โรงเรียนนาข่าวิทยาคม (อังกฤษ: Nakhawittayakom School) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่[2] สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2521 ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม[3][4] จังหวัดมหาสารคาม มีบริเวณพื้นที่ทั้งหมด 70 ไร่ ปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย [5]
ประวัติ
เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อปีการศึกษา 2521 สมัย บุญสม มาร์ติน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีนายประยูร นันทะแสน ดำรงตำแหน่งครูใหญ่คนแรก ปีการศึกษา 2535 ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4) เป็นปีแรกและพัฒนาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันเปิดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนมีทักษาะความสามารถในสาขาที่ตนเองสนใจและสร้างเสริมความสามารถในด้านต่าง ๆ ของนักเรียน ด้านวิชาการ เช่น ห้องเรียนสะเต็มศึกษา (STEM Class) ด้านความเป็นผู้นำ เช่น ชมรมเยาวชนเมืองยัคฆ์สร้างชาติ ชมรมฟ้าขาวเยาวแพทย์ และชุมนุมต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
หลักสูตรที่เปิดสอน
โรงเรียนนาข่าวิทยาวิทยาคม เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยให้ผู้เรียนตามความถนัดและความสนใจ ดังนี้
การเรียนการสอนเน้นที่ผู้เรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ (Active learning) ในการศึกษา จึงทำให้เกิดความเข้าใจในความรู้ด้วยตนเอง โดยมีรายวิชาโครงงาน (Project) ซึ่งเป็นรายวิชาที่นักเรียนจะได้ใช้ความรู้ของตัวเองอย่างเต็มที่ในการจัดทำในเรื่องที่ตนเองและกลุ่มมีความสนใจ มีคุณครูที่ปรึกษาโครงงานเป็นผู้ให้คำแนะนำ ในแต่ละระดับชั้นจะมีการทำโครงงานในรายวิชาต่าง ๆ ในแต่ละระดับชั้น ได้แก่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โครงงานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โครงงานภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โครงงานอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง (Internet Of Thing) โครงงานการงานอาชีพฯ และโครงงานคอมพิวเตอร์ ซึ่งงานจัดแสดงผลงานนิทรรศการนักเรียนเป็นประจำทุกปีในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมพัฒนาผู้ให้เป็นผู้ที่นอกจากมีความรู้ความสามารถในทางวิชาการแล้ว ผู้เรียนจำเป็นมีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นรวมถึงทักษะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย โรงเรียนนาข่าวิทยาคมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนรวมในกิจกรรมและ/หรือโครงการต่าง ๆ เช่น กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมในเครื่องแบบ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีชมรมที่เกิดจากความตั้งใจและความสนใจของนักเรียนเอง ได้แก่ ชมรมเยาวชนเมืองยัคฆ์สร้างชาติ (ชมรมในเครือข่ายสถาบันการสร้างชาติ) ซึ่งจัดตั้งเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำให้กับนักเรียนและสร้างประโยชน์ให้กับส่วนรวมผ่านโครงการ (Cap-Conner Stone) ที่จัดขึ้นและดำเนินการโดยนักเรียน
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
อาคารและสถานที่
- ห้องเรียน จำนวน 25 ห้อง
- อาคารเรียนถาวรแบบ 216 (ค) จำนวน 1 หลัง
- อาคารเรียนถาวรแบบ 216 (ล) จำนวน 1 หลัง
- อาคารเรียนถาวรแบบ 312 (ค) จำนวน 1 หลัง
- อาคารเรียน 4 ชั้น จำนวน 1 หลัง
- อาคารเอนกประสงค์ จำนวน 1 หลัง
- โรงฝึกงาน จำนวน 2 หลัง
- โรงอาหาร จำนวน 1 หลัง
- อาคารโดมอเนกประสงค์ 1 หลัง
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น