ชายฝั่ง

ชายฝั่งทางตะวันออกของบราซิล

ชายฝั่ง คือแนวชายทะเลขึ้นไปบนบกจนถึงบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด มักมีลักษณะโค้งและเว้าแตกต่างกันออกไป บ้างก็เป็นหน้าผาหินสูงชัน และบางแห่งก็เป็นชายหาดระดับต่ำที่แผ่ขยายออกไปกว้างขวางแทรกสลับอยู่ระหว่างภูเขาและโขดหิน แรงที่ทำให้เกิดรูปร่างของชายฝั่งแบบต่าง ๆ เกิดจากแรงจากกระแสคลื่นและลมในทะเลที่ก่อให้เกิดขบวนการกัดกร่อน พัดพาและสะสมตัวของตะกอน เศษหินและแร่ที่เกิดจากขบวนการภายในโลกที่ทำให้เปลือกโลกเกิดการยกตัวหรือจมตัว

การจำแนกชนิดของชายฝั่งทะเล

  1. ชายฝั่งทะเลปฐมภูมิ (Primary shore lines and coasts) ชายฝั่งที่แสดงรูปร่างอันเนื่องมาจากตัวกลางจากบนบกมากกว่าทะเล
    1. ชายฝั่งจากการกัดกร่อนบนบก (Land Erosion coasts) เกิดการกัดกร่อนบนบกก่อนตามด้วยน้ำทะเลท่วม
      • ชายฝั่งเว้าแหว่ง (Ria coasts) หุบเขาใต้ทะเล (drowed river valley)
      • ชายฝั่งหุบเขาน้ำแข็งจมตัว (Drowed glacial erosion coast) เช่น fjord,glacial troughs
      • ชายฝั่งเตาขนมครกจมตัว (Drowned Karst topography)
    2. ชายฝั่งจากการสะสมตัวบนบก (Subaerial Deposition Coasts)
      • ชายฝั่งสะสมตัวโดยแม่น้ำ (River Deposit Coasts)
      • ชายฝั่งสะสมตัวโดยธารน้ำแข็ง (Glacial Deposit Coasts)
      • ชายฝั่งสะสมตัวโดยลม (Wind Deposit Coasts)
      • ชายฝั่งจากแผ่นดินเลื่อน (Landslide Coasts)
    3. ชายฝั่งภูเขาไฟ (Volcanic Coasts)
      • ชายฝั่งธารละลายไหล (Lava-flow Coasts)
      • ชายฝั่งเถ้าภูเขาไฟ (Tephra Coasts)
      • ชายฝั่งภูเขายุบตัว (Volcanic Collapse or Explosion Coasts)
    4. ชายฝั่งจากการผันแปรของแผ่นเปลือกโลก (Coasts Shaped by Diastrochic Movements)
      • ชายฝั่งรอยเลื่อน (Fault Coasts)
      • ชายฝั่งแนวคดโค้ง (Fold Coasts)
  2. ชายฝั่งทะเลทุติยภูมิ (Secondary Coasts) ชายฝั่งที่แสดงรูปร่างอันเนื่องมาจากตัวกลางทางทะเล หรือสิ่งมีชีวิตในทะเล
    1. ชายฝั่งกัดกร่อนโดยคลื่นลม (Wave Erosion Coasts)
      1. ชายฝั่งหน้าผาตัดตรง (Wave-straightened cliffs) ติดกับพื้นทะเลที่เอียง
      2. ชายฝั่งเว้าแหว่ง (Coasts made irregular by wave erosion)
    2. ชายฝั่งสะสมตัวโดยคลื่นลม (Marine deposit coasts)
      1. ชายฝั่งสันทรายริมหาด (Barrier Coasts)
      2. ชายฝั่งยื่นงอก (Cuspate foreland)
      3. ชายหาดเรียบ (Beach plains)
      4. หาดโคลน (Mud flat)
    3. ชายฝั่งจากสิ่งมีชีวิตในทะเล (Coast Built by Marine Organisms)
      1. ชายฝั่งโขดหินปะการัง (Coral-reef Coasts)
      2. ชายฝั่งโขดหินหนอนไช (Serpulid-reef Coasts)
      3. ชายฝั่งโขดหินหอยนางรม (Oyster-reef Coasts)

การกัดกร่อนโดยคลื่น

ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการกัดกร่อนชายฝั่งก็คือ การกระทำของคลื่น (Wave activity) แรงปะทะของคลื่นอาจรุนแรงมากกว่าแรงขับเคลื่อนของน้ำในมหาสมุทรมาก และเมื่อคลื่นเข้าปะทะชายฝั่งอาจพัดพาเอากรวดขนาดใหญ่มาด้วย ทำให้ชายฝั่งบริเวณนั้นพังทลายหรือเปลี่ยนรูปร่างไปได้ การผุพังดังกล่าวมักเกิดควบคู่ไปกับการผุพังทางเคมี การผุพังทางเคมีจะช่วยทำให้รอยแตกนั้นขยายใหญ่ขึ้นเมื่อถูกคลื่นปะทะอยู่เป็นเวลานาน ๆ จากรอยแตกกลายเป็นโพรงขนาดเล็ก (sea notch) และกลายเป็นถ้ำ (sea cave) ในที่สุดชายหาดบางแห่งที่มีหน้าผาเป็นแหลมยื่น จะถูกคลื่นกัดเซาะจนเกิดเป็นโพรงทะลุไปยังอีกด้านหนึ่งของแหลม เหลือให้เห็นเพียงส่วนบนที่ยังต่ออยู่ระหว่างแผ่นดินกับแหลมที่ยื่นออกไป เรียกลักษณะของผาทะเลนี้ว่าโค้งทะเล (sea arches) เมื่อการกัดเซาะยังเกิดต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งส่วนต่อดังกล่าวถูกกัดเซาะไปหมดจะทำให้ส่วนที่ยื่น ถูกตัดขาดจากแผ่นดินเรียกว่าโขดทะเล (sea stack)

อ้างอิง

  • หนังสือธรณีวิทยากายภาพ,ปัญญา จารุศิริ 2545

ดูเพิ่ม

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!