แลร์รี แซงเงอร์

แลร์รี แซงเงอร์
แซงเงอร์ใน ค.ศ. 2006
เกิดลอว์เรนซ์ มาร์ก แซงเงอร์
(1968-07-16) กรกฎาคม 16, 1968 (56 ปี)
Bellevue รัฐวอชิงตัน สหรัฐ
การศึกษาวิทยาลัยรีด (BA)
มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต (MA, PhD)
อาชีพผู้พัฒนาโครงการอินเทอร์เน็ต, นักปรัชญา
มีชื่อเสียงจากผู้ร่วมก่อตั้งนูพีเดีย, ผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดีย และผู้ก่อตั้งซิติเซนเดียม
บุตร2
เว็บไซต์LarrySanger.org

ลอว์เรนซ์ มาร์ก แซงเงอร์ (อังกฤษ: Lawrence Mark Sanger, /ˈsæŋər/;[1] 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1968 — ) เป็นผู้พัฒนาโครงการอินเทอร์เน็ตกับนักปรัชญาชาวอเมริกันที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดียกับจิมมี เวลส์ เขาเป็นผู้คิดค้นชื่อและเขียนนโยบายบริหารดั้งเดิมของวิกิพีเดียจำนวนมาก เช่น "มุมมองที่เป็นกลาง" เขายังทำงานในโครงการอื่นด้วย เช่น นูพีเดีย, Encyclopedia of Earth, ซิติเซนเดียม, WatchKnowLearn, Reading Bear, Infobitt, Everipedia, Knowledge Standards Foundation และ encyclosphere เขายังเป็นผู้ให้แนะนำแก่ Phunware บริษัทบล็อกเชน และ Ballotpedia สารานุกรมออนไลน์เกี่ยวกับการเมืองสหรัฐที่ไม่แสวงหากำไร[2]

ขณะกำลังศึกษาที่วิทยาลัย แซงเงอร์เริ่มให้ความสนใจในการใช้อินเทอร์เน็ตในเชิงการศึกษาและเข้าร่วมนูพีเดียเมื่อ ค.ศ. 2000 ในฐานะหัวหน้าบรรณาธิการ หลังผิดหวังกับความคืบหน้าที่ล่าช้าของนูพีเดีย เขาจึงเสนอใช้วิกิไว้ร้องขอและรับบทความเพื่อผ่านกระบวนการตรวจสอบแบบพิชญพิจารณ์ของนูพีเดีย การเปลี่ยนแปลงนี้นำไปสู่การพัฒนาและเปิดตัววิกิพีเดียใน ค.ศ. 2001 เขาทำหน้าที่เป้นผู้นำชุมชนวิกิพีเดียและพนักงานกองบรรณาธิการคนเดียวของวิกิพีเดียในช่วงแรก แต่ถูกเลิกจ้างและออกจากโครงการใน ค.ศ. 2002 จิมมี เวลส์ ผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดีย ตั้งคำถามเกี่ยวกับสถานะผู้ร่วมก่อตั้งของแซงเงอร์ แต่โดยทั่วไปถือว่ายอมรับ

นับตั้งแต่แซงเงอร์ออกจากวิกิพีเดีย เขาจึงกลายเป็นผู้วิจารณ์โครงการนี้ โดยกล่าวถึงโครงการนี้ใน ค.ศ. 2007 ว่า "เสียหายจนเกินเยียวยา"[3] เขาได้โต้แย้งว่า แม้ว่าวิกิพีเดียจะมีข้อดี แต่ขาดความน่าเชื่อถือและความถูกต้องเนื่องจากขาดความเคารพต่อผู้เชี่ยวชาญและผู้มีอำนาจ นับตั้งแต่ ค.ศ. 2020 เขาวิจารณ์วิกิพีเดียตามสิ่งที่เขารับรู้ว่ามีความเอนเอียงทางคตินิยมไปทางเสรีนิยมและฝ่ายซ้ายในบทความ[4][5][6]

ใน ค.ศ. 2006 เขาก่อตั้งซิติเซนเดียมเพื่อแข่งขันกับวิกิพีเดีย ใน ค.ศ. 2010 เขาลงจากตำแหน่งหัวหน้าบรรณาธิการ และออกจากซิติเซนเดียมใน ค.ศ. 2020 จากนั้นใน ค.ศ. 2017 เขาเข้าร่วม Everipedia ในฐานะประธานฝ่ายสารสนเทศ (CTO) เขาลาออกใน ค.ศ. 2019 เพื่อไปก่อตั้ง Knowledge Standards Foundation และ encyclosphere ปัจจุบัน แซงเงอร์ดำรงตำแหน่งประธานและกรรมการบริหารใน Knowledge Standards Foundation[2][7][8]

ความสนใจในด้านอื่นของแซงเงอร์ได้แก่ปรัชญา (โดยเฉพาะในด้วยญาณวิทยา, ปรัชญาสมัยใหม่ตอนต้น และจริยธรรม)

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

ลอว์เรนซ์ มาร์ก แซงเงอร์เกิดที่Bellevue รัฐวอชิงตัน เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1968[9] Gerry พ่อของเขาเป็นนักชีววิทยาทางทะเลที่ศึกษาด้านนกทะเล ส่วนแม่ของเขาเลี้ยงดูลูก ๆ [7][10] ตอนอายุ 7 ขวบ ครอบครัวของเขาย้ายไปที่Anchorage รัฐอะแลสกา โดยเขาเติบโตที่นั่น[9][11] เขาสนใจในด้านปรัชญาและตัดสินใจ "เรียนปรัชญาและทำให้มันเป็นผลงานในชีวิตของผม" ตอนอายุ 16 ปี[12][13][14]

แซงเงอร์จบการศึกษาจากไฮสกูลใน ค.ศ. และเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยรีดในวิชาเอกปรัชญา[13] ตอนอยู่ในวิทยาลัย เขาเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตและศักยภาพของมันในฐานะสื่อสิ่งพิมพ์[12]

การวิจารณ์วิกิพีเดีย

แซงเงอร์เป็นนักวิจารณ์วิกิพีเดียและมูลนิธิวิกิมีเดียมาตั้งแต่ ค.ศ. 2002[14][15] โดยใน ค.ศ. 2015 ทาง Vice กล่าวถึงแซงเงอร์เป็น "นักวิจารณ์ที่ตรงไปตรงมาที่สุดของวิกิพีเดีย"[14]

ความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ และความชำนาญ

ความเป็นกลางและความเอนเอียงทางคตินิยม

ข้อเรียกร้องในเรื่องเนื้อหาอนาจาร

กิจกรรมระยะหลัง

ซิติเซนเดียม

ภาพจับหน้าจอหน้าหลักของซิติเซนเดียมใน ค.ศ. 2018

ในงานประชุม Wizards of OS ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 แซงเงอร์ประกาศเปิดตัวสารานุกรมฐานวิกิอันใหม่ที่มีชื่อว่าซิติเซนเดียม (รูปย่อของ "citizens' compendium") เป็นส้อม (fork) ของวิกิพีเดีย[16] เป้าหมายของเว็บนี้คือแก้ไขข้อบกพร่องที่รับรู้ในวิธีการทำงานของวิกิพีเดีย ไม่อนุญาตให้แก้ไขโดยไม่ระบุตัวตน ผู้ใช้ทุกคนจำเป็นต้องใช้ชื่อจริง[17] และมีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีอำนาจพิเศษ[16] ซึ่งเป็นความพยายามของแซงเงอร์ที่จะสร้างสารานุกรมออนไลน์ที่น่าเชื่อถือโดยอิงจากทุนการศึกษา[18] มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความรับผิดชอบและความเข้มงวดทางวิชาการให้กับบทความ[19][20] เว็บไซต์พยายามใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้เชี่ยวชาญพยายามที่จะตัดสินใจในข้อพิพาทที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยฉันทามติ[21]

แซงเงอร์ทำนายการเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันในซิติเซนเดียมในช่วงครบรอบปีแรกใน ค.ศ. 2007[22] อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์นี้กลับตกต่ำลงและไม่เหลือผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่[23] ใน ค.ศ. 2011 Timothy B. Lee ผู้สื่อข่าวจาก Ars Technica รายงานถึงซิติเซนเดียมว่า "ตายในน้ำ"[23] Lee กล่าวว่า การเริ่มต้นที่ล่าช้าของซิติเซนเดียมเป็นข้อเสีย และการเติบโตนั้นถูกขัดขวางโดย "รูปแบบการแก้ไขที่เทอะทะ"[23] ใน ค.ศ. 2014 คณบดี Library Services ของมหาวิทยาลัยวินทร็อปรายงานว่า มีผู้ที่มีความเคลื่อนไหวในซิติเซนเดียมมีน้อยกว่า 100 บัญชี และจำนวนผู้แก้ไขต่อวันอยู่ที่ประมาณ "โหลหนึ่งหรือมากกว่านั้น"[24] ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2016 ซิติเซนเดียมมีบทความประมาณ 17,000 บทความ ในจำนวนนี้มี 160 บทความที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว[25]

แซงเงอร์ประกาศว่าตนไม่ต้องการเป็นหัวหน้าซิติเซนเดียมถาวรในช่วงต้น ค.ศ. 2007[18] และหยุดแก้ไขมันในช่วงต้น ค.ศ. 2009 แม้ว่าจะไม่มีการยืนยันคำประกาศนี้ก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 ที่ Citizendium-l mailing list[26] เขาออกจากการเป็นหัวหน้าบรรณาธิการในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 2010 แต่กล่าวเพิ่มเติมว่าตนจะสนับสนุนโครงการนี้ต่อไป[27]

โครงการอื่น ๆ

ชีวิตส่วนตัว

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 ในช่วงที่เวลส์จ้างแซงเงอร์ให้พัฒนานูพีเดีย เขาย้ายบ้านไปที่แซนดิเอโก[28] เขาแต่งงานที่ลาสเวกัสในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001[29] จากนั้นใน ค.ศ. 2005 เขาและภรรยาย้ายไปที่ซานตาครูซ รัฐแคลิฟอร์เนียเพื่อทำงานให้กับ Digital Universe[30] ณ ค.ศ. 2015 แซงเงอร์อาศัยอยู่ที่ชานเมืองโคลัมบัส รัฐโอไฮโอ[14] ต่อมาใน ค.ศ. 2021 เขาอาศัยร่วมกับภรรยาและลูกชายสองคนที่เรียนที่บ้าน[7][8]

แซงเงอร์เติบโตขณะนับถือศาสนาคริสต์นิกายลูเทอแรนและเคยไปที่โรงเรียนวันอาทิตย์ แต่ตอนอายุ 16 ปี หันมานับถืออไญยนิยมหลังครอบครัวของเขาหยุดไปโบสถ์ทุกวัน[7][31][32]

แซงเงอร์สนับสนุนแนวคิด "baby reading"[33] เขาเริ่มสอนให้ลูกชายอ่านอออกก่อนครบ 2 ขวบ และโพสต์วิดีโอออนไลน์เพื่อสาธิตสิ่งนี้[33] แซงเงอร์รักดนตรีพื้นเมืองไอริช[34]

อ้างอิง

  1. Western History for Kids, Part 1 – ancient and medieval – Sanger Academy ที่ยูทูบ, video taken from Sanger's official educational YouTube channel, pronunciation confirmed around 0:10, accessed May 7, 2016
  2. 2.0 2.1 "About Dr. Larry Sanger". Knowledge Standards Foundation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). September 24, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-25. สืบค้นเมื่อ July 23, 2021.
  3. Thomson, Iain (April 13, 2007). "Wikipedia 'broken beyond repair' says co-founder". iTnews. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 22, 2012.
  4. Flood, Brian (May 21, 2020). "Wikipedia co-founder Larry Sanger says online encyclopedia scrapped neutrality, favors lefty politics". Fox News. สืบค้นเมื่อ May 22, 2020.
  5. Sabur, Rozina (July 16, 2021). "The Left has taken over Wikipedia and stripped it of neutrality, says co-creator". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2022. สืบค้นเมื่อ December 2, 2021. Mr Sanger added that "very little" reference to scandals and allegations against the Bidens, for instance relating to their business dealings in Ukraine, could be found on Wikipedia.
  6. Freddie Sayers (July 14, 2021). "Wikipedia co-founder: I no longer trust the website I created". UnHerd (Podcast). UnHerd. สืบค้นเมื่อ May 25, 2022.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Spence, Madeleine (August 1, 2021). "Larry Sanger: 'I wouldn't trust Wikipedia — and I helped to invent it'". The Sunday Times (ภาษาอังกฤษ). London. ISSN 0140-0460. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2021. สืบค้นเมื่อ August 1, 2021.
  8. 8.0 8.1 "Encyclosphere Team". Encyclosphere (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). September 24, 2019. สืบค้นเมื่อ May 2, 2021.
  9. 9.0 9.1 Anderson, p. 20
  10. Lydgate, Chris (June 2010). "Deconstructing Wikipedia". Reed Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 1, 2013. สืบค้นเมื่อ November 1, 2013.
  11. Poe, Marshall (September 2006). "The Hive". The Atlantic Monthly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 10, 2006. สืบค้นเมื่อ March 25, 2007.
  12. 12.0 12.1 Roush, Wade (January 1, 2005). "Larry Sanger's Knowledge Free-for-All". Technology Review. สืบค้นเมื่อ March 25, 2007.
  13. 13.0 13.1 Boraas, Alan (September 2, 2006). "Hometown kid an Internet revolutionary". Anchorage Daily News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-18. สืบค้นเมื่อ March 25, 2007.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 Schwartz, Zach (November 11, 2015). "Wikipedia's Co-Founder Is Wikipedia's Most Outspoken Critic". Vice. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 14, 2015.
  15. "Wikipedia founder sets up rival". The Australian. AFP. October 19, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2014.
  16. 16.0 16.1 Lih, p. 211
  17. Lih, p. 190
  18. 18.0 18.1 Anderson, Nate (February 25, 2007). "Citizendium: building a better Wikipedia". Ars Technica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 24, 2007. สืบค้นเมื่อ March 25, 2007.
  19. LeClaire, Jennifer (March 27, 2007). "Wikipedia Cofounder Launches Citizendium". NewsFactor Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 16, 2011. สืบค้นเมื่อ March 27, 2007.
  20. Tiwari, Neha (April 5, 2007). "Wikipedia today, Citizendium tomorrow". CNET. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2014. สืบค้นเมื่อ April 5, 2007.
  21. Cohen, Jason Z (March 3, 2008). "Citizendium's Larry Sanger: Experts Make It Better". LinuxInsider. ECT News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 17, 2011. สืบค้นเมื่อ March 8, 2008.
  22. Anderson, Nate (November 21, 2007). "Larry Sanger says "tipping point" approaching for expert-guided Citizendium wiki". Ars Technica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2008. สืบค้นเมื่อ November 21, 2007.
  23. 23.0 23.1 23.2 Lee, Timothy B. (October 27, 2011). "Citizendium turns five, but the Wikipedia fork is dead in the water". Ars Technica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2013. สืบค้นเมื่อ October 22, 2013.
  24. Mark Y. Herring (2014). Are Libraries Obsolete?: An Argument for Relevance in the Digital Age (1 ed.). McFarland & Company. p. 52. ISBN 978-0786473564. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 15, 2015. สืบค้นเมื่อ October 3, 2016.
  25. Citizendium front page เก็บถาวร ตุลาคม 13, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, accessed August 4, 2016
  26. Sanger, Larry (กรกฎาคม 30, 2009). "[Citizendium-l] My recent absence". Citizendium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 20, 2011. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 30, 2009.
  27. Sanger, Larry (September 22, 2010). "Citizendium Charter Ratified". Citizendium blog. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2011. สืบค้นเมื่อ December 17, 2010.
  28. Reagle, p. 35
  29. Anderson, p. 74
  30. Lih, pp. 210–211
  31. Gilbert, Alexandre (November 15, 2016). "Larry Sanger: "Wikipedia has a problem with fairness and sound governance"". The Times of Israel (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ February 8, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  32. Sanger, Larry (January 15, 2020). "Why I Have Not Been a Christian, and Why That Might Change". Larry Sanger Blog. Larry Sanger. สืบค้นเมื่อ February 8, 2021.
  33. 33.0 33.1 Carey, Tanith (January 2, 2013). "Can you teach a baby to read?". Independent Online (South Africa). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 7, 2017. สืบค้นเมื่อ October 30, 2017.
  34. Lih, p. 210

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!