ชาวญี่ปุ่น
ชาวญี่ปุ่น ประชากรทั้งหมด ป. 125 ล้านคน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ ประเทศญี่ปุ่น 120.8 ล้านคน[ 1] ชาวญี่ปุ่นพลัดถื่น โดยหลักอาศัยใน :บราซิล 2,000,000[ 2] (2022) สหรัฐ 1,550,875[ 3] (2020) แคนาดา 129,425[ 4] (2021) ฟิลิปปินส์ 120,000[ 5] [ 6] [ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้ ] เปรู 103,182[ 7] (2021) จีน 102,066[ 8] (2022)note ออสเตรเลีย 94,942[ 8] (2022)note เม็กซิโก 86,143[ 9] (2022) ไทย 78,431[ 8] (2022)note อาร์เจนตินา 76,440[ 10] (2020) สหราชอาณาจักร 65,022[ 8] (2022)note เยอรมนี 42,266[ 8] (2022)note เกาหลีใต้ 41,717[ 8] (2022)note ฝรั่งเศส 36,104[ 8] (2022)note สิงคโปร์ 32,743[ 8] (2022)note มาเลเซีย 24,545[ 8] (2022)note เวียดนาม 21,819[ 8] (2022)note ไต้หวัน 20,345[ 8] (2022)note ไมโครนีเชีย 20,000[ 11] [ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้ ] (2018) ภาษา ญี่ปุ่น ศาสนา โดยหลักในเชิงวัฒนธรรมผสมระหว่างชินโต กับพุทธ ส่วนน้อยนับถือคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ[ 12] [ 13] [ 14] กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง ชาวไอนุ · ชาวรีวกีว ^ หมายเหตุ: สำหรับประเทศนี้ นับเฉพาะบุคคลสัญชาติญี่ปุ่น ที่อาศัยในประเทศถาวร แต่ไม่นับรวมผู้ที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น และจำนวนบุคคลที่มีเชื้อสายญี่ปุ่นนั้นไม่เป็นที่ทราบ
ชาวญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น : 日本人 ; โรมาจิ : Nihonjin ) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะญี่ปุ่น [ 15] [ 16] ซึ่งเป็นประชากรร้อยละ 97.4 ของประเทศญี่ปุ่น [ 1] ส่วนทั่วโลกมีผู้มีเชื้อสายญี่ปุ่นประมาณ 125 ล้านคน ทำให้เป็นหนึ่งใน 8 กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุด มีชาวญี่ปุ่นประมาณ 120.8 ล้านคนเป็นพลเมืองญี่ปุ่น[ 1] ผู้ที่มีเชื้อสายญี่ปุ่นอาศัยนอกประเทศญี่ปุ่นประมาณ 4 ล้านคนถูกเรียกเป็น นิกเกจิง (日系人 ? ) [ 17]
ในบางบริบท "ชาวญี่ปุ่น" อาจใช้เพื่ออ้างถึง ชาวยามาโตะ จากญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะในบริบทอื่นๆ อาจรวมถึงกลุ่มอื่นๆที่มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะญี่ปุ่นรวมถึงชาวริวกิว ซึ่งมีความสัมพันธ์กับตระกูลยามาโตะ แต่ก็มักถูกมองว่าแตกต่างและชาวไอนุ [ 18]
ประวัติ
ทฤษฎีเกี่ยวกับต้นกำเนิดชาวญี่ปุ่น
ชาโคกิโดกุ (遮光器土偶) (1,000–400 ปีก่อนคริสตกาล) รูปปั้นอารยธรรมยามาโตะ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียว
หลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่าผู้คนในยุคหินอาศัยอยู่ในหมู่เกาะญี่ปุ่นในยุคหินเก่าเมื่อ 39,000 ถึง 21,000 ปีก่อน[ 19] [ 20] ต่อมาญี่ปุ่นเชื่อมต่อกับแผ่นดินใหญ่เอเชีย ด้วยสะพานบกอย่างน้อยหนึ่งแห่ง และชาวนักล่าสัตว์และรวบรวมอาหาร เร่ร่อนได้ข้ามมายังญี่ปุ่น เมื่อมีการขุดพบเครื่องมือหินเหล็กไฟ และอุปกรณ์กระดูกของยุคนี้ในเกาะญี่ปุ่น[ 21] [ 22]
ในศตวรรษที่ 18 อาราอิ ฮากูเซกิ นักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเสนอแนวคิดว่า เครื่องมือหิน โบราณในญี่ปุ่นถูกทิ้งไว้กลุ่มชนพื้นเมืองจากจีนและเกาหลี (นักวิชาการบางคนเสนอว่าพวกเขาเป็นชาวไอนุหรือชาวตุงกุสิก) ต่อมาฟิลลิพ ฟรันทซ์ ฟ็อน ซีบ็อลท์ ได้โต้แย้งว่าชาวไอนุ เป็นชนพื้นเมือง ในภาคเหนือของญี่ปุ่น[ 23] อิฮะ ฟูยู นักวิชาการญี่ปุ่นเสนอว่าชาวญี่ปุ่นและชาวรีวกีว มีต้นกำเนิดทางชาติพันธุ์เดียวกัน โดยอิงจากการวิจัยของเขาในปี ค.ศ. 1906 เกี่ยวกับภาษารีวกีว [ 24] ในยุคไทโช นักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่ โทริอิ ริวโซ อ้างว่าชาวยามาโตะ ใช้เครื่องปั้นดินเผาแบบยาโยอิและชาวไอนุใช้เครื่องปั้นดินเผาแบบโจมง[ 23]
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โคตนโดะ ฮาเซเบะและฮิซาชิ ซูซูกิอ้างว่าต้นกำเนิดของชาวญี่ปุ่นไม่ได้มาจากผู้มาใหม่ในยุคยาโยอิ (300 ปีก่อนคริสตกาล – 300 ปีหลังคริสตกาล) แต่มาจากผู้คนในยุคโจมง [ 25] อย่างไรก็ตาม คาซูโระ ฮานิฮาระได้ประกาศทฤษฎีการผสมผสานทางเชื้อชาติ ใหม่ในปี ค.ศ. 1984[ 26] ตามแนวคิดของฮานิฮาระ เชื้อสายญี่ปุ่นสมัยใหม่เริ่มต้นจากชาวโจมง ซึ่งอพยพเข้ามาในหมู่เกาะญี่ปุ่น ในช่วงยุคหินเก่า ตามด้วยคลื่นการอพยพครั้งที่สองจากเอเชียตะวันออก มายังญี่ปุ่นในช่วงยุคยาโยอิ (300 ปีก่อนคริสตกาล) หลังจากการขยายตัวของประชากรในช่วงยุคหินใหม่ ผู้มาใหม่เหล่านี้จึงได้เดินทางมายังหมู่เกาะญี่ปุ่นในช่วงใดช่วงหนึ่งในช่วงยุคยาโยอิ ส่งผลให้การแทนที่นักล่าสัตว์และรวบรวมอาหารเป็นเรื่องปกติในพื้นที่เกาะคิวชู ,ชิโกกุ และฮอนชู ทางตอนใต้ แต่ไม่ได้แพร่หลายในหมู่เกาะริวกิว และฮอกไกโด ที่อยู่ห่างไกลออกไปและชาวริวกิวและไอนุก็มีลักษณะที่ผสมผสานกัน
มาร์ก เจ. ฮัดสัน นักมานุษยวิทยาอ้างว่าภาพลักษณ์ทางชาติพันธุ์หลักของชาวญี่ปุ่นเกิดขึ้นทางชีววิทยาและภาษาตั้งแต่ 400 ปีก่อนคริสตกาลถึง 1,200 ปีหลังคริสตกาล[ 25] ทฤษฎีที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดในปัจจุบันคือ ชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันก่อตัวขึ้นจากทั้งเกษตรกรผู้ปลูกข้าวสายพันธุ์ยาโยอิและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในยุคโจมง[ 27] อย่างไรก็ตามจากการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้บางกรณีได้โต้แย้งว่าชาวโจมง มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากกว่าที่คาดไว้ในตอนแรก[ 28] หรือคนญี่ปุ่นอาจจะมีร่องรอยทางพันธุกรรมที่สำคัญจากกลุ่มประชากรโบราณสามกลุ่ม แทนที่จะเป็นเพียงสองกลุ่มเท่านั้น[ 29] [ 30]
ยุคโจมงและยุคยาโยอิ
เครื่องปั้นดินเผาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกบางชิ้นได้รับการพัฒนาโดยชาวโจมงในยุคหินเก่าตอนบน ซึ่งมีอายุย้อนกลับไปได้ถึง 16,000 ปี ชื่อ "โจมง" (縄文 โจมง ) หมายถึง "ลวดลายเชือกประทับ" และมาจากเครื่องหมายลักษณะเฉพาะที่พบในเครื่องปั้นดินเผา ชาวโจมงส่วนใหญ่เป็นนักล่าสัตว์และเก็บของป่า แต่ยังทำการเกษตรในยุคแรกๆ เช่น การปลูกถั่วอะซึกิ มีแหล่งโบราณคดีโจมงตั้งแต่กลางถึงปลายอย่างน้อยหนึ่งแห่ง (ญี่ปุ่น : Minami Mizote ; โรมาจิ : 南溝手 , (ประมาณ 1200–1000 ปีก่อนคริสตกาล) มีการปลูกข้าวแบบดั้งเดิม การเกษตร โดยอาศัยปลาและถั่วเป็นหลักสำหรับอาหาร รากเหง้าทางชาติพันธุ์ของประชากรในยุคโจมงมีความหลากหลาย และสามารถสืบย้อนไปจนถึง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โบราณ, ที่ราบสูงทิเบต , ไต้หวัน โบราณและไซบีเรีย [ 27] [ 31] [ 32]
เมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล ชาวยาโยอิซึ่งมีต้นกำเนิดจากเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือได้เข้ามายังหมู่เกาะญี่ปุ่นและอพยพหรือรวมเข้ากับยุคโจมง ชาวยาโยอิได้นำเอาการทำนาข้าวและเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างการทำสำริดและเหล็กมาสู่ญี่ปุ่น ระบบการทำนาข้าวที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นทำให้ชุมชนสามารถรองรับประชากรได้มากขึ้นและกระจายตัวออกไปตามกาลเวลา ซึ่งกลายมาเป็นพื้นฐานของสถาบันที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้นและประกาศถึงอารยธรรมใหม่ของยุคโคฟุง ที่ตามมา
ประชากรโดยประมาณของประเทศญี่ปุ่นในช่วงปลายยุคโจมงมีประมาณ 800,000 คน เมื่อเทียบกับประมาณ 3 ล้านคนในยุคนาระ เมื่อพิจารณาถึงอัตราการเติบโตของสังคมการล่าสัตว์และเกษตรกรรมแล้ว คำนวณได้ว่ามีผู้อพยพประมาณ 1.5 ล้านคนย้ายเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นในช่วงเวลาดังกล่าว จากการศึกษาหลายชิ้นพบว่าชาวยาโยอิได้สร้าง "สังคมลำดับชั้นของญี่ปุ่น" ขึ้นมา[ 33] [ 34]
สมัยอาณานิคม
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 1.2 "Population Estimates by Age (Five-Year Groups) and Sex" . stat.go.jp . Statistics Bureau of Japan . สืบค้นเมื่อ August 25, 2024 .
↑ "Japan-Brazil Relations (Basic Data)" . Ministry of Foreign Affairs of Japan. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ February 25, 2021. สืบค้นเมื่อ May 22, 2023 .
↑ "American Community Survey: Asian Alone or in Any Combination by Selected Groups" . United States Census Bureau . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 21, 2023. สืบค้นเมื่อ May 22, 2023 .
↑ "Ethnic or cultural origin by gender and age: Canada, provinces and territories" . Statistics Canada . October 26, 2022. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2023. สืบค้นเมื่อ May 22, 2023 .
↑ Agnote, Dario (October 11, 2006). "A glimmer of hope for castoffs" . The Japan Times . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ June 7, 2011. สืบค้นเมื่อ August 9, 2016 .
↑ Ohno, Shun (2006). "The Intermarried issei and mestizo nisei in the Philippines" . ใน Adachi, Nobuko (บ.ก.). Japanese diasporas: Unsung pasts, conflicting presents, and uncertain futures . Routledge. p. 97. ISBN 978-1-135-98723-7 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ September 28, 2023. สืบค้นเมื่อ August 10, 2016 .
↑ "Japan-Peru Relations (Basic Data)" . Ministry of Foreign Affairs of Japan . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2019. สืบค้นเมื่อ May 22, 2023 .
↑ 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 海外在留邦人数調査統計 [Annual Report of Statistics on Japanese Nationals Overseas] (PDF) . Ministry of Foreign Affairs of Japan (ภาษาญี่ปุ่น). October 1, 2022. เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2023. สืบค้นเมื่อ May 21, 2023 .
↑ "Japan-Mexico Relations" . Ministry of Foreign Affairs of Japan. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ June 3, 2021. สืบค้นเมื่อ May 22, 2023 .
↑ "Japan-Argentina Relations (Basic Data)" . Ministry of Foreign Affairs of Japan . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 24, 2022. สืบค้นเมื่อ May 22, 2023 .
↑ Horie, Ryoichi (July 20, 2018). "The Voice of the Ambassador to Micronesia" . Association for Promotion of International Cooperation. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 21, 2023. สืบค้นเมื่อ May 22, 2023 .
↑ "2022 Report on International Religious Freedom: Japan" . United States Department of State . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 21, 2023. สืบค้นเมื่อ May 22, 2023 .
↑ "Shinto, Buddhism and the Japanese belief system" . Inside Japan Tours. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ June 18, 2023. สืบค้นเมื่อ June 17, 2023 .
↑ "The six countries in the world with the most 'convinced atheists' " . The Independent . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2016. สืบค้นเมื่อ March 23, 2016 .
↑ "Japan - People" . Encyclopædia Britannica . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2019. สืบค้นเมื่อ July 29, 2016 .
↑ "Japan. B. Ethnic Groups" . Encarta . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ January 22, 2008.
↑ "Who are "Nikkei & Japanese Abroad"?" . The Association of Nikkei and Japanese Abroad. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 21, 2023. สืบค้นเมื่อ May 22, 2023 .
↑ Minahan, James B. (2014), Ethnic Groups of North, East, and Central Asia: An Encyclopedia , ABC-CLIO, pp. 231–233, ISBN 978-1-61069-018-8 , เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ January 23, 2023, สืบค้นเมื่อ January 30, 2019
↑ Global archaeological evidence for proboscidean overkill เก็บถาวร มิถุนายน 26, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in PNAS online; Page 3 (page No.6233), Table 1. The known global sample of proboscidean kill/scavenge sites :Lake Nojiri Japan 33-39 ka (ka: thousand years).
↑ "Prehistoric Times" . Web Site Shinshu . Nagano Prefecture . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 31, 2010. สืบค้นเมื่อ January 22, 2011 .
↑ 野尻湖人の世界 . May 19, 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ May 19, 2000. สืบค้นเมื่อ December 12, 2017 .
↑ "野尻湖発掘調査団ホームページ" . July 27, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ July 27, 2004.
↑ 23.0 23.1 Imamura, Keiji (2000). "Archaeological Research of the Jomon Period in the 21st Century" . The University Museum, The University of Tokyo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 27, 2011. สืบค้นเมื่อ December 29, 2010 .
↑ 伊波普猷の卒論発見 思想骨格 鮮明に (ภาษาญี่ปุ่น). Ryūkyū Shimpō . July 25, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ July 22, 2011. สืบค้นเมื่อ March 7, 2011 .
↑ 25.0 25.1 Nanta, Arnaud (2008). "Physical Anthropology and the Reconstruction of Japanese Identity in Postcolonial Japan" . Social Science Japan Journal . 11 (1): 29–47. doi :10.1093/ssjj/jyn019 .
↑ Hanihara, K (1991). "Dual structure model for the population history of the Japanese". Japan Review . 2 : 1–33.
↑ 27.0 27.1 Boer, Elisabeth de; Yang, Melinda A.; Kawagoe, Aileen; Barnes, Gina L. (2020). "Japan considered from the hypothesis of farmer/language spread" . Evolutionary Human Sciences (ภาษาอังกฤษ). 2 : e13. doi :10.1017/ehs.2020.7 . ISSN 2513-843X . PMC 10427481 . PMID 37588377 .
↑ Lee, Hasegawa, Sean, Toshikazu (April 2013). "Evolution of the Ainu Language in Space and Time" . PLOS ONE . 8 (4): e62243. Bibcode :2013PLoSO...862243L . doi :10.1371/journal.pone.0062243 . PMC 3637396 . PMID 23638014 . S2CID 8370300 .
↑ Dunham, W. (18 September 2021). "Study rewrites understanding of modern Japan's genetic ancestry" . Reuters . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2021. สืบค้นเมื่อ October 9, 2021 .
↑ Cooke, N. P.; Mattiangeli, V.; Cassidy, L. M.; Okazaki, K.; Stokes, C. A.; Onbe, S.; Hatakeyama, S.; Machida, K.; Kasai, K.; Tomioka, N.; Matsumoto, A.; Ito, M.; Kojima, Y.; Bradley, D. G.; Gakuhari, T.; Nakagome, S. (17 September 2021). "Ancient genomics reveals tripartite origins of Japanese populations" . Science Advances . 7 (38): eabh2419. Bibcode :2021SciA....7.2419C . doi :10.1126/sciadv.abh2419 . PMC 8448447 . PMID 34533991 .
↑ Watanabe, Yusuke; Ohashi, Jun (2021-03-08). "Comprehensive analysis of Japanese archipelago population history by detecting ancestry-marker polymorphisms without using ancient DNA data" . bioRxiv (ภาษาอังกฤษ): 2020.12.07.414037. doi :10.1101/2020.12.07.414037 . S2CID 229293389 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2021. สืบค้นเมื่อ April 13, 2021 .
↑ Yang, Melinda A.; Fan, Xuechun; Sun, Bo; Chen, Chungyu; Lang, Jianfeng; Ko, Ying-Chin; Tsang, Cheng-hwa; Chiu, Hunglin; Wang, Tianyi; Bao, Qingchuan; Wu, Xiaohong (2020-07-17). "Ancient DNA indicates human population shifts and admixture in northern and southern China" . Science (ภาษาอังกฤษ). 369 (6501): 282–288. Bibcode :2020Sci...369..282Y . doi :10.1126/science.aba0909 . ISSN 0036-8075 . PMID 32409524 . S2CID 218649510 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 23, 2023. สืบค้นเมื่อ June 30, 2022 .
↑ Kumar, Ann (2009). Globalizing the Prehistory of Japan: Language, Genes, and Civilization . Oxford: Routledge.
↑ Farris, William Wayne (1996). "Ancient Japan's Korean Connection" . Korean Studies . 20 : 1–22. ISSN 0145-840X . JSTOR 23719600 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ September 22, 2022. สืบค้นเมื่อ June 13, 2023 .
แหล่งข้อมูลอื่น