วัวโค่ว

วัวโค่ว
ภาพวาดจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 18 แสดงสงครามทางเรือระหว่างโจรสลัด วัวโค่ว กับชาวจีน
ชื่อภาษาจีน
ภาษาจีน倭寇
ชื่อภาษาเกาหลี
ฮันกึล
왜구
ฮันจา
倭寇
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ倭寇
คานะわこう
การถอดเสียง
โรมาจิwakō

วัวโค่ว (จีน: 倭寇; พินอิน: Wōkòu; ญี่ปุ่น: 倭寇; เฮปเบิร์น: Wakō; เกาหลี왜구; ฮันจา倭寇; อาร์อาร์Waegu) แปลว่า "โจรสลัดญี่ปุ่น" เป็นโจรสลัดที่รุกรานพื้นที่ชายฝั่งประเทศจีนและประเทศเกาหลีในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17[1][2] วัวโค่วมาจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวเอเชียตะวันออก ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา และรุกรานแผ่นดินใหญ่จากหมู่เกาะในทะเลญี่ปุ่นและทะเลจีนตะวันออก[3] กิจกรรมของวัวโค่วในเกาหลีเสื่อมถอยลงหลังสนธิสัญญากเยแฮใน ค.ศ. 1443[1] แต่ยังคงปรากฏในจีนสมัยราชวงศ์หมิงและพุ่งขึ้นถึงจุดสูงสุดในการรุกรานของเจียจิ้งวัวโค่วช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 การตอบโต้ของจีนและการปราบปรามโจรสลัดที่เข้มงวดโดยเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นทำให้วัวโค่วหายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 17

ประวัติ

ยุคโจรสลัดของวัวโค่วที่โดดเด่นมี 2 ช่วง วัวโค่วยุคแรกส่วนใหญ่ตั้งค่ายในหมู่เกาะรอบนอกของหมู่เกาะญี่ปุ่นในทะเลญี่ปุ่น ซึ่งต่างจากวัวโค่วในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่ประชากรส่วนใหญ่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่น วัวโค่วยุคแรกนอกจากรุกรานจีนและเกาหลีแล้ว ยังรุกรานญี่ปุ่นด้วย[4]

คำว่าวัวโค่ว (倭寇) ปรากฏการใช้งานครั้งแรกสุดอยู่บนศิลาจารึกควังแกโทที่ประดิษฐานในบริเวณจี๋อาน มณฑลจี๋หลิน ประเทศจีนในปัจจุบัน เพื่อฉลองการแสวงหาประโยชน์ของพระเจ้าควังแกโทมหาราชแห่งโคกูรยอ (ค. 391 – 413) จารึกนี้ระบุว่า "วัวโค่ว" ("หัวขโมยญี่ปุ่น") ข้ามทะเลและถูกพระองค์ปราบจนพ่ายแพ้ใน ค.ศ. 404[5] วัวโค่ว เป็นคำประสมจากศัพท์ภาษาจีนสองคำ คือ วัว (倭) ที่อาจหมายถึงความแคระหรือคำที่ใช้เรียกชาวญี่ปุ่นในเชิงลบ และ โค่ว () "โจร"[6][7]

วัวโค่วยุคแรก

วัวโค่วยุคหลัง

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Wakō Encyclopaedia Britannica
  2. Batten Bruce. "Gateway to Japan" 2006
  3. Kwan-wai So. Japanese piracy in Ming China, during the 16th century. Michigan State University Press, 1975. chapter 2.
  4. Wang Xiangrong, "Periodizing the History of Sino-Japanese Relations" Sino-Japanese Studies v. 2 (1980), 31
  5. Sansom, George (1961). A History of Japan, 1334–1615. Stanford University Press. p. 265. ISBN 978-0804705257.
  6. Prof. Wang Yong, "Realistic and Fantastic Images of 'Dwarf Pirates': The Evolution of Ming Dynasty Perceptions of the Japanese." In Prof. Joshua A. Fogel, ed., Sagacious Monks and Bloodthirsty Warriors: Chinese Views of Japan in the Ming-Qing Period (EastBridge, 2002), 17–41
  7. Prof. Douglas R. Howland. Borders of Chinese Civilization: Geography and History at Empire's End (Duke University Press Books, 1996), p. 22

ข้อมูล

ข้อมูลปฐมภูมิ:

  • Hŭi-gyŏng Song, Shōsuke Murai. Rōshōdō Nihon kōroku : Chōsen shisetsu no mita chūsei Nihon (老松堂日本行錄 : 朝鮮使節の見た中世日本) Iwanami Shoten, Tōkyō, 1987. ISBN 978-4-00-334541-2
  • Zheng Ruohui, Zhouhai Tubian (籌海図編)

ข้อมูลทุติยภูมิ:

Mann, C. C. (2011). 1493: Uncovering the new world Columbus created. Vintage.161-163

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!