ภาพถ่ายดาวเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา
แอนตาร์กติกา (อังกฤษ : Antarctica /æntˈɑːrktɪkə/ ⓘ ) เป็นทวีป ที่อยู่ใต้สุดของโลก ตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติก ในซีกโลกใต้ และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติก และล้อมรอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14 ล้านตารางกิโลเมตร (5,500,000 ตารางไมล์) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก โดยใหญ่กว่าพื้นที่ของทวีปยุโรป ประมาณ 40% และใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลีย ถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร[ 1] ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดเว้นแต่ส่วนเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก
โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด[ 2] แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้า เฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน[ 3] ในช่วงไตรมาสที่สามซึ่งเป็นช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย -63 °C แต่ (ที่สถานีวอสตอค ของรัสเซีย) อุณหภูมิที่วัดได้เคยต่ำถึง -89.2 °C (และเคยวัดได้ถึง -94.7 °C โดยเป็นการวัดจากดาวเทียมในอวกาศ[ 4] ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วทั้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย , แบคทีเรีย , เห็ดรา , พืช , โพรทิสต์ และสัตว์ บางชนิดเช่น ตัวเห็บ, ตัวไร, หนอนตัวกลม , เพนกวิน , สัตว์ตีนครีบ และหมีน้ำ ส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา
แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบ เพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง พ.ศ. 2363 นักสำรวจชาวรัสเซียเฟเบียน ก็อทลีป ฟอน เบลลิ่งเชาเซน และมิคาอิล ลาซาเรฟ ที่อยู่บนเรือสลุบวอสตอค และเรือสลุบเมอร์นีย์ ได้สังเกตเห็นหิ้งน้ำแข็งฟิมโบล แต่ก็ไม่ได้สนใจ เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรต่อมนุษย์ ขาดแคลนทรัพยากรในการสำรวจและความห่างไกลของพื้นที่ ต่อมา พ.ศ. 2438 ทีมสำรวจชาวนอร์เวย์ได้รับการยืนยันถึงการมาเยือนดินแดนแห่งนี้เป็นครั้งแรก รูอาล อามึนเซิน ได้รับการบันทึกว่าเป็นมนุษย์คนแรกที่ไปถึงขั้วโลกใต้ ในวันที่ 14 ธันวาคม ปี 2454[ 5]
ทวีปแอนตาร์กติกาเป็นดินแดนใต้การปกครองร่วม โดยพฤตินัยตามกฎหมายระหว่างประเทศ และอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก ที่ลงนามครั้งแรกโดย 12 ประเทศใน พ.ศ. 2502 และตามด้วยการลงนามอีกเพิ่ม 38 ประเทศ ระบบสนธิสัญญานี้ห้ามมิให้มีการทำเหมืองแร่ กิจกรรมทางทหาร ทดลองระเบิดนิวเคลียร์และการกำจัดกากนิวเคลียร์ แต่จะสนับสนุนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และปกป้องชั้นโอโซนของทวีป ทำให้มีการทดลองอย่างต่อเนื่องโดยนักวิทยาศาสตร์ในช่วงฤดูร้อน มากถึง 5,000 คนบนทวีปนี้ แม้จะลดลงเหลือประมาณ 1,000 คนในช่วงฤดูหนาว ในขณะที่การท่องเที่ยว และกิจกรรมอื่น เช่น การตกปลา ยังเป็นกิจกรรมหลักในพื้นที่ของทวีปและบริเวณโดยรอบ แม้จะตั้งอยู่ห่างไกลจากทวีปอื่น แต่ทวีปนี้ได้รับผลกระทบจากมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญ เช่น การก่อมลภาวะ, การลดลงของโอโซน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ การละลายของธารน้ำแข็งจำนวนมากในทวีปยังส่งผลต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น รวมถึงการหมุนเวียนพลิกกลับของมหาสมุทรใต้ ตลอดศตวรรษที่ผ่านมา นำไปสู่ผลกระทบที่สำคัญต่อสภาพภูมิอากาศในซีกโลกใต้
นิรุกติศาสตร์
ชื่อแอนตาร์กติกา (Antarctica ) เป็นการถอดเป็นอักษรโรมัน จากคำประสมภาษากรีกคำว่า ἀνταρκτική (antarktiké ) เป็นคำนามเพศหญิงของ ἀνταρκτικός (antarktikós คำนามเพศชาย)[ 6] ซึ่งมีความหมายว่า "ตรงข้ามกับอาร์กติก " หรือ "ตรงข้ามกับทิศเหนือ "[ 7]
350 ปีก่อนคริสต์ศักราชแอริสตอเติล เขียนเกี่ยวกับภูมิภาคแอนตาร์กติกลงในหนังสืออุตุนิยมวิทยาของเขา[ 8] , มารินัส ออฟ ไทเออร์ ได้ใช้ชื่อนี้ในแผนที่โลก ตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ของเขา ซึ่งถูกพบอยู่ในสภาพที่ไม่ได้ดูแลรักษา, นักประพันธ์ชาวโรมันไฮจีนัส และอพูเลียส (คริสต์ศตวรรษที่ 1-2) ใช้คำว่า polus antarcticus แทนขั้วโลกใต้ซึ่งเป็นการถอดเป็นอักษรโรมันจากชื่อภาษากรีก[ 9] [ 10] , ภาษาฝรั่งเศสโบราณรับมาเป็น pole antartike (ภาษาฝรั่งเศสปัจจุบัน pôle antarctique ) โดยมีหลักฐานใน พ.ศ. 1813 และภาษาอังกฤษสมัยกลาง รับมาต่อเป็นคำว่า pol antartik ในบทความวิชาการโดยเจฟฟรีย์ ชอสเซอร์ ใน พ.ศ. 1934 (ภาษาอังกฤษปัจจุบัน Antarctic Pole )[ 11]
ก่อนที่จะมีความหมายทางภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน คำนี้จะเอาไว้ใช้เรียกสถานที่ต่าง ๆ ที่อยู่ "ตรงข้ามกับทางเหนือ" เช่นอาณานิคมฝรั่งเศสที่ก่อตั้งขึ้นในบราซิลเป็นเวลาสั้น ๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เรียกว่า "แอนตาร์กติกฝรั่งเศส" (ฝรั่งเศส : France Antarctique , โปรตุเกส : França Antártica )
ในช่วงทศวรรษปี 2433 จอห์น จอร์จ บาร์โธโลมิว ชาวสกอตแลนด์ได้ทำแผนที่โดยใช้คำว่าแอนตาร์กติกาเป็นชื่อทวีปเป็นครั้งแรก[ 12]
การเปลี่ยนแปลงชื่อ
ในยุโรปจินตนาการที่มีมายาวนานถึงทวีปที่ขั้วโลกใต้ (แต่ขณะนั้นยังไม่ได้ค้นพบ) เรียกขานดินแดนนี้ว่า เทร์รา ออสตราลิส (ละติน : Terra Australis ) ซึ่งบางครั้งจะย่อเป็น 'ออสตราเลีย (ละติน : Australia )' ดังเช่นในภาพพิมพ์ไม้ที่ชื่อว่า Sphere of the winds ที่บันทึกอยู่ในตำราทางโหราศาสตร์ที่ตีพิมพ์ในแฟรงค์เฟิร์ต ในปี พ.ศ. 2088[ 13] แม้ว่าชื่อเต็มดังกล่าวจะเป็นที่รู้จัก แต่ชื่อย่อ 'ออสตราเลีย' ก็ได้ถูกใช้ในแวดวงวิชาการของยุโรป
จากนั้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้ปกครองอาณานิคมที่ซิดนีย์ ได้ยกเลิกชื่อดินแดนที่มีที่มาจากภาษาดัตช์ที่เรียกว่า นิวฮอลแลนด์ (ดัตช์ : Nieuw Holland ) แต่แทนที่จะตั้งชื่อใหม่พวกเขาได้นำชื่อ 'ออสตราเลีย' จากทวีปที่ขั้วโลกใต้มาใช้แทน ทำให้ทวีปที่ขั้วโลกใต้ไม่มีชื่อเรียกเป็นเวลากว่าแปดสิบปี ระหว่างช่วงเวลานั้นนักภูมิศาสตร์ได้พยายามหาชื่อที่เหมาะสม โดยค้นหาคำในบทกวีที่จะมาใช้แทน มีการเสนอคำอย่างเช่น อุลติมา (ละติน : Ultima ) และ อันติโปเดีย (กรีก : Αντιποδια )[ 14] จนในที่สุด แอนตาร์กติกา ได้ถูกนำมาใช้ในช่วงทศวรรษปี 2433[ 15]
การศึกษาวิจัยในขั้วโลกใต้
เพื่อให้การศึกษาวิจัยด้านทางวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมในทวีปแอนตาร์กติกา ประเทศต่าง ๆ จึงได้ตกลงร่วมมือสร้างศูนย์วิจัย โดยเริ่มเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 ทำให้สามารถวัดความหนาและปริมาณของน้ำแข็งที่ปกคลุมทวีปแอนตาร์กติกาได้ และยังค้นพบว่าภายใต้น้ำแข็งที่หนากว่า 2,000 เมตรนั้น ยังมีแผ่นดินที่กว้างใหญ่อยู่ หลังจากนั้นการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับทวีปแอนตาร์กติกาก็ได้รับความสนใจมากขึ้นทีเดียว และในปี 2553 หลายประเทศได้ร่วมลงนามก่อตั้งสนธิสัญญา สำหรับทวีปแอนตาร์กติกาขึ้น โดยให้ทุกประเทศสามารถเข้าทำการศึกษาวิจัยได้ ยกเว้นแต่การทำกิจกรรมด้านทหาร
ศูนย์วิจัยที่ทวีปแอนตาร์กติกา
ดินแดนหลาย ๆ แห่งในทวีปแอนตาร์กติกาถูกประเทศต่าง ๆ อ้างกรรมสิทธิ์ครอบครอง เช่น ประเทศอาร์เจนตินา , ชิลี , ออสเตรเลีย , นิวซีแลนด์ , สหราชอาณาจักร เป็นต้น และในดินแดนเหล่านี้ก็จะมีศูนย์วิจัยของประเทศต่าง ๆ ตั้งอยู่ ทั้งทวีปแอนตาร์กติกามีศูนย์วิจัยของประเทศต่าง ๆ มากกว่า 20 ประเทศ จำนวน 60 แห่ง ในช่วงฤดูหนาวจะมีนักวิจัยทำงานอยู่ที่นี่ประมาณ 1,000 คน และจะเพิ่มเป็น 4,000 คนในฤดูร้อน ในศูนย์วิจัยแมกเมอร์โดที่อยู่ในเขตที่นิวซีแลนด์อ้างกรรมสิทธิ์ เป็นศูนย์วิจัยและชุมชนที่ใหญ่ที่สุดในแอนตาร์กติกา สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้มากถึง 1,000 คน
ภูมิประเทศ
การเคลื่อนไหวของพืดน้ำแข็งบนทวีปแอนตาร์กติกา
แอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก โดยตั้งอยู่ในเขตแอนตาร์กติกเซอร์เคิล รอบขั้วโลกใต้ ล้อมโดยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่มากกว่า 14 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีชายฝั่งยาว 17,968 กิโลเมตร[ 16]
ประมาณร้อยละ 98 ของแอนตาร์กติกาถูกปกคลุมด้วยพืดน้ำแข็งแอนตาร์กติกา พืดน้ำแข็ง หนาเฉลี่ย 1.6 กิโลเมตร ทวีปนี้มีน้ำแข็งถึงราวร้อยละ 90 ของน้ำแข็งทั้งหมดบนโลก ทำให้มีน้ำจืด ประมาณร้อยละ 70 ของโลก ถ้าน้ำแข็งทั้งหมดละลายแล้ว ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นประมาณ 61 เมตร[ 17]
จุดที่สูงที่สุดของทวีปคือยอดเขาวินสันแมสซิฟ มีความสูง 4,892 เมตร ตั้งอยู่ในเทือกเขาเอลส์เวิร์ท ถึงแม้ว่าแอนตาร์กติกาจะมีภูเขาไฟ จำนวนมาก แต่มีเพียงแห่งเดียวที่ทราบแน่ชัดว่ายังคงคุกรุ่นอยู่คือภูเขาไฟเอเรบัส บนเกาะรอสส์ ในปีพ.ศ. 2547 นักสำรวจชาวอเมริกัน และแคนาดา ค้นพบภูเขาไฟใต้น้ำในคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยหลักฐานแสดงให้เห็นว่าภูเขาไฟนี้อาจยังคุกรุ่นอยู่เช่นกัน[ 18]
อาณาเขตแอนตาร์กติกา
แผนที่ดินแดนอ้างสิทธิในทวีปแอนตาร์กติกา
การอ้างสิทธิ์ดินแดนแอนตาร์กติกาตามสนธิสัญญาแอนตาร์กติก:
ดินแดนอ้างสิทธิในทวีปแอนตาร์กติกา
อดีตอาณาเขต
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ P. Fretwell; และคณะ (28 February 2013). "Bedmap2: improved ice bed, surface and thickness datasets for Antarctica" (PDF) . The Cryosphere journal : 375–393. doi :10.5194/tc-7-375-2013 . ISSN 1994-0416 . สืบค้นเมื่อ 6 January 2014 .
↑ "La Antártida" (ภาษาสเปน). Dirección Nacional del Antártico. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 13 November 2016. สืบค้นเมื่อ 13 November 2016 .
↑ Joyce, C. Alan (18 January 2007). "The World at a Glance: Surprising Facts" . The World Almanac . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 4 March 2009. สืบค้นเมื่อ 7 February 2009 .
↑ "Coldest temperature ever recorded on Earth in Antarctica: -94.7C (−135.8F)" . The Guardian . 10 December 2013. สืบค้นเมื่อ 12 July 2017 .
↑ Smith, Cynthia (2021-09-21). "Reaching the South Pole During the Heroic Age of Exploration | Worlds Revealed" . The Library of Congress .
↑ Liddell, Henry George; Scott, Robert. "Antarktikos". ใน Crane, Gregory R. (บ.ก.). A Greek–English Lexicon . Perseus Digital Library. Tufts University. สืบค้นเมื่อ 18 November 2011 .
↑ Hince, Bernadette (2000). The Antarctic Dictionary . CSIRO Publishing. p. 6. ISBN 978-0-9577471-1-1 . OCLC 869026184 .
↑ Aristotle (1923) [350 BC]. Meteorologica . Part 5. Vol. II. แปลโดย Webster, Erwin Wentworth. Oxford: Clarendon Press. p. 140. OCLC 1036675439 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-06-27. สืบค้นเมื่อ 2018-06-06 .
↑ Hyginus, Gaius Julius (1992). Viré, Ghislaine (บ.ก.). De astronomia (ภาษาละติน). Stuttgart: Teubner. p. 176. OCLC 622659701 .
↑ Apuleius (1825). Apuleii Opera omnia (ภาษาละติน). Vol. tertium. London: A. J. Valpy. p. 544. OCLC 840117244 .
↑ Chaucer, Geoffrey (c. 1391). Skeat, Walter William (บ.ก.). A Treatise on the Astrolabe (ภาษาอังกฤษกลาง). London: N. Trübner& Co. (ตีพิมพ์ 1872). LCCN 12017813 . OCLC 171715 . OL 14032283M .
↑ "John George Bartholomew and the naming of Antarctica" (PDF) . The Bartholomew Archive. CAIRT Newsletter of the Scottish Maps Forum . National Library of Scotland. July 2008. pp. 4–6. ISSN 1477-4186 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2020-10-26. สืบค้นเมื่อ 2019-10-15 .
↑ Barth, Cyriaco Jacob zum (1545). Astronomia: Teutsch Astronomei (ภาษาละติน). Frankfurt.
↑ Cameron-Ash, M. (2018). Lying for the Admiralty: Captain Cook's Endeavour Voyage . Sydney: Rosenberg. p. 20. ISBN 978-0-6480439-6-6 .
↑ Woodburn, Susan (July 2008). "John George Bartholomew and the naming of Antarctica". Cairt (13): 4–6.
↑ "Antarctica" . The World Factbook. Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 13 July 2007 .
↑ Brain, Marshall (21 September 2000). "If the polar ice caps melted, how much would the oceans rise?" . howstuffworks.com. สืบค้นเมื่อ 13 July 2007 .
↑ "Scientists Discover Undersea Volcano Off Antarctica" . United States National Science Foundation. 20 May 2004. สืบค้นเมื่อ 13 July 2007 .
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikisource
Wikinews
นานาชาติ ประจำชาติ ศิลปิน อื่น ๆ