หอสมุดอะเล็กซานเดรีย

หอสมุดอะเล็กซานเดรีย
ภาพวาดหอสมุดอะเล็กซานเดรียโดย O. Von Corven ศิลปินชาวเยอรมันวาดจำลองในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยอาศัยหลักฐานทางโบราณคดีที่มีอยู่ในขณะนั้นส่วนหนึ่ง[1]
ประเทศราชอาณาจักรทอเลมี
ประเภทหอสมุดแห่งชาติ
ก่อตั้งน่าจะในรัชสมัยฟาโรห์ทอเลมีที่ 2 ฟิลาเดลฟัส (285–246 ปีก่อน ค.ศ.)[2][3]
สถานที่ตั้งอะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์
การเก็บรวบรวม
รายการที่เก็บรวบรวมงานเขียนทุกประเภท[4][5]
ขนาดประมาณการหลายแบบ บางครั้งอยู่ในช่วงระหว่าง 40,000 ถึง 400,000 ม้วนกระดาษ[6] ซึ่งอาจเทียบเท่าหนังสือเกือบ 100,000 เล่ม[7]
ข้อมูลอื่น
บุคลากรในช่วงสูงสุดประมาณการว่ามีการจ้างนักวิชาการมากกว่า 100 คน[8][9]
แผนที่
แผนที่

หอสมุดอะเล็กซานเดรีย ตั้งอยู่ในเมืองอะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ เป็นหนึ่งในหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดของโลกยุคโบราณ อุทิศแด่มิวส์ เก้าเทพธิดาแห่งศิลปะ[10] เจริญรุ่งเรืองภายใต้การอุปถัมภ์ของราชวงศ์ทอเลมี และเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของการศึกษา ตั้งแต่การก่อสร้างในเมื่อ 3 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษจนถึงที่โรมันเอาชนะอิยิปต์ใน 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช ประกอบด้วย แหล่งรวมผลงาน ห้องบรรยาย ห้องประชุม และสวน โดยหอสมุดนี้เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันการศึกษาวิจัยขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า "ภัณฑสถาน" และเป็นสถานที่ที่มีนักวิชาการหลายท่านที่มีชื่อเสียงที่สุดของการศึกษายุคโบราณ

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

หอสมุดอะเล็กซานเดรียไม่ได้เป็นหอสมุดแรกในประเภทนี้[11][3] เรื่องราวหอสมุดที่มีมาอย่างยาวนานพบได้ทั้งในกรีซและตะวันออกใกล้โบราณ[12][3] เอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรแรกสุดมาจากอูรุก นครรัฐของซูเมอร์โบราณประมาณ 3,400 ปีก่อน ค.ศ. ซึ่งเป็นช่วงที่การเขียนเพิ่งเริ่มพัฒนา[13] การเรียบเรียงตำราวรรณคดีแบบวิชาการเริ่มขึ้นราว 2,500 ปีก่อน ค.ศ.[13] อาณาจักรและจักรวรรดิในตะวันออกใกล้โบราณยุคหลังมีธรรมเนียมในการสะสมหนังสือมาอย่างยาวนาน[14][3] ทั้งฮิตไทต์และอัสซีเรียโบราณมีหอจดหมายเหตุขนาดใหญ่ที่มีบันทึกที่เขียนในภาษาต่าง ๆ มากมาย[14] โดยหอสมุดที่มีชื่อเสียงที่สุดในตะวันออกใกล้โบราณคือหอสมุดอาชูร์บานีปัลที่นิเนเวห์ที่ก่อตั้งในศตวรรษที่ 7 ก่อน ค.ศ. โดยอาชูร์บานีปัล (ครองราชย์ 668–ป. 627 ปีก่อน ค.ศ.) กษัตริย์แห่งอัสซีเรีย[13][3] หอสมุดขนาดใหญ่ยังมีให้เห็นในบาบิโลนในรัชสมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2 (ป. 605–ป. 562 ปีก่น ค.ศ.)[14] ส่วนในกรีซ กล่าวกันว่า Peisistratos เผด็จการเอเธนส์ เป็นผู้ก่อตั้งห้องสมุดสาธารณะขนาดใหญ่แห่งแรกในศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ.[15] แนวคิดสำหรับหอสมุดอเล็กซานเดรียถือกำเนิดขึ้นจากมรดกที่ผสมผสานระหว่างชุดสะสมหนังสือทั้งกรีกและตะวันออกใกล้[16][3]

หลังอเล็กซานเดอร์มหาราชสวรรคตใน 323 ปีก่อน ค.ศ. เกิดการแย่งชิงอำนาจในอาณาจักรของพระองค์ในหมู่เจ้าหน้าที่ระดับสูง โดยจักรวรรดิถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน: ราชวงศ์แอนติโกนีดควบคุมกรีซ ราชวงศ์ซิลูซิดควบคุมเอเชียน้อย ซีเรีย และเมโสโปเตเมีย โดยมีแอนติออกและSeleuciaเป็นเมืองหลวง และราชวงศ์ทอเลมีควบคุมอียิปต์ โดยมีอะเล็กซานเดรียเป็นเมืองหลวง[17] กษัตริย์มาซิโดเนียที่ปกครองถัดจากอเล็กซานเดอร์มหาราชในตะวันออกใกล่ต้องการส่งเสริมวัฒนธรรมเฮลเลนิสต์และการเรียนรู้ไปทั่วโลกที่รู้จัก[18] ดังนั้น ผู้นำเหล่านี้จึงให้ความสนใจในการสะสมและรวบรวมข้อมูลจากทั้งชาวกรีกและอาณาจักรโบราณอันไกลโพ้นของตะวันออกใกล้[18] หอสมุดช่วยเพิ่มเกียรติภูมิของเมือง ดึงดูดนักวิชาการ และให้ความช่วยเหลือในทางปฏิบัติในด้านการควบคุมและปกครองอาณาจักร[4][19] ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ทำให้ใจกลางเมืองเฮลเลนิสต์ที่สำคัญทุกแห่งจะมีหอสมุดหลวง[4][20] อย่างไรก็ตาม เหตุที่หอสมุดอะเล็กซานเดรียเป้นเรื่องแปลกตาก็เนื่องจากขอบเขตและระดับความทะเยอทะยานของทอเลมี[4][21] โดยทอเลมีต้องการสร้างที่เก็บความรู้ทั้งหมด ซึ่งต่างจากแนวคิดของคนรุ่นก่อนและรุ่นราวคราวเดียวกัน[4][5] เพื่อสนับสนุนความพยายามนี้ ทางราชวงศ์จึงอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เนื่องจากอียิปต์เป็นที่ตั้งที่เหมาะสำหรับต้นพาไพรัส ซึ่งทำให้เกิดการผูกขาดวัสดุที่จำเป็นในการรวบรวมคลังความรู้ของตน[22]

ภายใต้การอุปถัมภ์ของทอเลมี

เสื่อมถอย

หลังการขับไล่ของทอเลมีที่ 8

การขับไล่นักวิชาการจากอะเล็กซานเดรียโดยทอเลมีที่ 8 ฟิสคอน นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ทางวิชาการของเฮลเลนิสต์[23] นักวิชาการกับนักเรียนนักศึกษาที่เคยศึกษาในหอสมุดอะเล็กซานเดรีย ยังคงดำเนินการวิจัยและเขียนบทความต่อ แต่ส่วนใหญ่ไม่ถือว่าคนทำเพื่ออุทิศให้กับหอสมุดอีกต่อไป[23] สิ่งนี้ก่อให้เกิดนักวิชาการพลัดถิ่นจากอะเล็กซานเดรีย โดยนักวิชาการเหล่านี้ได้กระจายตัวไปทั่วทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก และต่อมาก็กระจายไปทั่วทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตกเช่นกัน[23] Dionysius Thrax (ป. 170–ป. 90 ปีก่อน ค.ศ.) ลูกศิษย์ของ Aristarchus จัดตั้งสำนักของตนบนเกาะโรดส์ของกรีซ[24][25] เขาเขียนหนังสือไวยากรณ์กรีกเล่มแรกที่เป็นคู่มือการพูดให้กระชับ เขียนอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ[25] หนังสือเล่มนี้ยังคงเป็นหนังสือเรียนหลักไวยากรณ์สำหรับเด็กนักเรียนชาวกรีกจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 12[25] ชาวโรมันยึดหลักไวยากรณ์ในงานเขียน และแม้กระทั่งรูปแบบพื้นฐานของหนังสือนี้ยังคงเป็นพื้นฐานสำหรับคู่มือไวยากรณ์ในหลายภาษาในปัจจุบัน[25] อะพอลโลโดรุสแห่งเอเธนส์ (ป. 180–ป. 110 ปีก่อน ค.ศ.) ลูกศิษย์อีกคนของ Aristarchus เดินทางไปทำการสอนและการวิจัยที่ Pergamum เมืองคู่แข่งของอะเล็กซานเดรีย[24] การพลัดถิ่นนี้ทำให้ Menecles แห่ง Barce นักประวัติศาสตร์ ให้ความเห็นเชิงเสียดสีว่า อะเล็กซานเดรียได้กลายเป็นครูของทั้งชาวกรีกและคนป่าเถื่อนเหมือนกัน[26]

ในขณะเดียวกันที่อะเล็กซานเดรียเมื่อช่วงกลางศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. เป็นต้นมา การปกครองอียิปต์ของราชวงศ์ทอเลมีเริ่มมั่นคงน้อยลงกว่าในอดีต[27] เมื่อเผชิญกับความไม่สงบทางสังคมที่เพิ่มขึ้น และปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจที่สำคัญอื่น ๆ ผู้ปกครองจากราชวงศ์ทอเลมียุคต่อมาจึงไม่ได้ให้ความสนใจกับหอสมุดและ Mouseion มากเท่ากับผู้ปกครองคนก่อนหน้า[27] สถานะทั้งหอสมุดและหัวหน้าบรรณารักษ์จึงลดน้อยลง[27] ผู้ปกครองจากราชวงศ์ทอเลมีในยุคหลังส่วนหนึ่งใช้ตำแหน่งหัวหน้าบรรณารักษ์ในฐานะตัวหมากทางการเมือง เพื่อตอบแทนผู้สนับสนุนที่จงรักภักดีที่สุดของตน[27] ทอเลมีที่ 8 ทรงแต่งตั้ง Cydas หนึ่งในทหารรักษาพระองค์ เป็นหัวหน้าบรรณารักษ์[28][27] และกล่าวกันว่าทอเลมีที่ 9 โซเตอร์ที่ 2 (ครองราชย์ 88–81 ปีก่อน ค.ศ.) พระราชทานตำแหน่งให้กับผู้สนับสนุนทางการเมือง[27] ท้ายที่สุด ตำแหน่งหัวหน้าบรรณารักษ์สูญเสียเกียรติภูมิในอดีตไปมากจนแม้แต่นักเขียนร่วมสมัยก็เลิกให้ความสนใจต่อการบันทึกเงื่อนไขการดำรงตำแหน่งของหัวหน้าบรรณารักษ์แต่ละคน[28]

จูเลียส ซีซาร์สั่งเผา

การรุกรานของมุสลิมในข้อมูลภาษาอาหรับ

ใน ค.ศ. 642 อะเล็กซานเดรียถูกกองทัพมุสลิมภายใต้การนำของอัมร์ อิบน์ อัลอาศ เข้ายึดครอง ข้อมูลภาษาอาหรับในยุคหลังบางส่วนระบุถึงการทำลายหอสมุดตามคำสั่งของเคาะลีฟะฮ์ อุมัร[29][30] Bar-Hebraeus เขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ระบุว่าอุมัรพูดกับยะห์ยา อันนะฮ์วีว่า: "ถ้าหนังสือพวกนั้นสอดคล้องกับอัลกุรอาน เราไม่ต้องการมัน และถ้าสิ่งนั้นขัดแย้งกับอัลกุรอาน ทำลายมัน"[31] นัิกวิชาการยุคหลัง นับตั้งแต่ข้อสังเกตของคุณพ่อ Eusèbe Renaudot ใน ค.ศ. 1713 ในหนังสือแปลจาก ประวัติอัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรีย ว่าเรื่องราวนี้ "มีบางอย่างที่ไม่น่าไว้วางใจเกี่ยวกับสิ่งนี้" ไม่เชื่อในเรื่องราวเหล่านี้ เนื่องจากระยะเวลาที่ล่วงเลยไปก่อนที่จะมีการเขียนลงไป และแรงจูงใจทางการเมืองของผู้เขียนหลายคน[32][33][34][35][36]

สิ่งสืบทอด

เชิงอรรถ

อ้างอิง

  1. Garland 2008, p. 61.
  2. Tracy 2000, pp. 343–344.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Phillips 2010.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 MacLeod 2000, p. 3.
  5. 5.0 5.1 Casson 2001, p. 35.
  6. Wiegand & Davis 2015, p. 20.
  7. Garland 2008, p. 60.
  8. Haughton 2011.
  9. MacLeod 2000, p. 5.
  10. Murray, S. A., (2009). The library: An illustrated history. New York: Skyhorse Publishing, p.17
  11. MacLeod 2000, pp. 1–2, 10–11.
  12. MacLeod 2000, pp. 13.
  13. 13.0 13.1 13.2 MacLeod 2000, p. 11.
  14. 14.0 14.1 14.2 MacLeod 2000, p. 2.
  15. MacLeod 2000, pp. 1.
  16. MacLeod 2000, pp. 1–2.
  17. Casson 2001, pp. 31–32.
  18. 18.0 18.1 MacLeod 2000, pp. 2–3.
  19. Fox 1986, p. 341.
  20. Fox 1986, p. 340.
  21. Fox 1986, pp. 340–341.
  22. Casson 2001, p. 21.
  23. 23.0 23.1 23.2 Dickey 2007, pp. 5–6.
  24. 24.0 24.1 Dickey 2007, p. 6.
  25. 25.0 25.1 25.2 25.3 Casson 2001, p. 45.
  26. Meyboom 1995, p. 373.
  27. 27.0 27.1 27.2 27.3 27.4 27.5 Casson 2001, p. 47.
  28. 28.0 28.1 Watts 2008, p. 149.
  29. De Sacy, Relation de l’Egypte par Abd al-Latif, Paris, 1810: "Above the column of the pillars is a dome supported by this column. I think this building was the portico where Aristotle taught, and after him his disciples; and that this was the academy that Alexander built when he built this city, and where was placed the library which Amr ibn-Alas burned, with the permission of Omar." Google books here [1]. Translation of De Sacy from here [2] เก็บถาวร 11 พฤษภาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Other versions of Abd-el-Latif in English here [3] เก็บถาวร 15 กันยายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  30. Samir Khalil, «L’utilisation d’al-Qifṭī par la Chronique arabe d’Ibn al-'Ibrī († 1286)», in: Samir Khalil Samir (Éd.), Actes du IIe symposium syro-arabicum (Sayyidat al-Bīr, septembre 1998). Études arabes chrétiennes, = Parole de l'Orient 28 (2003) 551–598. An English translation of the passage in Al-Qifti by Emily Cottrell of Leiden University is at the Roger Pearse blog here [4] เก็บถาวร 11 พฤษภาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  31. Ed. Pococke, p. 181, translation on p. 114. Online Latin text and English translation here [5] เก็บถาวร 15 กันยายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Latin: "Quod ad libros quorum mentionem fecisti: si in illis contineatur, quod cum libro Dei conveniat, in libro Dei [est] quod sufficiat absque illo; quod si in illis fuerit quod libro Dei repugnet, neutiquam est eo [nobis] opus, jube igitur e medio tolli". Jussit ergo Amrus Ebno’lAs dispergi eos per balnea Alexandriae, atque illis calefaciendis comburi; ita spatio semestri consumpti sunt. Audi quid factum fuerit et mirare."
  32. E. Gibbon, Decline and Fall, chapter 51: "It would be endless to enumerate the moderns who have wondered and believed, but I may distinguish with honour the rational scepticism of Renaudot, (Hist. Alex. Patriarch, p. 170: ) historia ... habet aliquid ut απιστον ut Arabibus familiare est." However Butler says: "Renaudot thinks the story has an element of untrustworthiness: Gibbon discusses it rather briefly and disbelieves it." (ch. 25, p. 401)
  33. The civilisation of Arabs, Book no III, 1884, reedition of 1980, p. 468
  34. Lewis, Bernard; Lloyd-Jones, Hugh (27 September 1990). "The Vanished Library by Bernard Lewis". nybooks.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2006. สืบค้นเมื่อ 26 November 2006.
  35. Trumble & MacIntyre Marshall 2003, p. 51. "Today most scholars have discredited the story of the destruction of the Library by the Muslims."
  36. MacLeod 2000, p. 71. "The story first appears 500 years after the Arab conquest of Alexandria. John the Grammarian appears to be John Philoponus, who must have been dead by the time of the conquest. It seems, as shown above, that both of the Alexandrian libraries were destroyed by the end of the fourth century, and there is no mention of any library surviving at Alexandria in the Christian literature of the centuries following that date. It is also suspicious that Omar is recorded to have made the same remark about books found by the Arab during their conquest of Iran."

แหล่งข้อมูล

หนังสืออ่านเพิ่ม


แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!