ยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์

ยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์
ส่วนหนึ่งของ สงครามประสานมิตรครั้งที่สามในสงครามนโปเลียน

ยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์
วันที่21 ตุลาคม ค.ศ. 1805
สถานที่
ผล ชัยชนะของอังกฤษ
นโปเลียนเดินทัพไปทางตะวันออก
คู่สงคราม
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร ประเทศฝรั่งเศส จักรวรรดิฝรั่งเศส
ประเทศสเปน จักรวรรดิสเปน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหราชอาณาจักร โฮราชิโอ เนลสัน  
สหราชอาณาจักร คุทเบิร์ท คอลลิงวูด
ประเทศฝรั่งเศส ปีแยร์-ชาร์ล วีลเนิฟว์ (เชลย)
ประเทศสเปน เฟเดริโก กราบินา (บาดเจ็บตาย)
กำลัง
33 เรือรบ
(27 ลำในกระบวนรบ)
18,500 นาย
41 เรือรบ
(33 ลำในกระบวนรบ)
26,000 นาย
ความสูญเสีย

458 เสียชีวิต
1,208 บาดเจ็บ


ทั้งหมด: 1,666[1]

ฝรั่งเศส:
10 เรือถูกยึด,
1 เรืออัปปาง,
2,218 ตาย,
1,155 บาดเจ็บ,
4,000 ถูกจับกุม[2]

สเปน:
11 เรือถูกยึด,
1,025 ตาย,
1,383 บาดเจ็บ,
4,000 ถูกจับกุม[2]

ผลพวง:
เชลยราว 3,000 คน จมน้ำจากพายุหลังจากการสู้รบ


ทั้งหมด: 13,781

ยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์ (อังกฤษ: Battle of Trafalgar, 21 ตุลาคม ค.ศ. 1805) เป็นการกระทำยุทธนาวีระหว่าง ราชนาวีอังกฤษกับกองเรือผสมของกองทัพเรือฝรั่งเศสร่วมกับกองทัพเรือสเปน ในช่วงสงครามประสานมิตรครั้งที่สาม (สิงหาคม-ธันวาคม 1805) ใน สงครามนโปเลียน (1803–1815)

กองเรือราชนาวีอังกฤษที่มีเรือรบแนวเส้นประจัญบาน 27 ลำภายใต้บัญชาการของพลเรือโทลอร์ดเนลสัน สามารถมีชนะเหนือกองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปน 33 ลำ ภายใต้บัญชาการของ พลเรือโท ปีแยร์-ชาร์ล วีลเนิฟว์ แห่งกองทัพเรือฝรั่งเศส ที่ชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของสเปน ทางตะวันตกของแหลมตราฟัลการ์ ซึ่งกองเรือฝรั่งเศสสูญเสียเรือรบไปถึง 22 ลำโดยที่ไม่สามารรถจมเรือรบอังกฤษแม้แต่ลำเดียว

ชัยชนะที่งดงามของอังกฤษครั้งนี้เป็นการยืนยันฐานะของราชนาวีอังกฤษที่ได้สั่งสมมาตลอดศตวรรษที่ 18 ในฐานะกองทัพเรือที่ทรงแสนยานุภาพที่สุด

จุดเริ่มต้น

หลังการปฏิวัติฝรั่งเศส จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ภายใต้การนำของ จักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต กลายเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการทหารโดดเด่นไปทั่วทวีปยุโรป นโปเลียนต้องการจะบุกเกาะอังกฤษเนื่องด้วยเชื่อว่าอังกฤษนั้นมีกองทัพบกที่อ่อนแอ และอังกฤษถือเป็นภัยคุกคามที่น่าเกรงสำหรับฝรั่งเศส เพราะอังกฤษมีกองทัพเรือที่ขึ้นชื่อว่าทรงแสนยานุภาพที่สุดในโลก ที่กองเรือฝรั่งเศสเคยพ่ายแพ้มาแล้วอย่างหมดท่า ซึ่งด้วยราชนาวีอังกฤษนี้เองทำให้อังกฤษมีศักยภาพพอที่จะโจมตีฝรั่งเศสรวมไปถึงประเทศใกล้เคียงได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นแล้วฝรั่งเศสจึงหันไปร่วมมือกับสเปนที่เป็นพันธมิตร ซึ่งกองทัพเรือสเปนก็จัดว่าน่าเกรงขาม

เหตุการณ์

ก่อนการปะทะ

ราชนาวีอังกฤษสามารถปิดล้อมทะเลของฝรั่งเศสได้ ซึ่งนั่นเองส่งผลกระทบต่อการพาณิชย์ของฝรั่งเศสอย่างมาก ฝรั่งเศสเองก็เร่งระดมทรัพยากรป้อนกองทัพเรืออย่างมหาศาล กองทัพเรือฝรั่งเศสสามารถฝ่าวงล้อมของราชนาวีอังกฤษไปรวมกับกองเรือสเปนที่คาดิซได้ ในขณะที่นโปเลียนซ้อมกองทัพบกรออยู่ที่ชายฝั่งทางเหนือของฝรั่งเศส เตรียมยกพลขึ้นบกที่เกาะอังกฤษ

พลเรือโทลอร์ดเนลสัน นำกองเรืออังกฤษไล่ตามกองเรือฝรั่งเศสที่ฝ่าวงล้อมมาได้ จนมาถึงคาดิซ ที่นั่นราชนาวีอังกฤษสามารถโอบล้อมกองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปนไว้ได้ กองเรือผสมสามารถที่จะฝ่าวงล้อมหลวมๆของเนลสันมาได้ และมุ่งหน้าไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก เพื่อที่กองเรือผสมจะไปรวมกับกองเรือฝรั่งเศสอีก 8 ลำ ซึ่งนั่นมากพอที่จะทลายแนวป้องกันช่องแคบอังกฤษ ลอร์ดเนลสัน นำกองเรืออังกฤษตามกองเรือผสมมาทัน ที่ตราฟัลการ์ โดยที่อังกฤษมีเรือรบ 27 ลำ และกองเรือผสมมี 33 ลำ

แผนของลอร์ดเนลสัน

แผนภาพแสดงสถานการณ์ราวเที่ยงวัน
  กองเรืออังกฤษ
  เรือรบฝรั่งเศส
  เรือรบสเปน

โดยทั่วไปแล้ว การกระทำยุทธนาวีของยุโรปสมัยนั้น จะทำใช้การแปรขบวนแบบ แนวเส้นประจัญบาน (อังกฤษ: line of battle, ↑↓) ที่กองเรือของทั้งสองฝั่งจะแล่นสวนกันในทางขนาน และแต่ละฝ่ายจะระดมยิงปืนใหญ่กราบเรือใส่กัน กองเรือทั้งสองจะแล่นเป็นเส้นขนานกันไปยิงปืนใหญ่แลกกันไป

คืนก่อนการรบ ลอร์ดเนลสัน ได้ร่วมวางแผนกับเหล่าผู้บัญชาการเรือ และเขาไม่ยอมใช้วีธีการรบแบบที่ว่านี้ เพราะกองเรือฝ่ายตรงข้ามมีเรือมากกว่า และเรือหลายลำของกองเรือฝ่ายตรงข้ามนั้นมีขนาดและปริมาณปืนมากกว่าของกองเรืออังกฤษด้วย เนลสันจึงตัดสินใจจะแบ่งกองเรือของเขาออกเป็นสองกระบวน โดยที่กองเรือทั้งสองกระบวนนี้จะพุ่งไปตัดกับกระบวนของกองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปนจากด้านข้าง ซึ่งการกระทำเช่นนั้นเป็นการบีบให้กองเรือผสมต้องสู้ ไม่สามารถแล่นหนีได้ แต่แผนนี้มีจุดด้อยตรงที่ว่า ระหว่างพุ่งเข้าหากองเรือผสม กองเรืออังกฤษจะถูกระดมยิงใส่โดยที่ไม่สามารถตอบโต้ได้เลย ซึ่งแน่นอนว่าเรือที่นำกระบวนกองเรืออังกฤษนั้นจะเสียหายมากที่สุด มีโอกาสสูงที่จะอัปปางก่อนถึงกองเรือผสม

วันปะทะ

พลเรือโท ลอร์ดเนลสัน (ล่างขวา) ถูกยิงขณะที่บัญชาการอยู่บนดาดฟ้าเรือ HMS Victory

เช้าวันรุ่งขึ้นกองเรืออังกฤษทำตามแผน ลอร์ดเนลสัน นำเรือธงของตนชื่อ เรือหลวงวิกตอรี (HMS Victory) มาเป็นเรือหัวกระบวนในแถวแรก คอลลิงวูด รองแม่ทัพของเนลสันก็นำเรือของตน HMS Royal Sovereign มานำหัวกระบวนในแถวที่สอง กองเรืออังกฤษพุ่งฝ่าดงกระสุนเข้าหากองเรือผสม ก่อนเข้าปะทะเนลสันให้ธงสัญญาณของเรือหลวงวิคตอรีแปรสัญญาณว่า "อังกฤษหวังว่าทุกนายจะทำตามหน้าที่" (England expects that every man will do his duty)

เนื่องจากวันนั้นกระแสลมอ่อน กองเรืออังกฤษใช้เวลาเกือบชั่วโมงในการฝ่าเข้าหากองเรือผสม เรืออังกฤษบางลำโดนยิงเสากระโดงหักแล่นไปไหนไม่ได้ แต่เนื่องจากกองเรืออังกฤษเข้าปะทะเป็นเส้นตรง กองเรือผสมจึงยิงได้แต่เรืออังกฤษลำหน้าๆเท่านั้น เมื่อกระบวนเรืออังกฤษสามารถทะลวงกระบวนทัพของกองเรือผสมได้ ก็เปิดฉากระดมยิงปืนใหญ่ทั้งสองกราบใส่กองเรือผสม โดยที่เรืออังกฤษลำหลังๆซึ่งไม่ได้รับความเสียหายเลยก็รีบเข้ามาช่วยระดมยิงกองเรือผสม ผลก็คือกระบวนทัพของกองเรือผสมส่วนกลางกับส่วนหลังนั้นโดนกองเรืออังกฤษเข้าโจมตีโดยที่กองเรือผสมส่วนหน้าไม่สามารถช่วยเหลือได้ เพราะการจะช่วยกองเรือส่วนหลังจะต้องกลับไปอ้อมเรือมาซึ่งเสียเวลามากและคงจะไม่ทันการ ดังนั้นแล้ว กองเรือส่วนหน้าจึงตัดสินใจหนีไป ระหว่างการรบนี้ ลอร์ดเนลสันถูกยิงเข้ากระทบหัวไหล่ทะลุตัดกระดูกสันหลัง เขาถูกนำพาตัวลงไปห้องใต้ดาดฟ้าทันที การรบดำเนินไปจนชัยชนะมาเยือนราชนาวีอังกฤษ หลังเนลสันทราบผลการรบ เขาก็ถึงแก่กรรมราว 16.30 น. ราวสามชั่วโมงหลังถูกยิง[3]

หลังการปะทะ

ภายหลังข่าวชัยชนะไปถึงกรุงลอนดอน ชาวอังกฤษปลาบปลื้มยินดีในชัยชนะครั้งนี้เป็นอย่างมาก อังกฤษไม่ต้องกลัวการยกพลขึ้นบกของนโปเลียนอีก เนื่องด้วยกองเรือที่เหลือของฝรั่งเศสนั้นไม่มากพอที่จะพิชิตอังกฤษอีกต่อไป

เมื่อนโปเลียนสูญเสียกองเรือผสมนี้ไป ทำให้ความหวังของนโปเลียนที่จะยึดเกาะอังกฤษก็ล่มไปด้วย กองทัพของนโปเลียนที่รอบุกอังกฤษ ซึ่งตอนแรกตั้งชื่อว่า Armée de l'Angleterre (กองทัพแห่งอังกฤษ) ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Grande Armée (กองทัพใหญ่) แล้วนำทัพนี้เดินทางไปทางตะวันออก ซึ่งกองทัพของนโปเลียนนี้สามารถพิชิตดินแดนต่างๆได้อย่างไพศาล จนกลายเป็นที่หวั่นเกรงไปทั้งทวีป

อ้างอิง

  1. Adkin 2007, p. 524.
  2. 2.0 2.1 Adkins 2004, p. 190.
  3. Hibbert 1994, p. 376.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!