉลิมไทยอวอร์ด
|
นักแสดงชายในบทนำจากภาพยนตรไทยแห่งปี
(ทัชชกร ยีรัมย์)
|
ได้รับรางวัล
|
ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์
|
ภาพยนตร์แห่งปี
|
ได้รับรางวัล
|
ท็อปอวอร์ด
|
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
(ทัชชกร ยีรัมย์), (พันนา ฤทธิไกร)
|
เสนอชื่อเข้าชิง
|
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
|
ได้รับรางวัล
|
ดารานำชายยอดเยี่ยม
(ทัชชกร ยีรัมย์)
|
เสนอชื่อเข้าชิง
|
สตาร์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ อวอร์ดส์
|
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
(สรพงษ์ ชาตรี)
|
ได้รับรางวัล
|
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
กำกับภาพยนตร์ | | |
---|
อำนวยการสร้าง | |
---|
บทภาพยนตร์ | |
---|
|
---|
ภาพยนตร์ | |
---|
ตัวแสดงแทน |
- Mortal Kombat 2 : Annihilation (พ.ศ. 2540)
- แก๊งค์กระแทกก๊วนส์ เก๋ากวนเมือง (พ.ศ. 2540)
- อินทรีแดง (พ.ศ. 2540)
- CC-J แสบฟ้าแลบ (พ.ศ. 2541)
|
---|
กำกับภาพยนตร์ | |
---|
เพลง | |
---|
เกม | |
---|
บุคคลเกี่ยวข้อง | |
---|