ต้มยำกุ้ง (อังกฤษ: Tom-Yum-Goong) เป็นภาพยนตร์ศิลปะการต่อสู้ ที่นำแสดงโดย ทัชชกร ยีรัมย์ หรือ จา พนม ผลงานการกำกับโดย ปรัชญา ปิ่นแก้ว ออกฉายในวันที่ 11 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2548[1] ในประเทศไทย ภาพยนตร์ทำรายได้ในประเทศไทย 183.35 ล้านบาท (เฉพาะ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่)[2]
เรื่องย่อ
การเดินทางข้ามโลกของ “ขาม” (จา พนม ยีรัมย์) เด็กหนุ่มบ้านป่าที่ชีวิตต้องพลิกผันโดยเงื้อมมือของผู้มีอิทธิพลระดับประเทศที่ลักพาช้างพลายสองพ่อลูก ซึ่งเด็กหนุ่มและ “พ่อของขาม” (โสรธร รุ่งเรือง) เขารักดั่งชีวิต และมีความมุ่งหมายอันสูงสุดที่จะมอบเป็นคชบาทแด่ในหลวง ไปขาย ณ เครือรัฐออสเตรเลีย ทางเดียวที่จะช่วยเหลือและรักษาชีวิตของช้างอันเป็นที่รักของเขาได้ นั่นก็คือ การบุกตะลุยถึงถิ่นเสือ โดยการเดินทางข้ามโลก
เรื่องไม่ง่ายอย่างใจคิด แม้เขาจะได้รับความช่วยเหลือจาก “จ่ามาร์ค” (หม่ำ จ๊กมก) นายตำรวจไทยและ “ปลา” (บงกช คงมาลัย) สาวไทยที่ถูกหลอกมาขายตัวในนครซิดนีย์ ก็ตาม แต่ที่นั่น เขากลับต้องไปพัวพันกับการไล่ล่าของแก๊งมาเฟียที่นำโดย “มาดามโรส” (จิน ซิง) ที่มีลูกสมุนต่างชาติที่เต็มไปด้วยฝีมือทางการต่อสู้อย่าง “จอห์นนี่” (จอห์นนี่ เหงียน) และ “ทีเค” (นาธาน โจนส์) พร้อมลูกสมุนย่อยที่มีฝีไม้ลายมือทางการต่อสู้เหลือรับอย่าง “คาโปเอร่า” (ลาธีฟ คราวเดอร์) และ “วูซู” (จอน ฟู) อย่างไม่ได้ตั้งใจ
ณ วินาทีนี้ การต่อสู้ข้ามชาติเพื่อเอาชีวิตรอดของเด็กหนุ่มและเพื่อนพ้อง ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว เพื่อตามหาและช่วยเหลือ พ่อใหญ่ และ ขอน ช้างพ่อลูก ที่เปรียบได้กับญาติพี่น้องของเขา นำไปสู่บททดสอบและการต่อสู้ครั้งสำคัญที่สุดในชีวิตของเขาให้โลกได้ล่วงรู้ถึง อานุภาพของ "ไม้มวยไทยโบราณ" ที่หนักหน่วง รุนแรง และยังไม่เคยได้รับการเปิดเผยมาก่อน โดยเฉพาะ "ตำนานมวยคชสาร" [3]
นักแสดง
ภาพยนตร์ ต้มยำกุ้ง
|
รับบทเป็น |
นักแสดงนำโดย
|
ขาม
|
ทัชชกร ยีรัมย์
|
จ่ามาร์ค
|
เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา
|
ปลา
|
บงกช คงมาลัย
|
มาดามโรส
|
จิน ซิง
|
ทีเค
|
นาธาน โจนส์
|
จอห์นนี่
|
จอห์นนี่ เหงียน
|
วินเซนต์
|
เดเมียน เด มอนเตมาส
|
ริค
|
เดวิด อัศวนนท์
|
กุ้ง
|
สิริลภัส กองตระการ
|
นักสู้คาโปเอร่า
|
ลาธีฟ คราวเดอร์
|
นักสู้วูซู
|
จอน ฟู
|
ซินแส
|
วินัย พูนเพิ่มผลสิริ
|
ตุ๋ย
|
ชลทิศ แหนผัน
|
จิมมี่
|
แพนด้า ลิคูดิส
|
ขาม (วัยเด็ก)
|
ณัฐดนัย กองทอง
|
รับบทเป็น |
นักแสดงรับเชิญ
|
พ่อของขาม
|
โสรธร รุ่งเรือง
|
ลุงของมาดามโรส
|
อาเม้ง ป.ปลา
|
เสี่ยสุเทพ
|
สุตนัย บุณยเกตุ
|
สุทิน
|
ณภัทร ภูริ
|
สุพจน์
|
สุรศักดิ์ ชัยอรรถ
|
ลูกน้องเสี่ยสุเทพ
|
สุรชา แย้มศรี
|
เพื่อนของเสี่ยสุเทพ
|
ฉลองศักดิ์ ศิริมหาศาล
|
เสี่ยที่นอนครอบแก้ว
|
นิพนธ์ ชัยศิริกุล
|
สาวครอบแก้ว
|
จินตนา อารมณ์เย็น
|
คนขายกระดิ่งคล้องช้าง
|
ทองดี ยีรัมย์
|
หญิงพักข้างห้องปลา
|
ธนาภา ชีพนุรัตน์
|
หญิงเดินผ่านที่ขามกลางถนน
|
ภัทราริน ปัญญานุตธรรม
|
วิทยา
|
วัชรชัย พานิชสุข
|
สมศักดิ์
|
วรรณกิตย์ ศิริพุฒ
|
รางวัลในประเทศไทย
ตารางสาขารางวัลที่ได้เข้าชิงรางวัล สีเขียวคือได้รับรางวัล สีแดงคือได้รับการเสนอชื่อแต่พลาดรางวัลไป
ผู้มอบรางวัล
|
สาขารางวัล
|
ผล
|
รางวัลสุพรรณหงส์
|
สุพรรณหงส์เกียรติยศ
(ทัชชกร ยีรัมย์), (ปรัชญา ปิ่นแก้ว)
|
ได้รับรางวัล
|
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง
|
ผู้แสดงประกอบชายยอดเยี่ยม
(เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา)
|
เสนอชื่อเข้าชิง
|
ภาพยนตร์ที่มีรายได้สูงสุด
|
ได้รับรางวัล
|
เกี่ยวกับภาพยนตร์
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
กำกับภาพยนตร์ | | |
---|
อำนวยการสร้าง | |
---|
บทภาพยนตร์ | |
---|
|
---|
ภาพยนตร์ | |
---|
ตัวแสดงแทน |
- Mortal Kombat 2 : Annihilation (พ.ศ. 2540)
- แก๊งค์กระแทกก๊วนส์ เก๋ากวนเมือง (พ.ศ. 2540)
- อินทรีแดง (พ.ศ. 2540)
- CC-J แสบฟ้าแลบ (พ.ศ. 2541)
|
---|
กำกับภาพยนตร์ | |
---|
เพลง | |
---|
เกม | |
---|
บุคคลเกี่ยวข้อง | |
---|