สงครามสยาม-กัมพูชา พ.ศ. 2134

สงครามสยาม-กัมพูชา (2134–2137)

แผนที่อินโดจีน
วันที่2134 – 3 มกราคม 2137
สถานที่
ผล สยามได้ชัยชนะ
คู่สงคราม
อาณาจักรอยุธยา ราชอาณาจักรกัมพูชา
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดี (พระราชมนู)
สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (นักพระสัตถา)
พระไชยเชษฐาที่ 1
พระบรมราชาที่ 7 (เชลย)
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

กองทัพอยุธยา


สเปน ทหารรับจ้าง
โปรตุเกส โปรตุเกส ทหารรับจ้าง
กองทัพกัมพูชา
กำลัง
~100,000 คน[1] 75,000
150 เรือสำเภา
ความสูญเสีย
ไม่ทราบจำนวน 90,000 คน [2]

สงครามสยาม-กัมพูชา (2134–2137) เป็นความขัดแย้งทางทหารระหว่าง อาณาจักรอยุธยา และ ราชอาณาจักรกัมพูชา สงครามเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2134 เมื่อสยามบุกกัมพูชาเพื่อตอบโต้การบุกเข้ามาที่ชายแดนอย่างต่อเนื่องของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชายังเผชิญความขัดแย้งทางศาสนาภายในประเทศ นี่ทำให้สยามมีโอกาสที่ดีที่จะบุก การบุกครั้งแรกถูกขัดจังหวะก่อนที่จะบรรลุเป้าหมาย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จกลับมาในอีกสองปีต่อมา ในที่สุดก็พิชิตได้และเข้าปล้นเมือง ละแวก เมื่อวันที่ 3 มกราคม ปี พ.ศ. 2137

ภูมิหลัง

สมเด็จพระนเรศ บางทีรู้จักในพระนาม "พระองค์ดำ" ประสูติที่เมือง พิษณุโลก เมื่อวันที่ 25 เมษายน ปี พ.ศ. 2098 พระองค์เป็นพระราชโอรสของ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และ พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระราชมารดาของพระองค์เป็นพระราชธิดาของ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และ สมเด็จพระสุริโยทัย พระราชบิดาของพระองค์โค่นล้ม ขุนวรวงศาธิราช ในปี พ.ศ. 2091 และยกสมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นประทับบนราชบัลลังก์ จึงได้รับพระราชทานเมืองพิษณุโลก [3]

ระหว่าง สงครามช้างเผือก กษัตริย์พม่า พระเจ้าบุเรงนอง ยึดพิษณุโลกและตั้งให้เป็น ประเทศราช ของพม่า พระนเรศจึงถูกส่งไปยังเมือง หงสาวดี ประเทศพม่า เพื่อเป็น องค์ประกัน รับรองความจงรักภักดีของสมเด็จพระมหาธรรมราชา ตามมาด้วย การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 พม่ายึดกรุงศรีอยุธยาอย่างสมบูรณ์ แต่งตั้ง สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เป็นเจ้าประเทศราชและไม่นานก็ปล่อยพระนเรศเพื่อแลกกับพระเชษฐภคินีของพระองค์ ในปี พ.ศ. 2114 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชสถาปนาพระนเรศเป็น อุปราช แห่งพิษณุโลกพร้อมกับเปลี่ยนพระนามของพระองค์เป็นพระนเรศวร[3][4][4][5]

ในปี พ.ศ. 2124 พระเจ้านันทบุเรง สืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระราชบิดา พระเจ้าบุเรงนอง บนราชบัลลังก์พม่า พระเจ้านันทบุเรงกลายเป็นเกิดความระแวงสงสัยสมเด็จพระนเรศวรภายหลังจากฝ่ายหลังล้มเหลวในการมาถึงทันเวลาระหว่างการปราบปรามกบฏอังวะ พระเจ้านันทบุเรงมีพระบัญชาให้แม่ทัพ มอญ 2 คนสังหารสมเด็จพระนเรศวรระหว่างการรบที่กำลังจะมาถึง อย่างไรก็ตาม พระยาเกียรติ และ พระยาราม กราบทูลสมเด็จพระนเรศวรทันทีเกี่ยวกับภารกิจของพวกเขา เพราะพวกเขาถือว่าการปกครองของพม่าเป็นการกดขี่ สมเด็จพระนเรศวรสละคำปฏิญาณที่จะจงรักภักดีต่อพม่าและสถาปนาอยุธยาขึ้นใหม่เป็นอาณาจักรอิสระ หลังนำคนไทย 10,000 คนกลับมาจาก หงสาวดี และได้รับการสนับสนุนจากผู้อพยพ ชาวฉาน จำนวนมาก และสมเด็จพระนเรศวรสามารถป้องกันการรุกรานจากพม่าได้ถึง 4 ครั้งระหว่างปี พ.ศ. 2127 ถึงปี พ.ศ. 2133[6][7][8][9]

พระองค์สามารถยึดอำนาจควบคุมชายแดนตะวันตก สมเด็จพระนเรศวรหันความสนพระทัยไปที่กัมพูชา อยุธยาและกัมพูชาได้ต่อสู้กันหลายครั้งอย่างน้อยตั้งแต่ปี พ.ศ. 1893 อย่างไรก็ตามได้เข้าสู่สภาวะเสื่อมโทรมตั้งแต่การล่มสลายของ จักรวรรดิเขมร[10][11]

อ้างอิง

  1. Kohn, George Childs (31 October 2013). Dictionary of Wars (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 9781135954949.
  2. Jumsai 1976, pp. 227–231.
  3. 3.0 3.1 Rajanubhab 2001, p. 67.
  4. 4.0 4.1 Rajanubhab 2001, p. 36.
  5. Rajanubhab 2001, p. 75.
  6. Jumsai 1976, pp. 173–175.
  7. Jumsai 1976, p. 179.
  8. Jumsai 1976, p. 182.
  9. Jumsai 1976, p. 189.
  10. David Wyatt (1971). "THE ABRIDGED ROYAL CHRONICLE OF AYUDHYA" (PDF). The Siam Society. สืบค้นเมื่อ 12 June 2015.
  11. Jumsai 1976, p. 213.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!