อำเภอสระโบสถ์ |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Sa Bot |
---|
คำขวัญ: หลวงพ่อยอคุ้มบ้าน ข้าวสารหอม เรืองนาม โบสถ์งามสมชื่อ ภาษา เป็นสื่อ เลื่องลือวัฒนธรรม |
แผนที่จังหวัดลพบุรี เน้นอำเภอสระโบสถ์ |
พิกัด: 15°11′43″N 100°50′55″E / 15.19528°N 100.84861°E / 15.19528; 100.84861 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | ลพบุรี |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 304.65 ตร.กม. (117.63 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2566) |
---|
• ทั้งหมด | 21,033 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 69.04 คน/ตร.กม. (178.8 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 15240, 15250 (เฉพาะหมู่ที่ 4, 7 และ 13 ตำบลมหาโพธิ) |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 1608 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอสระโบสถ์ หมู่ที่ 10 ตำบลนิยมชัย อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี 15240 |
---|
|
สระโบสถ์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี เคยเป็นชื่อเดิมของอำเภอโคกสำโรง ก่อนที่จะเปลี่ยนในปี 2460[1]
ประวัติ
ท้องที่อำเภอสระโบสถ์เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอโคกสำโรง ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองอำเภอโคกสำโรง ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอสระโบสถ์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2524 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน ปีเดียวกัน[2]
และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอสระโบสถ์ อำเภอโคกสำโรง ขึ้นเป็น อำเภอสระโบสถ์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2530 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม ปีเดียวกัน[3]
- วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2516 จัดตั้งสุขาภิบาลสระโบสถ์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลสระโบสถ์[4] (ขณะนั้นอยู่ในท้องที่อำเภอโคกสำโรง)
- วันที่ 9 มิถุนายน 2524 แยกพื้นที่ตำบลสระโบสถ์ ตำบลมหาโพธิ และตำบลทุ่งท่าช้าง อำเภอโคกสำโรง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอสระโบสถ์ ขึ้นการปกครองกับอำเภอโคกสำโรง[2] และโอนสุขาภิบาลสระโบสถ์ มาขึ้นกับกิ่งอำเภอสระโบสถ์ อำเภอโคกสำโรง
- วันที่ 30 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลห้วยใหญ่ แยกออกจากตำบลทุ่งท่าช้าง และตำบลสระโบสถ์[5]
- วันที่ 21 ตุลาคม 2528 ตั้งตำบลนิยมชัย แยกออกจากตำบลสระโบสถ์[6]
- วันที่ 31 ธันวาคม 2530 ยกฐานะกิ่งอำเภอสระโบสถ์ อำเภอโคกสำโรง เป็น อำเภอสระโบสถ์[3]
- วันที่ 10 พฤศจิกายน 2532 โอนพื้นที่หมู่ 4,7 บ้านโคกแสมสาร และหมู่ 13 บ้านใหม่ศรีอุบล (ในขณะนั้น) ของตำบลมหาโพธิ อำเภอสระโบสถ์ ไปขึ้นกับตำบลโคกเจริญ กิ่งอำเภอโคกเจริญ อำเภอโคกสำโรง[7]
- วันที่ 4 ตุลาคม 2533 กำหนดเขตตำบลมหาโพธิ อำเภอสระโบสถ์ ให้เหลือการปกครอง 10 หมู่บ้าน โดยตัดหมู่ที่ 4,7 บ้านโคกแสมสาร และหมู่ 13 บ้านใหม่ศรีอุบล เดิมที่โอนไปขึ้นกับกิ่งอำเภอโคกเจริญ อำเภอโคกสำโรง[8]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลสระโบสถ์ เป็นเทศบาลตำบลสระโบสถ์[9] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 9 กรกฎาคม 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลสระโบสถ์ รวมกับเทศบาลตำบลสระโบสถ์[10] อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี
- วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบสภาตำบลห้วยใหญ่ รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งท่าช้าง[11] อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอสระโบสถ์ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอสระโบสถ์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 46 หมู่บ้าน ได้แก่
1. |
สระโบสถ์ |
|
|
(Sa Bot) |
|
12 หมู่บ้าน
|
2. |
มหาโพธิ |
|
|
(Maha Phot) |
|
10 หมู่บ้าน
|
3. |
ทุ่งท่าช้าง |
|
|
(Thung Tha Chang) |
|
5 หมู่บ้าน
|
4. |
ห้วยใหญ่ |
|
|
(Huai Yai) |
|
7 หมู่บ้าน
|
5. |
นิยมชัย |
|
|
(Niyom Chai) |
|
12 หมู่บ้าน
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอสระโบสถ์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลสระโบสถ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระโบสถ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลมหาโพธิ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมหาโพธิทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งท่าช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งท่าช้างและตำบลห้วยใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนิยมชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิยมชัยทั้งตำบล
สถานที่ใกล้เคียงกับอำเภอสระโบสถ์ |
---|
|
อ้างอิง
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
|
---|
|