โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (อักษรย่อ: ส.ว.๒ ) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทสหศึกษาและเป็นส่วนราชการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ในอดีตโรงเรียนได้ถูกเเยกออกเป็น 2 โรงเรียน โดยกรมสามัญศึกษา เพื่อรองรับนักเรียนเป็นจำนวนมากในขณะนั้น และได้จัดตั้ง "โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ มัธยมศึกษาตอนต้น " เป็นโรงเรียนพี่น้องเครือเดียวกัน แต่ในปัจจุบันได้ถูกยุบรวมเข้าเป็นโรงเรียนเดียวกันจนถึงปัจจุบัน
ประวัติ
โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ เป็นนามพระราชทานอยู่ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตั้งอยู่เลขที่ 29 ซอยสุคนธสวัสดิ์ 3 ถนนสุคนธสวัสดิ์
แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนมัธยมประเภทสหศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2
เมื่อ พ.ศ. 2516 นางสาวสุ่น พานิชเฮง มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินให้กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 19 ไร่ 3 งาน 19 ตารางวา เพื่อสร้างเป็นโรงเรียน คุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฏ ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา ในขณะนั้นได้รับเรื่องจากกรมสามัญศึกษา มาดำเนินการก่อตั้งเป็นโรงเรียนแห่งใหม่
วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2516 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฎ นางสาวสุ่น พานิชเฮง ดร.ก่อ สวัสดิพานิช (อธิบดีกรมสามัญศึกษา) กรรมการสตรีวิทยา สมาคมและนักเรียนโรงเรียนสตรีวิทยา เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทเพื่อสนองพระราชดำริเรื่องการก่อตั้งโรงเรียนและมีพระเมตตาพระราชทานนามโรงเรียนว่า “สตรีวิทยา ๒” นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นชาวสตรีวิทยา ๒ จึงถือว่าวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2516 เป็นวันที่สถาปนาโรงเรียนนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ต่อมานางหลง ไว้สาลี น้องสาวของนางสาวสุ่น พานิชเฮง ได้บริจาคที่ดินเพิ่มเติมจำนวน 24 ไร่ 77 ตารางวา เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2518 คุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฏ ได้นำนางหลง ไว้สาลี เข้าเฝ้าสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินดังกล่าวเพื่อขยายโรงเรียนให้กว้างขึ้นต่อมาคุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฏ ได้ติดต่อขอเช่าที่ดินของมูลนิธิโรงพยาบาลสงฆ์เพิ่มเติมอีก 36 ไร่ รวมเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่จำนวน 80 ไร่ 45 ตารางวา ซึ่งขณะนั้นที่ดินเป็นทุ่งนาทุรกันดาร ยังไม่มีไฟ้ฟ้าใช้ นางสมหมาย เอมสมบัติ ผู้บริหารโรงเรียนคนแรกเป็นผู้ติดต่อกับการไฟฟ้านครหลวง จนสามารถนำไฟฟ้าเข้าสู่ชุมชนได้สำเร็จ
ก่อนเปิดภาคเรียน
โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 โดยอาศัยศาลาการเปรียญวัดสาครสุ่นประชาสรรค์ ซึ่งติดกับที่ตั้งโรงเรียน เป็นสถานที่ศึกษาชั่วคราว มีนักเรียน 277 คน ครู 13 คน แบ่งเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (มศ.๑) จำนวน ๕ ห้อง มัธยมศึกษาปีที่ 4 (มศ.๔) จำนวน 2 ห้อง สภาพของโรงเรียนในปี พ.ศ. 2517 การคมนาคมสู่โรงเรียนยากลำบากถนนเป็นดิน ถ้ามีฝนตกรถจะไม่สามารถเข้าถึงโรงเรียนได้ ทั้งครูและนักเรียนต้องถอดรองเท้าเดินทางเข้าโรงเรียน จากสภาพดังกล่าว ทำให้การก่อสร้างโรงเรียนประสบความยากลำบากนานัปการแต่ก็สามารถสร้างอาคารกลุ่มแรก จำนวน 4 หลัง ได้สำเร็จลงในระยะเวลาเพียง 1 ปี อาคารกลุ่มแรกตั้งอยู่ด้านหน้าโรงเรียนชื่อ“อาคารสมเด็จพระศรีนครินทร์”
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นประธานในพิธีเปิด “อาคารสมเด็จพระศรีนครินทร์" เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 และยังทรงพระเมตตาต่อชาวสตรีวิทยา ๒ ทรงปลูกต้นพิกุลที่เกาะหน้าอาคารสมเด็จพระศรีนครินทร์ ชาวสตรีวิทยา ๒ จึงน้อมนำดอกพิกุล ไม้มหามงคลนี้เป็นดอกไม้ประจำโรงเรียน การก่อสร้างโรงเรียนในกลุ่มที่ 2 จำนวน 4 หลัง แล้วเสร็จ พ.ศ. 2521 โรงเรียนได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร
เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเรียนกลุ่มที่ 2 นามว่า “อาคารวชิรา” นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ชาวสตรีวิทยา ๒ เป็นล้นพ้น
พ.ศ. 2524 โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ ขยายเต็มรูปแบบคือ รับนักเรียน 6 ระดับ 12 ห้องเรียน รวมเป็น 72 ห้องเรียน จึงเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในกรุงเทพมหานคร ทำให้มีงบประมาณแผ่นดินและงบบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธามาสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างอีกมากมายได้แก่ อาคารนวราชชนนี อาคารหอสมุดนพ บุณยุปการ อาคารไขศรี ปราโมช อาคารคุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฏ อาคารพลศึกษา อาคาร 7 ชั้น 2 หลัง อาคารฝึกงาน อาคารเฉลิมกระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา อาคารโอษธีศ สนามเทนนิส“จึงพานิช“ นอกจากนี้ยังได้งบประมาณสร้างสระว่ายน้ำขนาดมาตรฐาน ให้นักเรียนว่ายน้ำออกกำลังกายเพื่อสุขภาพพลานามัยที่ดีและเป็นสถานที่แข่งขันว่ายน้ำนักเรียนระดับประเทศพิกุลแชมเปี้ยนชิพเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบัน
ด้วยคุณภาพความรู้และคุณธรรม โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จึงเป็นโรงเรียนผู้ปกครองปรารถนาจะส่งบุตรหลานเข้าเรียน ในปีการศึกษา 2536 โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ มีชั้นเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายรวม 80 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 3,610 คน แต่ก็ยังมีผู้ประสงค์จะเข้าเรียนที่โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ อีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากพื้นที่ของโรงเรียนมีถึง 84 ไร่เศษ กรมสามัญศึกษาต้องการใช้ปัจจัยทั้งหมดให้คุ้มค่าโดยจะให้มีการเปิดสอนระดับละ 20 ห้องเรียนรวมเป็น 120 ห้องเรียน
จึงให้แยกโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ เป็น 2 โรงเรียน โรงเรียนที่ตั้งเพิ่มขึ้นใช้ชื่อ "โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ มัธยมศึกษาตอนต้น" เปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และส่งนักเรียนเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ
ปี พ.ศ. 2544 กรมสามัญศึกษาพิจารณาเห็นว่า โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ มัธยมศึกษาตอนต้น ได้ดำเนินการสำเร็จเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่สมบูรณ์แบบ พร้อมด้วยครูอาจารย์ อาคารสถานที่และคุณภาพของผู้เรียนประสบผลสัมฤทธิ์ ในระดับสูงแสดงถึงการวางระบบงานที่มีประสิทธิภาพ จึงให้รวมโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ มัธยมศึกษาตอนต้นเเละโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อให้การส่งต่อผู้เรียนและการพัฒนาด้านต่างๆเป็นไปอย่างสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียว เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ที่สุด มีคุณภาพระดับแนวหน้าของประเทศไทย สืบไป จึงประกาศรวมโรงเรียนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544
ทำเนียบผู้บริหาร
รางวัล
รางวัลโรงเรียนดีเด่น กรมสามัญศึกษา เป็นเวลา 4 ปีติดต่อกัน (พ.ศ. 2524-พ.ศ. 2527)
ได้รับคัดเลือกจากกระทวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น รางวัลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2535-พ.ศ. 2537)
สถานศึกษารางวัลพระราชทาน จากกระทรวงศึกษาธิการ ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประจำปี พ.ศ. 2537
รางวัลประกาศเกียรติคุณจากกรมสามัญศึกษา ในฐานะโรงเรียนที่มีสิ่งแวดล้อมดีเด่น ระดับมาตรฐานเหรียญทอง ประจำปี พ.ศ. 2538
รางวัลระดับเหรียญทอง โรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ประจำปี พ.ศ. 2549
รางวัลเหรียญทอง ยอดเยี่ยมวงโยธวาทิตประเภท Open จากการแข่งขันวงโยธวาทิตโลก “Kuala Lampur World Marching Band Competition ครั้งที่ 3” ณ กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในวันที่ 12–21 ธันวาคม พ.ศ. 2552 [ 1]
รางวัลโล่เกียรติคุณจากกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะผู้สนับสนุนโครงการโรงเรียนอุปถัมภ์ (ครอบครัวอุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2553 และปีการศึกษา 2554 เพื่อพัฒนานักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
รางวัล Best of The best , The best of cheer , The best creative ในรายการ Sponsor Thailand championship 2011 ณ จังหวัดสุพรรณบุรี (แชมป์ประเทศไทย) โดยคณะจามจุรี โรงเรียนสตรีวิทยา 2
รางวัลคุณภาพแห่งคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECOA) ประจำปี พ.ศ. 2559
รางวัลเหรียญทองการแข่งขัน Thailand World Music Championships 2020 ประเภท Modern Concert Band Division Il
แผนการเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (จำนวน 52 ห้องเรียน)
ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เข้มข้นสู่สากล "ISM " (3 ห้องต่อระดับชั้น)
ห้องเรียนพิเศษ English Program "EP " (3 ห้องต่อระดับชั้น)
ภาษาอังกฤษเข้มข้น (3 ห้องต่อระดับชั้น)
ภาษาจีนเข้มข้น (1 ห้องต่อระดับชั้น)
คอมพิวเตอร์เข้มข้น (2 ห้องต่อระดับชั้น)
ห้องเรียนทั่วไป (5 ห้องต่อระดับชั้น)
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (จำนวน 54 ห้องเรียน)
ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เข้มข้นสู่สากล "ISM " (2 ห้องต่อระดับชั้น)
ห้องเรียนพิเศษ English Program "EP " (2 ห้องต่อระดับชั้น)
ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์และปัญญาประดิษฐ์ "AI " (1 ห้องต่อระดับชั้น)
อังกฤษ-ฝรั่งเศส (1 ห้องต่อระดับชั้น)
อังกฤษ-ญี่ปุ่น (1 ห้องต่อระดับชั้น)
อังกฤษ-เกาหลี (1 ห้องต่อระดับชั้น)
อังกฤษ-จีน (2 ห้องต่อระดับชั้น)
อังกฤษ-สังคม (2 ห้องต่อระดับชั้น)
อังกฤษ-คณิตศาสตร์ (2 ห้องต่อระดับชั้น)
วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (4 ห้องต่อระดับชั้น)
สัญลักษณ์
ตราสัญลักษณ์
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ เป็นรูปดอกพิกุล มีรัศมี 21 แฉก ประดิษฐานอยู่เหนืออักษรย่อ "ส.ว.๒" ซึ่งเป็นอักษรย่อของโรงเรียน โดยรัศมี 21 แฉกนั้น หมายถึงวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (21 ตุลาคม พ.ศ. 2443) พร้อมอักษรบาลี "พลํ สงฺฆสฺส สามคฺคี" (ความพร้อมเพรียงเป็นกำลังของหมู่คณะ) ประดิษฐานอยู่ใต้อักษรย่อ ส.ว.๒ และยังเป็นปรัชญาประจำโรงเรียนอีกด้วย
อนุสาวรีย์
อนุสาวรีย์ภายในโรงเรียนคือ อนุสาวรีย์สมเด็จย่า หรืออนุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตั้งอยู่ทางด้านหน้าโรงเรียน
พระพุทธรูปประจำโรงเรียน
พระพุทธรูปประจำโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ มี 2 รูป ด้วยกัน
คือ "พระมหากรุณาธิคุณ" ตั้งอยู่ฝั่งชั้นเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และพระพุทธชินศรีรัตนะมุนี ตั้งอยู่หน้าอาคารเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ดอกไม้ประจำโรงเรียน
ดอกไม้ประจำโรงเรียน คือ ดอกพิกุล ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงปลูกหน้าอาคารสมเด็จพระศรีนครินทร์ในช่วงแรกของการก่อตั้งโรงเรียน
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
สภาผู้แทนราษฎร
วิชาการ
กองทัพไทย
กีฬา
นักร้องและวงดนตรี
บุคคลในวงการบันเทิง
กลุ่มโรงเรียนสตรีวิทยา
ลำดับที่
โรงเรียน
อักษรย่อ
จังหวัด
สถาปนา
หมายเหตุ
1
โรงเรียนสตรีวิทยา
ส.ว. / SW
กรุงเทพมหานคร
3 สิงหาคม พ.ศ. 2443; 124 ปีก่อน (2443-08-03 )
2
โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ
ส.ว.๒ / SW2
กรุงเทพมหานคร
7 ธันวาคม พ.ศ. 2516; 51 ปีก่อน (2516-12-07 )
3
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
นมร.ส.ว. / NMR.S.W
กรุงเทพมหานคร
10 สิงหาคม พ.ศ. 2535; 32 ปีก่อน (2535-08-10 )
เป็นที่รู้จักกันในนาม "โรงเรียนสตรีวิทยา 3" นอกจากนี้ยังเป็นสถานศึกษาในเครือข่ายโรงเรียนนวมินทราชินูทิศร่วมกับอีก 8 โรงเรียน
4
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒
นมร.สว.๒ / NMR.S.W2
กรุงเทพมหานคร
10 สิงหาคม พ.ศ. 2535; 32 ปีก่อน (2535-08-10 )
เป็นที่รู้จักกันในนาม "โรงเรียนสตรีวิทยา 4" เมื่อแรกตั้งใช้ชื่อว่า "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ มีนบุรี" ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นสถานศึกษาในเครือข่ายโรงเรียนนวมินทราชินูทิศร่วมกับอีก 8 โรงเรียน
–
โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ มัธยมศึกษาตอนต้น
กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2538 ถึง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544
แยกออกมาจากโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ เปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ก่อนที่จะยุบรวมเข้ากับโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ อีกครั้ง
สถานที่ใกล้เคียงโรงเรียน
ตลาดทรัพย์นิมิตร (ด้านหน้าโรงเรียน)
วัดสาครสุ่นประชาสรรค์
โรงเรียนเพชรถนอม
สนามฝึกซ้อมกอล์ฟเกียรติธาดา
ตลาดเเยกโรงไม้
สวนสาธารณะบึงน้ำ ลาดพร้าว 71
โรงเรียนโชคชัย
เดอะวอร์ค เกษตร-นวมินทร์
ดีไซน์วิลเลจ เกษตร-นวมินทร์
สำนักงานเขตลาดพร้าว
เซ็นทรัล เฟสติวัล อีสต์วิลล์
เดอะคริสตัล เอกมัย-รามอินทรา
ตลาดหัวมุม
แหล่งข้อมูลอื่น
แขวง ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ
สังคม
การศึกษา สาธารณสุข วัฒนธรรม
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-03-20. สืบค้นเมื่อ 2011-05-04 .