หลักการสอดคล้องโดยตัวเองของนาวิคอฟ (Novikov self-consistency principle) หรือที่เรียกว่าเป็น หลักการคาดคะเนความสอดคล้องโดยตัวเองของนาวิคอฟ (Novikov self-consistency conjecture) เป็นหลักการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักฟิสิกส์ชาวรัสเซียชื่อ อิกอร์ ดมิทรีอาวิช นาฟวิคอฟ (Igor Dmitriyevich Novikov) ในกลางปี 1980 เพื่อที่จะแก้ปัญหาของพาราดอกซ์ หรือความขัดแย้งในเรื่องของการเดินทางข้ามเวลา, ซึ่งได้รับอนุญาตในทางทฤษฎีในการแก้ปัญหาบางอย่างของสัมพัทธภาพทั่วไป (การแก้ปัญหาที่ประกอบด้วยสิ่งที่เป็นที่รู้จักกันว่าเป็น เส้นโค้งปิดเสมือนเวลา (closed timelike curve)) หลักการที่อ้างว่าหากมีเหตุการณ์ใด ๆ ก็ตามเกิดขึ้นที่จะก่อให้เกิดปฏิทรรศน์ หรือ พาราดอกซ์ หรือ ความขัดแย้ง หรือเกิด "การเปลี่ยนแปลง" อย่างหนึ่งอย่างใดต่อเหตุการณ์อันเป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้วในอดีต, ดังนั้นความน่าจะเป็นของเหตุการณ์นั้นที่น่าจะสามารถเกิดขึ้นได้จะมีค่าเป็นศูนย์ มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างความขัดแย้ง หรือ ปฏิทรรศน์ของเวลา (time paradoxe) ให้เกิดขึ้นได้
นักฟิสิกส์ทราบกันมานานแล้วว่ามีวิธีการแก้ปัญหาในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปที่ประกอบไปด้วยเส้นโค้งปิดเสมือนเวลา หรือ CTCs—ดูตัวอย่าง เมตริกของเกอเดล (Gödel metric) นาฟวิคอฟกล่าวถึงความเป็นไปได้ของเส้นโค้งปิดเสมือนเวลาหรือ C.T.C.s ในหนังสือที่เขาเขียนในปี 1975 และในปี 1983, [1] เสนอความเห็นว่าเพียงเฉพาะการเดินทางที่สอดคล้องกันกับช่วงเวลาของตัวเองเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้มีการย้อนเวลากลับไปในช่วงเวลาในอดีตของตัวเองได้ [2] ในรายงานการวิจัยที่เขียนในปี 1990 โดยนาฟวิคอฟและคนอื่น ๆ อีกหลายคน "ใน ปัญหาคอซี่ (Cauchy problem) ในปริภูมิ-เวลา ที่ประกอบไปด้วยเส้นโค้งปิดของเวลาเสมือน",[3] ได้เขียนเอาไว้ว่า:
แม่แบบ:Time travel