ข้าวสาลี (Triticum spp.) [1] เป็นพืชจำพวกธัญพืช ปลูกมากในแถบประเทศตะวันออกกลาง เหนือเส้นศูนย์สูตร หรือในเขตอบอุ่น หรือเขตหนาวบางเขต
เมล็ดข้าวสาลีจะมีแป้งเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณ 70% และมีแร่ธาตุอื่น ๆ อีกเป็นองค์ประกอบ 30% ต้นข้าวสาลีประกอบไปด้วยธาตุอาหารมากกว่า 100 ชนิด ซึ่งรวมทั้งแร่ธาตุหลัก ๆ ที่ร่างกายต้องการทุกตัว แร่ธาตุรองที่ร่างกายต้องการในปริมาณเล็กน้อย วิตามินในกลุ่มบีคอมเพล็กซ์ครบถ้วน นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในเรื่องของแหล่งโปร – วิตามินเอ ที่สูงที่สุดในบรรดาอาหารต่าง ๆ รวมทั้งมีวิตามินซี อี และเค เป็นจำนวนมาก น้ำต้นข้าวสาลีมีโปรตีนอยู่ 25 % ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงมากกว่าเมื่อเทียบกับเนื้อปลา ไข่ ผลิตภัณฑ์นม หรือถั่วต่าง ๆ มากไปกว่านี้ยังมีสารต้าน เชื้อรา สารต้านพิษจากเชื้อราที่เรียกว่า laetrile อีกด้วย
ข้าวสาลี เป็นธัญพืชอย่างดีที่มีการบริโภคกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคกระเพาะ สำหรับผู้ป่วยระหว่างพักฟื้น ในทางยาใช้เมล็ดแก่ในขนาด 15-30 g. ต้มกินน้ำเป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยให้นอนหลับ และลดความดันโลหิตสูง[2]
แหล่งผลิตข้าวสาลีรายใหญ่ในประเทศไทย ได้แก่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน[3]
โภชนาการ
แม้ว่าข้าวสาลีจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่ข้าวสาลีก็มีโปรตีนกลูเต็นที่ผู้ป่วยโรคผิดปกติเกี่ยวกับช่องท้อง (Coeliac disease) ไม่สามารถรับโปรตีนชนิดนี้ได้เช่นกัน ซึ่งโปรตีนชนิดนี้สามารถพบได้ใน ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ตและข้าวทริทิเคลี[4]
ผลผลิตและการบริโภค
ในปี 2011 การบริโภคข้าวสาลีเฉลี่ย 65 กิโลกรัมต่อคน และพบว่าประเทศอาเซอร์ไบจานมีการบริโภคข้าวสาลีเฉลี่ย 210 กิโลกรัมต่อคน ในปี 1997 มีการข้าวสาลีเฉลี่ยสูงถึง 110 กิโลกรัมต่อคน และประเทศเดนมาร์กบริโภคสูงถึง 623 กิโลกรัมต่อคน แต่ร้อยละ 80 เป็นอาหารสัตว์ ข้าวสาลีเป็นอาหารหลักหลักในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางและได้รับความนิยมในเอเชีย การผลิตข้าวสาลีเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นทั่วโลก โดยประเทศจีนสามารถผลิตข้าวสาลีได้เกือบจะเป็นหนึ่งในหกของโลก
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น