หม่อมราชวงศ์บุตรี วีระไวทยะ


บุตรี วีระไวทยะ

หม่อมราชวงศ์บุตรี วีระไวทยะ (ที่สามจากซ้าย)
เกิดหม่อมราชวงศ์บุตรี กฤดากร
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 (82 ปี)
ตำบลคลองตัน จังหวัดพระนคร
คู่สมรสมีชัย วีระไวทยะ
บุตรสุจิมา แสงชัยวุฒิกุล
บิดามารดาหม่อมเจ้าชิดชนก กฤดากร
หม่อมหลวงต่อ ชุมสาย

ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ (นามสกุลเดิม กฤดากร; เกิด 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485) เป็นรองอธิบดีกรมราชเลขานุการในพระองค์ เจ้าหน้าที่ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ อดีตรองราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ อดีตคุณข้าหลวงในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ผู้บริหารงานในพระองค์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี [1]

ประวัติ

หม่อมราชวงศ์บุตรีเกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485[2][3] ณ บ้านพร้อมพงศ์ ตำบลคลองตัน จังหวัดพระนคร เป็นธิดาคนเดียวของพลโท หม่อมเจ้าชิดชนก กฤดากร และหม่อมหลวงต่อ ชุมสาย

ในวัยเยาว์หม่อมราชวงศ์บุตรี ได้รับการส่งตัวไปอยู่ใน ถวายตัวเป็นข้าหลวงรุ่นเยาว์ในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในขณะประทับอยู่ที่เมืองไบรตัน ประเทศอังกฤษ ซึ่งหม่อมหลวงต่อ ชุมสาย มารดาของท่านก็เป็นข้าหลวงในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ซึ่งพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ก็ทรงชุบเลี้ยงและให้ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนชั้นดีในประเทศอังกฤษ โดยบรรดาข้าหลวงรุ่นเยาว์นี้ จะมีหน้าที่เป็นพระสหายของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในรัชกาลที่ 6 ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชกระแสทูลชวนให้พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการถาวร หม่อมราชวงศ์บุตรี ได้ทูลขอพระราชาทานพระอนุญาตจากพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ขอศึกษาต่อที่อังกฤษ ซึ่งพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ก็พระราชทานพระอนุญาตตามนั้น

เมื่อกลับเมืองไทย หม่อมราชวงศ์บุตรี วีระไวทยะ ได้กลับมาถวายงานรับใช้ใต้ฝ่าพระบาทพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี เรื่อยมาจนพระนางเจ้าสุวัทนาฯ สิ้นพระชนม์ในปี 2528 จึงถวายงานรับใช้สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ต่อมา ท่านเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะองคมนตรี และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้เป็นผู้บริหารงานในพระองค์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ต่อจากคุณหญิงสัตยวดี จารุดุล พระขนิษฐาในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี อดีตรองราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ

ครอบครัว

หม่อมราชวงศ์บุตรีสมรสกับมีชัย วีระไวทยะ[4] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน มีบุตรสาวคนเดียว คือสุจิมา แสงชัยวุฒิกุล

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

  1. ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ อดีตรองราชเลขาธิการ
  2. อาริยา สินธุจริวัตร บุนนาค และทองเจือ เพียรสถาพร. โครงการกุลสตรีวังหลัง-วัฒนาศึกษา : เพชรเม็ดงาม 130 ปี กุลสตรีวังหลัง-วัฒนาวิทยาลัย พ.ศ. 2417-2547. กรุงเทพฯ : โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย, 2551. 831 หน้า. หน้า 287. ISBN 978-974-6192-02-6
  3. สุวิทย์ ไพทยวัฒน์. "ประวัติหม่อมราชวงศ์บุตรี วีระไวทยะ", พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จากข้อมูลประวัติศาสตร์บอกเล่า. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2538. 204 หน้า. หน้า 99. ISBN 978-974-6123-66-2
  4. ท่านผู้หญิง (ม.ร.ว.) บุตรี (หนูชิด) วีระไวทยะ (กฤดากร)[ลิงก์เสีย]
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๕, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๘๖, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษและเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๐, ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๕๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๓๗, ๑๔ มิถุนายน ๒๕๒๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๔, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๗, ๗ มีนาคม ๒๕๔๖
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๔, ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!