วิทย์ รายนานนท์ (เกิด 2 มีนาคม พ.ศ. 2485) อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน และอดีตเอกอัคราชทูตชาวไทย
ประวัติ
นายวิทย์ รายนานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2485 (82 ปี) เป็นบุตร พลเรือเอกถวิล รายนานนท์กับหม่อมหลวงเพ็ญศรี รายนานนท์ สมรสกับคุณหญิงนันทนา รายนานนท์ มีบุตรสาว 2 คนคือ สุวินชา รายนานนท์ และนาขวัญ รายนานนท์
การศึกษา
การทำงาน
นายวิทย์ รายนานนท์ เริ่มรับราชการในตำแหน่ง นายเวร กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2510 จากนั้นในปี พ.ศ. 2514 จึงได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งเลขานุการตรี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และได้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานเรื่อยมา จนได้รับตำแหน่งกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส ในปี พ.ศ. 2531 จากนั้นจึงได้ลาออกจากราชการไปดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง
ในปี พ.ศ. 2534 นายวิทย์ รายนานนท์ ได้รับตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2535[1] ในรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน
ต่อมาในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2535 จึงได้กลับเข้ามารับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมพิธีการทูต กระทรวงการต่างประเทศ และดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงแบร์น ในปี พ.ศ. 2536 และเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน พ.ศ. 2537[2] และได้รับรางวัลครุฑทองคำ ในปี พ.ศ. 2539 ต่อมาปี พ.ศ. 2547 เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ปี พ.ศ. 2549 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2550 เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นหนึ่งในกรรมการ ป.ป.ท. ที่มีความสัมพันธ์กับพรรคประชาธิปัตย์[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๑๐/๒๕๓๕ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายวิทย์ รายนานนท์)
- ↑ ประวัติเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]
- ↑ วิทย์ มือปราบบทุจริต[ลิงก์เสีย]จาก กรุงเทพธุรกิจ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖
|
---|
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2501) |
---|
|
| |
เลขาธิการทำเนียบนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2501 – 2508) |
---|
|
|
เลขาธิการบริหารนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2502 – พ.ศ. 2508) |
---|
|
|
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2516 – ปัจจุบัน) |
---|
|
|
|