เหตุการณ์ความไม่สงบในฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก. ประจำปี 2552 เป็นเหตุตะลุมบอนที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2553 ณ สนามกีฬาศุภชลาศัย ในการแข่งขันระหว่าง สโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทย และ สโมสรฟุตบอลเมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด
จากกรณีที่ เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด ได้ประตูที่สอง ในนาทีที่ 81 ดาโน เซียกา โหม่งเข้าประตูไปนั้น แฟนบอลการท่าเรือไทย มองว่า ผู้ตัดสินในเกมนั้น (อรรถกร เวชการ) ตัดสินผิดลาด และมิงจังหวะนั้นเป็นลูกแฮนด์บอล ทำให้แฟนบอลการท่าเรือไทย ไม่พอใจ จนมีการขว้างปาขวดน้ำและสิ่งของลงสนาม และจุดพลุไฟเขวี้ยงลงมา รวมถึงจุดประทัด จนเกมต้องยุติลงกลางคัน
ก่อนที่ในเวลาต่อมา เหตุการณ์จะบานปลายเมื่อ แฟนบอล การท่าเรือไทย พังรั้วกั้นเข้าไปทำร้ายกองเชียร์ของเมืองทองฯ จนคนดูวิ่งหนีกระโดดลงจากอัฒจันทร์ ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและสารวัตรทหาร ที่มีเพียงไม่กี่คนไม่สามารถคุมสถานการณ์ได้ ทำให้เกิดเหตุวิวาทชกต่อยกันรอบสนาม[1] ขณะเดียวกันก็มีรายงานว่า ผู้เล่นของการท่าเรือไทย อย่าง พงศ์พิพัฒน์ คำนวณ เป็นผู้พยายามชักชวนแฟนๆ ให้ประท้วงว่าประตูที่สองนั้นเกิดจากการแฮนด์บอล ซึ่งถือว่ามีเจตนายั่วยุให้แฟนบอลเริ่มคว้างปาสิ่งของ[2][3][4]
โดยมีรายงานว่า มีแฟนบอล เมืองทองฯ ยูไนเต็ด บาดเจ็บ 9 คน และแฟนการท่าเรือไทยบาดเจ็บ 1 คน โดยมีรายงานข่าวอีกว่า เจ้าหน้าที่สารวัตรทหาร ไม่สนใจเอาเป็นธุระ ในการควบคุมระงับเหตุทะเลาะวิวาท[5]
ภายหลังจากเกมจบลง ทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ โดย องอาจ ก่อสินค้า เลขาธิการสมาคมฯ ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเหตุการณ์นี้ โดยมี พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา อุปนายกสมาคมฯ และ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ดำเนินการสอบสวนพร้อมกับดำเนินคดี[6] โดยได้นำเทปบันทึกภาพการแข่งขันเป็นหลักฐานและดำเนินการออกหมายจับ[7] โดยต่อมาได้มีการดำเนินคดีผู้ก่อเหตุจำนวนทั้งหมด 10 ราย ซึ่งได้เข้ามามอบตัวและแสดงการขอโทษต่อแฟนบอลของ เมืองทองฯ ยูไนเต็ด[8]
ต่อมาศาลแขวงปทุมวัน มีคำพิพากษาให้จำคุกจำเลยทั้งหมดเป็นเวลา 2 เดือน จำเลยไม่เคยกระทำผิดมาก่อนลดโทษเหลือ 1 เดือน ประกอบกับจำเลยให้การรับสารภาพจึงให้รอลงอาญาไว้ 1 ปี ปรับ 2,000 บาท บำเพ็ญสาธารณกุศลอีก 12 ชั่วโมง รายงานตัวต่อกรมคุมประพฤติ 4 ครั้ง ต่อ 1 ปี[9]
ภายหลังจากที่เหตุการณ์จลาจล จนไม่สามารถแข่งขันต่อได้ ทาง พิเชษฐ์ มั่นคง ประธานสโมสรการท่าเรือไทย ได้ประกาศขอยอมแพ้ และยกตำแหน่งชนะเลิศการแข่งขันให้กับ สโมสรเมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด[6] และผู้ควบคุมการแข่งขันในเวลานั้น (ภิรมย์ อั๋นประเสริฐ) ได้ถือว่าการแข่งขันจบลงแล้ว แม้ว่าจะเหลือเวลาในการแข่งขันอีก 9 นาที[1]
โดยทางคณะกรรมการสอบสวนเหตุการณ์ฯ ได้มีบทลงโทษกับทาง สโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทย ในการแบนไม่ให้แข่งขันในสนามเหย้าของตน ในเกมการแข่งขันใน ฤดูกาล 2554 3 เกม ปรับเงิน 130,000 บาท ลงโทษแบนผู้เล่น พงศ์พิพัฒน์ คำนวณ 3 เกม และลงโทษแบน สะสม พบประเสริฐ และ เรอเน เดอซาแยร์ ห้ามคุมทีมข้างสนาม 3 เกม รวมไปถึงแบนแฟนบอลผู้ก่อเหตุ ห้ามเข้าสนามเป็นเวลา 1 ปี โดยรูปประกาศห้ามเข้าหน้าสนาม
ในส่วนพิธีการรับถ้วยรางวัล ทางสโมสรเมืองทองฯ ยูไนเต็ด ได้เข้ารับถ้วยรางวัลอย่างเป็นทางการ ต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์[10] เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2554
{{cite news}}
|access-date=