ความพยายามปลงพระชนม์จักรพรรดิฮิโรฮิโตะ
|
อุบัติการณ์ซากูราดามง |
ชื่อภาษาเกาหลี |
---|
ฮันกึล | 이봉창의사 의거 หรือ 도쿄의거[1] หรือ 사쿠라다문의거[2] |
---|
ฮันจา | |
---|
การถอดเสียง |
---|
อาร์อาร์ | I bong-chang uisa uigeo หรือ Dokyo uigeo หรือ Sakuradamun uigeo |
---|
เอ็มอาร์ | Yi bong-ch'ang ŭisa ŭigŏ หรือ Tokyo ŭigŏ หรือ Sakuradamun ŭigŏ |
---|
|
ชื่อภาษาญี่ปุ่น |
---|
คันจิ | 桜田門事件 |
---|
ฮิรางานะ | さくらだもんじけん |
---|
การถอดเสียง |
---|
โรมาจิ | Sakuradamon jiken |
---|
|
|
อุบัติการณ์ซากูราดามงเป็นความพยายามลอบปลงพระชนม์ที่ล้มเหลวต่อจักรพรรดิฮิโรฮิโตะของญี่ปุ่นในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1932 ที่ประตูซากูราดามงที่โตเกียว จักรวรรดิญี่ปุ่น
การโจมตีนี้ดำเนินการโดยอี บง-ชัง นักเรียกร้องเอกราชเกาหลีที่เป็นสมาชิกองค์กรรักชาติเกาหลี อีโยนระเบิดมือใส่จักรพรรดิแต่กลับไม่ได้ระเบิดใส่พระองค์ อีจึงถูกจับกุม พิจารณาคดี ตัดสินโทษ และประหารชีวิตอย่างรวดเร็วในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1932 ปัจจุบันเขาเป็นที่จดจำในฐานะผู้พลีชีพในเกาหลีใต้ ซึ่งบางครั้งเรียกการโจมตีนี้เป็น วีรกรรมรักชาติของอี บง-ชัง (เกาหลี: 이봉창의사 의거)[3][4][5]
หลังการโจมตีครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นเพิ่มการค้นหาคิม กูและสมาชิกคนอื่นในรัฐบาลชั่วคราวเกาหลีที่ให้ทุนสนับสนุนปฏิบัติการ
ภูมิหลัง
เกาหลีเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1910 ถึง 1945 ใน ค.ศ. 1919 เกิดการประท้วงต่อการปกครองของญี่ปุ่นทั่วเกาหลี ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในชื่อ ขบวนการ 1 มีนาคม หลังทางญี่ปุ่นปราบปรามการประท้วงอย่างรุนแรง ชาวเกาหลีจำนวนมากได้หลบหนีออกจากคาบสมุทรและยังคงต่อต้านญี่ปุ่นในต่างประเทศ รวมถึงสมาชิกรัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
ญี่ปุ่นเริ่มสร้างข้ออ้างเพื่อรุกรานแมนจูเรียทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีนใน ค.ศ. 1931 ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1931 อุบัติการณ์ว่านเป่าชานสร้างแรงกระตุ้นเกี่ยวกับข้อพิพาทขนาดเล็กระหว่างชาวนาชาวจีนและเกาหลีเพื่อปลุกปั่นความรู้สึกต่อต้านชาวจีนในเกาหลีและญี่ปุ่น เหตุการณ์นี้นำไปสู่การปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างชาวเกาหลีและชาวจีนในประเทศของตน[8] จากนั้นในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1931 จักรวรรดิญี่ปุ่นจัดฉากอุบัติการณ์หลิ่วเถียวหู (การระเบิดรางรถไฟแมนจู) และอุบัติการณ์มุกเดนที่เพิ่มความรู้สึกต่อต้านญี่ปุ่นในหมู่ชาวจีน[9]
สิ่งสืบทอด
รัฐบาลเกาหลียกย่องอีหลังเสียชีวิตด้วยเครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการสร้างชาติใน ค.ศ. 1962 และแสตมป์ที่ระลึกใน ค.ศ. 1992[10] มีอนุสาวรีย์ของอีที่สวนฮโยชังในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้[11]
อ้างอิง
ข้อมูล