โดพามีน ข้อมูลทางคลินิก ชื่ออื่น DA, 2-(3,4-Dihydroxyphenyl)ethylamine, 3,4-Dihydroxyphenethylamine, 3-Hydroxytyramine, Oxytyramine, Prolactin inhibiting factor, Prolactin inhibiting hormone, Intropin, Revivan ข้อมูลทางสรีรวิทยา เนื้อเยื่อ ต้นกำเนิดSubstantia nigra ; ventral tegmental area ; many othersเนื้อเยื่อเป้าหมาย System-wide ตัวรับ D1 , D2 , D3 , D4 , D5 , TAAR1 [ 3] กระตุ้น โดยตรง: apomorphine , bromocriptine ทางอ้อม : โคเคน , แอมเฟตามีน ยับยั้ง ยาระงับอาการทางจิต , เมโทโคลพราไมด์ , ดอมเพริโดน สารต้นกำเนิด ฟีนิลอะลานีน , ไทโรซีน และ L-DOPA ชีวสังเคราะห์ DOPA decarboxylase เมแทบอลิซึม MAO , COMT [ 3] ตัวบ่งชี้
4-(2-Aminoethyl)benzene-1,2-diol
เลขทะเบียน CAS PubChem CID IUPHAR/BPS DrugBank ChemSpider UNII KEGG ECHA InfoCard 100.000.101 ข้อมูลทางกายภาพและเคมี สูตร C 8 H 11 N O 2 มวลต่อโมล 153.181 g·mol−1 แบบจำลอง 3D (JSmol )
InChI=1S/C8H11NO2/c9-4-3-6-1-2-7(10)8(11)5-6/h1-2,5,10-11H,3-4,9H2
Key:VYFYYTLLBUKUHU-UHFFFAOYSA-N
สารานุกรมเภสัชกรรม
โดพามีน (อังกฤษ : Dopamine ) เป็นสารประกอบอินทรีย์ในกลุ่มเดียวกัน แคทิคอลลามีน และ เฟนเอทิลเอมีน ซึ่งมีความสำคัญกับสมองและร่างกาย ซื่อโดพามีน ได้จากโครงสร้างทางเคมี ซึ่งสังเคราะห์โดยการเปลี่ยนหมู่กรดอินทรีย์ของ L-DOPA ( L-3,4-dihydroxyphenylalanine) ให้เป็นหมู่อะมิโน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้นในสมองและไต และพบว่าพืชและสัตว์บางชนิดก็สามารถสังเคราะห์ได้เช่นกัน
ในสมอง โดพามีนทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter) คอยกระตุ้น ตัวรับโดพามีน (dopamine receptor) โดพามีนทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนประสาท (neurohormone) ที่หลั่งมาจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส (hypothalamus) หน้าที่หลักของฮอร์โมนตัวนี้คือยับยั้งการหลั่งโปรแลคติน (prolactin) จากต่อมใต้สมอง ส่วนหน้า (anterior pituitary)
โดพามีนสามารถใช้เป็นยา ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system) โดยมีผลลัพธ์คือ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น แรงดันโลหิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อโดพามีนไม่สามารถผ่านโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมอง (blood-brain barrier) โดพามีนที่ใช้เป็นยา จะไม่มีผลโดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลาง การเพิ่มปริมาณของโดพามีนในสมองของผู้ป่วยที่เป็นโรคต่างๆ เช่น พาร์คินสัน สามารถให้สารตั้งต้นแบบสังเคราะห์แก่โดพามีน เช่น L-DOPA เพื่อให้สามารถผ่านโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมองได้
โดพามีนเป็นสารสื่อประสาท กลุ่มแคทีโคลามีน (catecholamines) ที่สร้างมาจากกรดอะมิโน ไทโรซีน (tyrosine) โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ไทโรซีนไฮดรอกซิเลส (tyrosine hydroxylase) ในสมอง มีปริมาณโดพามีนประมาณร้อยละ 80 ของสารกลุ่มแคทีโคลามีนที่ถูกสร้างขึ้นทั้งหมด นอกจากนี้โดพามีนยังจัดเป็นนิวโรฮอร์โมน (neurohormone) ที่หลั่งจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งการหลั่งโปรแลกติน จากกลีบส่วนหน้าของต่อมพิทูอิตารี
เมื่อโดพามีนถูกปลดปล่อยจากเซลล์ประสาทโดพามีน แล้ว จะมีผลต่อสมองส่วนต่างๆ ในหลายด้าน ซึ่งได้แก่
วิถีไนโกรสไตรตาล (nigrostriatal)
วิถีมีโซลิมบิค (mesolimbic)
วิถีมีโซคอร์ติคอล (mesocortical)
วิถีทูเบอโรอินฟันดิบิวลาร์ (tuberoinfundibular)
โดพามีนออกฤทธิ์ผ่านตัวรับโดพามีน ที่เป็นโปรตีน ซึ่งอยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ ตัวรับโดพามีนทุกชนิดจัดอยู่ในกลุ่มตัวรับที่จับอยู่กับโปรตีนจี (G-protein-coupled receptor)
โดพามีนที่ถูกปลดปล่อยออกมาที่ไซแนปติกเคล็ฟท์ (synaptic cleft) แล้วอาจถูกทำลายได้ 3 วิธี คือ
ดูดกลับเข้าเซลล์โดยโดพามีนทรานสปอตเตอร์ (dopamine transporter; DAT)
ถูกเอนไซม์ทำลาย
เกิดการแพร่
Major Dopamine Pathways
อ้างอิง
แหล่งข้อมูล
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โดพามีน