เจ1ลีก(ญี่ปุ่น: J1リーグ; โรมาจิ: J1 Rīgu ทับศัพท์จาก J1-League) เป็นลีกระดับสูงสุดของ ฟุตบอลลีกอาชีพแห่งประเทศญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本プロサッカーリーグ; โรมาจิ: Nippon Puro Sakkā Rīgu) และเป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพเจลีก ระดับสูงสุดของประเทศญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในลีกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเอเชีย และเป็นลีกเดียวที่ถูกจัดอันดับไว้ในคลาส A โดยสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย
ชื่อของ เจลีก ดิวิชัน 1 ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น เจ1 ลีก ตั้งแต่ฤดูกาล 2015 และเมื่อมีผู้สนับสนุนหลักคือ เมจิ ยาซูดะ ไลฟ์ จึงมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เมจิ ยาซูดะ เจ1 ลีก แต่ในประเทศไทยยังนิยมเรียกว่า เจลีก ดิวิชัน 1
ประวัติ
ก่อนยุคลีกอาชีพ (ก่อน 1992)
ก่อนจะเริ่มเข้าสู่ยุคเจลีก การแข่งขันระดับสูงสุดของสโมสรในญี่ปุ่น Japan Soccer League (JSL) ซึ่งจัดว่าเป็นลีกสมัครเล่น[1] แม้ในยุคทศวรรษที่ 1960 และ 1970 จะได้รับความนิยมขึ้นมา (ช่วงที่ทีมชาติญี่ปุ่นได้เหรียญทองแดงจากกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1968 ที่เม็กซิโก) แต่ JSL ก็เริ่มซบเซาอีกครั้งในช่วงทศวรรษที่ 1980 เช่นเดียวกับฟุตบอลลีกทั่วโลก แฟนบอลลดน้อยลง สนามคุณภาพไม่ดี และทีมชาติญี่ปุ่นก็ไม่ได้เป็นทีมชั้นนำของเอเชียแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ สมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น (JFA) จึงได้ตัดสินใจก่อตั้งลีกอาชีพขึ้นมาเพื่อยกระดับของทีมชาติ เพิ่มความนิยมให้กับลีกในประเทศและให้มีแฟนบอลมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้ เจลีกจึงได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1992 โดยมีสโมสรจาก JSL ดิวิชัน 1 เข้าร่วมการแข่งขัน 8 สโมสร ดิวิชัน 2 อีก 1 สโมสร และมีสโมสรชิมิซุ เอส-พัลส์ สโมสรน้องใหม่เข้าร่วมการแข่งขันอีก 1 สโมสร และได้มีการเปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็น ลีกฟุตบอลญี่ปุ่น (Japan Football League: JFL) จัดว่าเป็นลีกกึ่งอาชีพ แต่เจลีกก็ยังไม่ได้เริ่มอย่างเป็นทางการเพราะในตอนนั้นยังมีการแข่งขันยะมะซะกิ นาบิสโก คัพอยู่ ซึ่งเป็นการแข่งขันเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดฤดูกาลจริงในปี 1993
ฤดูกาลแรกและยุครุ่งเรือง (1993-1995)
เจลีก เริ่มต้นอย่างเป็นทางการฤดูกาลแรกในวันที่ 15 พฤษภาคม 1993 โดยมี 10 ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน นัดเปิดสนามเป็นการพบกันระหว่าง เวร์ดี คาวาซากิ (ปัจจุบันคือ โตเกียว เวร์ดี) กับ โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส ที่สนามกีฬาแห่งชาติคาซูมิงาโอกะ
หลังยุครุ่งเรือง (1996-1999)
สามปีแรกของเจลีกประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม ในต้นปี 1996 แฟนบอลลดลงอย่างรวดเร็ว และในปี 1997 มีแฟนบอลเข้าชมเฉลี่ยต่อเกมเหลือเพียงแค่ 10,131 คนเท่านั้น เทียบกับในปี 1994 มีแฟนบอลเกมละ 19,000 คน
เปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานและรูปแบบเกม (1999-2004)
ฝ่ายจัดการแข่งขันมองว่าแนวทางในขณะนั้นน่าจะเป็นแนวทางที่ผิด จึงได้เริ่มแก้ปัญหาโดยมีทางแก้ไขอยู่สองวิธีด้วยกัน
วิธีแรก คือการออกวิสัยทัศน์เจลีก 100 ปี โดยตั้งเป้าว่าจะต้องมีสโมสรอาชีพ 100 สโมสรในประเทศญี่ปุ่นภายในปี 2092 ซึ่งจะเป็นปีที่ครบรอบ 100 ปีของลีกพอดี นอกจากนี้ฝ่ายจัดการแข่งขันลีกยังสนับสนุนให้สโมสรต่างๆช่วยกันสนับสนุนกีฬาฟุตบอลและกีฬาอื่นๆในท้องถิ่นเพื่อให้ได้รับความนิยมจากคนในพื้นที่มากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มรากหญ้า และสนับสนุนให้หาผู้สนับสนุนเป็นธุรกิจใหญ่ในท้องที่นั้นๆ ทางลีกเชื่อว่าความสัมพันธ์กับเมืองและชาวเมืองนั้นจะทำให้สโมสรดีขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืน มากกว่าการมุ่งหาผู้สนับสนุนที่เป็นนักธุรกิจเจ้าใหญ่ๆระดับประเทศอย่างเดียวเท่านั้น
วิธีที่สองคือ การปรับโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่ของลีกในปี 1999 โดยมี 9 สโมสรจากลีกกึ่งอาชีพ JFL และอีก 1 สโมสรจากเจลีก ร่วมสร้าง เจลีก ดิวิชัน 2 เริ่มทำการแข่งขันตั้งแต่ปี 1999 และดันให้ลีกอันดับสองอย่าง JFL กลายเป็นลีกอันดับ 3 ไป
และในยุคนี้จนถึงปี 2004 (ยกเว้นปี 1996) เจลีกถูกแบ่งเป็น 2 เลก และนำแชมป์เลกแรกกับเลกที่สองมาเพลย์ออฟหาแชมป์และรองแชมป์ของลีกไป แต่หากแชมป์เลกแรกกับเลกสองเป็นทีมเดียวกันก็ถือว่าเป็นแชมป์ไปโดยปริยาย แต่ระบบนี้ถูกยกเลิกไปตั้งแต่ปี 2005
ใช้ระบบลีกยุโรปและเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก (2005-2008)
นับตั้งแต่ฤดูกาล 2005 เจลีก ดิวิชัน 1 มีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 18 ทีม (จากที่เคยมี 16 ทีมในปี 2004) และระบบฤดูกาลแข่งขันเริ่มเปลี่ยนมาใช้แบบสโมสรในยุโรป ทีมที่ต้องตกชั้นเพื่มจาก 2 เป็น 2.5 ทีม นั่นคือ ทีมอันดับสามจากท้ายตารางจะต้องไปเล่นเพลย์ออฟกับทีมอันดับ 3 ในเจลีกดิวิชัน 2 เพื่อหาผู้ที่ต้องตกไปอยู่ดิวิชัน 2
อย่างไรก็ตาม ในสมัยก่อนสโมสรเจลีกไม่ค่อยจะจริงจังกับการแข่งชันเอเชียนแชมเปียนส์ลีกเท่าไหร่นัก เนื่องจากต้องเดินทางไกลและคุณภาพของทีมที่ต้องแข่งด้วยนั้นยังไม่น่าสนใจเท่าไหร่ แต่ในปี 2008 มีทีมญี่ปุ่นผ่านเข้าไปสู่รอบก่อนรองชนะเลิศถึง 3 ทีมด้วยกัน[2]
แต่เมื่อได้มีการผนวกเอลีกเข้าสู่ฟุตบอลเอเชียตะวันออก และเริ่มมีการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก ชาวเอเชียเริ่มหันมาสนใจฟุตบอลรายการนี้กันมากขึ้น ทำให้ลีกญี่ปุ่นและสโมสรต่างๆของญี่ปุ่นเริ่มหันมาให้ความสนใจฟุตบอลรายการเอเชียมากขึ้น ตัวอย่างเช่น คาวาซากิ ฟรอนตาเล เริ่มสร้างฐานแฟนบอลในฮ่องกง ได้หลังจากที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันรายการนี้ในฤดูกาล 2007[3] และจากการที่อุระวะ เรดไดมอนส์และกัมบะ โอซากะคว้าแชมป์เอเชียได้ในปี 2007 และ 2008 ความนิยมและความสนใจในฟุตบอลเวทีเอเชียก็เริ่มมีมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ประกอบกับการจัดการลีกที่ดี สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียจึงได้ยกย่องให้เจลีกเป็นลีกที่อยู่ในอันดับสูงสุด และมีโอกาสเล่นฟุตบอลเอเชียถ้วยใหญ่ถึง 4 ที่ นับตั้งแต่ปี 2009 และลีกยังได้โอกาสในการขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดให้กับต่างประเทศ โดยเฉพาะในชาติเอเชียด้วยกัน
นับตั้งแต่ปี 2008 แชมป์รายการถ้วยพระจักรพรรดิสามารถเข้าร่วมการแข่งขันแชมเปียนส์ลีกในฤดูกาลต่อไปได้เลย แทนที่จะต้องรอไปเล่นในปีถัดไป (เช่น โตเกียวเวร์ดีเคยได้แชมป์รายการนี้ในปี 2005 แต่ต้องไปแข่งระดับเอเชียในฤดูกาล 2007 แทนที่จะเป็นฤดูกาล 2006) ด้วยเหตุนี้ จึงมีหนึ่งทีมที่ต้องเสียสละ นั่นคือ คาชิมะ แอนต์เลอส์ ที่ได้แชมป์ในปี 2007 ก็ถูกระงับสิทธิ์ในการไปเล่นแทน แต่อย่างไรก็ตาม คาชิมะ แอนต์เลอส์ก็ยังสามารถไปเล่นฟุตบอลเอเชียในปี 2009 ได้เนื่องจากสามารถคว้าแชมป์เจลีก ดิวิชัน 1 ในปี 2008 ได้นั่นเอง
เจลีกยุคใหม่ (2009-2016)
ในปี 2009 เกิดการเปลี่ยนแปลงในลีกครั้งใหญ่อีกครั้ง เริ่มจากการมี 4 สโมสรเข้าร่วมรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ต่อด้วยการมีทีมตกชั้นเพิ่มเป็น 3 ทีม นอกจากนี้ ด้วยกฎใหม่ของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย เจลีกจึงต้องตั้งกฎให้มีผู้เล่นต่างชาติได้เพียง 4 คน แต่ต้องมี 1 คนที่มาจากชาติสมาชิกของสมาพันธ์ (ที่ไม่ใช่ญี่ปุ่น) นอกจากนั้น ยังมีการบังคับใช้ระบบไลเซนส์ของสโมสรเจลีกเพื่อตั้งมาตรฐานการอยู่ในลีกอาชีพสูงสุด
ในปี 2015 เจลีก ดิวิชัน 1 ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เจ1 ลีก นอกจากนี้ ระบบลีกของเจลีกถูกแบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 ช่วงด้วยกัน โดยในหนึ่งปีจะถูกแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ช่วง ส่วนช่วงที่สามจะเป็นช่วงสำหรับการเพลย์ออฟเพื่อตัดสินแชมป์ โดยมีทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน 5 ทีม ได้แก่ ทีมที่ทำคะแนนรวมสูงสุด 1 ทีม ทีมที่เก็บคะแนนได้มากที่สุดสองทีมในช่วงที่ 1 และทีมที่เก็บคะแนนได้มากที่สุดสองทีมในช่วงที่ 2
เจลีกยุคปัจจุบัน (2017-)
แม้ฝ่ายจัดการแข่งขันคิดจะใช้ระบบแบ่งครึ่งลีกไปประมาณ 5 ปี แต่ระบบนี้ได้มีการยกเลิกและเปลี่ยนไปเป็นระบบตารางคะแนนเดียวเช่นเดิมตั้งแต่ปี 2017 หลังจากได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์และได้รับเสียงตอบรับที่ไม่ดีจากแฟนบอล[4] นั่นคือ ทีมที่ทำผลงานทั้งฤดูกาลได้ดีที่สุด จะได้แชมป์ไปครอง
ฤดูกาล 2024
ระบบลีก
เจลีก ดิวิชัน 1 ในฤดูกาล 2567 (ค.ศ. 2024) มีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 20 ทีม ทำการแข่งขันแบบพบกันหมดแบบเหย้า-เยือน ดังนั้น หนึ่งสโมสรจะทำการแข่งขันทั้งหมด 38 เกม และทีมที่ชนะจะได้ 3 คะแนน แพ้ได้ 0 คะแนน และหากเสมอกันได้ 1 คะแนน การจัดอันดับจะคิดคะแนนตามแต้ม และหากมีจำนวนแต้มเท่ากัน จะใช้หลักการจัดอันดับดังนี้
- พิจารณาจากผลต่างของประตูได้ และประตูเสีย (Goals Difference)
- พิจารณาเฉพาะประตูได้ (Goals Scored)
- พิจารณาจากผลการแข่งขันของทีมที่มีคะแนนเท่ากันที่เคยแข่งกันมาในฤดูกาล (Head To Head)
- พิจารณาคะแนนวินัย (Disciplinary Points)
หากจำเป็นจะมีการจับสลาก แต่ถ้าหากมีสองทีมที่ได้คะแนนเท่ากันในอันดับที่ 1 ทั้งสองทีมจะได้แชมป์ร่วมกัน สามอันดับแรกจะได้สิทธิ์เข้าแข่งขัน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ในฤดูกาลถัดไป และทีมสามอันดับสุดท้ายตกชั้นสู่ เจลีก 2
- เงินรางวัล (อ้างอิงจากปี 2015)
- แชมป์ (ผู้ชนะในรอบชิงของรอบแชมป์เปียนชิพ) : 100,000,000 เยน
- ผู้ชนะสเตจ 1 และ สเตจ 2: 50,000,000 เยน
- อันดับที่ 1 ในผลรวมคะแนนทั้ง 2 สเตจ: 80,000,000 เยน
- อันดับที่ 2 ในผลรวมคะแนนทั้ง 2 สเตจ: 30,000,000 เยน
- อันดับที่ 3 ในผลรวมคะแนนทั้ง 2 สเตจ: 20,000,000 เยน
- ผู้ชนะในรอบแรกและรอบรองชนะเลิศของรอบแชมป์เปี้ยนชิพ : 15,000,000 เยน
สโมสรที่เข้าร่วมการแข่ง
ที่ตั้งสโมสรในเจลีก ดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2024
ที่ตั้งสโมสรในเจลีก ดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2024 จากเขตอภิมหานครโตเกียว
ที่ตั้งสโมสรในเจลีก ดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2024 จากเขตมหานครเคฮันชิง
สโมสร
|
ที่ตั้ง
|
สนาม
|
จำนวนผู้ชม
|
คอนซาโดเล ซัปโปโระ |
ฮกไกโด |
ซัปโปโระ โดม |
38,794
|
คาชิมะ แอนต์เลอส์ |
อิบารากิ |
สนามฟุตบอลคาชิมะ |
39,170
|
อูราวะ เรดไดมอนส์ |
ไซตามะ |
สนามกีฬาไซตะมะ 2002 |
62,010
|
คาชิวะ เรย์โซล |
ชิบะ |
ฮิตาชิ คาชิวะ สเตเดียม |
15,109
|
เอฟซี โตเกียว |
โตเกียว |
สนามกีฬาอายิโนะโมะโต๊ะ |
49,970
|
โตเกียว เวร์ดี
|
มาจิดะ เซลเวีย |
Machida GION Stadium |
15,489
|
คาวาซากิ ฟรอนตาเล |
คานางาวะ |
โทโดโรกิสเตเดียม |
26,827
|
โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส |
นิสสัน สเตเดียม |
71,822
|
โชนัน เบลมาเร
|
บีเอ็มดับบลิวสเตเดียมฮิรัตสึกะ
|
15,380
|
อัลบิเร็กซ์ นีงาตะ |
นีงาตะ |
เด็งกะบิ๊กสวอนสเตเดียม |
41,684
|
นาโงยะ แกรมปัส |
ไอจิ |
สนามกีฬาโทโยตะ |
43,739
|
จูบิโล อิวาตะ
|
ชิซูโอกะ
|
สนามกีฬายามาฮะ
|
15,156
|
Sanga !เกียวโต ซังงะ
|
เกียวโต
|
ซังงะสเตเดียมบายเคียวเซร่า
|
21,623
|
กัมบะ โอซากะ |
โอซากะ |
พานาโซนิค สเตเดียม ซุอิตะ |
39,694
|
เซเรซโซ โอซากะ
|
Yodoko Sakura Stadium
|
24,481
|
วิสเซล โคเบะ |
เฮียวโงะ |
โนเอเวอร์ สเตเดียม |
28,996
|
ซานเฟรซ ฮิโรชิมะ |
ฮิโรชิมะ |
อีดิออน สเตเดียม |
35,909
|
อวิสปา ฟูกูโอกะ |
ฟูกูโอกะ |
Best Denki Stadium |
21,562
|
ซางัน โทซุ |
ซางะ |
เอกิมาเอะ สเตเดียม |
24,130
|
สถิติ
ทำเนียบแชมป์
ยุคแบ่งฤดูกาล (1993-2004)
ตัวหนา ทีมที่เป็นแชมป์; † แข่งแบบฤดูกาลเดียว; ‡ ทีมเดียวกันชนะทั้งสองสเตจ
ยุคฤดูกาลเดียว (2005–2014)
ยุคแบ่งฤดูกาล (2015-2016)
ตัวหนา ทีมที่เป็นแชมป์; † แข่งแบบฤดูกาลเดียว; ‡ ทีมเดียวกันชนะทั้งสองสเตจ
ยุคฤดูกาลเดียว (2017–ปัจจุบัน)
ทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด
สโมสร |
ชนะเลิศ |
รองชนะเลิศ |
ฤดูกาลที่ชนะเลิศ |
ฤดูกาลที่รองชนะเลิศ
|
คาชิมะ แอนต์เลอส์
|
8
|
3
|
1996, 1998, 2000, 2001, 2007, 2008, 2009, 2016
|
1993, 1997, 2017
|
โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส
|
5
|
3
|
1995, 2003, 2004, 2019, 2022
|
2000, 2002, 2013
|
คาวาซากิ ฟรอนตาเล
|
4
|
4
|
2017, 2018, 2020, 2021
|
2006, 2008, 2009, 2022
|
จูบิโล อิวาตะ
|
3
|
3
|
1997, 1999, 2002
|
1998, 2001, 2003
|
ซานเฟรซ ฮิโรชิมะ
|
3
|
3
|
2012, 2013, 2015
|
1994, 2018, 2024
|
กัมบะ โอซากะ
|
2
|
3
|
2005, 2014
|
2010, 2015, 2020
|
โตเกียว เวร์ดี
|
2
|
1
|
1993, 1994
|
1995
|
วิสเซล โคเบะ
|
2
|
0
|
2023, 2024
|
|
อูราวะ เรดไดมอนส์
|
1
|
5
|
2006
|
2004, 2005, 2007, 2014, 2016
|
นาโงยะ แกรมปัส
|
1
|
2
|
2010
|
1996, 2011
|
คะชิวะ เรย์โซล
|
1
|
0
|
2011
|
|
ชิมิซุ เอส-พัลส์
|
0
|
1
|
|
1999
|
เวกัลตะ เซ็นได
|
0
|
1
|
|
2012
|
เอฟซี โตเกียว
|
0
|
1
|
|
2019
|
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
ลีกฟุตบอลสูงสุดของทวีปเอเชีย ( เอเอฟซี) |
---|
ปัจจุบัน | |
---|
อดีต | |
---|
† สมาชิกของ Associate Member Association |
|
---|
|
ทีมชาติ | |
---|
ระบบลีก | |
---|
ถ้วยในประเทศ | |
---|
เยาวชน | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|