อูรุก

อูรุก
𒀕𒆠, Unugᵏⁱ (ซูเมอร์)
𒌷𒀕 or 𒌷𒀔, Uruk (อักกาเดีย)
ซิกกุรัตวิหารขาว (White Temple) แห่งอูรุก
อูรุกตั้งอยู่ในประเทศอิรัก
อูรุก
แสดงที่ตั้งภายในประเทศอิรัก
ที่ตั้งอัลทูมามา รัฐมูทันนา ประเทศอิรัก
ภูมิภาคเมโสโปเตเมีย
พิกัด31°19′27″N 45°38′14″E / 31.32417°N 45.63722°E / 31.32417; 45.63722
ประเภทนิคม
พื้นที่6 km2 (2.3 sq mi)
ความเป็นมา
สร้างป. 5000 BC
ละทิ้งป. 700 AD
สมัยสมัยอูรุกถึงยุคกลางตอนต้น
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
ขุดค้น1850, 1854, 1902, 1912–1913, 1928–1939, 1953–1978, 2001–2002, 2016–ปัจจุบัน
ผู้ขุดค้นวิลเลียม ลอฟทัส, วอลเทอร์ อันเดรอา, ยูลีอุส ยอร์ดัน, ไฮน์ริค ลันเซิน, มากาเรเต ฟัน เอสส์
ชื่อทางการนครโบราณคดีอูรุก
บางส่วนอะห์วาร์แห่งอิรักใต้
เกณฑ์พิจารณาผสม: (iii)(v)(ix)(x)
อ้างอิง1481-005
ขึ้นทะเบียน2016 (สมัยที่ 40th)
พื้นที่541 ha (2.09 sq mi)
พื้นที่กันชน292 ha (1.13 sq mi)

อูรุก (อักษรโรมัน: Uruk; /ˈʊrʊk/) เป็นอดีตนครโบราณในตะวันออกใกลั ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำยูเฟรตีสริมฝั่งอดีตแม่น้ำสาขาของยูเฟรตีสที่ปัจจุบันแห้งเหือดไปแล้ว อูรุกตั้งอยู่ห่างไป 93 กิโลเมตรทางเหนือของนครโบราณอูร์, 108 กิโลเมตรทางใต้ของนิปปูร์ และ 24 กิโลเมตรทางใต้ของลาร์ซา ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตรัฐอัลมูทันนา ประเทศอิรัก[1]

อูรุกถือเป็นแหล่งต้นแบบสำหรับสมัยอูรุก อูรุกมีบทบาทอย่างมากต่อนคราภิวัตน์ในสมัยแรกของซูเมอร์ในกลางสหัสวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์กาล ในช่วงปลายสมัยอูรุกในปี 3100 ปีก่อนคริสต์กาล นครอูรุกอาจมีประชากรถึง 40,000 คน[2] และสูงถึง 80,000–90,000 คนหากนับรวมพื้นที่โดยรอบนคร[3] ถือเป็นเขตนครที่มีประชากรมากที่สุดในโลกในเวลานั้น[4] กษัตริย์กิลกาเมชตามที่ระบุในพงศาวดาร รายนามกษัตริย์ซูเมอร์ (SKL) ปกครองนครอูรุกในระหว่างศตวรรษที่ 27 ก่อนคริสต์กาล นครอูรุกเริ่มเสียความสำคัญลงภายหลังการเติบโตของจักรวรรดิอักกาเดีย กระนั้น นครอูรุกยังคงมีบทบาทสำคัญและเฟื่องฟูในสมัยอะคาเอเมนิด (550–330 ปีก่อนคริสต์กาล), เซเลอูซิด (312–63 ปีก่อนคริสต์กาล) และปาร์เทีย (227 ปีก่อนคริสต์กาล - ค.ศ. 224) และท้ายที่สุดถูกทิ้งร้างไม่นานหลังมุสลิมเข้ายึดครองใปนี ค.ศ. 633–638

วิลเลียม เคนเนิท ลอฟทัส เดินทางเยือนอูรุกในปี ค.ศ. 1849 และระบุซากนครนี้ว่าเป็นของเมือง "เอเรค" (Erech) หรือที่รู้จักในชื่อ "นครลำดับที่สองของนิมโรด" ลอฟทัสนำคณะขุดค้นโบราณคดีเป็นครั้งแรกในอูรุกระหว่างปี 1850 ถึง 1854[5]

ชื่อของอูรุก (/ˈʊrʊk/) มีคำสะกดอยู่หลายแบบในอักษรคูนีฟอร์ม คือ ภาษาซูเมอร์สะกดว่า 𒀕𒆠 unugᵏⁱ;[6] ภาษาอักกาเดียสะกดว่า 𒌷𒀕 หรือ 𒌷𒀔 Uruk (ᵁᴿᵁUNUG) ในภาษาอื่น ๆ เช่น อาหรับ: وركاء or أوروك, Warkāʾ or Auruk; ซีรีแอกคลาสสิก: ܐܘܿܪܘܿܟ, ʿÚrūk; ฮีบรูแบบพระคัมภีร์: אֶרֶךְ ʾÉreḵ; กรีกโบราณ: Ὀρχόη, อักษรโรมัน: Orkhóē, Ὀρέχ Orékh, Ὠρύγεια Ōrúgeia

ในตำนานและวรรณกรรม อูรุกเป็นที่รู้จักในฐานะราชธานีของกษัตริย์กิลกาเมช ตัวละครเอกในมหากาพย์ มหากาพย์กิลมาเมช นักวิชาการระบุว่าอูรุกตรงกันกับนครเอเรค (Erech) ในพระคัมภีร์ไบเบิล (ปฐมกาล 10:10) ซึ่งเป็นนครที่สองที่นิมโรดสถาปนาขึ้นในชีนาร์[7]

อ้างอิง

  1. Harmansah, 2007
  2. Nissen, Hans J (2003). "Uruk and the formation of the city". ใน Aruz, J (บ.ก.). Art of the First Cities: The Third Millennium B.C. from the Mediterranean to the Indus. New York: Metropolitan Museum of Art. pp. 11–20. ISBN 9780300098839.
  3. Algaze, Guillermo (2013). "The end of prehistory and the Uruk period". ใน Crawford, Harriet (บ.ก.). The Sumerian World (PDF). London: Routledge. pp. 68–95. ISBN 9781138238633. สืบค้นเมื่อ 26 July 2020.[ลิงก์เสีย]
  4. Whipple, Madison (2023-12-22). "7 Largest Cities in the Ancient World". TheCollector. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-11-10. สืบค้นเมื่อ 2024-11-13.
  5. William Kennett Loftus (1857). Travels and researches in Chaldaea and Susiana: with an account of excavations at Warka, the "Erech" of Nimrod, and Shush, "Shushan the Palace" of Esther, in 1849–52. Robert Carter & Brothers. Of the primeval cities founded by Nimrod, the son of Gush, four are represented, in Genesis x. 10, as giving origin to the rest : — 'And the beginning of his kingdom was Babel, and Erech, and Accad, and Galneh, in the land of Shinar.' ...let us see if there be any site which will correspond with the biblical Erech — the second city of Nimrod. About 120 miles southeast of Babylon, are some enormous piles of mounds, which, from their name and importance, appear at once to justify their claim to consideration. The name of Warka is derivable from Erech without unnecessary contortion. The original Hebrew word 'Erk,' or 'Ark,' is transformed into 'Warka,' either by changing the aleph into vau, or by simply prefixing the vau for the sake of euphony, as is customary in the conversion of Hebrew names to Arabic. If any dependence can be placed upon the derivation of modern from ancient names, this is more worthy of credence than most others of like nature.... Sir Henry Rawlinson states his belief that Warka is Erech, and in this he is supported by concurrent testimony.... [Footnote: See page xvi. of the Twenty-ninth Annual Report of the Royal Asiatic Society, 1852 ; and Proceedings of the Royal Geogr. Society, vol. i., page 47]
  6. "Sumerian Dictionary". University of Pennsylvania.[ลิงก์เสีย]
  7. While earlier scholars such as Jerome (4th century) had identified Erech with the Syrian city of Edessa (now within Turkey), the modern consensus is that it refers to the Sumerian city-state of Uruk in southern Mesopotamia. See Warwick Ball, 2001, Rome in the East: the transformation of an empire, p. 89. Ball further speculates that the earlier traditions connecting Edessa (Orhai) with Erech might have arisen because the ancient Uruk was possibly 'transferred' to the more northerly location in the reign of Nabonidus of Babylon, 6th century BC.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!