โลหิตจางที่มีเม็ดเลือดแดงเล็ก[1]
(อังกฤษ: Microcytic anaemia, Microcytic anemia)
เป็นกลุ่มภาวะโลหิตจางที่มีเม็ดเลือดแดงเล็ก (microcyte)
คือ ปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (MCV) ปกติจะมีค่าอยู่ที่ 80-100 เฟมโตลิตร (fL) แต่ถ้าค่าต่ำกว่า 80 fL ก็จะเรียกว่ามีเม็ดเลือดแดงแล็ก (microcytic) และถ้าค่าสูงกว่า 100 fL ก็จะเรียกว่ามีเม็ดเลือดแดงใหญ่ (macrocytic)
ในภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็ก เม็ดเลือดแดง (erythrocyte) ทั่วไปจะมีสีจาง (hypochromic)
ซึ่งจะแสดงโดยค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (MCHC)
ซึ่งปกติจะอยู่ที่ 320-360 กรัม/ลิตร หรือ 32-36 กรัม/เดซิลิตร ดังนั้น ปกติแล้ว ภาวะโลหิตจางประเภทนี้จะเรียกว่า ภาวะโลหิตจางที่มีเม็ดเลือดแดงเล็กและสีจาง (microcytic, hypochromic anaemia)
เหตุ
เหตุปกติของภาวะโลหิตจางที่มีเม็ดเลือดแดงเล็กรวมทั้ง
- ในเด็ก
- ในผู้ใหญ่
- ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก
- Sideroblastic anemia ถ้าเป็นภาวะที่เป็นแต่กำเนิด (congenital) ปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (MCV) ก็จะมีค่าต่ำหรือปกติ เปรียบเทียบกับภาวะที่เกิดภายหลัง (acquired) ซึ่งสามัญกว่า แต่ MCV จะมีค่าสูง
- ภาวะโลหิตจางเพราะโรคเรื้อรัง (Anemia of chronic disease)[3] แม้ว่านี่จะปกติทำให้มีภาวะเลือดจางที่สีเลือดปกติ (normochromic) และเม็ดเลือดขนาดปกติ (normocytic)[3]
- ตะกั่วเป็นพิษ
- การขาดวิตามินบี6 (pyridoxine)
เหตุของภาวะเลือดจางที่มีเม็ดเลือดปกติหรือที่มีเม็ดเลือดโตอื่น ๆ ก็ต้องพิจารณาด้วยเหมือนกัน เพราะว่า การมีเหตุภาวะเลือดจางอย่างน้อยสองอย่าง อาจทำให้เข้าใจผิดได้
มีเหตุภาวะโลหิตจางแบบมีเม็ดเลือดเล็ก 5 อย่างโดยมีรหัสเป็น TAILS[4]
ซึ่งก็คือ ทาลัสซีเมีย (Thalessemia) ภาวะเลือดจางเหตุโรคเรื้อรัง (Anemia of chronic disease) ภาวะขาดธาตุเหล็ก (Iron deficiency) ตะกั่วเป็นพิษ (Lead poisoning) และ congenital sideroblastic anemia
แต่สามประเภทแรกเท่านั้น ที่สามัญโดยมากในโลก
และโดยทฤษฎีแล้ว ทั้งสามอาจแยกแยะโดยสัณฐานของเม็ดเลือดแดง
คือ ภาวะเลือดจางเหตุโรคเรื้อรังไม่มีเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติ, การขาดเหล็กมีเม็ดเลือดแดงหลากขนาด (anisocytosis) มีสีไม่เสมอกัน (anisochromia) มีรูปร่างรี (elliptocytosis), และทาลัสซีเมียอาจมี codocyte (หรือ target cells) คือเลือดที่ดูเหมือนเป้ายิงปืนหรือหมวกเม็กซิกัน (ดูรูป) และอาจเป็นจุดรอบ ๆ (basophilic stippling)
แต่ว่าในการปฏิบัติ เม็ดเลือดแดงหลากขนาดและมีรูปร่างรีบ่อยครั้งก็เห็นในคนไข้ทาลัสซีเมีย และ codocyte ก็เห็นในคนไข้ที่ขาดเหล็ก[4]
และทั้งสามก็อาจจะมีสัณฐานเม็ดเลือดปกติ
การเป็นจุดรอบ ๆ (basophlic stippling) เป็นอาการที่เชื่อถือได้ของทาลัสซีเมีย ที่ไม่มีเมื่อขาดเหล็กหรือเนื่องจากโรคเรื้อรัง
แต่คนไข้ควรจะเป็นคนเชื้อสายที่มีความเสี่ยง และไม่ควรยืนยันการวินิจฉัยโดยไม่มีการตรวจอื่น ๆ เช่น hemoglobin HPLC, H body staining, การตรวจระดับโมเลกุลหรือวิธีที่น่าเชื่อถืออื่น ๆ
เพราะว่า การเป็นจุดรอบ ๆ ก็ยังเกิดได้ในกรณีอื่น ๆ เหมือนกัน[4]
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถและอ้างอิง
- ↑ "Anemia, Microcytic". สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 2016-12-22.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Iolascon, A; De Falco, L; Beaumont, C (January 2009). "Molecular basis of inherited microcytic anemia due to defects in iron acquisition or heme synthesis". Haematologica. 94 (3): 395–408. doi:10.3324/haematol.13619. PMC 2649346. PMID 19181781.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
- ↑ 3.0 3.1 Weng, CH; Chen, JB; Wang, J; Wu, CC; Yu, Y; Lin, TH (2011). "Surgically Curable Non-Iron Deficiency Microcytic Anemia: Castleman's Disease". Onkologie. 34 (8–9): 456–8. doi:10.1159/000331283. PMID 21934347.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Ford, J. (June 2013). "Red blood cell morphology". International Journal of Laboratory Hematology. 35 (3): 351–357. doi:10.1111/ijlh.12082.
แหล่งข้อมูลอื่น