ปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย

ปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (อังกฤษ: mean corpuscular volume หรือ mean cell volume (MCV)) คือ การวัดปริมาตรเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์

สำหรับผู้ป่วยโรคโลหิตจาง ค่า MCV จะช่วยให้สามารถจำแนกป่วยออกเป็น โลหิตจางชนิดเม็ดเลือดขนาดเล็ก (microcytic anemia, ค่า MCV ต่ำกว่าช่วงปกติ), โลหิตจางชนิดเม็ดเลือดขนาดปกติ (normocytic anemia, ค่า MCV อยู่ในช่วง) หรือ โลหิตจางชนิดเม็ดเลือดขนาดใหญ่ (macrocytic anemia, ค่า MCV มากกว่าช่วงปกติ)

การคำนวณ

ค่า MCV สามารถคำนวณได้จากการนำค่าฮีมาโตคริตหารด้วยจำนวนเม็ดเลือดแดง (จำนวนเม็ดเลือดแดง/ลิตร) (HCT/RBC) แล้วรายงานผลในหน่วย เฟมโตลิตร (fL)

ค่า MCV ที่คำนวณจากเครื่องอัตโนมัติสามารถนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกับการตรวจรูปร่างของเม็ดเลือดแดงอีกครั้งจากฟิล์มเลือดเพื่อป้องกันความผิดพลาดมราอาจจะเกิดขึ้นจากเครื่องมือหรือข้อผิดพลาดทางเทคนิค

การแปลผล

ช่วงค่าอ้างอิงของค่า MCV คือ 80-100 fL[1]

ค่าสูง

การเกิด hemolytic anaemia หรือการพบ reticulocyte สามารถทำให้ค่า MCV สูงขึ้น โดยใน pernicious anemia ค่า MCV สามารถมีค่าสูงถึง 150 fL การที่ค่า MCV มีค่าสูงยังเกี่ยวข้องกับโรคพิษสุราเรื้อรัง (alcoholism) อีกด้วย[2] (จากการเพิ่มของ GGT และอัตราส่วนระหว่าง AST:ALT เป็น 2:1) นอกจากนี้ การขาดวิตามินบี12 และ/หรือ กรดโฟลิก ยังเกี่ยวข้องกับโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดขนาดใหญ่ (MCV สูง) เช่นกัน

ค่าต่ำ

สาเหตุที่พื้นฐานที่สุดของการเกิดโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดขนาดเล็ก คือ การขาดธาตุเหล็ก (อาจเกิดจากการบริโภคอาหารไม่เพียงพอ การเสียเลือดทางระบบทางเดินอาหาร หรือการมีประจำเดือน) โรคธาลัสซีเมีย หรือการเป็นโรคเรื้อรัง

ผู้ป่วยที่มีค่า MCV ต่ำร่วมกับมีผลบวกสำหรับการตรวจ stool guaiac test (การตรวจเลือดจากอุจจาระ) มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal cancer)

ในผู้ป่วยโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency anemia หรือ microcytic anemia) สามารถพบว่า ค่า MCV จะมีค่าประมาณ 60-70 fL ส่วนผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียสามารถพบว่า ค่า MCV อาจจะต่ำ ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะไม่ขาดธาตุเหล็กก็ตาม

อ้างอิง

  1. MedlinePlus Medical Encyclopedia: RBC indices
  2. Tønnesen H, Hejberg L, Frobenius S, Andersen J (1986). "Erythrocyte mean cell volume--correlation to drinking pattern in heavy alcoholics". Acta Med Scand. 219 (5): 515–8. doi:10.1111/j.0954-6820.1986.tb03348.x. PMID 3739755.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)


ดูเพิ่ม

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!