เจมส์ เมานต์แบ็ตเทน-วินด์เซอร์ เอิร์ลแห่งเวสเซกซ์ (อังกฤษ: James Mountbatten-Windsor, Earl of Wessex; เกิด 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550) หรือชื่อเต็มว่า เจมส์ อเล็กซานเดอร์ ฟิลิป ธีโอ เป็นสมาชิกพระองค์หนึ่งในราชวงศ์วินด์เซอร์ เป็นพระโอรสพระองค์ที่สองและพระองค์เดียวในเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเอดินบะระ กับโซฟี ดัชเชสแห่งเอดินบะระ เป็นพระราชนัดดาคนเล็กในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร กับเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ และอยู่ในอันดับที่สิบห้าของลำดับการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ
ประวัติ
เอิร์ลแห่งเวสเซกซ์ประสูติด้วยการผ่าคลอดเมื่อเวลา 16.20 นาฬิกา ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศอังกฤษ ของวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ณ โรงพยาบาลฟริมลีย์พาร์ก เมืองฟริมลีย์ มณฑลเซอร์เรย์ เมื่อแรกประสูติมีน้ำหนัก 6 ปอนด์ 2 ออนซ์ (2.8 กิโลกรัม)[1] เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ซึ่งทรงประทับอยู่ด้วยขณะนั้นได้ตรัสว่า "เงียบสงบกว่าครั้งก่อนมาก" และพระชายาทรง "สบายดี" และพระโอรสก็ "เหมือนกับทารกทั่วไปที่ตัวเล็ก น่ารักและน่ากอดมาก"[1] ไวเคานต์เซเวิร์นและพระชนนีเสด็จออกจากโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และวันต่อมา ได้มีการประกาศชื่อของเอิร์ลแห่งเวสเซกซ์คือ เจมส์ อเล็กซานเดอร์ ฟิลิป ธีโอ[2] มีพี่สาวคือ เลดีลูอีส วินด์เซอร์
ตำแหน่ง
- 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2566: เจมส์ เมานต์แบ็ตเทน-วินด์เซอร์ ไวเคานต์เซเวิร์น (James Mountbatten-Windsor, Viscount Severn)
- ในทางกฎหมาย: เจ้าชายเจมส์แห่งเวสเซกซ์ (His Royal Highness Prince James of Wessex)
- 10 มีนาคม พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน: เจมส์ เมานต์แบ็ตเทน-วินด์เซอร์ เอิร์ลแห่งเวสเซ็กซ์ (James Mountbatten-Windsor, Earl of Wessex)
- ในทางกฎหมาย: เจ้าชายเจมส์แห่งเอดินบะระ (His Royal Highness Prince James of Edinburgh)
พระราชหัตถเลขาที่ออกเมื่อปี พ.ศ. 2460 (และยังคงมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน) กำหนดให้พระราชอิสริยยศของเจ้าชายและฐานันดรศักดิ์ชั้น รอยัลไฮเนส เป็นของพระราชนัดดาผ่านสายพระราชโอรสของพระประมุขอังกฤษ ดังนั้นทารกไวเคานต์เซเวิร์นจะมีพระอิสริยยศทั้งหมดดังกล่าว และเป็น เจ้าชายเจมส์แห่งเวสเซกซ์ (His Royal Highness Prince James of Wessex)[3] อย่างไรก็ตาม เมื่อพระชนกและพระชนนีเสกสมรสกัน ได้มีการประกาศตามความประสงค์ว่า พระโอรสและพระธิดาจะมิทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายหรือเจ้าหญิง พร้อมทั้งฐานันดรศักดิ์ชั้น Royal Highness แต่เป็นโอรสและธิดาของเอิร์ลแทน[4] พระโอรสคนโตสุดของเอิร์ลจะได้รับหนึ่งในบรรดาศักดิ์กิตติมศักดิ์รองของบิดาตามประเพณี ดังนั้นเจมส์ วินด์เซอร์จึงมียศเป็น "ไวเคานต์เซเวิร์น" แม้พระอิสริยยศทางทฤษฎีจะเป็นเจ้าชาย เมื่อทรงบรรลุนิติภาวะแล้วจะทรงสามารถใช้พระอิสริยยศและฐานันดรศักดิ์ของราชวงศ์อย่างเป็นทางการได้ หากประสงค์เช่นนั้น
อ้างอิง
|
---|
|
รุ่นที่ 1 | |
---|
รุ่นที่ 2 | |
---|
รุ่นที่ 3 | |
---|
รุ่นที่ 4 | |
---|
รุ่นที่ 5 | |
---|
รุ่นที่ 6 | |
---|
รุ่นที่ 7 | |
---|
รุ่นที่ 8 | |
---|
รุ่นที่ 9 | |
---|
รุ่นที่ 10 | |
---|
รุ่นที่ 11 | |
---|
รุ่นที่ 12 | |
---|
1 ไม่ใช่เจ้าชายแห่งบริเตนตั้งแต่ประสูติ แต่ได้รับสถาปนาเป็น เจ้าชายพระราชสวามี 2 ดำรงพระอิสริยยศเจ้าชายแห่งสหราชอาณาจักรจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917 3 ไม่ใช่เจ้าชายแห่งบริเตนตั้งแต่ประสูติ แต่ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าชายแห่งสหราชอาณาจักร 4 พระอิสริยยศเป็นที่ถกเถียง; ดู บทความที่เกี่ยวข้อง |