งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 93

งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 93

ใบปิดอย่างเป็นทางการ
วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2564
สถานที่ สถานีรถไฟยูเนียนสเตชัน และ
โรงภาพยนตร์ดอลบีเธียเตอร์
ลอสแอนเจลิส, รัฐแคลิฟอร์เนีย
 สหรัฐอเมริกา
หน้างาน อาเรียนา เดโบซ
ลิล เรล โฮเวอรี่
พิธีกร
โปรดิวเซอร์ เจสซี คอลลินส์
สเตซี เชอร์
สตีเวน โซเดอร์เบิร์ก
ผู้กำกับงาน Glenn Weiss
ภาพยนตร์ที่น่าสนใจ
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม โนแมดแลนด์
ได้รางวัลมากที่สุด โนแมดแลนด์ (3)
เข้าชิงมากที่สุด แมงค์ (10)
สถานีโทรทัศน์ที่แพร่ภาพออกอากาศ
ช่อง เอบีซี
ความยาว 3 ชั่วโมง 19 นาที
จำนวนผู้ชม 10.4 ล้านคน[1]
 < ครั้งที่ 92 รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 94 > 

งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 93 (อังกฤษ: 93rd Academy Awards) เป็นงานประกาศผลรางวัลด้านภาพยนตร์ จัดขึ้นโดยสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ (Academy of Motion Picture Arts and Sciences) เพื่อเป็นเกียรติแก่ภาพยนตร์ที่ออกฉายระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 มีกำหนดจัดขึ้น 2 สถานที่พร้อมกันคือ สถานีรถไฟยูเนียนสเตชัน และโรงภาพยนตร์ดอลบีเธียเตอร์, ลอสแอนเจลิส, รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา[n 1] ในคืนวันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2564 (ตามเวลาท้องถิ่น) ตรงกับเช้าวันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2564 (ตามเวลาประเทศไทย)

เดิมมีกำหนดจัดงานในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 แต่ต้องเลื่อนการจัดงานออกไป 2 เดือนเนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 การประกาศรายชื่อผู้เช้าชิงรางวัลในแต่ละสาขา จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564[2]

ภาพยนตร์เรื่อง โนแมดแลนด์ เป็นผู้ชนะรางวัลออสการ์มากที่สุดในครั้งนี้ ชนะทั้งสิ้น 3 สาขา รวมถึงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้วย[3] ภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ เช่น เดอะ ฟาเธอร์, จูดาส แอนด์ เดอะ แบล็ก เมสไซอาห์, มา เรนีย์ ตำนานเพลงบลูส์, แมงค์, อัศจรรย์วิญญาณอลเวง และ สุดทางร็อก ชนะเรื่องละ 2 สาขา ส่วนภาพยนตร์ Another Round, Colette, ถ้าเกิดอะไรขึ้น... หนูรักพ่อแม่นะ, มินาริ, บทเรียนจากปลาหมึก, สาวซ่าส์ล่าบัญชีแค้น, เทเน็ท และ หนึ่งวันอันตราย ชนะเรื่องละ 1 สาขา จึงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 78 เมื่อปี ค.ศ. 2006 ที่ไม่มีภาพยนตร์เรื่องใดชนะรางวัลออสการ์มากกว่า 3 สาขา และนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 44 ที่การประกาศผลรางวัลสุดท้ายของงานไม่ใช่สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[4]

จากการวัดเรตติ้งถ่ายทอดสดบนโทรทัศน์โดยบริษัท นีลเส็น (ซึ่งเริ่มวัดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974) งานประกาศผลรางวัลออสการ์ครั้งนี้ ทำสถิติจำนวนผู้ชมน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยจำนวนคนดูเพียง 10.4 ล้านคน[1]

เบื้องหลัง

สถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ (Academy of Motion Picture Arts and Sciences) ประกาศเลื่อนการจัดงานประกาศผลรางวัลออสการ์ครั้งที่ 93 ออกไปจากกำหนดเดิมคือวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นวันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2564 แทน เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และขยายกำหนดระยะเวลาการฉายของภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ที่จะเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล ออกไปจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 จึงถือเป็นครั้งที่สี่ในประวัติศาสตร์ของการจัดงานประกาศผลรางวัลออสการ์ที่มีการเลื่อนการจัดงานตามกำหนดเดิม และถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่งานประกาศผลรางวัลออสการ์ครั้งที่ 6 ที่ภาพยนตร์ที่เข้าฉายคนละปี สามารถถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ได้ในครั้งเดียวกัน[5]

ผู้ชนะรางวัล และผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล

การประกาศรายชื่อผู้เช้าชิงรางวัลในแต่ละสาขา จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564 ผ่านช่องทางออกอากาศสดทางเว็บไซต์หลัก โดยพิธีกร ปริยังกา โจปรา และนิก โจนาส[6][7]

แอนโทนี ฮ็อปกินส์ เป็นผู้ชนะรางวัลออสการ์สาขาการแสดงที่มีอายุมากที่สุด ในวัย 83 ปี[8] ส่วน ฟรานเซส แม็คดอร์มานด์ กลายเป็นบุคคลลำดับที่ 7 ที่ชนะรางวัลออสการ์สาขาการแสดงตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป จากบทบาทในภาพยนตร์เรื่อง โนแมดแลนด์[9] นอกจากนี้ภาพยนตร์ดังกล่าว ยังทำให้โคลอี เจา กลายเป็นผู้หญิงเอเชียคนแรกที่ชนะรางวัลออสการ์ สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และเป็นผู้หญิงคนที่สองต่อจากแคทริน บิเกโลว์ ที่ชนะรางวัลสาขานี้เมื่อปี ค.ศ. 2010 จากภาพยนตร์เรื่อง หน่วยระห่ำ ปลดล็อกระเบิดโลก[10] การชนะรางวัลบนเวทีออสการ์ของโคลอี เจา ถูกระงับการแพร่ภาพสัญญาณและบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ในจีน[11]

โคลอี เจา ผู้ชนะร่วมรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ฟรานเซส แม็คดอร์มานด์ ผู้ชนะร่วมรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
แอนโทนี ฮ็อปกินส์ ผู้ชนะรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
แดเนียล คาลูยา ผู้ชนะรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
ยูน ยอ-จอง ผู้ชนะรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
เอมเมอรัลด์ เฟนเนลล์ ผู้ชนะรางวัลออสการ์ สาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม
ฟลอเรียน เซลเลอร์ ผู้ชนะร่วมรางวัลออสการ์ สาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม
ดานา เมอร์เรย์ ผู้ชนะร่วมรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม
โธมัส วินเทอร์เบิร์ก ผู้ชนะรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม
H.E.R., ผู้ชนะร่วมรางวัลออสการ์ สาขาเพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
สัญลักษณ์
สำหรับผู้ชนะรางวัล หรือผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ ภายหลังเสียชีวิตไปแล้ว

ผู้ชนะรางวัลจะอยู่ในลำดับแรก เป็นตัวหนา และมีกริชคู่ (‡)[12]

รางวัลออสการ์เกียรติยศ

สถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ (Academy of Motion Picture Arts and Sciences) ยกเลิกการจัดงานมอบรางวัลออสการ์เกียรติยศประจำปี เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และมีแผนจะประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลดังกล่าว รวมเข้าไว้ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ประจำปีแทน[13] จึงนับเป็นปีแรกที่ยังไม่มีผู้ได้รับรางวัลออสการ์เกียรติยศอย่างเป็นทางการ ก่อนการจัดงานประกาศผลออสการ์

รางวัลมนุษยธรรม ฌีน เฮอร์โชลต์

  • ไทเลอร์ เพอร์รี่ – สำหรับการมีส่วนร่วมด้านการกุศลอย่างแข็งขันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมถึงความพยายามแก้ไขปัญหาคนเร่ร่อน และความยากลำบากทางเศรษฐกิจที่สมาชิกในชุมชนของเขาต้องเผชิญ
  • กองทุนด้านภาพยนตร์และโทรทัศน์แห่งสหรัฐอเมริกา – เพื่อให้เกียรติสำหรับความช่วยเหลือด้านบริการทางการเงินที่มอบให้กับสมาชิกในอุตสาหกรรมบันเทิง

ภาพยนตร์ที่ชนะ และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงมากกว่าหนึ่งรางวัล

ผู้ประกาศผลรางวัล และผู้ร่วมแสดง

ผู้ประกาศผลรางวัล

ชื่อ บทบาท
เรจิน่า คิง ผู้ประกาศผลรางวัลออสการ์ สาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม และบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม
ลอรา เดิร์น ผู้ประกาศผลรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม และนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
ดอน ชีเดิล ผู้ประกาศผลรางวัลออสการ์ สาขาแต่งหน้าและทำผมยอดเยี่ยม และออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม
ไบรอัน แครนสตัน ผู้ประกาศผลรางวัลมนุษยธรรม ฌีน เฮอร์โชลต์ ให้แก่กองทุนด้านภาพยนตร์และโทรทัศน์แห่งสหรัฐอเมริกา
พง จุน-โฮ
ชารอน ชเว
ผู้ประกาศผลรางวัลออสการ์ สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ริซ อาห์เมด ผู้ประกาศผลรางวัลออสการ์ สาขาออกแบบเสียงยอดเยี่ยม และภาพยนตร์ขนาดสั้นยอดเยี่ยม
รีส วิเธอร์สปูน ผู้ประกาศผลรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันขนาดสั้นยอดเยี่ยม และภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม
มาร์ลี แมตลิน
แจ็ค เจสัน
ผู้ประกาศผลรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์สารคดีขนาดสั้นยอดเยี่ยม และภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม
สตีเว่น ยอน ผู้ประกาศผลรางวัลออสการ์ สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม
แบรด พิตต์ ผู้ประกาศผลรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
แฮลลี เบร์รี ผู้ประกาศผลรางวัลออสการ์ สาขาออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม และกำกับภาพยอดเยี่ยม
แฮร์ริสัน ฟอร์ด ผู้ประกาศผลรางวัลออสการ์ สาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม
วิโอลา เดวิส ผู้ประกาศผลรางวัลมนุษยธรรม ฌีน เฮอร์โชลต์ ให้แก่ไทเลอร์ เพอร์รี่
เซ็นเดยา ผู้ประกาศผลรางวัลออสการ์ สาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และเพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
แองเจลา บาสเซตต์ ผู้นำรายการช่วงไว้อาลัยแด่บุคคลผู้ล่วงลับ In Memoriam
รีตา มอเรโน ผู้ประกาศผลรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
เรเน เซลเวเกอร์ ผู้ประกาศผลรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
วาคีน ฟินิกซ์ ผู้ประกาศผลรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม

ผู้ร่วมแสดง

เพลงนำภาพยนตร์ที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงสาขาเพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จัดแสดงใน Oscars: Into the Spotlight ช่วงพิเศษก่อนงานประกาศผลรางวัล โดยการแสดงในเพลง "Husavik" ถูกบันทึกการแสดงใน ฮูซาวิก, ไอซ์แลนด์ ส่วนอีก 4 เพลงที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิง จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ของสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ ในลอสแอนเจลิส ช่วงพิเศษ Into the Spotlight มีระยะเวลาประมาณ 90 นาที นำโดยพิธีกร อาเรียนา เดโบซ และ ลิล เรล โฮเวอรี่[14]

ชื่อ บทบาท การแสดง
Questlove ผู้อำนวยการดนตรี
Molly Sandén ผู้ร่วมแสดง "Husavik" จาก ไฟร์ซาก้า: ไฟ ฝัน ประชัน เพลง
ลอร่า พอซินี่ ผู้ร่วมแสดง "Io sì (Seen)" จาก ชีวิตข้างหน้า
เซเลสต์ ผู้ร่วมแสดง "Hear My Voice" จาก ชิคาโก 7
เลสลี่ โอดอม จูเนียร์ ผู้ร่วมแสดง "Speak Now" จาก คืนหนึ่งในไมแอมี...
H.E.R. ผู้ร่วมแสดง "Fight for You" จาก จูดาส แอนด์ เดอะ แบล็ก เมสไซอาห์

การออกฉายตัวอย่างภาพยนตร์

เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2564 มีการประกาศออกมาว่า ทเวนตีท์เซนจูรีสตูดิโอส์, เสิร์ชไลท์ พิกเจอร์ส และ วอร์เนอร์บราเธอส์ จะออกฉายตัวอย่างภาพยนตร์ใหม่เป็นที่แรกระหว่างการถ่ายทอดสัญญาณสด โดย Jerry Daniello (รองประธานอาวุโสฝ่ายผลิตสื่อบันเทิง และฝ่ายขายโฆษณาของดิสนีย์) ให้สัมภาษณ์กับสื่อหลักอย่าง Adweek ว่า "การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นการตอกย้ำแก่คนดูว่าธีมหลักในปีนี้เปรียบเสมือนการฉายภาพยนตร์ มากกว่างานมอบรางวัลทั่ว ๆ ไป"[15][16]

ชื่อ บทบาท
อาเรียนา เดโบซ แนะนำตัวอย่างภาพยนตร์ West Side Story[15]
ลิน มานูเอล มิแรนดา แนะนำตัวอย่างภาพยนตร์ In the Heights[15]
Questlove แนะนำตัวอย่างภาพยนตร์ Summer of Soul (...Or, When the Revolution Could Not Be Televised)[15]

รายละเอียดการจัดงาน

สถานีรถไฟเก่ายูเนียนสเตชัน, ลอสแอนเจลิส สถานที่จัดมอบรางวัลออสการ์ในปีนี้

ในมติที่ประชุมของสมาชิกอคาเดมี หรือสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563 ลงมติให้ยุบรวมสาขาบันทึกเสียงยอดเยี่ยม และสาขาลำดับเสียงยอดเยี่ยม เข้าด้วยกันเป็นสาขาออกแบบเสียงยอดเยี่ยม เนื่องจากทั้งสองสาขาทำให้เกิดความกังวลถึงรายละเอียดและขอบเขตในการตัดสินรางวัลที่ทับซ้อนกันมากเกินไป[17] นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงกฎการตัดสินในสาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม คือ ภาพยนตร์ที่จะถูกเสนอชื่อเข้าชิงในสาขาดังกล่าว ต้องมีดนตรีประกอบที่สร้างขึ้นมาใหม่คิดเป็น 60% ของภาพยนตร์ทั้งเรื่อง ส่วนภาพยนตร์ที่เป็นภาคต่อหรือภาพยนตร์ที่เป็นชุด ต้องมีดนตรีประกอบที่สร้างขึ้นมาใหม่คิดเป็น 80% ของภาพยนตร์ทั้งเรื่อง[17] และในสาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม มอบสิทธิ์ให้สมาชิกของอคาเดมีทุกคนมีสิทธิ์ร่วมลงคะแนนในรอบคัดเลือก[17]

ในฐานะที่อคาเดมี เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการริเริ่มอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม การแจกจ่ายเอกสารด้านภาพยนตร์ที่จับต้องได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สำเนาภาพยนตร์, สำเนาบทภาพยนตร์ หรือซีดีเพลง จะถูกยกเลิกหลังจากงานประกาศผลรางวัลออสการ์ในครั้งนี้สิ้นสุดลง และจะเริ่มให้บริการดังกล่าวผ่านบริการสตรีมออนไลน์ "Academy Screening Room" แก่สมาชิกของอคาเดมีต่อไป[17]

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ได้มีการประกาศออกมาว่าเจสซี คอลลินส์, สเตซี เชอร์ และสตีเวน โซเดอร์เบิร์ก ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นโปรดิวเซอร์ในงานประกาศผลรางวัลครั้งนี้[18] ส่วน Glenn Weiss รับหน้าที่เป็นผู้กำกับงานเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน[19] เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้งานประกาศผลครั้งนี้เลือกใช้สถานที่หลักในการจัดงานเป็นสถานีรถไฟยูเนียนสเตชัน แทนสถานที่จัดงานเดิมคือ โรงภาพยนตร์ดอลบีเธียเตอร์[20] การแสดงของเพลงที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในสาขาเพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ออกอากาศระหว่างช่วงเดินพรมแดงก่อนเริ่มงาน แทนที่จะแสดงคั่นระหว่างการมอบรางวัล การแสดงส่วนใหญ่จัดขึ้นบริเวณดาดฟ้าของพิพิธภัณฑ์สถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์

โซเดอร์เบิร์ก กล่าวว่า เป้าหมายของเขาในงานนี้คือ การสร้างและกำกับงานราวกับว่ามันเป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง ผู้ออกแบบงานสร้างสำหรับงานนี้คือ เดวิด ร็อกเวลล์ กล่าวว่า การออกแบบงานสร้างสำหรับงานนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 1 พวกเขาพิจารณาสถานที่ที่เคยจัดงานนั้นมาก่อนอย่างโรงแรม Biltmore และโรงแรม Hollywood Roosevelt ก่อนจะตัดสินใจเลือกสถานีรถไฟยูเนียนสเตชัน เป็นสถานที่หลักในการจัดงาน ห้องขายตั๋วรถไฟเก่าถูกใช้เป็นสถานที่หลักสำหรับพิธี ในขณะที่ลานด้านนอกซึ่งอยู่ติดกันจะใช้สำหรับกิจกรรมก่อนและหลังจากพิธี ร็อกเวลล์อธิบายแผนการออกแบบว่าเป็นการสร้าง "ห้องหนึ่งซ้อนในอีกห้องหนึ่ง"[21][20] งานในครั้งนี้เลือกใช้อัตราเฟรมมาตรฐานที่ใช้กับวงการภาพยนตร์ในการถ่ายทอดสดที่ 24fps แทนที่จะเป็น 30fps อย่างเช่นงานครั้งก่อน ๆ นอกจากนี้อัตราส่วนภาพ ยังปรับมาเป็นสัดส่วนแบบภาพยนตร์ แทนที่จะเป็นอัตราส่วน 16:9 สำหรับโทรทัศน์[22]

งานประกาศผลรางวัลออสการ์ในครั้งนี้ยังคงไม่ใช้พิธีกรหลักในการดำเนินงานเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน[23] เพื่อตอกย้ำเป้าหมายของผู้ผลิตในการผลิตงานนี้เสมือนการได้ชมภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564 อคาเดมีได้ประกาศรายชื่อผู้ประกาศผลรางวัลบางส่วน จำนวน 15 รายชื่อ ได้แก่ แองเจลา บาสเซตต์, แฮลลี เบร์รี, พง จุน-โฮ, ดอน ชีเดิล, ไบรอัน แครนสตัน, ลอรา เดิร์น, แฮร์ริสัน ฟอร์ด, เรจิน่า คิง, มาร์ลี แมตลิน, รีตา มอเรโน, วาคีน ฟินิกซ์, แบรด พิตต์, รีส วิเธอร์สปูน, เรเน เซลเวเกอร์ และเซ็นเดยา ซึ่งในการประกาศผลรางวัลสาขาการแสดง ยังคงให้ผู้ชนะรางวัลด้านการแสดงทั้ง 4 คน จากงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 92 เป็นผู้ประกาศผลตามธรรมเนียมเดิม[24][25]

Questlove ได้รับเลือกให้เป็นผู้อำนวยการดนตรีในงานนี้ นอกจากนี้ ดนตรีสำหรับพิธีส่วนใหญ่ได้รับการรีมิกซ์จากการประพันธ์ที่สร้างขึ้นโดย เดอะ รูทส์ วงดนตรีของเขา โดยไม่มีการใช้วงออร์เคสตรา[26]

หลังจากพิธีเสร็จสิ้น มีการออกอากาศช่วงพิเศษ Oscars: After Dark นำโดยพิธีกร คอลแมน โดมิงโก และแอนดรูว์ แรนเนลส์[27]

การประกาศผลรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม

รางวัลในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ถูกประกาศเป็นรางวัลสุดท้าย หลังจากสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ซึ่งขัดกับธรรมเนียมเดิมที่เคยปฏิบัติกันมา[28] ผู้ชมบางส่วนตั้งข้อสังเกตว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นความตั้งใจของผู้จัดงาน เนื่องจากมีการคาดการณ์กันว่าแชดวิก โบสแมน นักแสดงผู้ล่วงลับที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงในสาขานี้จะเป็นผู้ชนะรางวัล และการประกาศผลรางวัลนี้เป็นลำดับสุดท้ายจะเป็นการสดุดีให้แก่ผลงานเรื่องสุดท้ายของเขา แต่กลายเป็นว่าแอนโธนี ฮ็อปกินส์ นักแสดงที่ไม่ได้มาร่วมงานนี้ เป็นผู้ชนะรางวัลในสาขานี้แทน[29] ตามรายงานเดิมระบุว่า แอนโธนี ฮ็อปกินส์ ประสงค์จะปรากฏตัวผ่านทางโปรแกรม ซูม เนื่องจากเขาไม่สามารถเดินทางไปร่วมงานได้ แต่ถูกผู้จัดงานปฏิเสธคำขอดังกล่าว ภายหลังเขาได้ลงคลิปวิดีโอบนอินสตาแกรมส่วนตัวเพื่อขอบคุณสำหรับรางวัลที่ได้รับมา และขออุทิศรางวัลดังกล่าวให้แก่แชดวิก โบสแมน ผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย

เงื่อนไขด้านรางวัล และตารางเวลา

การระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์อเมริกัน รวมถึงทำให้การผลิตภาพยนตร์หยุดชะงักไป มีการปิดโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ เนื่องจากข้อจำกัดด้านการค้าและการชุมนุมสาธารณะ คาดว่าจะส่งผลกระทบอย่างมากต่องานประกาศผลรางวัลออสการ์ครั้งที่ 93 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านคุณสมบัติของภาพยนตร์ที่จะถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล ซึ่งกำหนดให้ภาพยนตร์ดังกล่าวต้องฉายภายในโรงภาพยนตร์เขตลอสแอนเจลิส อย่างน้อย 7 วัน โดยมีการฉายอย่างน้อย 3 รอบต่อวัน ในขณะเดียวกันรางวัลลูกโลกทองคำ ก็ได้เปลี่ยนคุณสมบัติสำหรับภาพยนตร์ที่จะเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในปี 2021 เช่นเดียวกัน เพื่อให้ภาพยนตร์ที่มีแผนกำหนดไว้แต่แรกว่ามีกำหนดเข้าฉายตามโรงภาพยนตร์ในลอสแอนเจลิส ระหว่างวันที่ 15 มีนาคมถึง 30 เมษายน มีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล แม้ภายหลังจะเลือกเผยแพร่โดยตรงผ่านระบบสตรีมมิ่ง[30] สำหรับรางวัลออสการ์นั้น อคาเดมีระบุว่า "อยู่ระหว่างการประเมินในทุกแง่มุมของกฎเกณฑ์ที่ไม่แน่นอนนี้และอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง"[30]

สถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ เลื่อนการประชุมไปจนถึงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563[31][32] โดยมีมติอนุญาตให้ภาพยนตร์ที่ออกฉายครั้งแรกผ่านการป้องกันด้วยรหัสผ่าน (ครอบคลุมไปถึงบริการสตรีมมิงแบบสมัครสมาชิก) หรือบริการวีดิทัศน์ตามคำขอ มีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ครั้งที่ 93 หากเดิมมีกำหนดจะฉายผ่านโรงภาพยนตร์อยู่แล้ว และต้องให้สมาชิกได้รับชมผ่านเว็บไซต์ภายใน 60 วันนับจากวันที่ภาพยนตร์เรื่องนั้นออกฉายในรูปแบบสตรีมมิง หรือวีดีโอ และเมื่อโรงภาพยนตร์กลับมาเปิดให้บริการตามปกติ กฎเดิมก็จะถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง นอกจากนี้เพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติตามเกณฑ์ดังกล่าว การฉายในโรงภาพยนตร์จะได้รับอนุญาตให้เกิดขึ้นในเมืองอื่น ๆ นอกเหนือจากลอสแอนเจลิส โดยเฉพาะแอตแลนตา, ชิคาโก, ฮิวสตัน, ไมแอมี, นิวยอร์ก และบริเวณอ่าวซานฟรานซิสโก[17][33][34]

สำหรับการเลื่อนการจัดงานตามกำหนดเดิม[35] เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2563 อคาเดมีระบุว่างานประกาศผลรางวัลออสการ์ครั้งที่ 93 จะถูกเลื่อนออกไปอีกสองเดือนจากวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นวันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2564 พร้อมทั้งขยายกำหนดระยะเวลาการฉายของภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ที่จะเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล ออกไปจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[36] ในแถลงการณ์ร่วมของ David Rubin ประธาน และ ดอว์น ฮัดสัน กรรมการผู้จัดการของอคาเดมี กล่าวว่า "เป็นเวลากว่าศตวรรษที่ภาพยนตร์มีบทบาทสำคัญในการปลอบโยนสร้างแรงบันดาลใจและให้ความบันเทิงแก่เราในช่วงเวลาที่มืดมนที่สุด การขยายระยะเวลาการฉายภาพยนตร์ที่มีสิทธิ์เสนอชื่อเข้าชิงรางวัล และการเลื่อนการจัดงานประกาศผลรางวัลออกไป จะทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ที่มีความจำเป็นต้องยืดหยุ่นระยะเวลาการถ่ายทำและเผยแพร่ภาพยนตร์ของพวกเขา ปราศจากการถูกคาดโทษจากสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุมของพวกเขา"[36] นอกจากนี้การประกาศผลรางวัลออสการ์เกียรติยศ และรางวัลออสการ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิคภาพยนตร์ ถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด[36] ภายหลังจากนั้น งานประกาศผลรางวัลแบฟตา ก็เลื่อนจากเดือนกุมภาพันธ์ ไปจัดช่วงเดือนเมษายนแทน[36] ในขณะที่รางวัลลูกโลกทองคำ เลื่อนไปจัดงานแทนกำหนดการเดิมของออสการ์คือวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[37]

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2563 อคาเดมีได้ออกคำชี้แจงถึงคุณสมบัติเพิ่มเติมของภาพยนตร์ที่มีสิทธิ์ถูกเสนอชื่อเข้าชิงว่า ภาพยนตร์ที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์แบบขับรถยนต์เข้าไปชมอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ตามเมืองที่กำหนด มีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลด้วย[38]

รูปแบบการจัดงาน

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ตัวแทนของอคาเดมีให้สัมภาษณ์กับนิตยสารวาไรตี้ ถึงรูปแบบการจัดงานว่าอาจจะเป็นการจัดงานแบบมีการปรากฏตัวของผู้เข้าชิงในงาน แตกต่างจากรูปแบบการสื่อสารทางไกลแบบงานประกาศผลรางวัลเอมมี ครั้งที่ 72 ที่ผู้ประกาศผลรางวัล และผู้เข้าชิงรางวัล อยู่คนละสถานที่กัน[39] และเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564 อคาเดมีประกาศว่างานประกาศรางวัลจะจัดขึ้นที่สถานีรถไฟเก่ายูเนียนสเตชัน ควบคู่ไปกับการจัดงานที่โรงภาพยนตร์ดอลบีเธียเตอร์ โดยยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนว่าจะแบ่งช่วงของการประกาศผลรางวัลใน 2 สถานที่นี้อย่างไร ทั้งนี้งานประกาศผลรางวัลอื่น ๆ แบบปรากฏตัวภายในงานที่เกี่ยวข้องกับรางวัลออสการ์ ถูกยกเลิกทั้งหมดแล้ว[40]

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564 คณะผู้จัดงานได้ส่งจดหมายแจ้งให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล ทราบว่า "สำหรับคนที่มาร่วมงานไม่ได้เพราะตารางงาน หรือมีความยากลำบากในการเดินทาง จะไม่มีการประชุมทางไกลผ่านวิดีโอภายในงาน" และจดหมายยังกล่าวต่ออีกว่า "เราได้พยายามเป็นอย่างมากที่จะมอบค่ำคืนที่สนุกสนานและปลอดภัยให้กับทุกคน รวมไปถึงคอหนังกว่าล้านคนทั่วโลก"[41] อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564 อคาเดมีประกาศว่าจะเพิ่มสถานที่จัดงานย่อยในลอนดอน และปารีส เพื่อลดการเดินทางของผู้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงบางส่วน[42] เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2564 เดอะนิวยอร์กไทมส์ ระบุว่ามีสถานที่จำนวน 20 สถานที่ถูกใช้สำหรับผู้ร่วมพิธีคนอื่น ๆ ที่อยู่นอกสหรัฐอเมริกา[43] รวมไปถึงโรงภาพยนตร์บีแอฟไอ เซาท์แบงค์ ในลอนดอน และโรงภาพยนตร์ดอลบีซีนีมาในโซล ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับประกาศผลรางวัลออสการ์ สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม โดยพง จุน-โฮ

ในช่วงกลางเดือนเมษายน อคาเดมีระบุถึงความปลอดภัยสำหรับพิธีนี้ว่ามีการจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมพิธีเพียง 170 คนเท่านั้น โดยผู้เข้าร่วมพิธีทุกคนจะต้องทำการตรวจวัดอุณหภูมิ เมื่อเข้าสู่สถานที่จัดพิธี และทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 อย่างน้อย 3 ครั้งก่อนวันจัดพิธี นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมพิธีจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ก่อนเข้าร่วมงาน และจะถูกขอให้สวมหน้ากากอนามัย เมื่อไม่ได้อยู่ในภาพขณะออกอากาศ แต่เมื่อผู้เข้าร่วมพิธีอยู่ในภาพขณะออกอากาศ ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัย ในงานแถลงข่าว สตีเวน โซเดอร์เบิร์ก กล่าวว่าหน้ากากอนามัยจะมีบทบาท "สำคัญมาก" ใน "การเล่าเรื่อง" ของพิธี[44][45]

มีรายงานของคนจรจัดที่ถูกบังคับให้ออกจากสถานที่จัดงานอย่าง สถานีรถไฟยูเนียนสเตชัน ทำให้ เควิน เดอ เลออน สมาชิกสภาเทศบาลนครลอสแอนเจลิส ต้องออกมาระบุว่า "ไม่มีผู้อยู่อาศัยถูกบังคับให้ย้ายออกไป เราสามารถเสนอทางเลือกด้านที่อยู่อาศัยให้กับผู้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัย บริเวณใกล้สถานียูเนียนสเตชันได้"[46]

การระงับการแพร่ภาพสัญญาณถ่ายทอดสดของจีน

การประกาศผลรางวัลในครั้งนี้ อยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวดของจีน และดินแดนที่จีนอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ดังกล่าว

การออกอากาศทางโทรทัศน์ และการสนทนาผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งหมด ถูกระงับในจีนแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากกรณีที่โคลอี เจา ผู้กำกับหญิงเชื้อสายจีน จากภาพยนตร์เรื่อง โนแมดแลนด์ ได้แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ประเทศจีนในแง่ลบผ่านการให้สัมภาษณ์กับ นิตยสารฟิล์มเมกเกอร์ มาก่อน นอกจากนี้พิธียังถูกปิดกั้นจากสื่อสังคมออนไลน์และสำนักข่าวของจีนอีกด้วย[47][48]

สถานีโทรทัศน์ทีวีบี ของฮ่องกง ตัดสินใจไม่ถ่ายทอดสดงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 93 เป็นครั้งแรกในรอบ 52 ปี นับตั้งแต่ฮ่องกงมีการถ่ายทอดสดงานประกาศผลรางวัลออสการ์ผ่านฟรีทีวีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1969 โดยโฆษกของสถานีโทรทัศน์ทีวีบี เปิดเผยว่า “เป็นการตัดสินใจด้วยเหตุผลทางการค้าเท่านั้น ที่ทำให้ตัดสินใจไม่ถ่ายทอดสดงานประกาศผลรางวัลออสการ์ในปีนี้” อย่างไรก็ตาม มีผู้ชมบางส่วนเชื่อว่าเหตุผลที่แท้จริงมาจากการที่ภาพยนตร์สารคดีขนาดสั้นเรื่อง Do Not Split ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์สารคดีขนาดสั้นยอดเยี่ยม[49]

คำวิจารณ์

การจัดงานประกาศผลรางวัลออสการ์ในครั้งนี้ถูกวิจารณ์ไปในทางลบจากนักวิจารณ์หลายคน ในเว็บไซต์นักวิจารณ์ เว็บไซต์มะเขือเน่า[50] ได้รับคะแนนไปเพียง 24% จาก 29 คำวิจารณ์โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.7/10 ฉันทามติของนักวิจารณ์เห็นตรงกันว่า "งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 93 ได้มอบสิ่งที่แตกต่างออกไปให้แก่ผู้ชม แต่หลังจากการเปิดตัวอย่างสง่างามของเรจิน่า คิง พบว่าการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบงานในปีนี้ ทำให้ความสำคัญดั้งเดิมบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป และการแบกรับความเสี่ยงจากการเดิมพันของผู้จัดงานเป็นอย่างไร"[51]

มีคำวิจารณ์จากผู้ชมบางส่วนเกี่ยวกับงานในครั้งนี้ ซึ่งไม่ได้มีการกล่าวถึงโรงภาพยนตร์ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 เช่น การปิดตัวของโรงภาพยนตร์บางแห่ง การลาออก การปลดพนักงาน รวมไปถึงผลกระทบจากการสูญเสียรายได้อันมหาศาล ในทางกลับกัน งานประกาศผลรางวัลแกรมมี ครั้งที่ 63 ได้กล่าวยกย่องถึงสถานที่แสดงดนตรีสดที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19[52]

จำนวนผู้ชม

จากการวัดเรตติ้งถ่ายทอดสดบนโทรทัศน์ งานประกาศผลรางวัลออสการ์ครั้งนี้ ทำสถิติจำนวนผู้ชมน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยจำนวนคนดูเพียง 10.4 ล้านคน[1] ลดลงจากงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 92 ที่มีจำนวนผู้ชม 23.6 ล้านคนถึง 56%[53]

การรำลึกถึงบุคคลผู้ล่วงลับ In Memoriam

ช่วงพิธีรำลึกถึงบุคคลในวงการฮอลลีวูดที่เสียชีวิตไปแล้ว หรือ In Memoriam นำโดยแองเจลา บาสเซตต์ ในพิธีช่วงนี้ไม่ใช่การแสดงอย่างเต็มรูปแบบ แต่มีการเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการฉายวิดีโอตัดต่อประกอบเพลง As ของศิลปินชื่อดัง สตีวี วันเดอร์ แทน[54] มีคำวิจารณ์จากคนดูบางส่วนว่าการตัดต่อของคลิปดังกล่าวเร็วเกินไป ภายหลังจากนั้น Rob Mills รองประธานฝ่ายบริหารด้านความบันเทิงของดิสนีย์ ออกมาให้เหตุผลว่า ผู้ตัดต่อจำเป็นต้องตัดต่อรายชื่อบุคคลทั้งหมดให้พอดีกับความยาวของเพลง และให้เข้ากับจังหวะดนตรีด้วย[55]

รายชื่อบุคคลผู้ล่วงลับที่ปรากฏในวิดีโอดังกล่าว ได้แก่[56]

หมายเหตุ

  1. ผู้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลจำนวนหนึ่ง อยู่ตามสถานที่รับรองต่าง ๆ ทั่วโลก

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Patten, Dominic (April 27, 2021). "Oscar Viewership Rises To 10.4M In Final Numbers; Remains Least Watched & Lowest Rated Academy Awards Ever – Update". Deadline. สืบค้นเมื่อ April 27, 2021.
  2. "The Academy and ABC Set April 25, 2021 as New Show Date for 93rd. Big tittiez Oscars®". Oscars.org. June 15, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2021. สืบค้นเมื่อ February 5, 2021.
  3. "Review: Not quite a movie, but the Oscars were a love letter - seattlepi.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-29. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
  4. Hammond, Pete (April 26, 2021). "Oscars Analysis: Unique Ceremony Was A Game Effort, But There Just Wasn't Enough Of The Promised "Movie Love"". Deadline (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ April 27, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "Oscars Pushed Back to April 25, Eligibility Window Extended". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 15, 2020. สืบค้นเมื่อ June 15, 2020.
  6. abc.com
  7. "The full list of 2021 Oscar nominations". Guardian. March 15, 2021. สืบค้นเมื่อ March 15, 2021.
  8. Stevens, Matt (2021-04-26). "Anthony Hopkins shocks by winning best actor over Chadwick Boseman". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
  9. "Frances McDormand wins third best actress Oscar for Nomadland". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-26. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
  10. Barnes, Brooks; Sperling, Nicole (April 25, 2021). "'Nomadland' Makes History, and Chadwick Boseman Is Upset at the Oscars". The New York Times. สืบค้นเมื่อ April 26, 2021.
  11. Qin, Amy; Chien, Amy (April 26, 2021). "China Censors Chloé Zhao's Oscar Win, but Fans Find Ways to Rejoice". The New York Times. สืบค้นเมื่อ April 27, 2021.
  12. "2021". Oscars.org | Academy of Motion Picture Arts and Sciences (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-07.
  13. "In Break with Tradition, the Academy Will Present Two Honorary Awards at the Oscars 2021 Ceremony". IndieWire. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 17, 2021. สืบค้นเมื่อ February 8, 2021.
  14. "Oscars Reveal Original Song Performers and Aftershow Plans". Variety. April 16, 2021. สืบค้นเมื่อ April 16, 2021.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 Welk, Brian (April 22, 2021). "'West Side Story,' 'In the Heights,' 'Summer of Soul' Trailers to Debut During Oscars". The Wrap. สืบค้นเมื่อ April 22, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. D'Alessandro, Anthony (April 22, 2021). "Disney To Celebrate Moviegoing During Oscars With Talent & Exclusive Trailers From 'West Side Story', 'Summer Of Soul' & More". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ April 22, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 Hammond, Pete (April 28, 2020). "Oscars Keeping Show Date But Make Big News As Academy Lightens Eligibility Rules, Combines Sound Categories, Ends DVD Screeners and More". Deadline Hollywood (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 23, 2020. สืบค้นเมื่อ May 6, 2020.
  18. Kay, Jeremy (December 8, 2020). "Jesse Collins, Stacey Sher, Steven Soderbergh to produce 2021 Oscars". Screen International (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 10, 2020. สืบค้นเมื่อ December 9, 2020.
  19. Davis, Clayton (March 19, 2021). "Oscars: Glenn Weiss Will Return to Direct Ceremony". Variety. สืบค้นเมื่อ March 19, 2021.
  20. 20.0 20.1 Hammond, Pete; Hammond, Pete (2021-03-18). "Oscar Show Takes Shape With Letter To Nominees: No Zooms, No Casual Dress, Covid Protocols In Force & "Stories Matter"". Deadline (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-04-23.
  21. "Oscars Set Revealed: Here's How L.A.'s Union Station Will Get Gussied Up – Photo Gallery". Deadline (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-04-21. สืบค้นเมื่อ 2021-04-23.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  22. Van Syckle, Katie (April 22, 2021). "Preparing for a Surreal Oscar Night". The New York Times. สืบค้นเมื่อ April 26, 2021.
  23. Chitwood, Adam (March 23, 2021). "The Oscars Will Not Have a Host for the Third Time in a Row". Collider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2021. สืบค้นเมื่อ March 22, 2021.
  24. Hammond, Pete (April 12, 2021). "Oscars: Academy Sets Ensemble Cast Of 15 Stars To Serve As Presenters". Deadline (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ April 12, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  25. "Oscars: Presenters Will Include All Four of Last Year's Acting Winners". The Hollywood Reporter (ภาษาอังกฤษ). April 12, 2021. สืบค้นเมื่อ April 12, 2021.
  26. Jem Aswad (April 21, 2021). "How Questlove and Oscars Producer Jesse Collins Are Changing Music at the 2021 Academy Awards". Variety.
  27. Welk, Brian (16 April 2021). "Oscars Song Contenders to Perform for Pre-Show, 'After Dark' Special Set for Post-Awards". The Wrap. สืบค้นเมื่อ 26 April 2021.
  28. "Oscars End Abruptly With Anthony Hopkins Best Actor Upset". Variety (ภาษาอังกฤษ). April 25, 2021.
  29. "2021 Oscars Face Backlash for Snubbing Chadwick Boseman in Best Actor Category". E! (ภาษาอังกฤษ). April 25, 2021.
  30. 30.0 30.1 Hammond, Pete (March 26, 2020). "Golden Globes Alter Eligibility Rules For Theatrical Releases In Light Of Coronavirus Crisis; Others Including Oscar Expected To Follow". Deadline Hollywood (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2020. สืบค้นเมื่อ April 20, 2020.
  31. Hammond, Pete (April 7, 2020). "Oscars: Academy Delays April Board Meeting; Key Fall Film Festivals Hope To Keep Lights On For Movie Awards Season". Deadline Hollywood (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2020. สืบค้นเมื่อ April 20, 2020.
  32. Desta, Yohana. "Will Coronavirus Complicate the Oscars Too?". Vanity Fair (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 27, 2020. สืบค้นเมื่อ April 20, 2020.
  33. Sharf, Zack (April 28, 2020). "Oscars Will Allow VOD Releases to Qualify While Major Theaters Are Closed". IndieWire (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 3, 2020. สืบค้นเมื่อ May 6, 2020.
  34. Malkin, Marc. "Oscars Will Consider Films That Didn't Play in Theaters as Part of New Academy Rules". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 29, 2020. สืบค้นเมื่อ April 29, 2020.
  35. Malkin, Marc (May 19, 2020). "Film Academy Considering Postponing 2021 Oscars (EXCLUSIVE)". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 20, 2020. สืบค้นเมื่อ May 19, 2020.
  36. 36.0 36.1 36.2 36.3 Malkin, Marc (June 15, 2020). "Oscars 2021 Pushed Back by Two Months". Variety (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2020. สืบค้นเมื่อ June 15, 2020.
  37. "Golden Globes Sets Late February Date After Oscars Delay". The Hollywood Reporter (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 1, 2020. สืบค้นเมื่อ June 22, 2020.
  38. Shafer, Ellise (October 7, 2020). "Oscars Update Eligibility Rules to Allow Drive-In Screenings". Variety (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 13, 2020. สืบค้นเมื่อ October 20, 2020.
  39. Davis, Clayton (December 1, 2020). "No Zoom for Oscars 2021, as Academy Says 'In-Person Telecast Will Happen' (EXCLUSIVE)". Variety (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2020. สืบค้นเมื่อ December 2, 2020.
  40. Hammond, Peter (March 15, 2021). "Academy Confirms Venues And Scaled-Down In-Person Oscars And Events; Governors Ball, Nominees Luncheon, More KO'd". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ March 16, 2021.
  41. "Oscars 2021: No Zoom allowed for attendees - CBBC Newsround" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ March 19, 2021.
  42. Feinberg, Scott (March 30, 2021). "Oscars: Academy Adds European Venues, Will Work to Cover Quarantine-Impacted Travel Costs". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ March 30, 2021.
  43. Sperling, Nicole; Barnes, Brooks (April 18, 2021). "The Oscars Are a Week Away, but How Many Will Watch?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ April 18, 2021.
  44. Malkin, Marc (April 19, 2021). "Oscar Attendees Will Not Wear Face Masks During Telecast". Variety. สืบค้นเมื่อ April 21, 2021.
  45. Davis, Clayton (2021-04-17). "Oscar Producers Vague on Role of Face Masks, Will Use 'Satellite Hook-Ups' for Remote Nominees". Variety (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-04-23.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  46. "Oscars live and in person from L.A.'s Union Station, where the homeless say they were ejected". Toronto, Canada: National Post. April 25, 2021.
  47. "Chloé Zhao's historic win at this year's Oscars censored in China". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-26. สืบค้นเมื่อ 2021-04-27.
  48. Lin, Liza (2021-04-26). "China Censors 'Nomadland' Director Chloé Zhao's Oscar Win". Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
  49. "Oscars won't show in Hong Kong for first time since 1969 as state media rails against protest film nomination". Hong Kong: Hong Kong Free Press. April 25, 2021.
  50. Rotten Tomatoes
  51. "The Academy Awards: 93rd Oscars (2021)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ April 26, 2021.
  52. "The winners, losers and "...wait, that was it?" of the 2021 Oscars". OnMilwaukee. 2021-04-26. สืบค้นเมื่อ 2021-04-27.
  53. Maas, Jennifer; Maglio, Tony (April 27, 2021). "Viewership Falls 56% to All-Time Low". Yahoo News. สืบค้นเมื่อ April 27, 2021.
  54. Oscars: How Producers Pulled Off Show, Music, In Memoriam - Variety
  55. "Chadwick Boseman, Kelly Preston and Cicely Tyson Remembered in Oscars 2021 In Memoriam". PEOPLE.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
  56. Andreeva, Nellie (April 25, 2021). "'In Memoriam': Fans React To Fast Pace, Omissions In Oscars Segment; Naya Rivera & Jessica Walter Among MIAs". Deadline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-26. สืบค้นเมื่อ April 26, 2021.

เว็บไซต์หลัก

แหล่งข้อมูลข่าวสาร

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!