แคโรทีนอยด์
พื้นสีส้มรอบบ่อน้ำร้อนแกรนด์พริสมาติก เกิดจากแคโรทีนอยด์ที่สังเคราะห์โดยสาหร่ายและแบคทีเรีย
โครงสร้างทั่วไปของแคโรทีนอยด์ เป็นโพลีอีนที่เชื่อมด้วยพันธะคู่ 9-11 พันธะ และอาจมีวงแหวนที่ปลาย
แคโรทีนอยด์ (อังกฤษ : carotenoid ) หรือ เตตระเทอร์พีนอยด์ (tetraterpenoid) เป็นสารประกอบอินทรีย์ สีเหลือง ส้มและแดงที่ผลิตโดยพืชและสาหร่าย รวมถึงแบคทีเรีย เห็ดรา และสัตว์บางชนิด[ 1] เพลี้ยอ่อน และไรแมงมุม สามารถสังเคราะห์แคโรทีนอยด์ได้โดยได้รับความสามารถนี้มาจากเห็ดรา[ 2] การสังเคราะห์แคโรทีนอยด์จะเริ่มที่ไอโซเพนเทนิลไดฟอสเฟต (IPP) และไดเมทิลแอลลิลไดฟอสเฟต (DMAPP) ซึ่งมาจากอะซิติลโคเอนไซม์ เอ หน้าที่หลักของแคโรทีนอยด์ในพืช ได้แก่ ดูดกลืนแสงเพื่อใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง และป้องกันคลอโรฟิลล์ จากการถูกทำลายจากแสงที่มีความเข้มสูง[ 3] [ 4] นอกจากนี้ยังมีส่วนในการส่งสัญญาณให้เซลล์ผลิตกรดแอบไซซิก ฮอร์โมนที่ควบคุมการงอกของเมล็ด การแบ่งเซลล์ และการเจริญเติบโตของพืช[ 5]
ปัจจุบันมีการค้นพบแคโรทีนอยด์กว่า 1,100 ชนิด[ 6] ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองประเภทได้แก่ แซนโทฟิลล์ (มีอะตอมออกซิเจนในโครงสร้าง) และแคโรทีน (ไม่มีอะตอมออกซิเจนในโครงสร้าง)[ 7] ทั้งหมดเป็นอนุพันธ์ของเตตระเทอร์พีน หรือประกอบด้วยอะตอมคาร์บอน 40 อะตอมและไอโซพรีน 8 โมเลกุล โครงสร้างทั่วไปของแคโรทีนอยด์จะเป็นสายตรงแบบโพลีอีน ที่มีพันธะคู่อย่างน้อย 9-11 พันธะ การเชื่อมแบบคอนจูเกตทำให้แคโรทีนอยด์มีการส่งผ่านอิเล็กตรอนที่ดี นำไปสู่ความสามารถในการดูดกลืนแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกันได้ โดยทั่วไปแคโรทีนอยด์สามารถดูดกลืนแสงที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 400–550 นาโนเมตร (ม่วงถึงเขียว) และสะท้อนแสงที่มีความยาวคลื่นสูงกลับ จึงปรากฏเป็นสีเหลือง ส้มและแดง[ 8] [ 9]
แคโรทีนอยด์มีคุณสมบัติเป็นลิโพฟิลิก หรือละลายในไขมันเนื่องจากมีสารประกอบแอลิแฟติก ในโครงสร้าง การดูดซึมแคโรทีนอยด์ในร่างกายจึงต้องอาศัยการจับกับกรดไขมัน และกรดน้ำดี ในลำไส้เล็กส่วนปลาย ก่อนจะถูกเก็บไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน[ 1] ด้วยเหตุนี้ การปรุงผักกับน้ำมันจะช่วยเพิ่มชีวปริมาณออกฤทธิ์ หรืออัตราการดูดซึมแคโรทีนอยด์เข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต[ 10]
ชื่อแคโรทีนอยด์มาจากแคโรทีน ซึ่งมาจากชื่อชนิดของแคร์รอตคือ carota [ 11] แคโรทีนอยด์ให้สีที่จำเพาะในแคร์รอต ฟักทอง ฟักข้าว ข้าวโพด มะเขือเทศ มะละกอ [ 12] และส่งผลให้นกฟลามิงโก นกคาร์ดินัล สัตว์พวกกุ้งกั้งปู และปลาแซลมอน มีสีที่โดดเด่นจากการกินสาหร่ายหรือผลไม้ที่มีแคโรทีนอยด์[ 13] แคโรทีนอยด์ส่วนใหญ่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยยับยั้งการออกซิเดชันที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์[ 14] และเป็นสารโปรวิตามินเอที่เข้าสู่ร่างกายจะกลายเป็นวิตามินเอ ซึ่งเป็นวิตามินที่สำคัญต่อร่างกาย[ 15]
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 "Carotenoids" . Micronutrient Information Center, Linus Pauling Institute, Oregon State University. 1 August 2016. สืบค้นเมื่อ 17 April 2019 .
↑ Moran NA, Jarvik T (2010). "Lateral transfer of genes from fungi underlies carotenoid production in aphids". Science . 328 (5978): 624–7. doi :10.1126/science.1187113 . PMID 20431015 .
↑ Armstrong GA, Hearst JE (1996). "Carotenoids 2: Genetics and molecular biology of carotenoid pigment biosynthesis" . FASEB J . 10 (2): 228–37. doi :10.1096/fasebj.10.2.8641556 . PMID 8641556 .
↑ Talapatra, Sunil Kumar; Talapatra, Bani (2015). Chemistry of Plant Natural Products: Stereochemistry, Conformation, Synthesis, Biology, and Medicine – Volume 1 . New York City, United States: Springer Publishing. p. 585. ISBN 9783642454097 .
↑ Finkelstein, Ruth (2013-11-01). "Abscisic Acid Synthesis and Response" . The Arabidopsis Book / American Society of Plant Biologists . 11 : e0166. doi :10.1199/tab.0166 . ISSN 1543-8120 . PMC 3833200 . PMID 24273463 .
↑ Yabuzaki, Junko (2017-01-01). "Carotenoids Database: structures, chemical fingerprints and distribution among organisms" . Database (ภาษาอังกฤษ). 2017 (1). doi :10.1093/database/bax004 . PMC 5574413 . PMID 28365725 .
↑ Séquin, Margareta (2012). The Chemistry of Plants: Perfumes, Pigments, and Poisons . London, United Kingdom: RSC Publishing. p. 99. ISBN 9781849733342 .
↑ Vershinin, Alexander (1999-01-01). "Biological functions of carotenoids - diversity and evolution". BioFactors (ภาษาอังกฤษ). 10 (2–3): 99–104. doi :10.1002/biof.5520100203 . ISSN 1872-8081 . PMID 10609869 .
↑ Andersson, Staffan; Prager, Maria; Johansson, E I Anette (20 December 2006). "Carotenoid content and reflectance of yellow and red nuptial plumages in widowbirds (Euplectes spp.)" . Functional Ecology . 21 (2): 272–281. doi :10.1111/j.1365-2435.2007.01233.x . สืบค้นเมื่อ October 30, 2019 . [ลิงก์เสีย ]
↑ Mashurabad, Purna Chandra; Palika, Ravindranadh; Jyrwa, Yvette Wilda; Bhaskarachary, K.; Pullakhandam, Raghu (3 January 2017). "Dietary fat composition, food matrix and relative polarity modulate the micellarization and intestinal uptake of carotenoids from vegetables and fruits" . Journal of Food Science and Technology . 54 (2): 333–341. doi :10.1007/s13197-016-2466-7 . ISSN 0022-1155 . PMC 5306026 . PMID 28242932 .
↑ "Definition of carotenoid" . Dictionary.com . สืบค้นเมื่อ October 30, 2019 .
↑ Szalay, Jessie (October 15, 2015). "What Are Carotenoids?" . Live Science . สืบค้นเมื่อ October 30, 2019 .
↑ DuRant, Hassan (June 26, 2014). "The origin of bright-colored birds" . Science . สืบค้นเมื่อ October 30, 2019 .
↑ Young, Andrew J.; Lowe, Gordon L. (February 11, 2018). "Carotenoids—Antioxidant Properties" . Antioxidants . 7 (2): 28. doi :10.3390/antiox7020028 . สืบค้นเมื่อ October 30, 2019 .
↑ Toti, Elisabetta; Chen, C.-Y. Oliver; Peluso, Ilaria (May 9, 2018). "Non-Provitamin A and Provitamin A Carotenoids as Immunomodulators: Recommended Dietary Allowance, Therapeutic Index, or Personalized Nutrition?" . Oxidative Medicine and Cellular Longevity . 2018 (3): 1–20. doi :10.1155/2018/4637861 . สืบค้นเมื่อ October 30, 2019 .