รีชาร์ที่ 2 ดยุกแห่งนอร์ม็องดี

ริชาร์ดที่ 2

ริชาร์ดผู้ดีงาม หนึ่งในรูปปั้นหกดยุคแห่งนอร์ม็องดีที่จตุรัสเมืองฟาเลส
ดยุกแห่งนอร์ม็องดี
เกิด ไม่ทราบ, นอร์ม็องดี
เสียชีวิต 28 สิงหาคม ค.ศ. 1026, นอร์ม็องดี
บิดา ริชาร์ดที่ 1 ดยุคแห่งนอร์ม็องดี
มารดา กุนนอรา
ภรรยา จูดิธแห่งบริตทานี
ป็อปปาแห่งอ็องแวร์มู
บุตร/ธิดา รีชาร์ที่ 3 ดยุกแห่งนอร์ม็องดี
รอแบร์ที่ 1 ดยุกแห่งนอร์ม็องดี
อาเดลาอีด เคาน์เตสแห่งบูร์กอญ
เอเลนอร์ เคาน์เตสแห่งฟลานเดอร์ส์
โมแฌร์ อาร์ชบิชอปแห่งรูอ็อง
วิลเลียม เคานต์แห่งทาลู
ขุนนางฝรั่งเศส - กษัตริย์ฝรั่งเศส - ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส

รีชาร์ที่ 2 (อังกฤษ: Richard II) หรือ ผู้ดีงาม (อังกฤษ: The Good, ฝรั่งเศส: Le Bon) เป็นบุตรชายคนโตและทายาทของรีชาร์ที่ 1 แห่งนอร์ม็องดี กับกุนนอรา[1][2] เขาเป็นขุนนางนอร์มันของตระกูลนอร์ม็องดี เป็นปู่ของพระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต

ชีวิต

รีชาร์สืบทอดต่อจากบิดาเป็นดยุกแห่งนอร์ม็องดีในปี ค.ศ. 996[1] ในช่วงที่ยังเป็นวัยเยาว์ ห้าปีแรกของการครองตำแหน่ง (ทำให้สันนิษฐากันว่าเขาเกิดในปี ค.ศ. 980) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของเขาคือเคานต์โรดูล์ฟแห่งอิฟรี ผู้เป็นอา ที่กุมอำนาจและปราบปรามการก่อกบฏของชาวนาในต้นรัชสมัยของริชาร์ด[3]

ริชาร์ดสนใจในศาสนาอย่างสุดซึ้งและพบว่าตนเองมีหลายอย่างที่เหมือนกับพระเจ้ารอแบร์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส ที่เขาให้ความช่วยเหลือทางทหารในการต่อกรกับดัชชีเบอร์กันดี [3]เขาทำการแต่งงานเพื่อสานสัมพันธไมตรีกับบริตทานีด้วยการแต่งน้องสาว อาไวส์ กับจูฟเฟรย์ที่ 1 ดยุคแห่งบริตทานี ส่วนตัวเขาเองแต่งงานกับน้องสาวของจูฟเฟรย์ จูดิธแห่งบริตทานี[3]

ในปี ค.ศ. 1000 – 1001 ริชาร์ดขับไล่ชาวอังกฤษ นำโดยพระเจ้าเอเธลเรดที่ 2 แห่งอังกฤษ ที่โจมตีคาบสมุทรโคต็องแต็ง[4] เอเธลเรดมีคำสั่งให้จับตัวริชาร์ดกลับไปอังกฤษ[5] แต่ชาวอังกฤษไม่ได้เตรียมตัวมารับมือการตอบโต้อันรวดเร็วของอัศวินนอร์มัน จึงพ่ายแพ้ที่สมรภูมิแวล-เดอ-แซร์[6]

รีชาร์พยายามพัฒนาความสัมพันธ์กับอังกฤษด้วยการแต่งน้องสาว เอ็มมาแห่งนอร์ม็องดี กับพระเจ้าเอเธลเรด[4] การแต่งงานครั้งนี้มีความสำคัญเนื่องจากทำให้หลานชายของเขา วิลเลียมผู้พิชิต ใช้อ้างสิทธิ์ในบัลลังก์อังกฤษ[7] ความสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้นเป็นประโยชน์ต่อเอเธลเรดในปี ค.ศ. 1013 เมื่อพระเจ้าสเวนเคราส้อมบุกอังกฤษ เอ็มมากับสองพระโอรส เอ็ดเวิร์ดกับอัลเฟรด หนีมานอร์ม็องดี ไม่นานหลังจากนั้นสามีของเธอ พระเจ้าเอเธลเรด ก็ตามมา[7] หลังการสิ้นพระชนม์ในเวลาต่อมาของพระเจ้าเอเธลเรด พระเจ้าคนุตแห่งอังกฤษบีบบังคับเอ็มมาให้แต่งงานกับตน ขณะที่ริชาร์ดถูกสถานการณ์บังคับให้ยอมรับกษัตริย์คนใหม่เนื่องจากน้องสาวของเขาได้เป็นพระราชินีอีกครั้ง[4]

รีชาร์ที่ 2 ตายเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1026[1] บุตรชายคนโตของเขา รีชาร์ ขึ้นเป็นดยุคคนใหม่

การสมรสและบุตร

ริชาร์ดแต่งงานครั้งแรกกับจูดิธ บุตรสาวของโคนองที่ 1 แห่งบริตทานี[8][9] ทั้งคู่มีทายาทด้วยกัน ดังนี้

เขาแต่งงานครั้งที่สองกับป็อปปาแห่งอ็องแวร์มู ทั้งคู่มีทายาทด้วยกัน ดังนี้

  • โมแฌร์ (ค.ศ. 1019) อาร์ชบิชอปแห่งรูอ็อง
  • กีโยม (ค.ศ. 1020/1025) เคานต์แห่งอาร์คส์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Detlev Schwennicke, Europäische Stammtafeln: Stammtafeln zur Geschichte der Europäischen Staaten, Neue Folge, Band II (Marburg, Germany: J. A. Stargardt, 1984), Tafel 79
  2. The Normans in Europe, ed. & trans. Elisabeth van Houts (Manchester University Press, 2000), pp. 56-7
  3. 3.0 3.1 3.2 François Neveux, A Brief History of The Normans (Constable and Robinson, 2008) p. 74
  4. 4.0 4.1 4.2 François Neveux, A Brief History of The Normans (Constable and Robinson, 2008) pp. 94-5
  5. Eleanor Searle, Predatory Kinship and the Creation of Norman Power, 840-1066(University of California Press, Berkeley, 1988), p. 132
  6. David Crouch, The Normans: The History of a Dynasty (Hambledon Continuum, 2007), p. 34
  7. 7.0 7.1 David C. Douglas, William the Conqueror (University of California Press,1964), p. 160
  8. Detlev Schwennicke, Europäische Stammtafeln: Stammtafeln zur Geschichte der Europäischen Staaten, Neue Folge, Band II (Marburg, Germany: J. A. Stargardt, 1984), Tafel 75
  9. David C. Douglas, William The Conqueror (University of California Press, Berkeley & Los Angeles, 1964), p. 15, n. 5
  10. Cassandra Potts, Monastic Revival and Regional Identity in Early Normandy, (The Boydell Press, 1997), 27.
  11. David C. Douglas, William The Conqueror (University of California Press, Berkeley & Los Angeles, 1964), p. 31


Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!