เฮาส์ (อังกฤษ : house music ) เป็นแนวเพลง หนึ่งของดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ เกิดในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 โดยมีต้นกำเนิดมาจากเมืองชิคาโก [ 17] รัฐอิลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา แรกเริ่มเดิมทีเป็นที่นิยมในดิสโก้เทคสำหรับชาวแอฟริกัน-อเมริกัน, ละตินอเมริกันและสังคมเกย์ในสมัยกลางทศวรรษที่ 1980 ที่เมืองชิคาโก ต่อมาจึงกระจายความนิยมไปยังนิวยอร์ก , นิวเจอร์ซีย์ , ดีทรอยต์ และไมอามี จนกระทั่งถึงยุโรป ก่อนจะมีบทบาทสำคัญแก่แนวเพลงป็อปและเพลงแดนซ์ทั่วโลก
แนวดนตรีเฮาส์ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากองค์ประกอบของดนตรีโซล และฟังก์ ในช่วงกลางยุค 1970 เฮาส์มีลักษณะโดดเด่นในการนำเอาการเคาะเพอคัสชั่น (Percussion) แบบดิสโก้มาใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ดรัมเบสในทุก ๆ บีต (Beat) แล้วพัฒนาเป็นแนวดนตรีแนวใหม่โดยผสมไลน์เบสของเครื่องสังเคราะห์เสียง อิเล็กทรอนิก, กลองอิเล็กทรอนิก, เอฟเฟกต์อิเล็กทรอนิก, แซมเปิลฟังก์และป็อป รวมไปถึงการใช้เสียงก้องและเสียงร้องดีเลย์
องค์ประกอบทางดนตรี
เฮาส์เป็นแนวดนตรีที่มีอัตราจังหวะความเร็วระดับสูง (Uptempo) เพื่อสำหรับการเต้น แม้ว่ามาตรฐานสำหรับเพลงเต้นในยุคสมัยใหม่หรือยุคโมเดิร์นนั้นจะมีอัตราจังหวะความเร็วอยู่ในระดับปานกลาง (Mid-tempo) ซึ่งอยู่ในช่วงความเร็วระหว่าง 118 และ 135 บีตต่อนาที อย่างไรก็ตามเฮาส์ในยุคเริ่มแรกจะมีอัตราจังหวะความเร็วที่ช้ากว่า
ลักษณะเด่นขององค์ประกอบทั่วไปของแนวดนตรีเฮาส์คือการมีคิกดรัม ในทุก ๆ บีทหรือโฟร์-ออน-เดอะ-ฟลอร์ บีทในอีกชื่อหนึ่ง ซึ่งโดยปกติจะใช้ดรัมแมชชีน หรือแซมเพลอร์ ในการสร้างสรรค์เพลง เสียงของคิกดรัมถูกเสริมโดยคิกฟิลล์ที่หลายหลายผนวกเข้ากับดรอปเอ้าท์ที่ถูกยืดออก ร่องเสียงกลองถูกเติมเต็มด้วยฉาบแบบไฮ-แฮท ที่มักจะมีไฮ-แฮทเปิดบนโน้ตแปดนอกบีท (Eighth Note Off-beats) ในแต่ละคิกเสมอ รวมไปถึงสแนร์ดรัม หรือเสียงตบบนบีทที่สองและสี่ของทุก ๆ บาร์ด้วย รูปแบบนี้ได้รับอิทธิพลมาจากจังหวะของเสียงกลองในการเต้น 'โฟร์-ออน-เดอะ-ฟลอร์' ของยุค 1960 และมือกลองดิสโก้ในยุค 1970 โปรดิวเซอร์มักจะแบ่งเสียงกลองตัวอย่างเป็นชั้น ๆ ทำให้สามารถสร้างเสียงที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น พวกเขายังปรับการมิกซ์ของระบบเสียงในคลับขนาดใหญ่รวมทั้งเน้นเรื่องการลดความถี่ในช่วงระดับปานกลางซึ่งเป็นความถี่ระดับพื้นฐานของเสียงมนุษย์และไลน์เครื่องดนตรีระหว่างเบสและไฮ-แฮทอีกด้วย
โปรดิวเซอร์ใช้แหล่งเสียงที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปในแนวดนตรีเฮาส์ ตั้งแต่เสียงต่อเนื่องหรือการซ้ำการต่อเนื่องไลน์อิเลคโทรนิคบนเครื่องสังเคราะห์เสียงเช่น โรแลนด์ เอสเอช-101 หรือ ทีบี303 เพื่อบันทึกหรือเก็บตัวอย่างการแสดงสดของมือเบสอิเลคโทรนิคหรือเพียงเพื่อกรองเสียงตัวอย่างจากการบันทึกระบบเสียงสเตอริโอของเพลงคลาสสิกฟังก์หรือเพลงอื่น ๆ เบสไลน์ของเฮาส์ค่อนข้างจะชอบใช้โน้ตที่ตกอยู่ในช่วงซิงเกิล-ออคเทฟซึ่งก็คือในช่วงความแตกต่างระหว่างโน้ตตัวแรกกับตัวที่แปดในโน้ตคู่แปด ในขณะที่ดิสโก้เบสไลน์จะสลับระหว่างโน้ตในออคเทฟ-เซพาเรตและมักจะขยายช่วงเสียงให้กว้างขึ้น ผลงานเพลงแนวเฮาส์ในช่วงแรก ๆ นำเอาส่วนต่าง ๆ ของเบสไลน์จากเพลงดิสโก้ในยุคก่อนมาใช้เช่น โปรดิวเซอร์ มาร์ค 'ฮอตรอด' ทรอลแลนที่เลียนแบบส่วนเบสไลน์จากเพลงอิตาเลียนดิสโก้ที่ชื่อ 'ฟีลกู๊ด (แครอทแอนด์บีท)' โดยอิเลคทราทซึ่งร้องร่วมกับทารา บัทเลอร์ เพื่อสร้างผลงานทางดนตรี 'ยัวร์ เลิฟ' ของเขาเองในปี 1986 ร้องโดยเจมี พริ้นซิเพิล ในขณะที่แฟรงกี นักเคิลส์ ได้ใช้โน้ตเดียวกันมาสร้าง 'ยัวร์ เลิฟ' ในเวอร์ชันของเขาที่ซึ่งประสบความสำเร็จมากกว่าในปี 1987 ซึ่งได้พริ้นซิเพิลมาช่วยร้องให้เช่นกัน
เสียงอิเลคโทรนิคและตัวอย่างจากการบันทึกเสียงจากเพลงชนิดต่าง ๆ เช่น แจ๊ส , บลู และซินธ์ป็อป มักจะถูกใส่ลงไปในฐานเสียงของดรัมบีทและซินธ์เบสไลน์ แนวดนตรีเฮาส์อาจรวมเอา ดิสโก้, โซล หรือเพลงสวดวิงวอนพระเจ้าและการเคาะเพอคัสชั่นอย่างแทมเบอรีน มาใช้ การมิกซ์เพลงของเฮาส์ยังรวมถึงการซ้ำ, การตัดทอนเสียง, การลัดจังหวะดนตรีและการขาดตอนของลูปคอร์ดดนตรีซึ่งมักจะประกอบด้วย 5-7 คอร์ดในจังหวะ 4 บีต
เทคโน และแทรนซ์ ซึ่งถูกพัฒนามาเรื่อย ๆ ร่วมกับเฮาส์ได้ใช้โครงสร้างพื้นฐานของบีทร่วมกันแต่จะพยายามหลบเลี่ยงอารมณ์แบบอิทธิพลทางดนตรีสดและอิทธิพลทางแนวเพลงละตินหรือเพลงของคนดำซึ่งมักจะนิยมแหล่งเสียงและการเข้าถึงเสียงแบบเสียงสังเคราะห์มากกว่า
ประวัติ
ผู้บุกเบิก
เดอะ พาราไดส์ การาจ ไนท์คลับในมหานครนิวยอร์ก
แนวดนตรีเฮาส์เป็นผลผลิตที่พัฒนามาจากดิสโก้ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างโซล , อาร์แอนด์บี และฟังก์ เข้ากับข้อความการเฉลิมฉลองรื่นเริงที่สื่อถึงการเต้นรำ ความรักและเพศ ทั้งหมดนี้ถูกรวมเข้าด้วยกันด้วยการจัดการแบบซ้ำ ๆ กับเสียงเบสอันสม่ำเสมอของดรัมบีท การรวมเสียงในเพลงดิสโก้บางเพลงนั้นสร้างขึ้นจากเครื่องสังเคราะห์เสียงและดรัมแมชชีน การประพันธ์เพลงบางบทก็เป็นแบบอิเลคโทรนิคเกือบทั้งหมดดังตัวอย่างของ จอร์จิโอ โมโรเดอร์กับผลงานในปลายทศวรรษที่ 1970 เช่นเพลงฮิตของดอนนา ซัมเมอร์ชื่อ 'ไอ ฟีล เลิฟ'จากปี 1977 และอีกหลายผลงานดิสโก้-ป็อปของ เดอะ ไฮ-เอ็นอาร์จี กรุ๊ป ไลม์ ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980
เฮาส์ยังได้รับอิทธิพลจากเทคนิคการมิกซ์และการตัดต่อซึ่งถูกค้นพบโดย ดีเจดิสโก้ โปรดิวเซอร์และวิศวกรเสียงอย่างวอลเตอร์ กิบบอนส์, ทอม มูล์ตัน, จิม เบอร์เกส, แลร์รีย์ ลีแวน, รอน ฮาร์ดี้, เอ็มแอนด์เอ็มและอีกหลายๆคนที่ได้สร้างการจัดการเคาะของการบันทึกเพลงดิสโก้ที่มีอยู่ให้ซ้ำได้มากขึ้นและยาวขึ้น ส่วนโปรดิวเซอร์ของเฮาส์ในยุคเริ่มแรกอย่างแฟรงกี้ นักเกิ้ลส์นั้นได้สร้างสรรค์การประพันธ์ดนตรีที่คล้ายกันจากการสแครชโดยใช้แซมเพลอร์, เครื่องสังเคราะห์เสียง, ซีเควนเซอร์และดรัมแมชชีน
เพลงเต้นรำอิเลคโทรนิคที่มีมนต์สะกดอย่าง 'ออนแอนด์ออน' สร้างขึ้นในปี 1984 โดยดีเจชาวชิคาโก เจสซี ซวนเดอร์ซึ่งร่วมแต่งเพลงโดยวินซ์ ลอว์เรนซ์ มีองค์ประกอบที่กลายเป็นตัวหลักของเฮาส์ในยุคแรกเช่น เครื่องสังเคราะห์เสียงเบส 303 กับเสียงร้องน้อย ๆ ซึ่งบางครั้งถูกกล่าวอ้างให้เป็น 'การบันทึกแนวดนตรีเฮาส์ชิ้นแรก' แม้ว่าตัวอย่างอื่นๆจากยุคเดียวกันอย่างเพลง 'มิวสิก อีส เอะ คีย์' (1985) ของเจ.เอ็ม. ซิลค์ก็เคยได้รับการเรียกเช่นนั้น
ศัพทมูลวิทยา
ประวัติของคำว่า เฮาส์ นั้นยังคงเป็นที่โต้แย้งกัน
ศัพท์คำนี้อาจมีที่มาจากไนต์คลับในชิคาโกที่ชื่อ เดอะ แวร์เฮาส์ ซึ่งเปิดให้บริการในช่วงปี 1977 ถึง 1982 เดอะ แวร์เฮาส์มีผู้อุดหนุนหลักคือเหล่าบรรดาชาวเกย์แอฟริกัน-อเมริกันและชายชาวละตินที่มาเพื่อเต้นรำในเพลงดิสโก้ซึ่งเปิดโดยดีเจประจำคลับอย่างแฟรงกี้ นักเกิ้ลส์ แม้ว่านักเกิ้ลส์จะออกจากคลับไปในปี 1982 และคลับได้ถูกเปลี่ยนชื่อไปเป็น มิวสิก บ๊อกซ์แล้วก็ตาม แต่คำว่า เฮาส์ ซึ่งเป็นชื่อย่อของ แวร์เฮาส์ ยังคงเป็นที่นิยมในหมู่ชาวชิคาโก มันเปรียบเหมือนการเลือกสรรเพลงแบบนักเกิ้ลส์เมื่อครั้งยังเป็นดีเจในช่วงก่อนที่จะเป็นผู้ผลิตผลงานทางดนตรีซึ่งยังไม่ได้เริ่มจนกว่าเดอะ แวร์เฮาส์ได้ทำการปิดกิจการลง ในสารคดีของบีบีซีชื่อ ปั๊ม อัพ เดอะ วอลุ่ม นักเกิ้ลส์ได้กล่าวไว้ว่าครั้งแรกที่เขาได้ยินคำว่า แนวดนตรีเฮาส์ ก็ตอนที่เขาได้เห็นประโยคที่ว่า 'เราเล่นแนวดนตรีเฮาส์' บนป้ายตรงหน้าต่างของบาร์แห่งหนึ่งในชิคาโกฝั่งใต้ คนๆหนึ่งในรถเขาได้หยอกล้อว่า 'คุณรู้มั้ย นั่นน่ะเป็นแนวดนตรีที่คุณเล่นเมื่อสมัยที่อยู่ที่ เดอะ แวร์เฮาส์!' ดีเจชาวชิคาโกฝั่งใต้ ลีโอนาร์ด 'รีมิกซ์' รอยย์ ได้กล่าวในคำแถลงส่วนตัวว่าที่เขาได้ทำป้ายบนหน้าต่างร้านแบบนั้นก็เพราะมันเป็นแนวดนตรีที่เขาเล่นที่อาจจะเจอได้ในบ้านใครบางคนอย่างในกรณีของเขาคือการบันทึกแผ่นเสียงโซลและดิสโก้ของแม่ของเขา
การบันทึกแผ่นเสียงของชิป อี. ในปี 1985 ที่ชื่อ 'อิส'ส เฮาส์' อาจมีส่วนช่วยในการขยายความของรูปแบบใหม่ของดนตรีอิเลคโทรนิคนี้ อย่างไรก็ตามชิป อี.ได้ให้ความไว้วางใจแก่สมาคมเดอะ นักเกิ้ลส์โดยกล่าวว่า ชื่อมาจากแนวคิดของการตั้งป้ายของการบันทึกเสียงที่ร้านแผ่นเสียง เดอะ อิมพอสเทส อีทีซีที่ซึ่งเป็นที่ที่เขาใช้ทำงานในช่วงต้นยุค 1980 เพลงต่าง ๆ มากมายที่ดีเจ นักเกิ้ลส์ได้เคยเปิดแผ่นที่เดอะ แวร์เฮาส์ถูกตั้งป้ายขึ้นว่า 'ดังได้ฟัง ณ. เดอะ แวร์เฮาส์' ซึ่งถูกเรียกสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่า เฮาส์ บรรดาผู้สนับสนุนภายหลังได้ถามถึงเพลงใหม่ ๆ ซึ่งชิป อี. ได้แจ้งว่าเป็นความต้องการที่ทางร้านได้พยายามจะหาโดยการสะสมเพลงฮิตใหม่ ๆ ของคลับ
แลร์รีย์ เฮิร์ด หรือ 'มิสเตอร์ ฟิงเกอร์ส' กล่าวว่าคำว่า เฮาส์ นั้นสะท้อนให้เห็นถึงความจริงที่ว่าดีเจหลายคนได้สร้างสรรค์งานเพลงของเขาที่บ้านโดยการใช้เครื่องสังเคราะห์เสียงและดรัมแมชชีนรวมไปถึง โรแลด์ ทีอาร์-808, ทีบี-909และเครื่องสังเคราะห์เสียง-ซีเควนเซอร์ เบสไลน์ ทีบี 303 เครื่องสังเคราะห์เสียงเหล่านี้ถูกใช้เพื่อสร้างสรรค์แนวเพลงย่อยอย่างเอซิดเฮาส์
ฮวน แอทคินส์ ผู้เริ่มสร้างแนวเพลงเทคโนของดีทรอยต์อ้างว่าคำว่า เฮาส์ สะท้อนให้เห็นถึงการประสานอย่างเฉพาะตัวของตัวเพลงกับดีเจ 'เพลงเหล่านั้นคือการบันทึกแผ่นเสียง เฮาส์ ของพวกเขา (เหมือนกับร้านอาหารที่จะต้องมีน้ำสลัดเป็นของตัวเอง) '
ชิคาโก: ต้นทศวรรษที่ 1980 - ปลายทศวรรษที่ 1980
เฮาส์มีวิวัฒนาการมาจากแนวดนตรีที่มีอัตราจังหวะความเร็วระดับสูงอย่างอาร์แอนด์บีและเพลงดิสโก้ในบ้าน, โรงรถ และคลับต่าง ๆ ของชิคาโก แรกเริ่มมีไว้สำหรับผู้ที่เที่ยวคลับแบบคลับใต้ดินมากกว่าพวกที่มีการโฆษณาอย่างเปิดเผย ทำให้การบันทึกแผ่นเสียงค่อนข้างมีกรอบความคิดที่กว้างกว่าและยาวกว่าดนตรีที่มักเปิดหรือออกอากาศในวิทยุ นักดนตรีเฮาส์จะใช้เครื่องสังเคราะห์เสียงแบบอะนาล็อกและซีเควนเซอร์เพื่อสร้างและจัดองค์ประกอบทางอิเลคโทรนิคและทดลองแซมเปิลเพลงของพวกเขาโดยรวมเอาเครื่องดนตรีสดพื้นถิ่นกับการเคาะเพอคัสชั่นบวกกับเสียงร้องแนวโซลกับเครื่องสังเคราะห์เสียงอิเลคโทรนิคที่ถูกวางโปรแกรมเอาไว้ผนวกเข้ากับบีทบอกซ์
ร้านเพลงหลักส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีซิงเกิลไวนิลขนาด 12 นิ้ว เนื่องจากไม่ค่อยมีตัวแทนจำหน่ายแผ่นเสียงเหล่านี้ ร้านเพลงในชิคาโก เช่น อิมพอสเทส อีทีซี, สเตท สตรีท เร้กคอร์ท, จูเนียร์'ส มิวสิก ช็อปและแกรมมาโฟน เร้กคอร์ทเป็นผู้จัดสรรรายใหญ่ของเพลงเหล่านี้ ร้านอิมพอสเทส อีทีซีเชื่อว่าเป็นสถานที่ที่คำว่า เฮาส์ ถูกนำมาใช้เรียกเป็นชื่อย่อของ แวร์เฮาส์
ดนตรีหลัก ๆ ในสมัยนั้นยังคงเป็นดิสโก้จนถึงช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 เมื่อดรัมแมชชีนเดี่ยวตัวแรกได้ถูกประดิษฐ์ขึ้น เพลงเฮาส์เริ่มมีข้อได้เปรียบในการใช้มิกซ์เซอร์กับดรัมแมชชีนซึ่งถือเป็นการส่งเสริมชื่อเสียงให้กัยบรรดาดีเจแต่ละคน ดีเจคลับใต้ดินอย่าง รอน ฮาร์ดี้และนักวิทยุเดอะ ฮอต มิกซ์ 5 ได้เปิดแผ่นเพลงอิตาโลดิสโก้ อย่าง 'เดอร์ตี้ ทอล์ก' และ 'เอ็มบีโอ ธีม' โดย เคลน เอ็ม.บี.โอ., เพลงบีบอย ฮิพฮอพในยุดแรก ๆ เช่น 'ฮิพฮอพ, บี บ็อป (ด๊อน สต๊อป) ' ของแมน แฟร์ริช, แอฟริกา แบมบาทา, เดอะ โซล โซนิก ฟอร์ส'ส แพลนเนต ร้อค, ลุกกิ้ง ฟอร์ เดอะ เฟอร์เฟ็ค บีท รวมไปถึงเพลงอิเลคโทรนิคโดย คราฟเวิร์ค; แนวเพลงเหล่านี้ต่างมีอิทธิพลต่อวงการดนตรีแนวเฮาส์ของชิคาโก
เจสซี ซวนเดอร์จาก 'เจส เซย์ เร้กคอร์ท' ผู้ซึ่งมีเพลงคลับฮิตประเภทบีบอย ฮิพฮอพอย่างเพลง 'คัม ทู มี' โดยเกวนโดลิน, 'ดัม ดัม'และเพลงที่ได้รับอิทธิพลแบบอิตาโลดิสโก้อย่าง 'อันเดอร์ คัพเวอร์'โดย ดอกเตอร์ เดเรลิกท์ ได้ปล่อย 'ออนแอนด์ออน' (1984) เฮาส์ฮิตแบบโฮมเมดของชิคาโกชิ้นแรกที่มีเนื้อเพลงขับกล่อมเบสไลน์และการเคาะเพอคัสชั่นราวกับมีมนต์สะกดซึ่งถือเป็นการปล่อยแผ่นบันทึกเสียงเฮาส์เพื่อออกขายสู่สาธารณชนเป็นครั้งแรก
ในปี 1985 แลนด์มาร์กของมิสเตอร์ ฟิงเกอร์สอย่าง 'แคน ยู ฟิล อิท?'/'วอชชิ่ง แมชชีน'/'มิสเซอรี่ ออฟ เลิฟ' แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของแนวดนตรีประเภทแจ๊ส เสียงชุ่ม ๆ ที่ถูกสรรค์สร้างขึ้นจากโรแลนด์ ทีอาร์-707 และเครื่องสังเคราะห์เสียงจูโน่ 6 เพลงเหล่านี้ช่วยจุดประกายความนิยมแนวดนตรีย่อยประเภทดีปเฮาส์ ซึ่งมีบีทที่ช้าลงมาถึงระดับ 110-125bpm. ในปีเดียวกัน 'อิส'ส เฮาส์' ของชิป อี.ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ดีของชิคาโกเฮาส์ ในปี 1986 'เอซิด แทร็กซ์' ของฟิวเจอร์แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของหนึ่งในแนวเพลงย่อยของเฮาส์อย่างเอซิดเฮาส์ที่เกิดขึ้นจากการทดลอง 303 แมชชีนของนักดนตรีชาวชิคาโกเช่น ดีเจปิแอร์
ปี 1986 นิค นิโคลสันหรือดีเจ นิค นันสต็อปได้สร้าง 'ออริจินัล', 'เฮาส์ เนชั่น' และ 'แจ็ค มาย บอดี้' ขึ้น 'แจ็ค มาย บอดี้'ถูกจัดจำหน่ายให้แก่ 'เอสอาร์โอ เร้กคอร์ท'และกลายเป็นที่นิยมในบรรดาสาวกเฮาส์ซึ่งส่งผลให้เกิดรูปแบบการเต้นรำของเฮาส์ที่เรียกว่า'แจ็ค' 'แจ็ค มาย บอดี้' ประกอบขึ้นด้วยเสียงดรัมบีทแบบธรรมดาที่ได้รับอิทธิพลจากคิกดรัมและสแนร์ดรัมที่พบใน 'เล็ท'ส ออล แชนท์' กับการสับแซมเปิลด้วยมือในท่อนที่ร้องว่า 'จา-จา-จา แจ็ค มาย บอดี้, แจ็ค มาย บอดี้...' จวบจนปัจจุบัน 'แจ็ค มาย บอดี้' ยังคงเป็นคลาสสิกเฮาส์ที่ได้รับความนิยมชมชอบในบรรดาพวก'หัวเฮาส์'
แผ่นบันทึกเสียงเฮาส์ในยุคเริ่มแรกนั้นได้แก่ 'ยัวร์ เลิฟ' ของเจมี พริ้นซิเพิลและแฟร้งกี้ นักเกิ้ลส์, 'ออนแอนด์ออน' โดยเจสซี ซวนเดอร์ (1985) และ 'เดอะ แจ็ค แทร็กซ์' ของชิป อี.ซึ่งเป็นการนำเอาเพลง 'อิส'ส เฮาส์' และ 'ไทม์ ทู แจ๊ค' มารวมกันโดยใช้จังหวะดนตรีที่ซับซ้อน, เบสไลน์ง่ายๆ, เทคโนโลยีการแซมเปิลบวกกับเสียงร้องน้อย ๆ ในปี 1985 เฮาส์ได้ครอบคลุมคลับต่าง ๆ ในชิคาโก ส่วนหนึ่ง คือ การเล่นเพลงที่คลื่นวิทยุ 102.7 เอฟเอ็ม ดับเบิ้ลยูบีเอ็มเอกซ์ซึ่งได้โปรแกรมไดเร็กเตอร์อย่าง ลี มิเชลเป็นโต้โผใหญ่ผ่านทางดีเจประจำคลื่นของดับเบิ้ลยูบีเอ็มเอกซ์; เดอะ ฮอต มิกซ์ 5
การปฏิวัติทางดนตรีอิเลคโทรนิคได้มีส่วนช่วยในเรื่องของดนตรีและการเคลื่อนไหวด้วยเช่นการมีซีเควนเซอร์ที่ถูกและกระชับลง, มีดรัมแมชชีน (โรแลนด์ ทีอาร์-909, ทีอาร์-808, ทีอาร์-707 และละตินเพอคัสชั่นอย่างทีอาร์-727) รวมทั้งหน่วยเบสเช่นโรแลนด์ ทีบี-303 สิ่งเหล่านี้เพิ่มโอกาสให้แก่บรรดานักสร้างสรรค์เฮาส์ในการสร้างสรรค์เสียงของตนเอง แนวเพลงย่อยอย่างเอซิดเฮาส์ถูกพัฒนามาจากการทดลองโดยดีเจปิอแร์, แลร์รีย์ เฮิร์ด (ดร. ฟิงเกอร์ส) และมาแชล เจฟเฟอร์สันด้วยดรัมแมชชีนและเครื่องสร้างจังหวะดนตรีแบบใหม่
หลาย ๆ เพลงที่แสดงถึงแนวดนตรีแบบชิคาโกเฮาส์นั้นถูกปล่อยออกมาโดยดีเจ อินเตอร์เนชั่นนอล เร้กคอร์ทและแทร็กซ์ เร้กคอร์ท ในปี1985 แทร็กซ์ได้ปล่อย 'แจ๊ค เอะ เบส' และ 'ฟังกิ้ง วิท เดอะ ดรัม อะเกน' โดย ฟาร์เลย์ แจ๊คมาสเตอร์ ฟังก์และในปีต่อมาแทร็กซ์ปล่อย 'โน เวย์ แบ็ก' โดย อโดนิส, 'แคน ยู ฟีล อิท?' และ 'วอชชิ้ง แมชชีน' ของ แลร์รีย์ เฮิร์ด (ฟิงเกอร์ อิงซ์ ณ.ขณะนั้น) และเพลงสดุดีแนวเฮาส์อย่าง 'มูฟ ยัวร์ บอดี้' โดยมาแชล เจฟเฟอร์สันซึ่งช่วยเพิ่มกระแสความนิยมในตัวแนวดนตรีเฮาส์ไปสู่นอกเมืองชิคาโก
ในปี 1987 เพลงของสตีฟ 'ซิลค์' เฮอร์เล่ย์ อย่าง 'แจ๊ค ยัวร์ บอดี้ ' เป็นเพลงเฮาส์เพลงแรกที่ได้ก้าวเข้าสู่ ยูเค ท๊อป 40 ป็อปชาร์ตเป็นอันดับที่ 1 ซึ่งในปีนี้ยังมี 'ปั๊มอัพเดอะโวลุ่ม ' ของ เอ็ม/เอ/อาร์/อาร์/เอส อีกหนึ่งเพลงที่ได้อันดับที่หนึ่ง ในปี 1989 เฮอร์เล่ย์เปลี่ยนเพลงบัลลาด นุ่ม ๆ ของโรเบอร์ตา แฟลคอย่าง 'อู้ โอ้ ลุค เอ้าท์' ให้กลายเป็นเพลงเต้นรำเอะอะอึกทึก 'ธีม ฟร์อม เอส'เอกซ์เพลส' ของวง เอส'เอกซ์เพลสเป็นตัวอย่างหนึ่งของเพลงที่ได้รับอิทธิจากดิสโก้ในทำนองแบบฟังกี้ เอซิดเฮาส์ ในเพลงนี้ได้ใช้แซมเปิ้ลจากเพลงของ โรส รอยซ์ที่ชื่อ 'อีส อิท เลิฟ ยู อาร์ อาฟเตอร์' ที่เกิดจากโรแลนด์ 303 เบสไลน์ ในปี 1989 'ไร้ด์ ออน ไทม์' ของ แบล็กบ๊อกซ์ซึ่งใช้แซมเปิ้ลแบบดิสโก้ฮิตจากเพลง 'เลิฟ เซนเซชั่น'ของโลเอตต้า ฮอลโลเวย์ ติดชาร์ตเป็นอันดับ1ใน ยูเค ท๊อป 40 นอกจากนี้เพลง 'ปั๊ม อัพ เดอะ แจม' ของ เทคโนโทรนิค ยังเป็นหนึ่งในแผ่นบันทึกเสียงแนวเฮาส์ที่สามารถตี ท๊อป 10 บน ยูเอส ป๊อป ชาร์ต หนึ่งปีถัดมา เพลง 'โว้ค' ของ มาดอนนาได้เข้ามาเป็นเพลงฮิตอันดับ1ทั่วโลกกลายเป็นซิงเกิลที่ขายดีที่สุดใน ดับเบิ้ลยูเอ ณ เวลานั้น ในปี 1992 เพลง 'รีลีส เดอะ เพลสเชอร์' ของเลฟฟิวส์ช่วยเปิดตัวแนวเพลงย่อยน้องใหม่ที่เรียกว่าโปรเกรสซีฟเฮาส์
แนวดนตรีเฮาส์ยังมีอิทธิพลต่อการถ่ายทอดข้อความเกี่ยวกับการเมืองการปกครองแก่กลุ่มบุคคลผู้ที่ถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่ไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคมอีกด้วย มันปรากฏต่อผู้ที่ไม่สามารถเข้าร่วมกับสังคมหลักของอเมริกาได้ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะถูกใช้โดยกลุ่มชายชาวแอฟริกัน-อเมริกัน แฟรงกี้ นักเกิ้ลส์ได้ทำการเปรียบเทียบในทางที่ดีของเฮาส์ว่าเป็นเสมือนกับโบสถ์ของผู้ที่ร่วงหล่นลงมาจากความสุภาพสง่างามในขณะที่มาแชล เจฟเฟอร์สันเปรียบเฮาส์เป็นดั่งศาสนาเก่าแก่ที่ผู้คนต่างยินดีที่ได้กรีดร้องอย่างมีความสุข ดีปเฮาส์นั้นมีความคล้ายคลึงกับข้อความแห่งอิสรภาพหลากหลายข้อความสำหรับชุมชนคนผิวดำ ทั้งซีดีเฮาส์ 'พรอมิสต์ แลนด์'ของ โจ สมิธและ 'ไอ แฮฟ อะ ดรีม' ของดีบีต่างมีข้อความที่มีลักษณะคล้ายกับบทปาฐกถาอย่าง 'ไอ แฮฟ อะ ดรีม' ของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง 'ซัมเดย์' โดยซีซี โรเจอร์ได้ผลักดันให้เกิดกอสเปลเฮาส์ นอกจากนี้เฮาส์ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับเพศที่มีความลึกลับ มันไปไกลถึงขนาดว่ามีความเพ้อคลั่งเกี่ยวกับการกระตุ้นทางเพศอันลึกลับ เพลง 'เบบี้ ว๊อนส์ ทู ไร้ด์' ของ เจมี พริ้นซิเพิลเริ่มจากการเป็นนักสวดแต่ที่น่าแปลกใจคือเนื้อหาของเพลงได้พูดถึงหญิงผู้ซึ่งเป็นภรรยาลับที่ต้องการให้ผู้ชาย'ขี่'เธอตลอดทั้งเพลง
เฮาส์แดนซ์ เป็นแนวที่มีความเก่าแก่กว่าเฮาส์เสียอีกเนื่องจากมันเกิดขึ้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 ตอนปลายแห่งยุคดิสโก้อันเป็นช่วงเวลาของไนท์คลับอย่าง แวร์เฮาส์ของชิคาโกและลอฟ แอนด์ พาราไดส์ การาจจากนิวยอร์ก เฮาส์แดนซ์นำเอาองคืประกอบการเต้นมาจากหลากหลายแหล่งเช่น ยุคลินดี้, แอฟริกัน, ละติน, บราซิลเลียน, แจ๊ส, แท๊ปและแม้กระทั่งสมัยนิยมอย่างโมเดิร์น
เฮาส์แดนซ์เป็นที่ถูกถกเถียงกันเรื่อยมาว่าสามารถแตกออกเป็นสามสไตล์อันได้แก่ ฟุตเวิร์ค, แจ๊คกิ้งและลอฟติ้ง รวมไปถึงเทคนิคอันหลากหลายและสไตล์ย่อยอย่าง สเก๊ตติ้ง, สต๊อมปิ้งและชัฟเฟิลลิ้ง นอกจากนี้ยังรวบรวมเอาการเคลื่อนไหวจากแหล่งต่างๆอย่าง แว้กกิ้ง, โวกูอ้ง, คาโปเอร่า, แท๊ปและการเต้นรำแบบละตินอย่าง ซัลซา ความหลากหลายที่กว้างขวางของการเคลื่อนไหวมาจาก แจ๊สและสไตล์ของบีบ๊อปหรือแม้กระทั่งจากการสืบสายมาจากแอฟริกันและละติน
แนวดนตรีเฮาส์มักคำนึงถึงสัมผัสทางกายและการเป็นอิสระจากโลกภายนอก หนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของการเต้นแบบเฮาส์คือเทคนิคที่มาจากชิคาโกที่เกี่ยวข้องกับการหมุนลำตัวไป-กลับในลักษณะของการฉีก (ริปปิ้ง) ราวกับคลื่นยักษ์ได้ถาโถมเข้าใส่ เมื่อท่าทางแบบนี้ถูกกระทำซ้ำ ๆ พร้อมกับเร่งจังหวะให้ตรงกับบีทของเพลงจะเรียกว่า 'เดอะ แจ๊ค' ฟุ๊ตเวิร์คทั้งหมดของการเต้นรำแบบเฮาส์นั้นถูกกล่าวไว้ว่าริเริ่มมาจากการที่เดอะ แจ๊คย้ายศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงไปตามที่ว่าง
เสียงจากดีทรอยต์: ต้นทศวรรษที่ 1980 - ปลายทศวรรษที่ 1980
ดีทรอยต์เทคโน ได้ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อกลางทศวรรษที่ 1980 แม้ว่าดีทรอยต์เทคโนจะมีความแตกต่างในรูปแบบทางดนตรีของตัวเองอย่างชัดเจนแต่บรรดานักบุกเบิกก็ยังเป็นดังเครื่องมือในการนำดนตรีแนวเฮาส์ออกสู่นานาชาติ ทั้งสองรูปแบบทางดนตรีต่างถูกพัฒนาขึ้นอย่างพร้อม ๆ กันจากปี 1985 ถึง 1990 และยังคนเป็นแนวเพลงที่มักมีความพ้องกัน
ดีทรอยต์เทคโนพัฒนาขึ้นเมื่อดีเจแห่งตำนาน เดอะ อิเลคทริฟายอิ้ง โมโจ จัดรายการวิทยุของตัวเอง เขาได้น้าวโน้มให้เกิดการผสมผสานเสียงจากหลากหลายแหล่งเข้ากับเสียงเอกลักษณ์ของดีทรอยต์เทคโนซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างมากจากอิเลคโทรนิกาชาวยุโรปอย่างคราฟเวิร์ค, อาร์ต ออฟ นอยส์ หรือบีบอยฮิพฮอพยุคเริ่มแรกอย่างแมน พาร์ริช, ซาว โซนิก ฟอร์สและอิตาโลดิสโก้อย่าง ดอกเตอร์'ส แคท, ริส, เคล็น เอ็ม.บี.โอ. เสียงนี้ได้รับการบุกเบิกโดย ฮวน แอทคินส์, เดอร์ริก เมย์และเควิน ซวนเดอร์สันซึ่งได้ชื่อว่าเป็น เดอะ ก็อดฟาเทอร์แห่งดีทรอยต์เทคโน
ฮวน แอทคินส์ปล่อยงานเพลงชื่อ 'โน ยูเอฟโอ'ส' ที่เมโทรเพล็กซ์ เร้กคอร์ทซึ่งมีเสียงตอบรับเป็นอย่างดีในชิคาโกและยังถูกมองว่าเป็นผลงานอันคลาสสิก เขาจึงตามด้วยการปล่อยเพลง 'เทคนิคคัลเลอร์' ในปี 1986
เดอร์ริก เมย์หรือที่รู้จักกันในนาม เมย์เดย์ ปล่อยเพลง 'นูด โฟโต้' ในปี 1986ในนาม'ทรานซแมท เร้กคอร์ท'ของเขาเองซึ่งเป็นการช่วยริเริ่มแนวเพลงดีทรอยต์เทคโนทั้งยังถูกเปิดหมุนเวียนไปตามฮอต มิกซ์ 5 เรดิโอ ดีเจ มิกซ์ โชว์และคลับต่าง ๆ ของชิคาโกอีกด้วย หนึ่งปีถัดมาเขาได้ปล่อยสิ่งที่กลายเป็นหนึ่งในเพลงสดุดีแบบคลาสสิกของเทคโนและเฮาส์ เพลงที่มีอิทธิพลสูงและเป็นต้นแบบต่อการพัฒนาต่อไปอย่าง 'สตริงส์ ออฟ ไลฟ์' ทรานซแมท เร้กคอร์ทยังคงปล่อยอีกหลายงานเพลงที่ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม เช่น 'วิกกิ้น'ในปี 1988 นอกจากนี้ดอร์ริก เมย์ยังคงประสบความสำเร็จในการปล่อยเพลงในนาม คูล แคท เร้กคอร์ทและอีกหลายรีมิกซ์สำหรับผู้จัดรายการใต้ดินและศิลปินหลัก
บริษัท เคเอ็มเอส เรคอร์ทของเควิน ซวนเดอร์สันได้ส่งเสริมให้ปล่อยงานเพลงต่าง ๆ ที่เป็นทั้งเฮาส์และเทคโน เพลงเหล่านี้ได้รับการตอยรับอย่างดีในชิคาดกและถูกเปิดตามคลื่นวิทยุและตามคลับต่าง ๆ มากมาย เช่น งานบันทึกเสียงของเบลก แบ็กซ์เตอร์ในปี 1986 อย่าง 'เวน วี ยูสต์ ทู เพลย์/เวิร์ค ยัวร์ บอดี้', 'เบาวส์ ยัวร์ บอดี้ ทู เดอะ บ๊อกซ์' และ 'ฟอร์ส ฟิวด์'ของปี 1987, 'เดอะ ซาวน์/ฮาว ทู เพล อาวเออร์ มิวสิก', 'เดอะ กรู๊ฟ แดท ว๊น สต๊อป'และรีมิกซ์เพลง 'กรู๊ฟวิ้ง วิทเอ้าท์ อะ เดาบ์' ในปี 1988 เมื่อเฮาส์ได้หลายมาเป็นกระแสนิยมของผู้ฟังทั่วไป กลุ่มศิลปินอินเนอร์ ซีตี้ วิท ปารีส เกรย์ของเควิน ซวนเดอร์สันได้ปล่อยเพลงฮิตอย่าง 'บิ๊ก ฟัน' และ 'กู๊ด ไลฟ์' ซึ่งถูกคัดเลือกโดย เวอร์จิ้น เร้กคอร์ท ในที่สุด แต่ละอีพี/12 นิ้วซิงเกิลถูกรีมิกซ์โดย ไมค์ 'ฮิตแมน' วิลสันและสตีฟ 'ซิลค์' เฮอร์เล่ย์แห่งชิคาโกและเดอร์ริก 'เมย์เดย์'กับฮวน แอทคินส์แห่งดีทรอยต์ ในปี 1989 เคเอ็มเอสปล่อยเพลงฮิตออกมาอีกหนึ่งเพลงซึ่งก็คือ 'ร้อค ออฟ เดอะ บีท' ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นธีมของคลับเต้นรำต่าง ๆ ในชิคาโก
สหราชอาณาจักร: ปลายทศวรรษที่ 1980 - ต้นทศวรรษที่ 1990
ในประเทศอังกฤษการเจริญเติบโตของแนวดนตรีเฮาส์สามารถแบ่งออกมาได้เป็นช่วงของเพลง 'ซัมเมอร์ ออฟ เลิฟ' ในปี 1988/9 เฮาส์ปรากฏตัวอยู่ในอังกฤษนานพอ ๆ กับที่ปรากฏตัวอยู่ในชิคาโก เฮาส์เริ่มโตมาจากอังกฤษตอนเหนือก่อนจะลงมายังตอนกลางและตอนตะวันออกเฉียงใต้ตามลำดับ แนวดนตรีเฮาส์พบเมื่อปี 1982 โดยแฟกตอรี เรคคอร์ดส์ เดอะ ฮาเซียนดา ในเมืองแมนเชสเตอร์ กลายเป็นส่วนขยายของแนวเพลงประเภทนอร์ทเทิร์นโซล และถือว่าเป็นหนึ่งในบรรดาเพลงเต้นหลัก ๆ ของคลับในอังกฤษ
ในปี 1986 คลับเริ่มเจอปัญหาครั้งใหญ่เมื่อฝูงชนจำนวนมากเริ่มโตขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อไรก็ตามที่ดีเจประจำคลับอย่างพิกเกอรฺ์ริ่ง, ปาร์คและดา ซิลวาเริ่มเล่นแนวดนตรีเฮาส์ สถานที่พบปะผู้คนแบบใต้ดินและค่ำคืนแห่งดีเจย์เริ่มกระจายไปทั่วทุกสารทิศในสหราชอาณาจักรดังตัวอย่างเช่น ปาร์ตี้ส่วนตัวที่จัดขึ้นโดย มิส มันนี่เพนนียุคเริ่มแรกในเบอร์มิ่งแฮมและหลาย ๆ สถานที่พบปะผู้คนในลอนดอน แนวดนตรีเฮาส์ถูกเผยแพร่ในประเทศอังกฤษจากการทัศนาจรในปีเดียวกันกับนักเกิ้ลส์, เจฟเฟอร์สัน, ฟิงเกอร์ส อิงซ์ (เฮิร์ด) และอโดนิสที่ได้จัดการทัศนาจรดีเจย์นานาชาติ หนึ่งในทำนองเพลงสดุดีของยุคเริ่มแรกอย่าง 'พรอมิสต์ แลนด์'โดยโจ สมิธถูกนำมาร้องใหม่โดย เดอะ สไตล์ เคาน์ซิลและติดชาร์ตภายในหนึ่งอาทิตย์ ทำนองเพลงเฮาส์แบบอังกฤษออกมาครั้งแรกเมื่อปี 1986 ซึ่งได้แก่ 'คาริโน' โดย ที-คอย ชาวยุโรปต่างอ้าแขนรับเฮาส์เข้าสู่อ้อมอกและเริ่มจองดีเจเฮาส์ชาวอเมริกันแห่งตำนานมาเล่นในคลับใหญ่ ๆ เช่น มินิสทรี ออฟ ซาวน์ที่ซึ่งดีเจประจำอย่างดีเจฮาร์เวย์ได้ดึงเอาแลร์รีย์ ลีแวนเข้ามา
เมืองเบอร์มิ่งแฮม, แมนเชสเตอร์ และลอนดอนต่างเปิดแนวดนตรีเฮาส์ตามสถานีเพลงใต้ดินอันผิดกฎหมายโดยดีเจจำเป็นที่ช่วยสันบสนุนแนวเพลงประเภทนี้ซึ่งเป็นนิยมชมชอบแต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากกระแสดนตรีหลัก หนึ่งในค่ายเพลงเฮาส์และเทคโนอังกฤษที่เก่าแก่ที่สุดและมีอิทธิพลที่สุดในยุคนั้นคือ เนตเวิร์ค เร้กคอร์ท หรือที่รู้จักกันในนาม คูล แคท เร้กคอร์ทผู้ซึ่งมีส่วนช่วยในการแนะนำเพลงเต้นรำแบบอาตาเลียนและอเมริกันรวมทั้งการโปรโมตเพลงเต้นแบบอังกฤษแก่ชาวอังกฤษ
เฮาส์ยังถูกพัฒนาที่อิบิซาอีกด้วย ในช่วงทศวรรษที่ 1970 ได้มีการขัดขวางการจัดปาร์ตี้ที่มีคนหมู่มาก ช่วงกลางทศววษที่ 1980 เฮาส์แบบบาเลริกมิกซ์ได้เกิดขึ้น หลาย ๆ คลับอย่างแอมนีเชียมีดีเจ อัสฟรีโด้ที่คอยเปิดเพลงมิกซ์ของร็อก,ป็อป,ดิสโก้และเฮาส์ คลับเหล่านี้ที่ซึ่งถูกเสริมเติมเชื้อเพลิงแห่งความปิติยินดีด้วยเสียงเพลงที่มีความเป็นเอกลักษณ์เริ่มจะมีอิทธิพลต่อวงการอังกฤษ ในช่วงปลายปี 1987 ดีเจพอล โอเคนโฟลและแดนนี่ แรมปลิ้งต่างเริ่มนำเอาเสียงอิบิซาไปใช้ในคลับอังกฤษอย่าง ฮาเซียนดาในแมนเชสเตอร์และคลับในลอนดอน เช่น ชูมในเซาท์วาร์ค, เฮเว่น, ฟิวเจอร์และสเปคตรัม
ในสหรัฐอเมริกาดนตรีต่างถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างเสียงที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น มันรุดหน้าไปไกลกว่าแค่กลองเสียงและแซมเปิ้ลสั้น ๆ ที่นิวยอร์กนักแสดงอย่างมาติโนแอนด์มาโตสและเบลสได้สร้างดิสโก้เฮาส์ที่ข้ามไป-มาระหว่างเพลง ในชิคาโกมาแชล เจฟเฟอร์สันได้ฟอร์มกลุ่มเฮาส์ชื่อ เท็น ซิตี้ (ที่มาจากคำว่า อินเท็นซิตี้) ขึ้น ในดีทรอยต์ เสียงดนตรีแบบโปรโต-เทคโนเริ่มปรากฏในการบันทึกเพลงของฮวน แอทคินส์, เดอร์ริก เมย์ และเควิน ซวนเดอร์สัน
แอทคินส์ สมาชิกผู้ก่อตั้ง ไซบอตรอน ได้ออกอัลบั้มที่ชื่อ โมเดล 500 กับงานเพลง 'โน ยูเอฟโอ' ในปี 1985 ซึ่งต่อมากลาบเป็นเพลงฮิตระดับภาคตามด้วยเพลงอีกเป็นโหลบน ทรานสแมท, เมโทนเพล็กซ์ และฟราจาย หนึ่งในบรรดาเพลงที่แปลกประหลาดสุดคือเพลง 'สตริงส์ ออฟ ไลฟ์' โดย เดอร์ริก เมย์ ซึ่งเป็นแนวเพลงเฮาส์ที่ฟังดูมืดมนและตรึงเครียดมากขึ้น 'เทคโน-สแครช' ที่ปล่อยออกมาโดย เดอะ ไคน้ท์ ออฟ เดอะ เทิร์นอะเบิล ในปี 1984 มีเสียงเทคโนที่คล้ายคลึงกับ ไซบอตรอน ผู้จัดการของไน้ท์คลับ แฟคตอรี่, โทนี่ วิลสันเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่ช่วยโปรโมตวัฒนธรรมทางดนตรีแนวเอซิดเฮาส์บนรายการทีวีประจำสัปดาห์ของเขา เดอะ มิดแลนด์ยังน้อมรับเอาเฮาส์ในยุคปลายทศวรรษที่ 1980 เข้ามารใช้กับสถานที่ชุมนุมคนใต้ดิน เช่น อาคารจอดรถและสถานีเต้นรำที่ถูกกฎหมายอย่าง สถาบัน ดิ๊กเบธ (ปัจจุบันคือ 'เดอะ ซังชัวรี่' บ้านของซันดิสเซนทัล)
สหรัฐอเมริกา: ปลายทศวรรษที่ 1980 - ต้นทศวรรษที่ 1990
กลับไปที่สหรัฐอเมริกาเรื่องราวชองเฮาส์ยังไม่ได้ไปไหนไกลเกินกว่าการเป็นคลับจำนวนเล็ก ๆ ในชิคาโก, ดีทรอยต์, นิวยอร์กและนิว เจอร์ซี่ พาราไดส์ การาจในนิวยอร์กยังคนเป็นคลับลำดับต้น ๆ แม้ว่าเขาจะได้ ท็อดด เทอร์รี่ ผู้ซึ่งงานโคเวอร์ของเขาที่นำเอา 'คลาส แอ็กชั่น' ของแลร์รี่ ลีแวนมามิกซ์กับ 'วีคเก้น' โดยสาธิตแบบต่อเนื่องจากดิสโก้ใต้ดินไปเป็นเสียงเฮาส์แบบใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากฮิพฮอพในเรื่องของการแซมเปิ้ลที่เร็วขึ้นและไลน์เบสที่หยาบ ๆ เมื่อฮิพฮอพได้กลายเป็นเพลงที่ควรเล่นวิทยุทางเลือกอื่นที่เหลืออยู่คือร๊อค คันทรี่ หรือ อาร์แอนด์บี
อิทธิพลอื่นที่มากจากนิวยอร์กจะเป็นพวกฮิพฮอพ, เร้กเก้และสังคมชาวละติน หลาย ๆ โปรดิวเซอร์และดีเจยักษ์ใหญ่อย่างอีริค โมริโย, โรเจอร์ ซานเชสซ์, จูเนียร์ วาสเกซ, แดนนี่ เตนักเลียและโจนาธาน ปีเตอร์ส ต่างเริ่มปรากฏตัวด้วยเสียงที่มีความเจ๋งอันทำให้เกิดวิวัฒนาการในแนวเพลงประเภทอื่นเป็นครั้งแรก (ทริบอลเฮาส์, โปรเกรสซีฟเฮาส์และฟังกี้เฮาส์) โปรดิวเซอร์เช่น มาสเตอร์ส แอท เวิร์ค และ เคอรี่ แชนเดลอร์เริ่มนำทางเสียงที่ฟังเป็นการาจมากขึ้นซึ่งได้ถูกหยิบยืมมาใช้โดย'บุคคลภายนอก'จากโลกของแจ๊ส, ฮิพฮอพและพวกดาวน์บีทหรือแม้กระทั่งพวกที่คลั่งไคล้เฮาส์ด้วยกัน
ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 นู กรู๊ฟ เร้กคอร์ดได้ยืดเวลาออกไปโดยการไม่ปล่อยงานของ เรจิ บูเรลและราโน่ บูเรลหรือที่รู้จักกันภายใต้ชื่อ บูเรลพร้อม ๆ กันกับพวกดีเจย์และโปรดิวเซอร์ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันในสถานที่ใต้ดินของนิวยอร์ก บูเรลเป็นผู้รับผิดชอบเสียงแบบใต้ดินของนิวยอร์กและยังเป็นแชมป์ที่โต้เถียงไม่ได้เลยของเฮาส์สไตล์นี้ กว่าสามสิบเพลงที่ปล่อยออกมาภายใต้ชื่อของพวกเขาเป็นเหมือนหลักฐานแห่งความสำเร็จ ในปัจจุบันนู กรู๊ฟ เร้กคอร์ทยังคงปล่อยงานเพลงของบูเรลออกมาสู่ตลาดซึ่งทำเงินได้สูงกว่า 100 ดอลล่าร์ต่อแผ่นในตลาดเปิดอีกด้วย
เพลงสวดวิงวอนและอาร์แอนด์บีได้ส่งอิทธิพลไปยังงานของ อลิ-อัสอย่างเพลง 'ไทม์ พาส ออน' (ทำนอง) ในปี 1993 และ 'ฟอลโล่ มี' เป็นอันดับต่อมาซึ่งได้รับการเปิดทั้งทางวิทยุและในคลับ อีกหนึ่งงานฮิตของอเมริกาที่ได้รับเล่นในวิทยุคือซิงเกิลอย่าง 'ไทม์ ฟอร์ เดอะ เพอร์คูเลเตอร์' โดย คาจเมร์ซึ่งต่อมากลายเป็นต้นแบบของแนวเพลงย่อยอย่างเก็ตโต้เฮาส์ คาจเมร์เป็นผู้ริเริ่ม เดอะคาจวล แอนด์ รีลีฟ เมื่อต้นทศวรรษที่ 1990 ศิลปินใหม่ ๆ เฮาส์ของชิคาโกได้เกิดขึ้นอย่างดีเจ ฟังก์ผู้จัดการงานบันทึกเสียงของชิคาโกที่เรียกว่า แดนซ์ มาเนียซึ่งจะส่งเสริมเก็ตโต้เฮาส์เป็นหลัก เก็ตโต้เฮาส์และเอซิดเฮาส์เป็นแนวเพลงย่อยของเฮาส์ที่ถือกำเนิดขึ้นในชิคาโก
ยุคปลายทศวรรษที่ 1980 - ทศวรรษที่ 1990
ในอังกฤษได้มีการทดลองแนวดนตรีประเภทนี้มากขึ้น เฮาส์และเรฟคลับอย่าง ลาโคต้า, มิส มันนี่เพนนี'ส์และครีมปรากฏตัวทั่วประเทศอังกฤษเพื่อเป็นผู้อุปถัมภ์งานเฮาส์และงานเต้นรำต่าง ๆ แนวความคิด 'การชิลเอ้าท์' ถูกพัฒนาขึ้นที่ประเทศนี้ด้วยอัลบั้มของแอมเบี้ยนเฮาส์ อย่าง เดอะ เคแอลเอฟ 'ส์ ชิลเอ้าท์ และ อะนาลอก บับเบิ้ลบาธ โดย เอเฟ็กซ์ ทวิน
ช่วงเวลาเดียวกันนั้นเองการเต้นแนว ๆ แบบใหม่ได้เกิดขึ้น ในนิวยอร์กวงดนตรีอย่าง ดี-ไลต์ ได้ขยายอิทธิพลของเฮาส์ต่อนานาชาติ สองแนวเพลงที่มีความแตกต่างอย่างชัดเจนในยุคนี้ ได้แก่ 'ลิตเติ้ล ฟลัฟฟี คลาวด์ส' ของออบซึ่งได้แซมเปิ้ลเสียงอันเป็นเอกลักษณ์จาก ริกกี้ ลี โจนส์และเพลงของ เดอะ แฮปปี้ มันเดย์อย่าง 'โร้ท ฟอร์ ลักค์ (รฟล)' ซึ่งภายหลังถูกนำมาแปลงเป็นเพลงเต้นโดยพอล โอเคนโฟลด์
กฎหมายว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมและความสงบเรียบร้อยของประชาชนของประเทศอังกฤษฉบับปี 1994 กล่าวถึงการที่รัฐบาลพยายามจะแบนงานเต้นรำแบบเรฟที่เล่นเพลงประเภทที่มีบีตซ้ำ ๆ กันโดยมีการสาธิตการ 'ตัดบิล' ซึ่งไร้ผลเป็นจำนวนมาก แม้ว่าบิลจะกลายมาเป็นกฎหมายในเดือนพฤศจิกายนปี 1994 แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบใด ๆ ดนตรียังคงเติบโตและเปลี่ยนแปลงต่อไปเรื่อย ๆ ยิ่งเมื่อได้เกิดปรากฏการณ์ทางดนตรีอย่างพวก เลฟฟิวด์กับงาน 'รีลีส เดอะ เพลสเชอร์' ซึ่งได้นำดับ และเร้กเก้ เข้ามาในแนวเพลงเฮาส์ ในการบันทึกเสียงเพื่อการค้าได้มิกซ์เอาอาร์แอนด์บีเข้ากับไลน์เบสที่เข้มขึ้น เฮาส์ได้ถูกหล่อหลอมด้วยอิทธิพลหลายอย่างรวมไปถึงวัฒนธรรมทางคลับ อย่างดิสโก้คลับในช่วงทศวรรษที่ 1970 เฮาส์คลับก็ได้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติดจำนวนมหาศาลที่บรรดานักเต้นใช้กันเพื่อเพิ่มบรรยากาศและประสบการณ์ทางการเต้น เช่น อามิล ไนเตรด, เอ็มดีเอ็มเอ, เคตามินและแอลเอสดี
คลับรุ่นใหม่ ๆ อย่าง มิส มันนีเพนนี'ส์, ครีมของลิเวอร์พูล (ไม่ใช่คลับใต้ดินที่ชื่อ ซี.อาร์.อี.เอ.เอ็ม) และ เดอะ มินิสทรี ออฟ ซาวน์ได้เปิดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่สำหรับเพลงเพื่อการค้า ค่ายเพลงใหญ่ ๆ หลายค่ายเริ่มเปิด ซุปเปอร์คลับ ขึ้นเพื่อโปรโมตงานของพวกเขา สามซุปเปร์คลับใหญ่ ๆ เริ่มได้รับการสปอนเซอร์โดยอาหารประเภทฟาสฟู้ด, เครื่องดื่มอัดลมและบริษัทเสื้อผ้า ใบปลิวของคลับต่าง ๆ ในอิบิซาเริ่มใส่โลโก้จองบริษัทต่าง ๆ เข้าไป แนวเพลงย่อยแนวใหม่อย่าง ชิคาโกฮาร์ดเฮาส์ ถูกพัฒนาขึ้นโดยดีเจเช่น แบด บอย บิล, ดีเจ ลินวู้ด, ดีเจ ไอรีณ, ริขาร์ด 'ฮัมป์ตี้' วิชชั่น และดีเจเอ็นรี่ โดยมิกซ์เอาชิคาโกเฮาส์, ฟังกี้เฮาส์และฮาร์ดเฮาส์เข้าด้วยกัน
ย่างเข้าช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2000 โปรดิวเซอร์อย่าง ดาฟต์พังก์ , แคสเซียส , เซนต์. เจอร์เมนและดีเจ ฟอลคอน เริ่มผลิตเสียงแนวใหม่ออกมาจากเฮาส์ของปารีส พวกเขาได้วางฐานงานเอาไว้เพื่อสิ่งที่รู้จักกันในนาม การเคลื่อนไหวของเฮาส์แบบฝรั่งเศส โดยการรวบรวมเอา ปรัชญาแบบ'เหลี่ยมคมที่ชัดขึ้นแต่ยังคงซึ่งความเป็นโซล'ของชิคาโกเฮาส์กับเสียงดนตรีของเพลงฟังก์และดิสโก้จากยุค 1970 การก้าวหน้าพัฒนาระดับสูงสุดในช่วงเวลาหนึ่งนั้นของเทคนิคกระบวนการผลิต (อย่างสิ่งบางอย่างอาจล้ำสมัยจึงไม่เป็นที่ยิสมในกระแสดนตรีหลัก) รวมไปถึงเสียงจากเครื่องสังเคราะห์เสียงแบบอะนาลอก พวกเขาได้เริ่มสร้างมาตรฐานเพื่อที่จะได้ครอบคลุมแนวเพลงเฮาส์ที่จะถูกสร้างขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาฟ ฟังก์ที่ช่วยในเรื่องของความก้าวหน้าของประเภทเพลงในหลาย ๆ ด้านรวมไปถึงการที่พวกเขาได้นิยามการแสดงของเฮาส์ขึ้นมาใหม่ ก่อนที่พวกเขาจะปรากฏตัวดนตรีอิเลคโทรนิคส่วนใหญ่โดยเฉพาะเฮาส์และอีดีเอ็มที่ดีเจได้นำมาแสดงมักจะถูกสร้างขึ้นในสตูดิโอ วางกดลงไปในไวนิลแล้วนำมาเล่นบนระบบเสียงขนาดยักษ์อย่างไรก็ตามในช่วงเดบิวท์ทัวร์ของพวกเขา ดาฟ พังค์เลือกที่จะนำสตูดิโอของพวกเขาไปด้วยแล้วแสดงสดทุกเพลงบนเกียร์แบบอะนาลอก 100 เปอร์เซ็นต์ จวบจนปัจจุบันนี้พวกเขายังคงใช้เครื่องมือบางอย่างที่พวกเขาได้เคยใช้ในการแสดงทัวร์ครั้งนั้น
เมื่อป็อปก้าวเข้าสู่เฮาส์
แม้แนวดนตรีเฮาส์จะหนักไปทางการเต้นแต่เฮาส์ก็เริ่มก้าวเข้าสู้วงการเพลงป็อป ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 ด้วยดนตรีแนวเฮาส์สไตล์ใหม่ที่รู้จักกันดีว่า ป็อปเฮาส์ ดนตรีเฮาส์กับป๊อปได้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงปี 1987-1989 กับศิลปินอย่าง ครัช, โคลด์คัต , แย๊ส , เพนท์เฮาส์ 4, ป็อปสตาร์, บอมบ์ เดอะ เบส, เอส-เอกซ์เพลสและแบล๊คบ๊อกซ์ซึ่งเป็นกลุ่มศิลปินแนวป็อปเฮาส์จากอิตาลี
ศตวรรษที่ 21: ช่วงทศวรรษที่ 2000
นายกเทศมนตรีของชิคาโก ริชาร์ด เอ็ม ดาเล่ย์ประกาศให้วันที่ 10 สิงหาคม 2005 เป็นวัน'รวมพลเฮาส์'เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองแนวดนตรีเฮาส์ครบ 21 ปี (ในความเป็นจริง คือ 21 ปี แห่งการก่อตั้งแทร็กซ์ เร้กคอร์ท) จากการประกาศครั้งนี้ได้ทำให้ชิคาโกได้เป็นที่จดจำว่าเป็น 'ต้นกำเนิดของแนวดนตรีเฮาส์' และที่ว่าผู้สร้างสรรค์แนวเพลงนี้ขึ้นมา 'ได้รับแรงบันดาลใจจากความรักที่มีต่อเมืองกับความฝันที่เชื่อว่าสักวันเพลงของพวกเขาจะกลายเป็นข้อความแห่งสันติภาพและการรวมเป็นหนึ่งเดียวของโลก' ดีเจอย่างแฟรงกี้ นักเกิ้ลส์, มาแชล เจฟเฟอร์สัน, พอล จอห์นสันและมิกกี้ โอลิเวอร์ต่างฉลองการประกาศในครั้งนี้ที่ เดอะ ซัมเมอร์ แดนซ์ ซีรีส์ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้นโดยกระทรวงวัฒนธรรมของชิคาโก
กลางทศวรรษที่ 2000 ประเภทเพลงผสมอย่าง อิเล็กโทรเฮาส์ , ดาร์กเฮาส์ , ฟิดเจ็ทเฮาส์ และเทคเฮาส์ ได้ปรากฏขึ้น การผสมผสานแนวดนตรีครั้งนี้เกิดจากการข้ามสไตล์ทางดนตรีโดยศิลปินอย่าง เดนนิส เฟอร์เรอร์และบูก้า เชดด้วยสไตล์การผลิตที่มีวิวัฒนาการมาจากโซลฟูลเฮาส์ของนิวยอร์กที่มีอยู่ก่อนเก่าผนวกกับรากฐานใหม่ของเทคโน ดีเจต่าง ๆ ในวันนี้ต่างมีความสามารถในการผสมผสานแนวเพลงย่อยประเภทต่าง ๆ ของเฮาส์ด้วยการแชร์องค์ประกอบทางดนตรีที่ดีเยี่ยมเข้าด้วยกัน
เมื่อถึงช่วงปลายทศวรรษที่ 2000 แนวดนตรีเฮาส์ยังคงมีอิทธิพลต่อเพลงในคลับทั่วโลก ทั้งยังได้เห็นการกลับมาของเฮาส์ในกระแสแนวดนตรีหลักกับงานของโปรดิวเซอร์อย่าง จัสติน, เดวิด กูเอ็ตต้าและเบนนี่ บีนาซซิที่ทำให้เพลงเฮาส์ที่เบาขึ้น เจือจางลง มีความรู้สึกแบบยูโรแดนซ์กลับเข้ามาติดอเมริกัน ท๊อป 40 ชาร์ต ด้วยแนวดนตรีที่มั่นคงแต่เบาบางทำให้ประสบความสำเร็จท่ามกลางกระแสแนวดนตรีหลัก การพัฒนาทางแนวความคิดโดยโปรดิวเซอร์ของเฮาส์ได้ส่งผลกระทบไปยังโลกแห่งป๊อปและฮิพฮอพด้วย ด้วยการเปิดตัวของโวคอเดอร์และออโต้ทูนที่ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกโดยดาฟ พังค์รวมทั้งการเป็นที่นิยมโดยทั่วไปของสถานีทำเพลงแบบดิจิทัลและเทคนิคการผลิตแบบใหม่อย่างไซด์เชนนิ่งและเฮฟวี่ คอมเพรสชั่น เฮาส์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางดนดรีของอเมริกามากขึ้น
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ Donato, Marla (1987): House Music: A Pulsing Beat Finds A Home เก็บถาวร 2015-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . Chicago Tribune. Tribune Company . 03-04-1987. Retrieved 04-25-2014.
↑ Trice, Dawn Turner (2012) House music: The beat goes on—Member of Chosen Few DJs delves into history of the musical movement เก็บถาวร 2015-03-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . Chicago Tribune. Tribune Company . 07-02-2012. Retrieved 04-25-2014.
↑ Warde-Aldam, Digby (2014): House music is great music – or can be เก็บถาวร 2014-04-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . The Spectator. Press Holdings . "I suspect the following statement may piss off dance nerds, but it’s fair to say that Knuckles had as much claim as anyone to having ‘invented’ house music thirty odd years ago. Essentially, he took the kitsch out of disco and turned it into a synthesiser-heavy global brand. Was it worth the effort, though?" 8 April 2014. Retrieved 25 April 2014
↑ 4.0 4.1 Walters, Barry (2014): Burning Down the House: Read SPIN's 1986 Feature on Chicago's Club Scene—New York has rap. Washington has go go. Chicago's got house, the boldest dance music on the planet. Put a little tickle on the jones' head, and jack yo' body. SPIN magazine. Spin Media . "Farley claims he invented house music. House music is HARD disco. It goes BOOM BOOM BOOM BOOM with little variation, subtlety, melody, instrumentation — or music for that matter. House, by definition, ain't crossover. It's in the house, and it won't come out. [...] Like Levan , Knuckles mixed dubbed-up inspirational electronic funk cult jams by the Peech Boys and D Train with '70s black disco classics by Loleatta Holloway and South Shore Commission. [...] They called this sound Warehouse music. For short, house music." 04-01-2014 (re-issue of a November 1987 article). Retrieved 04-25-2014.
↑ Price, III, Emmett G.; Kernodle, Tammy; Maxille, Horace (2010). Encyclopedia of African American Music . ABC-CLIO. p. 405. ISBN 9780313341991 .
↑ Johnson, Chris (2014): Entertainment>Music>The Crate: Jesse Saunders' On and On (1984) . The Sydney Morning Herald. Fairfax Media . 04-03-2014. Retrieved 04-25-2014.
↑ Johnson, Chris (2014): Entertainment>Music>The Crate: Jesse Saunders' On and On (1984) . The Sydney Morning Herald. Fairfax Media . 04-03-2014. Retrieved 04-25-2014.
↑ Malnig, Julie (2009). Ballroom, Boogie, Shimmy Sham, Shake: A Social and Popular Dance Reader . , University of Illinois Press. p. 213. ISBN 9780252075650 .
↑ 9.0 9.1 Ray, Michael (2012). Alternative, Country, Hip-Hop, Rap, and More: Music from the 1980s to Today . Britannica Educational Publishing. Encyclopædia Britannica, Inc. pp. ??. ISBN 978-1-6153-0910-8 .
↑ Reynolds, Simon (Apr 2, 2009). Rip it Up and Start Again: Postpunk 1978-1984 . Faber & Faber. p. ??. ISBN 9780571252275 .
↑ "The Punk Rocker Who Made Chicago House Happen" . VICE Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ 2014-06-01 .
↑ "Let's Talk Chicago Classic House Music > The Frankie Knuckles Story by Michaelanglo Matos (DJ Mixes)" . Boolumaster. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2014-06-01 .
↑ Fritz, Jimi (2000). Rave Culture: An Insider's Overview . SmallFry Press'. p. 94. ISBN 9780968572108 .
↑ "Explore music…Genre: Hi-NRG" . Allmusic. สืบค้นเมื่อ 2009-07-20 .[ลิงก์เสีย ]
↑ Gilbert, Jeremy; Pearson, Ewan (2002). Discographies: Dance, Music, Culture and the Politics of Sound . Routledge. p. ??. ISBN 9781134698929 .
↑ Langford, Simon (2014). The Remix Manual: The Art and Science of Dance Music Remixing with Logic . CRC Press. p. 99. ISBN 9781136114625 .
↑ Creekmur, Corey; Doty, Alexander (1995), Out in Culture , Duke University Press, pp. 440–442, ISBN 9780822315414
ประเภทแบ่งตาม
ทศวรรษที่กำเนิด
1960s 1970s 1980s 1990s 2000s 2010s
บทความอื่น ๆ