จิมมี เวลส์
ผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดีย
จิมมี ดอนอล เวลส์ (อังกฤษ : Jimmy Donal Wales ; เกิดวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1966) รู้จักในนามแฝง จิมโบ (Jimbo) เป็นเว็บมาสเตอร์ ผู้ประกอบการด้านอินเทอร์เน็ต และอดีตนักธุรกิจการเงิน[ 3] [ 4] ชาวอเมริกันเชื้อสายอังกฤษ [ 5] เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดีย สารานุกรมไม่แสวงหาผลกำไรออนไลน์[ 6] และวิเกีย ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นแฟนดอม เว็บโฮสติงแสวงหากำไร[ 7]
เวลส์เกิดที่ฮันต์สวิลล์ รัฐแอละแบมา โดยเริ่มศึกษาที่โรงเรียนรูด็อล์ฟ โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัย [ 8] [ 9] [ 10] เขาจบปริญญาตรี และปริญญาโท สาขาการเงิน จากมหาวิทยาลัยออเบิร์น และมหาวิทยาลัยแอละแบมา ตามลำดับ[ 9]
ใน ค.ศ. 1996 เวลส์กับพันธมิตรสองคนก่อตั้งเซิร์ชพอร์ทัล ชื่อโบมิส ซึ่งโดยหลักเป็นที่รู้จักจากการแสดงเนื้อหาผู้ใหญ่ โบมิสได้ลงทุนให้กับนูพีเดีย (2000–2003) สารานุกรมพิชญพิจารณ์ เสรี ในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2001 เขาร่วมกับแลร์รี แซงเงอร์ กับคนอื่น ๆ ก่อตั้งวิกิพีเดีย สารานุกรม เนื้อหาเสรี ที่ได้เติบโตและเป็นที่นิยมอย่างมาก ถึงแม้ว่าเคยมีการระบุเขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง เขาโต้แย้งสิ่งนี้และประกาศตนเองเป็นผู้ก่อตั้งคนเดียว[ 11] [ 12]
เวลส์ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการจัดการมูลนิธิวิกิมีเดีย มูลนิธิที่เขาช่วยก่อตั้งเพื่อบริหารวิกิพีเดีย เนื่องจากบทบาทในการก่อตั้งวิกิพีเดียของเขา สารานุกรมขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ไทม์ จัดให้เขาเป็นหนึ่งใน "100 ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก " ใน ค.ศ. 2006[ 13]
ชึวิตช่วงต้น
เวลส์เกิดที่ฮันต์สวิลล์ รัฐแอละแบมา ในเวลาก่อนเที่ยงคืนวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1966 อย่างไรก็ตาม สูติบัตรของเขาระบุวันเกิดเป็น 8 สิงหาคม[ 14] [ 15] จิมมี ซีเนียร์ พ่อของเขา[ 16] ทำงานเป็นผู้จัดการร้านขายของชำ ส่วน ดอริส แอนน์ (สกุลเดิม ดัดลีย์) แม่ของเขา และเออร์มา ย่า/ยายของเขา ดำเนินกิจการ House of Learning[ 17] [ 9]
ผลงาน
การพัฒนาวิกิพีเดีย
ในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2001 เวลส์และแซงเงอร์ได้ตั้งวิกิพีเดีย ซึ่งเป็นเว็บไซต์วิกิ ในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับนูพีเดียขึ้น โดยตั้งใจว่าจะใช้วิกิพีเดียเป็นพื้นที่ระดมความคิดสำหรับเขียนเนื้อหาสารานุกรมในขั้นต้น ก่อนที่จะส่งไปที่นูพีเดียเพื่อตรวจสอบอีกครั้ง การเติบโตอย่างรวดเร็วของวิกิพีเดียในเวลาต่อมาทำให้วิกิพีเดียกลายเป็นโครงการหลักและโครงการนูพีเดียต้องระงับไป ในระยะแรกของการพัฒนาวิกิพีเดียนั้น แซงเงอร์เป็นผู้ดำเนินการเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่เวลส์เป็นผู้ออกเงินทุน เวลส์ถือว่าตนเองเป็นผู้ก่อตั้งวิกิพีเดียแต่เพียงผู้เดียว ถึงแม้ว่าแซงเงอร์จะยังคงเรียกตนเองว่าเป็น "ผู้ร่วมก่อตั้ง" วิกิพีเดียก็ตาม แซงเงอร์ได้ยุติการทำงานในโครงการวิกิพีเดียในเวลาต่อมา โดยประกาศการลาออกไว้ที่หน้าผู้ใช้วิกิพีเดียของเขาเอง หลังจากลาออก แซงเงอร์ได้วิพากษ์วีธีที่เวลส์ดำเนินโครงการ [ 18] โดยวิจารณ์ว่าเวลส์เป็นบุคคลจำพวก "ต่อต้านพวกหัวกะทิอย่างสิ้นเชิง" ("decidedly anti-elitist") ซึ่งเวลส์ไม่เห็นด้วยกับมุมมองนี้ของแซงเงอร์ และกล่าวว่าตนไม่ได้ต่อต้านพวกหัวกะทิ แต่ "น่าจะเป็นจำพวกต่อต้านพวกถือใบประกาศฯ (anti-credentialist) มากกว่า สำหรับผม สิ่งสำคัญคือทำให้ถูกต้อง และถ้ามีใครก็ตามที่เป็นคนฉลาดและทำงานได้น่าอัศจรรย์แล้วล่ะก็ ผมไม่สนหรอกว่าเขาจะเป็นนักเรียนมัธยมปลายหรือศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด งานที่เขาทำต่างหากที่สำคัญ ... คุณหวังพึ่งใบประกาศฯ ของคุณในวิกิพีเดียไม่ได้หรอก ... คุณต้องเดินเข้าตลาดความคิดและสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ"
ในกลาง ค.ศ. 2003 เวลส์ได้ก่อตั้งมูลนิธิวิกิมีเดีย ขึ้น โดยเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ตั้งในเมืองแทมปา รัฐฟลอริดา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนวิกิพีเดียและโครงการพี่น้องอื่น ๆ นับแต่นั้น บทบาทของเวลส์จะเพิ่มขึ้นจากเดิมในด้านการส่งเสริมและการพูดในที่ต่าง ๆ ถึงโครงการของมูลนิธิ นับถึง ค.ศ. 2005 เวลส์ยังคงดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิและประธานกรรมการบริหารมูลนิธิอยู่
ใน ค.ศ. 2004 มีการอ้างคำพูดของเวลส์ว่าเขาใช้เงินส่วนตัวประมาณ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในการก่อตั้งและดำเนินงานโครงการวิกิต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ้นสุดการระดมทุนของมูลนิธิวิกิมีเดียในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 มูลนิธิได้รับการสนับสนุนที่จำเป็นทั้งหมดจากสิ่งของและเงินบริจาค
เวลส์ยังปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ "จอมเผด็จการผู้เมตตา (benevolent dictator)" ของวิกิพีเดียด้วย ถึงแม้เวลส์จะไม่สนับสนุนการใช้คำนี้ก็ตาม เวลส์ยังคงมีอำนาจการควบคุมสูงสุดในมูลนิธิวิกิมีเดีย โดยนอกจากตัวเขาเองจะเป็นกรรมการบริหารมูลนิธิแล้ว เขายังเสนอชื่อหุ้นส่วนทางธุรกิจของเขาจำนวนสองคน ซึ่งมิได้เป็นผู้แก้ไขวิกิพีเดียอย่างสม่ำเสมอ ให้ร่วมเป็นกรรมการด้วย ซึ่งเนื่องจากคณะกรรมการบริหารมูลนิธิมีอยู่ด้วยกันห้าคน โดยพฤตินัยแล้วจึงถือว่าเวลส์ครองเสียงข้างมาก (สามเสียง) ในคณะกรรมการ อย่างไรก็ตาม เวลส์กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า หากกรรมการในฟากผู้แก้ไขวิกิพีเดียอย่างสม่ำเสมอทั้งสองคนเห็นพ้องกันในญัตติใดญัตติหนึ่งแล้ว ตนจะออกเสียงสนับสนุนด้วย ซึ่งมีผลทำให้กรรมการฟากผู้แก้ไขได้รับเสียงข้างมาก เวลส์ยังกล่าวด้วยว่าคำว่า "จอมเผด็จการผู้เมตตา" ใช้กันมากโดยสื่อมวลชน แต่ชุมชนวิกิพีเดียไม่ยอมรับคำนี้[ต้องการอ้างอิง ]
โครงการอื่น ๆ
เมื่อเร็ว ๆ นี้ เวลส์ได้ก่อตั้งบริษัทวิเกีย ซึ่งเป็นบริษัทแสวงหาผลกำไร มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเว็บโฮสต์ ให้โครงการวิกิต่าง ๆ และดูแลโครงการวิกิซิตีส์ ซึ่งมีลักษณะเดียวกับวิกิพีเดีย ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะอิทธิพลจากความสำเร็จของวิกิพีเดีย
ชีวิตส่วนตัว
เวลส์กับภรรยาคนที่สอง Christine Rohan
จิมมี เวลส์แต่งงานสามครั้ง ตอนอายุ 20 ปี เขาแต่งงานกับ Pamela Green[ 3] เพื่อนร่วมงานในร้านขายของชำที่รัฐแอละแบมา[ 19] ทั้งคู่หย่ากันใน ค.ศ. 1993[ 9] ต่อมาได้พบกับ Christine Rohan ภรรยาคนที่สองผ่านเพื่อนในชิคาโก โดยเธอทำงานเป็นแม่ค้าเหล็กของมิตซูบิชิ [ 20] [ 21] ทั้งคู่แต่งงานกันที่เทศมณฑลมอนโร รัฐฟลอริดา ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1997[ 22] และมีลูกสาวคนเดียวก่อนที่จะแยกกันใน ค.ศ. 2008[ 3] [ 20] [ 19]
เวลส์แต่งงานกับ Kate Garvey ที่Wesley's Chapel ในลอนดอน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2012[ 23] เธอเป็นอดีตเลขาธิการจดบันทึกของโทนี แบลร์ ซึ่งเวลส์พบเธอที่ดาโวส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[ 24] [ 25] เวลส์มีลูกสาวสามคน: กับ Rohan หนึ่งคน และกับ Garvey สองคน[ 1] [ 26]
เวลส์อาศัยอยู่ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษมาตั้งแต่ ค.ศ. 2012[ 27] เขาได้รับสิทธิพลเมืองอังกฤษ ใน ค.ศ. 2019[ 5] และระบุตนเองว่าเป็นเชฟ ที่หลงใหล[ 28]
สิ่งตีพิมพ์
Brooks, Robert; Corson, Jon; Wales, Jimmy Donal (1994). "The Pricing of Index Options When the Underlying Assets All Follow a Lognormal Diffusion". Advances in Futures and Options Research . 7 . SSRN 5735 .
Wales, Jimmy; Weckerle, Andrea (December 31, 2008). "Foreword". ใน Fraser, Matthew ; Dutta, Soumitra (บ.ก.). Throwing Sheep in the Boardroom: How Online Social Networking Will Transform Your Life, Work and World (1st ed.). Wiley . ISBN 978-0-470-74014-9 . OCLC 233939846 .
Wales, Jimmy; Weckerle, Andrea (January 8, 2009). "Commentary: Create a tech-friendly U.S. government" . CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-08-16. สืบค้นเมื่อ 2021-11-30 .
Wales, Jimmy; Weckerle, Andrea (February 10, 2009). "Foreword". ใน Powell, Juliette (บ.ก.). 33 Million People in the Room: How to Create, Influence, and Run a Successful Business with Social Networking (1st ed.). Financial Times Press . ISBN 978-0-13-715435-7 . OCLC 244066502 .
Wales, Jimmy; Weckerle, Andrea (March 3, 2009). "Foreword". ใน Weber, Larry (บ.ก.). Marketing to the Social Web: How Digital Customer Communities Build Your Business (2nd ed.). Wiley . ISBN 978-0-470-41097-4 . OCLC 244060887 .
Wales, Jimmy (March 17, 2009). "Foreword". ใน Lih, Andrew (บ.ก.). The Wikipedia Revolution: How a Bunch of Nobodies Created the World's Greatest Encyclopedia (1st ed.). Hyperion . ISBN 978-1-4013-0371-6 . OCLC 232977686 .
Wales, Jimmy; Weckerle, Andrea (March 30, 2009). "Most Define User-Generated Content Too Narrowly" . Advertising Age . 80 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ July 18, 2012. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009 .
Wales, Jimmy; Weckerle, Andrea (December 28, 2009). "Keep a Civil Cybertongue" . The Wall Street Journal .
Mons, B. ; Ashburner, M. ; Chichester, C.; Van Mulligen, E.; Weeber, M.; Den Dunnen, J.; Van Ommen, G. J.; Musen, M.; Cockerill, M.; Hermjakob, H.; Mons, A.; Packer, A.; Pacheco, R.; Lewis, S. ; Berkeley, A.; Melton, W.; Barris, N.; Wales, J. ; Meijssen, G.; Moeller, E. ; Roes, P.; Borner, K.; Bairoch, A. (2008). "Calling on a million minds for community annotation in WikiProteins" . Genome Biology . 9 (5): R89. doi :10.1186/gb-2008-9-5-r89 . PMC 2441475 . PMID 18507872 .
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 1.2 Garside, Juliette (August 3, 2014). "Jimmy Wales: digital champion of free speech" . The Observer . London. สืบค้นเมื่อ December 26, 2017 .
↑ Williams, Christopher (April 25, 2017). "Wikipedia co-founder Jimmy Wales exits Guardian board over conflict of interest with Wikitribune news site" . The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235 .
↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Chozick, Amy (June 30, 2013). "Jimmy Wales Is Not an Internet Billionaire" . The New York Times Magazine . สืบค้นเมื่อ October 31, 2018 .
↑ Horovitz, David (January 7, 2011). "Jimmy Wales's benevolent Wikipedia wisdom" . The Jerusalem Post . สืบค้นเมื่อ December 26, 2017 .
↑ 5.0 5.1 Jimmy Wales [@jimmy_wales] (September 16, 2019). "I just became a UK citizen, quite happy about that. It occurs to me that perhaps a few MPs should actually take the "Life in the UK" test and study the manual!" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์ .
↑ "Wikipedia: 50 languages, ½ million articles" . Wikimedia Foundation Press Release . Wikimedia Foundation . April 25, 2004. สืบค้นเมื่อ April 10, 2009 . "The Wikipedia project was founded in January 2001 by Internet entrepreneur Jimmy Wales and philosopher Larry Sanger, " quoted from April 25, 2004, first-ever press release issued by the Wikimedia Foundation. •"Wikipedia, the free encyclopedia, reaches its 100,000th article" . Wikipedia Press Release . Wikipedia. January 21, 2003. สืบค้นเมื่อ April 10, 2009 .
↑ "Brain scan: The free-knowledge fundamentalist" . The Economist . June 5, 2008. สืบค้นเมื่อ December 26, 2017 .
↑ Walden, Lea Ann, et al. (spring 2013). "Where Are They Now? ". Randolph Magazine เก็บถาวร สิงหาคม 27, 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 18 (1). pp. 20–27. Retrieved August 26, 2014.
↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 Wilson, Claire M. "Jimmy Wales" . Encyclopedia of Alabama . สืบค้นเมื่อ December 26, 2017 . {{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ "Todd Rush Chambers's answer to What did Jimmy Wales mostly think about when he was in High School? - Quora" .
↑ Bergstein, Brian (March 25, 2007). "Sanger says he co-started Wikipedia" . NBC News . Associated Press. สืบค้นเมื่อ March 26, 2007 . The nascent Web encyclopedia Citizendium springs from Larry Sanger, a philosophy PhD who counts himself as a co-founder of Wikipedia, the site he now hopes to usurp. The claim does not seem particularly controversial—Sanger has long been cited as a co-founder. Yet the other founder, Jimmy Wales, is not happy about it.
↑ Olson, Parmy (October 18, 2006). "A New Kid on the Wiki Block" . Forbes . สืบค้นเมื่อ March 28, 2009 .
↑ Anderson, Chris (May 8, 2006). "2006 TIME 100 Jimmy Wales" . Time . สืบค้นเมื่อ December 26, 2017 .
↑ "Jimmy Wales" . Encyclopædia Britannica . July 16, 2014. สืบค้นเมื่อ January 30, 2015 .
↑ Rogoway, Mike (July 27, 2007). "Wikipedia & its founder disagree on his birth date" . Silicon Forest . สืบค้นเมื่อ October 31, 2008 .
↑ Kazek, Kelly (August 11, 2006). "Geek to chic: Wikipedia founder a celebrity" . The News Courier . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ March 20, 2008. Doris Wales's husband, Jimmy, wasn't sure what she was thinking when she bought a World Book Encyclopedia set from a traveling salesman in 1968.
↑ Pink, Daniel H. (March 13, 2005). "The Book Stops Here" . Wired . Vol. 13 no. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ March 4, 2005. สืบค้นเมื่อ October 31, 2008 .
↑ Kuro5Hin Why Wikipedia Must Jettison Its Anti-Elitism
↑ 19.0 19.1 Lipsky-Karasz, Alisa (September 2008). "Mr. Know-It-All" . W magazine . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ November 20, 2008. สืบค้นเมื่อ October 31, 2008 .
↑ 20.0 20.1 Lamb, Brian (September 25, 2005). "Q&A: Jimmy Wales, Wikipedia founder" . C-SPAN . สืบค้นเมื่อ October 31, 2006 .
↑ Barnett, Cynthia (September 2005). "Wiki Mania" . Florida Trend . Vol. 48 no. 5. p. 62. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ October 17, 2006.
↑ Meyer, Susan (2013). Jimmy Wales and Wikipedia . Rosen Publishing . p. 27 . ISBN 9781448869121 .
↑ Donnelly, Laura (October 6, 2012). "Wiki wedding: Wikipedia founder Jimmy Wales marries Tony Blair's former aide" . The Daily Telegraph . London. สืบค้นเมื่อ December 26, 2017 .
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ guardiangarvey
↑ Smallman, Danny (January 18, 2012). "Jimmy Wales: Mr Wikipedia on today's blackout" . London Evening Standard . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ January 20, 2012. สืบค้นเมื่อ January 19, 2012 .
↑ Jaffé-Pearce, Michèle (March 12, 2017). "A life in the day: Jimmy Wales" . The Sunday Times (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0956-1382 . สืบค้นเมื่อ June 8, 2018 . He lives in west London with his third wife, Kate Garvey, a former aide to Tony Blair, and daughters Ada, 5, and Jemima, 3. Kira, 16, his daughter with his second wife, lives in Florida.
↑ Hough, Stephen (March 11, 2012). "Jimmy Wales: Wikipedia chief to advise Whitehall on policy" . The Daily Telegraph . London. สืบค้นเมื่อ December 26, 2017 .
↑ Garfield, Simon (October 20, 2020). "What We Know And Can Agree On: Wikipedia At 20" . Esquire (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2020. สืบค้นเมื่อ February 16, 2021 .
บรรณานุกรม
อ่านเพิ่ม
"Wikimania: Meet the Wikipedians. Those "persnickety," techy types who keep your favorite Internet information website brimming with data ." 60 Minutes : Morley Safer interviewing Jimmy Wales. First aired on April 5, 2015. Rebroadcast on July 26, 2015.
Wales, Jimmy (July 2005). "The birth of Wikipedia – Jimmy Wales recalls how he assembled "a ragtag band of volunteers," gave them tools for collaborating and created Wikipedia, the self-organizing, self-correcting, never-finished online encyclopedia" . TED talks .
On Being w/Krista Tippett เก็บถาวร 2017-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ; Jimmy Wales – The Sum of All Human Knowledge (broadcast WAMU American University) September 11, 2016
Wikipedia Founder Jimmy Wales is Taking on Facebook and the Dangers Lurking in the Rise of Artificial Intelligence , by Fred Guterl, Newsweek , December 12, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
นานาชาติ ประจำชาติ วิชาการ อื่น ๆ