ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา หรือ สายพันธุ์ B.1.617.2 เป็นสายพันธุ์ของไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งก่อโรคโควิด-19 เป็นสายพันธุ์ย่อยของ B.1.617 อีกทีหนึ่ง[1] พบครั้งแรกในอินเดียช่วงปลายปี 2020[2][3] และองค์การอนามัยโลกได้ตั้งชื่อว่า เดลตา ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2021[4]
ไวรัสมีการกลายพันธุ์ในยีนที่ถอดรหัสเป็นโปรตีนหนาม (spike protein) ที่เปลือกหุ้มไวรัส[5] การกลายพันธุ์เป็นการแทนที่กรดอะมิโนชนิด T478K, P681R และ L452R[6] ซึ่งอาจเพิ่มการติดต่อของโรค และอาจมีผลให้แอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ที่กระตุ้นโดยวัคซีนหรือการติดโรคโควิด-19 มาก่อนสามารถกำจัดเชื้อได้ลดลง ในเดือนพฤษภาคม 2021 สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษคือพีเอชอี (Public Health England, PHE) พบว่าอัตราการติดโรคต่อภายในกลุ่ม (secondary attack rate)[A] ของเชื้อนี้สูงกว่าสายพันธุ์อัลฟาถึงร้อยละ 51-67[11] ต่อมาในเดือนมิถุนายนจึงรายงานเพิ่มว่าความเสี่ยงการเข้า รพ. ก็สูงขึ้นด้วย[12]
วัคซีนโควิด-19 มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อเดลตาที่อาการหนักจนถึงเข้า รพ. แม้จะมีหลักฐานบ้างว่า คนที่ฉีดวัคซีนแล้วมีโอกาสเกิดอาการจากเชื้อนี้มากกว่าสายพันธุ์โควิด-19 อื่น ๆ[13]
ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2021 พีเอชอียกระดับสายพันธุ์นี้จากสายพันธุ์ที่กำลังตรวจสอบ (variant under investigation, VUI) ให้เป็นสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วง (variant of concern, VOC) เพราะประเมินว่า เชื้อติดต่อได้ง่ายอย่างน้อยก็เท่ากับสายพันธุ์อัลฟา (B.1.1.7) ที่เบื้องต้นพบในสหราชอาณาจักร[14] ต่อมากลุ่มผู้ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของสหราชอาณาจักร (SAGE) จึงประเมินว่า เชื้อติดต่อได้ง่ายกว่าอัลฟาประมาณ 50%[15] วันที่ 11 พฤษภาคม องค์การอนามัยโลกจึงจัดเป็นสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน โดยระบุว่า มีหลักฐานว่าติดต่อได้ง่ายกว่าและภูมิต้านทาน (เนื่องกับวัคซีนและการติดโรค) ก็จัดการมันได้น้อยลง ต่อมาวันที่ 15 มิถุนายน 2021 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐก็ได้ยกระดับเดลตาว่าน่าเป็นห่วง[16]
สายพันธุ์นี้เชื่อว่าเป็นส่วนให้เกิดการระบาดระลอกที่สองในอินเดียเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2021[17][18][19] เป็นส่วนให้เกิดการระบาดระลอกที่ 3 ในสหราชอาณาจักร[20][21] และในแอฟริกาใต้[22] ในเดือนกรกฎาคม 2021 องค์การอนามัยโลกจึงเตือนว่า อาจเกิดผลเช่นกันในยุโรปและในแอฟริกา[23][22] ในปลายเดือนกรกฎาคม จึงพบว่าสายพันธุ์ได้เพิ่มการติดเชื้อแต่ละวันในภูมิภาคต่าง ๆ ของเอเชีย[24] ในสหรัฐ[25] และในออสเตรเลีย[26]
จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2021 มีประเทศ 163 ประเทศที่ได้พบสายพันธุ์นี้แล้ว[27] โดยองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่าไวรัสสายพันธุ์เดลตาจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่พบในการระบาดทั่วของโควิด-19 ในอีกไม่นาน หรืออาจจะเป็นไปแล้ว ณ ตอนนี้ ก็เป็นไปได้[28][29]
สายพันธุ์เดลตามีการกลายพันธุ์ที่ยีนซึ่งเข้ารหัสโปรตีนหนาม (spike protein) ของไวรัส[5] เป็นการกลายพันธุ์แบบแทนที่ชนิด D614G, T478K, P681R และ L452R[30][31] การจำแนกวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของเน็กซ์เสตน (Nextstrain) จัดสายพันธุ์ให้อยู่ในเคลด 21A[32]
ในปลายเดือนพฤษภาคม 2021 องค์การอนามัยโลกได้ตั้งชื่อสายพันธุ์นี้เป็นเดลตา หลังเริ่มใช้อักษรกรีกเป็นชื่อสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงและสายพันธุ์ที่น่าสนใจ[4]
ปัจจุบันมีสายพันธุ์ลูกหลานของ B.1.617 ที่จัดหมู่ไว้ 3 หมวด
ในเดือนเมษายน 2021 พีเอชอีจัด B.1.617.1 ให้เป็นสายพันธุ์ที่กำลังตรวจสอบ ต่อมาในเดือนเดียวกัน ก็จัด B.1.617.2 (คือเดลตา) และ B.1.617.3 ให้เป็นสายพันธุ์ที่กำลังตรวจสอบเช่นกัน สายพันธุ์ B.1.617.3 มีการกลายพันธุ์ L452R และ E484Q เช่นเดียวกันกับ B.1.617.1 แต่ B.1.617.2 ก็ไม่มีการกลายพันธุ์แบบ E484Q โดยยังมีการกลายพันธุ์ T478K ที่ไม่พบใน B.1.617.1 และ B.1.617.3 อีกด้วย[33][34] ในช่วงเดียวกัน ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคยุโรป (ECDC) ก็ได้ระบุสายพันธุ์ย่อยทั้งสามว่า น่าสนใจ และประเมินว่า จะต้องเพิ่มเข้าใจความเสี่ยงก่อนจะพิจารณาเปลี่ยนมาตรการจัดการโรคที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน[35]
จีโนมของสายพันธุ์เดลตา หรือ B.1.617.2 มีการกลายพันธุ์ 13 ตำแหน่ง[B] ซึ่งทำให้โปรตีนที่ผลิตเนื่องกับลำดับยีนที่เปลี่ยนไปเช่นนั้น เปลี่ยนไป[3] มีการกลายพันธุ์ 4 อย่างทั้งหมดที่น่าเป็นห่วงเป็นพิเศษในโปรตีนหนามของไวรัส ซึ่งโดด ๆ แล้วไม่เฉพาะเจาะจงต่อสายพันธุ์นี้ แต่การมีการกลายพันธุ์ทั้ง 4 อย่างเป็นลักษณะพิเศษของสายพันธุ์นี้[31][39] การกลายพันธุ์รวมทั้ง
ให้สังเกตว่า การกลายพันธุ์ E484Q ไม่มีอยู่ในจีโนมของสายพันธุ์เดลตา[44][45]
สายพันธุ์เดลตาบวกกับการกลายพันธุ์ K417N จัดอยู่ในเคลด 2 เคลดคือ AY.1 และ AY.2 ตามการจำแนกสายพันธุ์ของแพงโก (PANGOLIN)[46] และมีชื่อเล่นว่า เดลตาพลัส หรือสายพันธ์เนปาล มีการกลายพันธุ์ชนิด K417N[47] ซึ่งก็พบในสายพันธุ์เบตาด้วย[48] เป็นการแทนที่ไลซีนด้วยแอสพาราจีนที่ตำแหน่ง 417[49]
ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2021 สายพันธุ์ AY.3 เป็นตัวทำให้ติดเชื้อร้อยละ 21 ในสหรัฐ[50]
: VE ลดลง <10%, หรือ VE >90% โดยไม่มีค่าเปรียบเทียบ : VE ลดลงระหว่าง 10 ถึง <20% : VE ลดลงระหว่าง 20 ถึง <30%
: ลดลง <2 เท่า : ลดลงระหว่าง 2 ถึง <5 เท่า : ลดลงระหว่าง 5 ถึง <10 เท่า : ลดลง ≥ 10 เท่า * วัคซีนโมเดอร์นาและไฟเซอร์ได้ประเมินร่วมกัน
อาการที่สามัญสุดของการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาอาจผิดไปจากโควิด-19 ดั้งเดิม และคนที่ติดโรคอาจเข้าใจผิดว่าเป็นหวัดหนักโดยไม่รู้ว่าต้องแยกตัว อาการสามัญรวมปวดศีรษะ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และเป็นไข้[51][52]
ในสหราชอาณาจักรที่ผู้ติดโรคใหม่เกินร้อยละ 91 ติดสายพันธุ์เดลตา งานศึกษาหนึ่งพบว่า อาการสามัญสุดคือปวดศีรษะ เจ็บคอ และน้ำมูกไหล[53]
องค์การอนามัยโลกยังไม่ระบุวิธีการป้องกันการติดเชื้อเดลตาโดยเฉพาะ การป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ทั่วไปน่าจะยังใช้ได้ผลเหมือนเดิม วิธีการป้องกันโดยทั่วไปเหล่านี้ได้แก่ การล้างมือ การใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม ไม่แตะปาก จมูก หรือตาด้วยมือที่ยังไม่ล้าง และไม่เข้าไปในบริเวณอาคาร/บ้านที่อากาศไม่ถ่ายเทโดยเฉพาะเมื่อมีคนกำลังพูด[54]
ในอินเดีย งานศึกษาหนึ่งพบว่า เลือดของคนไข้ที่ติดโควิดมาก่อนและของผู้ที่ได้รับวัคซีนโคแว็กซินสามารถกำจัดฤทธิ์ของสายพันธุ์ B.1.617 แม้จะมีประสิทธิภาพลดลง[55] ส่วนอีกงานหนึ่งพบว่า เลือดของผู้ฉีดวัคซีน Covishield (แอสตร้าเซนเนก้า) สามารถป้องกันสายพันธุ์ B.1.617 ได้[56]
พีเอชอีพบว่า หลังจากฉีดโดสแรก ทั้งวัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทคและของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิภาพป้องกันการติดโรคแบบแสดงอาการร้อยละ 33 และ 2 สัปดาห์หลังจากฉีดโดสที่ 2 วัคซีนของไฟเซอร์มีประสิทธิภาพร้อยละ 88 และวัคซีนของแอสตร้าร้อยละ 60[57][58]
ในอังกฤษ งานศึกษาที่ศูนย์วิจัยชีวเวชคือสถาบันฟรานซิสคริกและตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ The Lancet พบว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ทั้งสองเข็มแล้วน่าจะมีระดับแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์สำหรับเชื้อสายพันธุ์เดลตา 5 เท่าน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม[59][60]
ในเดือนมิถุนายน 2021 พีเอชอีประกาศผลงานศึกษาที่พบว่า หลังจากฉีด 2 โดส วัคซีนของไฟเซอร์และของแอสตร้ามีผลป้องกันการติดเชื้อซึ่งทำให้เข้า รพ. เนื่องจากสายพันธุ์เดลตาถึงร้อยละ 96 และ 92 ตามลำดับ[61][62]
งานศึกษาเดือนกรกฎาคม 2021 ในศรีลังกาพบว่า วัคซีนของซิโนฟาร์มก่อ seroconversion ในบุคคลที่ได้วัคซีนทั้งสองโดสร้อยละ 95 อัตราในคนอายุระหว่าง 20-39 ปีสูงกว่า คือ 98.9% ส่วนอัตราในคนอายุ 60 ปีขึ้นก็ต่ำกว่าเล็กน้อยคือ 93.3% แอนติบอดีลบล้างฤทธิ์พบในคนที่ฉีดวัคซีน 81.25%[63][64]
ในปลายเดือนกรกฎาคม พีเอชอีตีพิมพ์งานศึกษาที่พบว่า วัคซีนของไฟเซอร์หลังโดสที่สองมีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อเดลตาที่แสดงอาการ 93.7% เทียบกับวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าที่ 67%[65]
การรักษาผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาจะเหมือนกับเมื่อรักษาโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ
การรักษาปัจจุบันเป็นการบำบัดประคับประคอง ซึ่งอาจรวมถึงการให้สารน้ำ การรักษาด้วยออกซิเจน และประคับประคองอวัยวะสำคัญอื่นที่ได้รับผลกระทบ[66][67][68] มีการใช้เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (ECMO) เพื่อรักษาทางเดินหายใจล้มเหลว แต่ประโยชน์ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา[69][70] การรักษาแบบประคับประคองอาจมีประโยชน์ในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงในการติดเชื้อระยะต้น[71]
นักวิทยาศาสตร์อังกฤษได้ระบุว่า เดลตาแพร่เชื้อได้ยิ่งกว่าอัลฟาซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักมาก่อนถึง 40-60%[77] เพราะอัลฟาแพร่เชื้อได้ 150% เทียบกับสายพันธุ์อู่ฮั่นดั้งเดิมอยู่แล้ว[77] และถ้าเดลตาแพร่เชื้อได้ 150% เทียบกับอัลฟา เดลตาอาจสามารถแพร่เชื้อได้ 225% เทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม[78]
ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน ( R 0 {\displaystyle R_{0}} ) หมายถึงจำนวนคนที่ติดเชื้อจากคนเดียว ๆ ภายในกลุ่มที่ทุกคนเสี่ยงติดเชื้อ บีบีซีรายงานว่า R 0 {\displaystyle R_{0}} ของสายพันธุ์อู่ฮั่นอยู่ที่ 2.4-2.6 ของอัลฟาที่ 4-5 และของเดลตาที่ 5-8[79] นี่เปรียบเทียบกับโรคเมอร์ส (0.29-0.80[80]) ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (1.2-1.4[81]) อีโบลา (1.4-1.8[82]) หวัดธรรมดา (2-3[83]) ซาร์ส (2-4[84]) ฝีดาษ (3.5-6[85]) และอีสุกอีใส (10-12[86]) เอกสารภายในของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐที่หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ได้มาระบุว่า เดลตาระบาดได้เท่ากับอีสุกอีใส ระบาดได้น้อยกว่าโรคที่กล่าวมาก่อนที่เหลือ แต่ระบาดได้น้อยกว่าโรคหัด (12-18[87][88]) โดยระบุว่า R 0 {\displaystyle R_{0}} ของเดลตาอยู่ระหว่าง 5-9.5[89]
งานศึกษาหนึ่ง[90] ที่ตีพิมพ์ออนไลน์โดยไม่ได้ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันและทำโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคมณฑลกวางตุ้ง อาจจะอธิบายการเพิ่มแพร่เชื้อได้เป็นบางส่วน คือ
ข้อมูลการตรวจตราของรัฐบาลสหรัฐ เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์แสดงว่า จำนวนการติดเชื้อเดลตาเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าทุก ๆ 2 สัปดาห์เทียบกับอัลฟา[93][94][95]
สายพันธุ์เดลตาได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งอินเดีย สหราชอาณาจักร[96] โปรตุเกส[97] รัสเซีย[98] เม็กซิโก ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย[99] แอฟริกาใต้ เยอรมนี[100] ลักเซมเบิร์ก[101] สหรัฐ[102] เนเธอร์แลนด์[103] เดนมาร์ก[104] ฝรั่งเศส[105] และไทย[106] ปกติการรายงานสายพันธุ์โรคจะช้ากว่าการรายงานจำนวนคนติดโรคโดยช้ากว่าประมาณ 3 สัปดาห์
จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2021 มีประเทศ 163 ประเทศที่ได้พบสายพันธุ์นี้แล้ว[27] โดยองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า จะกลายเป็นสายพันธุ์หลักของโควิดในอีกไม่นาน หรืออาจจะเป็นไปแล้วก็เป็นได้[28][29]
ข้อมูลการตรวจตราของรัฐบาลอินเดีย (IDSP) พบว่า คนไข้ 32% ทั้งที่เข้า รพ. และไม่เข้า รพ. มีอายุน้อยกว่า 30 ปีในการระบาดระลอกที่ 2 เทียบกับ 31% ในระลอกแรก ส่วนสัดส่วนของคนอายุระหว่าง 30-40 ปีคงที่โดยอยู่ที่ 21% การเข้า รพ. ของผู้อายุ 20-39 ปีเพิ่มเป็น 25.5% จาก 23.7% และอายุ 0-19 ปีเพิ่มเป็น 5.8% จาก 4.2% ข้อมูลยังแสดงด้วยว่า มีคนไข้ที่ไม่แสดงอาการในอัตราส่วนสูงกว่าที่เข้า รพ. และมีอัตราสูงกว่าที่ระบุว่าหายใจไม่ออก ดังนั้น แม้คนอายุน้อยจะติดโรคในสัดส่วนเท่ากับระลอกแรก แต่ก็ป่วยหนักกว่า[107]
ในวันที่ 7 มิถุนายน 2021 นักวิจัยสิงค์โปร์ได้เผยแพร่ผลงานที่แสดงนัยว่า คนไข้ที่ตรวจพบเชื้อเดลตามีโอกาสเกิดปอดบวมและ/หรือจำเป็นต้องให้ออกซิเจนยิ่งกว่าคนไข้สายพันธุ์ดั้งเดิมหรืออัลฟา[108]
วันที่ 11 มิถุนายน 2021 พีเอชอีรายงานว่ามีความเสี่ยงเข้า รพ. เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญในการติดเชื้อเดลตาเทียบกับอัลฟา[109] วันที่ 14 มิถุนายนต่อมา นักวิจัยของสำนักงานสาธารณสุขสกอตแลนด์ก็ระบุว่า ความเสี่ยงเข้า รพ. ของผู้ติดเชื้อเดลตาเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเทียบกับอัลฟา[110]
ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2021 งานศึกษาของกลุ่มนักวิทยาการระบาดในแคนาดาที่กำลังรอการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันพบว่า เดลตามีความเสี่ยงให้เข้า รพ. 120%, เข้าห้องไอซียู 287% และเสียชีวิต 137% เทียบกับสายพันธุ์โควิดที่ไม่น่าเป็นห่วงอื่น ๆ[111]
ในประเทศนอกเหนือจากอินเดีย สายพันธุ์นี้ได้พบเป็นครั้งแรกในปลายเดือนกุมภาพันธ์รวมทั้งสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 22 สหรัฐเมื่อวันที่ 23 และสิงค์โปร์เมื่อวันที่ 26[112][3][2]
ในวันที่ 7 พฤษภาคม พีเอชอีได้ระบุสายพันธุ์นี้ว่า น่าเป็นห่วง (VOC-21APR-02)[113] หลังจากที่พบหลักฐานว่า มันติดต่อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมโดยเบื้องต้นคาดว่าอาจติดต่อได้ง่ายเท่ากับสายพันธุ์อัลฟา อีกเหตุผลหนึ่งก็คือพบการระบาดสายพันธุ์นี้ใน 48 คลัสเตอร์ซึ่งแสดงการติดต่อในชุมชน[114][115] ในต้นเดือนมิถุนายนต่อมา ก็ได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักในสหราชอาณาจักรเพราะกรณีติดสายพันธุ์เพิ่มขึ้นเร็วมาก[116] คือพบว่า กรณีติดโรคใหม่ร้อยละ 90 ในสหราชอาณาจักรต้นเดือนมิถุนายนเกิดจากสายพันธุ์นี้ พีเอชอีระบุหลักฐานด้วยว่า สายพันธุ์นี้สัมพันธ์กับความเสี่ยงติดต่อภายในบ้านเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 เทียบกับสายพันธุ์อัลฟา[117]
กรณียืนยันแรกของแคนาดาพบที่รัฐควิเบกเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2021 แล้วในวันเดียวกันก็พบกรณี 39 กรณีในรัฐบริติชโคลัมเบีย[118]
ประเทศฟิลิปปินส์ได้ยืนยันสองกรณีแรกเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2021 แม้จะได้ระงับการเดินทางจากประเทศต่าง ๆ ในอนุทวีปอินเดีย (ยกเว้นภูฏานและมัลดีฟส์) โดยคนไข้ทั้งสองคนไม่มีประวัติเดินทางไปอินเดียในช่วง 14 วันก่อน แต่มาจากโอมานและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[119]
ประเทศบางประเทศมีปัญหาตรวจสอบสายพันธุ์นี้ เพราะไม่มีชุดตรวจโดยเฉพาะ ๆ สำหรับสายพันธุ์หรือไม่มีแหล็บที่ถอดลำดับยีนได้[120][121] ยกตัวอย่างเช่น ณ วันที่ 18 พฤษภาคม ปากีสถานไม่มีรายงานผู้ติดสายพันธุ์นี้เลย แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ระบุว่า ตัวอย่างเชื้อถึงร้อยละ 15 จัดอยู่ใน "สายพันธุ์ที่ไม่รู้จัก" คือจริง ๆ ไม่สามารถตรวจเพื่อระบุสายพันธุ์นี้ได้ ทั้ง ๆ ที่ประเทศอื่น ๆ ก็รายงานผู้เดินทางมาจากปากีสถานที่ติดเชื้อสายพันธุ์นี้[120]
ในกลางเดือนมิถุนายน นักวิทยาศาสตร์อินเดียได้เน้นการมีสายพันธุ์ใหม่คือ B.1.617.2.1 หรือ AY.1 หรือเดลตาพลัส ซึ่งมีการกลายพันธุ์ K417N เพิ่ม[47] และได้พบในยุโรปตั้งแต่เดือนมีนาคมแล้ว โดยต่อมาก็ได้พบทั้งในทวีปเอเชียและทวีปอเมริกา[47]
ในวันที่ 25 มิถุนายน 2021 พีเอชอีรายงานผู้เสียชีวิต 32 รายจากผู้ติดเชื้อเดลตาในสหราชอาณาจักร 11,250 รายที่ติดตามเป็นเวลา 28 วันโดยมีอัตราป่วยตายที่ร้อยละ 0.3 ซึ่งใกล้เคียงกับผู้ติดเชื้ออัลฟาในเวลาใกล้ ๆ กัน เป็นอัตราที่น้อยกว่าค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 1.9 ซึ่งสมมุติว่าเป็นเพราะผู้ที่เสี่ยงโรคได้ฉีดวัคซีนแล้วเป็นจำนวนมาก[12][122] แต่ปัญหาหลักก็คืออัตราการเพิ่มเค้สของเดลตาเมื่อเทียบกับอัลฟา[C] ซึ่งหมายความว่า จำนวนเค้สเดลตากำลังเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 เท่า[D] เทียบกับสายพันธุ์อัลฟา ดังนั้น จำนวนเค้สของเดลตาก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเปรียบเทียบจนกระทั่งถึงระดับหนึ่ง[123][124]
หลังจากเกิดระบาดระลอกที่สอง ประเทศอย่างน้อย 20 ประเทศได้ระงับหรือจำกัดการเดินทางจากอินเดียในเดือนเมษายนและพฤษภาคม นายกรัฐมนตรีอังกฤษบอริส จอห์นสัน ได้ยกเลิกการไปเยี่ยมอินเดียถึงสองครั้ง และนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นโยชิฮิเดะ ซูงะก็ได้เลื่อนการเดินทางในเดือนเมษายน[125][126][127]
ในเยอรมนีเดือนพฤษภาคม 2021 คนในตึกสองตึกถูกกักตัวหลังจากตรวจพบหญิงคนหนึ่งผู้ติดโควิดสายพันธุ์นี้[128]
ในเดือนพฤษภาคม มุขยมนตรีของกรุงเดลีกล่าวว่า มีไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในสิงค์โปร์ที่เป็นอันตรายมากต่อเด็กและอาจก่อการระบาดระลอกที่สามในอินเดีย แต่รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ก็โต้ว่า ไม่มีสายพันธุ์ใหม่ที่พบในสิงค์โปร์ และก็ไม่มีสายพันธุ์ไวรัสโคโรนาไหน ๆ ที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อเด็ก[129][130] แต่การติดโรคที่เพิ่มขึ้นในสิงค์โปร์มีเหตุจากสายพันธุ์เดลตา[130]
ในวันที่ 14 มิถุนายน นายกรัฐมนตรีอังกฤษบอริส จอห์นสันประกาศว่า วันอิสรภาพที่ประกาศไว้คือวันที่ 21 มิถุนายน อาจต้องเลื่อนไปอีก 4 สัปดาห์โดยจะเร่งฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนเพราะเป็นห่วงเรื่องสายพันธุ์เดลตา ซึ่งทำให้ติดโรคใหม่ถึงร้อยละ 90[131] นักวิทยาศาสตร์อังกฤษได้กล่าวว่า สายพันธุ์นี้ติตต่อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อัลฟาถึง 40-60%[77]
ในวันที่ 16 มิถุนายน อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไทยคาดว่า สายพันธุ์เดลตาจะเป็นสายพันธุ์หลักแทนอัลฟาในประเทศไทยในไม่เกิน 2-3 เดือน[132][133]
ในวันที่ 23 มิถุนายน แอสตร้าเซนเนก้าระบุว่าวัคซีนของบริษัทสามารถป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้[132][134] ในวันเดียวกัน รัฐออนแทรีโอของแคนาดาได้เร่งฉีดวัคซีนโดสที่สองให้แก่ประชาชนผู้อยู่ในเขตซึ่งเดลตากำลังระบาดอย่างรวดเร็ว เช่น กรุงโทรอนโตเป็นต้น[135]
ในวันที่ 25 มิถุนายน ประเทศอิสราเอลได้กลับมาบังคับให้ใช้แมสก์อีกโดยอ้างความเสี่ยงการระบาดสายพันธุ์เดลตา[136]
ในวันที่ 27 มิถุนายน แอฟริกาใต้ได้ห้ามการชุมนุมกันทั้งในอาคารและนอกอาคารยกเว้นงานศพ ประกาศให้เคอร์ฟิว และห้ามไม่ให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์[137]
ในวันที่ 28 มิถุนายน กรุงซิดนีย์และเมืองดาร์วินในออสเตรเลียได้กลับไปล็อกดาวน์อีกเพราะการระบาดของเดลตา[138]
ในวันที่ 3 กรกฎาคม เกาะบาหลีและเกาะชวาในอินโดนีเซียได้ประกาศล็อกดาวน์[139]
ในวันที่ 5 กรกฎาคม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไทยได้ระบุว่า เดลตาได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดใน กทม. แล้ว[140]
ในวันที่ 8 กรกฎาคม นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นประกาศภาวะฉุกเฉินในนครโตเกียว และผู้ชมกีฬาโดยมากจะถูกห้ามไม่ให้เข้าร่วมชมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 (เลื่อนเป็นจัดในปี 2021) ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 23 กรกฎาคม[141]
ในวันที่ 9 กรกฎาคม เกาหลีใต้ยกระดับนโยบายให้ใส่แมสก์นอกอาคารและจำกัดจำนวนผู้คนในการชุมนุม[142]
ในวันที่ 12 กรกฎาคม ประธานาธิบดีฝรั่งเศสประกาศว่า เจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุขทั้งหมดจะต้องฉีดวัคซีนก่อนวันที่ 15 กันยายน และฝรั่งเศสจะเริ่มใช้พาสปอร์ตสุขภาพเพื่อการเข้าบาร์ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร และศูนย์การค้าเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม[143]
เทศมณฑลลอสแอนเจลิสในสหรัฐประกาศว่าจะเริ่มบังคับให้ใช้แมสก์ภายในอาคารอีกเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม[144]
ในวันที่ 19 กรกฎาคม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไทยเปิดเผยว่า สายพันธุ์เดลตาได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักแทนอัลฟาในประเทศไทยแล้ว[106] ในวันเดียวกัน สหราชอาณาจักรได้ยกเลิกข้อจำกัดเกี่ยวกับโควิด-19 โดยมากแม้การติดโรคจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะที่เดลตากลายเป็นสายพันธุ์หลัก โดยรัฐบาลอ้างประสิทธิภาพป้องกันและการฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวางให้แก่ประชาชน แม้ผู้เชี่ยวชาญทางสาธารณสุขจะได้แสดงข้อคิดที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้[145][146]
อัตราผู้ป่วยระลอกสอง (secondary attack rate) หมายถึงอัตราร้อยละหรืออัตราต่อพันของผู้สัมผัสโรคที่มีภูมิไวรับเกิดป่วยเป็นโรคขึ้นภายหลังไปสัมผัสผู้ป่วยกลุ่มแรก
Secondary attack rate refers to the spread of disease in a family, household, dwelling unit, dormitory, or similar circumscribed group. The spread of infection from an index case (the initial case, i.e. the case that introduced the organism into the population) to the attending medical staff is called secondary attack rate.
The secondary attack rate (SAR), defined as the probability that an infection occurs among susceptible people within a specific group (ie, household or close contacts)...
The number of cases of an infection that occur among contacts within the incubation period following exposure to a primary case in relation to the total number of exposed contacts; the denominator is restricted to susceptible contacts when these can be determined.
{{cite book}}
{{cite web}}
The Delta variant is now in more than 111 countries and we expect it to soon be the dominant COVID-19 strain circulating worldwide, if it isn’t already.
Though these mutations have individually been found in several other coronavirus variants, the presence of both these mutations together have been first found in some coronavirus genomes from India.
Collectively, our study reveals that antibody evasion of B.1.617 may contribute to the rapid spread of this variant... ...The RBD of the B.1.617 S protein harbors two mutations associated with (L452R) or suspected (E484Q) of antibody evasion... ...Moreover, E484K present the B.1.351 and P.1 variants confers antibody resistance (Li et al., 2021) and one could speculate that exchange E484Q might have a similar effect.
The reproduction number across influenza seasons and countries lied in the range 0.9-2.0 with an overall mean of 1.3, and 95% confidence interval (CI) 1.2-1.4.
The median of the R0 mean estimate for the ongoing epidemic (overall) is 1.78 (interquartile range: 1.44, 1.80)
A number of researchers have estimated the basic reproduction number by fitting models to the initial growth of epidemics in a number of countries. Their observations indicate that the SARS-CoV is less transmissible than initially thought with estimates of Ro in the range of 2-4.