ราชอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์ (หรือที่เรียกว่า ช่วงเวลาแห่งการรวมอาณาจักร) เป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณ หลังจากช่วงเวลาของการแบ่งแยกทางการเมืองที่เรียกว่า สมัยระหว่างกลางที่หนึ่ง ราชอาณาจักรกลางครอบคลุมระหว่าง 2040 ถึง 1782 ปีก่อนคริสตกาล นับตั้งแต่การรวมราชอาณาจักรอียิปต์อีกครั้งที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 จากราชวงศ์ที่สิบเอ็ดจนถึงการสิ้นสุดของราชวงศ์ที่สิบสอง โดยฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบเอ็ดทรงปกครองจากเมืองธีบส์ และฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสองทรงปกครองจากเมืองอัล-ลิชท์
แนวคิดของอาณาจักรกลางในฐานะหนึ่งในสามของยุคทองนั้น แนวคิดดังกล่าวได้ถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1845 โดยบารอน ฟ็อน บุนเซิน นักไอยคุปต์วิทยาชาวเยอรมัน และคำจำกัดความของช่วงเวลาดังกล่าวพัฒนาขึ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยตลอดช่วงคริสตศตวรรษที่ 19 และ 20[1] นักวิชาการบางคนยังได้รวมราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์เข้ามาในช่วงเวลานี้ด้วย ซึ่งในกรณีนี้ ช่วงเวลาของราชอาณาจักรกลางจะสิ้นสุดลงในราว 1650 ปีก่อนคริสตกาล ในขณะที่นักวิชาการบางกลุ่มจะรวมไว้จนถึงรัชสมัยของฟาโรห์เมอร์เนเฟอร์เร ไอย์ ซึ่งอยู่ราวประมาณ 1700 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบสามที่ปรากฏหลักฐานยืนยันทั้งในอียิปต์บนและอียิปต์ล่าง ในช่วงสมัยราชอาณาจักรกลางนั้น เทพเจ้าโอซิริสได้กลายเป็นเทพเจ้าที่สำคัญที่สุดในศาสนาอียิปต์โบราณ[2] เมื่อช่วงเวลาของราชอาณาจักรกลางสิ้นสุดลงก็จะตามมาด้วยช่วงสมัยระหว่างกลางที่สองของอียิปต์ ซึ่งเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งของการแบ่งแยกที่เกี่ยวข้องกับการปกครองของราชวงศ์ต่างชาติในอียิปต์ล่างโดยผู้ปกครองชาวฮิกซอสแห่งเอเชียตะวันตก
อ้างอิง
- ↑ Schneider, Thomas (27 August 2008). "Periodizing Egyptian History: Manetho, Convention, and Beyond". ใน Klaus-Peter Adam (บ.ก.). Historiographie in der Antike. Walter de Gruyter. pp. 181–197. ISBN 978-3-11-020672-2.
- ↑ David, Rosalie (2002). Religion and Magic in Ancient Egypt. Penguin Books. p. 156