สมาคมการค้าพลังสยาม

สมาคมการค้าพลังสยาม
คําขวัญมหานครแห่งความทันสมัยที่หลากหลาย (The Metropolis of Diverse Modernity)
ก่อตั้ง30 กันยายน พ.ศ. 2558; 9 ปีก่อน (2558-09-30) (พันธมิตร)
22 มกราคม พ.ศ. 2559; 8 ปีก่อน (2559-01-22) (สมาคมการค้า)
ประเภทองค์การนอกภาครัฐ
สถานะตามกฎหมายสมาคมการค้า
วัตถุประสงค์ส่งเสริมการค้าภายในกลุ่มธุรกิจย่านสยาม
สํานักงานใหญ่ชั้น 8 เอ็มบีเคเซ็นเตอร์
ที่ตั้ง
พิกัด13°44′40″N 100°31′49″E / 13.744471°N 100.530288°E / 13.744471; 100.530288
พื้นที่ให้บริการ
ย่านสยาม
ภาษาทางการ
ภาษาไทย
เจ้าของ
นายกสมาคม
สุเวทย์ ธีรวชิรกุล
เว็บไซต์www.siam-synergy.com/th/
ชื่อในอดีต
พันธมิตรพลังสยาม

สมาคมการค้าพลังสยาม (อังกฤษ: Siam Synergy) เป็นสมาคมการค้าที่เกิดจากความร่วมมือกันของ 3 กลุ่มธุรกิจการค้าในย่านสยาม คือ บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) ผู้ดูแลศูนย์การค้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์, บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้ดูแลศูนย์การค้าสยามพารากอน, สยามเซ็นเตอร์, และสยามดิสคัฟเวอรี และกลุ่มธุรกิจภายในสยามสแควร์ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกันพัฒนาย่านสยามให้เป็นย่านการค้าปลีกระดับโลก เป็นจุดหมายปลายทางหลักสำหรับการท่องเที่ยวของทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมภาพลักษณ์ของย่านสยาม ในฐานะย่านการค้าใจกลางเมือง ที่ผสมผสานความเป็นศูนย์การค้าระดับโลก วัฒนธรรม และความบันเทิงไว้อย่างครอบคลุม สะท้อนแนวคิด "มหานครแห่งความทันสมัยที่หลากหลาย" (The Metropolis of Diverse Modernity)[1] ซึ่งจะช่วยดึงนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้นจากวันละกว่า 550,000 คน เป็นวันละกว่า 650,000 คน[2] และร่วมมือกับผู้ประกอบการเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนในย่านสยาม รองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน[3]

สมาคมการค้าพลังสยามก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 ในลักษณะของกลุ่มการค้านาม พันธมิตรพลังสยาม โดยมีพิธีลงนามความร่วมมือที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยมีกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในขณะนั้น เป็นประธานในพิธี[3][4] ก่อนจะยกระดับขึ้นและจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคมการค้าเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559[5] ปัจจุบันมีสุเวทย์ ธีรวชิรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการของเอ็มบีเค เป็นนายกสมาคม[6]

จุดมุ่งหมาย

  • เชื่อมโยงเครือข่ายของพันธมิตรการค้าในย่านสยาม ตั้งแต่แยกเฉลิมเผ่า ผ่านแยกปทุมวัน ไปจนถึงแยกเจริญผลและสะพานหัวช้าง
  • สร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขันทางการค้าให้กับย่านสยาม เพื่อยกระดับย่านสยามให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญและของกรุงเทพมหานครตลอดเวลา
  • อนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ผ่านแผนการพัฒนาการลงทุน และกิจกรรมทางการตลาด เพื่อให้ย่านนี้สามารถครองใจนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้อย่างต่อเนื่อง[1]

ศูนย์การค้าในความร่วมมือ

การพัฒนา

ในช่วง 3 ปีแรก ในการดำเนินงานของสมาคมการค้าพลังสยามนั้น (พ.ศ. 2559 - 2562) สมาคมฯ ได้ลงทุนด้วยงบรวมประมาณ 11,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาศูนย์การค้าในความร่วมมือและพื้นที่ใกล้เคียงโดยรอบ และดึงร้านค้าภายในศูนย์การค้าดังกล่าวจำนวนกว่า 4,200 ราย มาเข้าร่วมทำการตลาดให้และร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับทางสมาคมฯ ร่วมกัน[6] ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในย่านสยามเพิ่มเป็น 40%[7][2] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับปรุงสกายวอล์กบริเวณแยกปทุมวันให้เชื่อมต่อและอำนวยความสะดวกได้มากขึ้น สามารถเชื่อมต่อการเดินทางจากรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ เข้ามาที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, เอ็มบีเคเซ็นเตอร์, สยามดิสคัฟเวอรี และสยามสแควร์ได้โดยตรง โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2559 และเปิดใช้งานในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2560[8][9] และได้มีการประกวดตั้งชื่อสกายวอล์กแห่งนี้ จนสุดท้ายได้ชื่ออย่างเป็นทางการคือ สกายวอล์กวันสยาม[10]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "เกี่ยวกับเรา". สมาคมการค้าพลังสยาม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-23. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  2. 2.0 2.1 "3 ยักษ์ค้าปลีก ผนึก 'พลังสยาม' เทียบชั้นมหานครใหญ่". วอยซ์ทีวี. 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 "สยามพิวรรธน์ จัดงานพิธีลงนามความร่วมมือพันธมิตรพลังสยาม นำโดย “บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด". ryt9.com. 2015-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "พันธมิตรพลังสยามผนึกกำลังครั้งประวัติศาสตร์ ผลักดัน "ย่านสยาม" ยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจการค้า". สมาคมการค้าพลังสยาม. 2015-09-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-23. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  5. "รายงานรายชื่อสมาคมการค้า จำแนกจังหวัด" (PDF). กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. 2022-05-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-08-11. สืบค้นเมื่อ 2022-05-06.
  6. 6.0 6.1 ""แลนด์มาร์ก" ค้าปลีก 5 ย่าน 5 ทำเล...แห่ยึดใจกลางเมือง". สนุก.คอม. 2015-10-06. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "ห้างย่าน "สยาม" รวมตัว ลงขันหมื่นล.ดึงนักช็อป". TerraBKK. 2015-10-01. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "ทุ่ม300ล.บาทเนรมิตสกายวอล์แยกปทุมวัน". เดลินิวส์. 2017-08-03. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "เปิดใช้แล้ว! ทางเดินลอยฟ้าเชื่อมแยกปทุมวัน อำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง". ประชาชาติธุรกิจ. 2017-08-04. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "ได้ชื่อแล้ว 'วันสยาม' ทางเชื่อมแยกปทุมวัน". เวิร์คพอยท์ทูเดย์. 2017-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!