สินธู ศรสงคราม (1 มกราคม เกิด พ.ศ. 2482) เป็นอดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงแบร์น นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และรองประธาน ห้างหุ้นส่วนจำกัด รัจนาการ (2530) และเป็นชามาดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ประวัติ
สินธู ศรสงคราม เป็นบุตรของเรืออากาศเอก หลวงวุฒิราษฎร์รักษา (วุฒิ ศรสงคราม) กับประยงคุ์ วุฒิราษฎร์รักษา[ต้องการอ้างอิง] เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2482
สินธูสมรสกับท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม (สกุลเดิม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กับพันเอก อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 โดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงประกอบพิธีสมรสพระราชทาน และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลี้ยง เพื่อประสาทพรแด่คู่สมรส ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล[ต้องการอ้างอิง] ทั้งสองมีบุตรหนึ่งคน คือ ร้อยเอก จิทัศ ศรสงคราม สมรสกับเจสสิก้า มิกเคลิช อดีตนักแสดง[1] มีบุตรหนึ่งคน
สินธูลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2536[2] และประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นรองประธาน ห้างหุ้นส่วนจำกัด รัจนาการ (2530)[3] และเป็นรองกรรมการตลาดบอง มาร์เช่[4] ย่านประชาชื่น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ "พระนัดดาสมเด็จฯกรมหลวงฯวิวาห์เรียบง่ายพอเพียง" (Press release). ไทยรัฐ. 8 มิถุนายน 2553. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2555.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนพ้นจากตำแหน่ง, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๙ สิงหาคม ๒๕๓๖
- ↑ สมเด็จพระเทพรัตน์ เสด็จตลาดบองมาร์เช่ ทรงเปิดร้านภูฟ้า สาขา 6 ไทยรัฐ 19 เม.ย. 49
- ↑ "newswit - บองมาร์เช่ มาร์เก็ตพาร์ค ฉลองครบรอบ 10 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓ เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘, ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า หน้า ๗ เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๗, ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๖ เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๕, ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๕๙ เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔, ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕