เรือหลวงนราธิวาส (OPV-512) ระหว่างกิจกรรมทางเรือนานาชาติ “มิลาน 2018”
|
ภาพรวมชั้น |
ผู้สร้าง: |
หูตง-จงหัว ชิปบิลดิง, เซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน |
ผู้ใช้งาน: |
กองทัพเรือไทย |
ตามหลังโดย: |
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ |
สร้างเมื่อ: |
พ.ศ. 2545–2549 |
ในประจำการ: |
พ.ศ. 2548–ปัจจุบัน |
เสร็จแล้ว: |
2 ลำ |
ใช้การอยู่: |
2 ลำ |
ลักษณะเฉพาะ
|
ชั้น: |
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง |
ขนาด (ระวางขับน้ำ): |
บรรทุกสูงสุด 1,440 ลองตัน (1,460 ตัน) |
ความยาว: |
94.5 เมตร (310 ฟุต 0 นิ้ว) |
ความกว้าง: |
11.8 เมตร (38 ฟุต 9 นิ้ว) |
กินน้ำลึก: |
3.3 เมตร (10 ฟุต 10 นิ้ว) |
ระบบขับเคลื่อน: |
2 × รัสตัน16 อาร์เค 270 เครื่องยนต์ดีเซล, ขับสองเพลาด้วยใบพัดที่สามารถควบคุมได้ |
ความเร็ว: |
25 นอต (46 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 29 ไมล์ต่อชั่วโมง) |
พิสัยเชื้อเพลิง: |
3,500 nmi (6,500 km; 4,000 mi) ที่ 15 kn (28 km/h; 17 mph) |
อัตราเต็มที่: |
84 นาย |
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ: |
- 1 × เรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติ แบบ ซ้าบ Sea Giraffe 1X
- 1 × เซเลกซ์ แรน-30เอกซ์/เรดาร์ตรวจจับไอมัลติโหมดร่วมกับไอเอฟเอฟ
- 1 × เรดาร์ควบคุมการยิง เออร์ลิคอน ทีเอ็มเอกซ์/อีโอ และออปโทรนิกควบคุมการยิง
- 3 × เรย์เธียน เรดาร์เดินเรือซุทซ์เอ็นเอสซี-25 ซีสเกาต์
- ระบบการต่อสู้: อัทลัสเอเลคโทรนิค ระบบอำนวยการรบโคซิส
- 1 × ระบบอำนวยการรบแบบ Catiz
- 1 × ระบบควบคุมการยิงแบบ STIR 1.2 EO Mk.2
- ระบบนำทาง: เรย์เธียน อันซุทซ์ไอบีเอส/ไอเอ็นเอส เอ็นเอสซี-ซีรีส์
- ระบบการสื่อสาร: โรเดอุนท์ชวาตส์ ระบบการสื่อสารแบบบูรณาการ
|
สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง: |
1 × ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ Vigile 100S Mk.2 |
ยุทโธปกรณ์: |
|
อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: |
1 × ดาดฟ้าบิน |
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี[1] (อังกฤษ: Pattani-class offshore patrol vessels) เป็นชุดเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งของกองทัพเรือไทยที่สร้างโดยประเทศจีน
ประวัติ
กองทัพเรือไทยได้เสนอโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งจำนวน 2 ลำต่อกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2542 โดยจัดหาเรือจากประเทศจีนด้วยการว่าจ้าง บริษัทไซน่าชิป บิวดิ้ง เทรดดิ้ง จำกัด ในลักษณะระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลจีน งบประมาณผูกพันข้ามปีระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2549 วงเงิน 3,200 ล้านบาท[2] เพื่อตอบสนองภารกิจในการปกป้องอธิปไตย และป้องกันการกระทำผิดทางทะเล ซึ่งก่อนหน้านี้ประสบปัญหาขาดเรือสำหรับปฏิบัติการไกลจากชายฝั่งซึ่งต้องเป็นเรือขนาดใหญ่และทนทะเลสูง ขณะที่เรือที่มีศักยภาพดังกล่าวคือเรือฟริเกตก็เป็นเรือที่ออกแบบมาสำหรับการรบเป็นหลัก ทำให้มีการใช้กำลังพลและอัตราอาวุธขนาดหนัก ส่งผลให้สิ้นเปลืองการส่งกำลังบำรุงในการปฏิบัติการ กองทัพเรือจึงได้จัดหารเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเข้ามาปฏิบัติการจำนวน 2 ลำ และมีขนาดใกล้เคียงกับเรือฟริเกต โดยเรือที่จัดหามานี้ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ เรือหลวงปัตตานี (OPV-511) และเรือหลวงนราธิวาส (OPV-512)[3]
เรือหลวงปัตตานี ได้รับการเปิดตัวในปี พ.ศ. 2547 และส่งมอบให้กองทัพเรือไทยเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2548[4]
เรือหลวงนราธิวาส ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2549[5] และมีพิธีต้อนรับเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ณ ท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี พลเรือเอก วิชัย ยุวนางกูร รองผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานในพิธีต้อนรับเรือ[6]
การตั้งชื่อเรือ
ในช่วงเวลาดังกล่าว ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ทำให้มีการพิจารณาของกองทัพเรือให้ใช้ชื่อจังหวัดในชายแดนภาคใต้มาใช้งานเป็นกรณีพิเศษ โดยในอดีตกองทัพเรือเคยใช้ชื่อเรือหลวงปัตตานีเป็นเรือตอร์ปิโดที่ปลดประจำการไปเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2520 และกระทรวงมหาดไทยได้เคยขอให้กองทัพเรือใช้ชื่อจังหวัดนราธิวาสตั้งเป็นชื่อเรือรบเช่นกัน ทำให้กองทัพเรือได้พิจารณาขอพระราชทานนามเรือทั้งสองลำว่า เรือหลวงปัตตานี และเรือหลวงนราธิวาส[5]
การเพิ่มประสิทธิภาพ
ในปี พ.ศ. 2567 กองทัพเรือได้มีแผนที่จะเพิ่มประสิทธิภาพเรือหลวงนราธิวาส วงเงินงบประมาณ 2,750 ล้านบาท ประกอบไปด้วย เรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติ แบบ ซ้าบ Sea Giraffe 1X ระบบอำนวยการรบแบบ Catiz ระบบควบคุมการยิงแบบ STIR 1.2 EO Mk.2 และระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ Vigile 100S Mk.2[7]
การออกแบบ
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี ต่อโดย อู่ Hudong-Zhonghua เซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน มีคุณลักษณะตัวเรือ ความยาวตลอดลำเรือ 94.50 เมตร ความกว้างเรือ 11.80 เมตร เรือกินน้ำลึก 3.30 เมตร ทำความเร็วสูงสุด 25 นอต มีระวางขับน้ำสูงสุด 1,635 ตัน เรือมีระยะปฏิบัติการไกลสุด 3,500 ไมล์ มีความคงทนทะเล ได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 5 สามารถปฏิบัติการต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 20 วัน มีกำลังพลประจำเรือ 84 นาย เรือมีดาดฟ้าบินรับเฮลิคอปเตอร์น้ำหนักได้ 7 ตัน พร้อมด้วยอากาศยานประจำเรือ แบบ Super Lynx 300
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ
- เรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติ แบบ ซ้าบ Sea Giraffe 1X[8]
- เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำแบบ Selex RAN-30 X/I หรือ Leonardo[9]
- เรดาร์ทางยุทธวิธีแบบ LPI
- เรดาร์และออปโทรนิกส์สำหรับควบคุมการยิงแบบ เออร์ลิคอน TMX/EO[9]
- เรดาร์เดินเรือแบบ X Band
- เรดาร์เดินเรือแบบ S Band
- ระบบกล้องตรวจการณ์ 1 ระบบ
- ระบบสื่อสารแบบระบบรวมการสื่อสาร 1 ระบบ ของบริษัท Rohde & Schwarz
- ระบบอำนวยการรบแบบ Catiz[8]
- ระบบควบคุมการยิงแบบ STIR 1.2 EO Mk.2[8]
- ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ Vigile 100S Mk.2[8]
ระบบอาวุธเรือประกอบไปด้วย
- ปืนหลักแบบ OTO Melara 76/62 มม. Super Rapid Fire จำนวน 1 กระบอก[10]
- ปืนกลขนาด 20 มิลลิเมตรแบบ Oerlikon GAM-C01 จำนวน 2 กระบอก
- ปืนกลขนาด .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก
ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย คือ
- เครื่องจักรใหญ่แบบ รัสตัน 16 อาร์เค 270 ดีเซล จำนวน 2 เครื่อง[9]
- ใบจักร แบบ CPP 2 พวง
- เครื่องไฟฟ้า จำนวน 4 เครื่อง
เรือในชุด
ภารกิจ
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี มีภารกิจในการลาดตระเวณตรวจการณ์ทางทะเลที่ไกลออกไปจากชายฝั่งเพื่อป้อมปราม ป้องกันการรุกล้ำอธิปไตย การแทรกซึมทางทะเล และมีภารกิจรองในการปกป้องผลประโยชน์ทางทะเลและทรัพยากรธรรมชาติในน่านน้ำไทย ทั้งพื้นที่อ่าวไทยและทะเลอันดามัน คุ้มครองเรือประมง ช่วยเหลือผู้ประสบภัย และรักษากฎหมายทางทะเลตามอำนาจทางกฎหมาย[5]
ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553 เรือหลวงปัตตานี และ เรือหลวงสิมิลัน ซึ่งเป็นเรือสนับสนุน ได้ออกจากฐานทัพเรือสัตหีบโดยมีกำลังพลจำนวน 351 นาย และกองกำลังสงครามพิเศษ 20 นายร่วมต่อต้านการกระทำอันเป็นโจรสลัดในอ่าวเอเดน[11] โดยภารกิจครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยส่งกองกำลังไปต่างประเทศเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติไทย[11] โดยเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือเฉพาะกิจผสมที่ 151 เรือหลวงปัตตานีและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือหลวงสิมิลัน ได้ขัดขวางการกระทำของโจรสลัด ในเหตุการณ์สองเหตุการณ์แยกกันเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553[12] จากนั้นในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554 เรือทั้งสองลำได้กลับมาที่ท่าเรือหลังจากปฏิบัติหน้าที่ 137 วัน[13]
ในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557 เรือหลวงปัตตานี ได้รับการนำไปใช้พร้อมกับอะกุสตาเวสต์แลนด์ซูเปอร์ลิงซ์ 300 ในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370[14]
อ้างอิง
ข้อมูลเพิ่มเติม
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี