มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 3 เป็นรายการเรียลลิตีโชว์แข่งขันทำอาหารสำหรับเด็กในฤดูกาลที่ 3 และเป็นการกลับมาออกอากาศอีกครั้งในรอบ 5 ปี ของมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ผลิตโดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด ดำเนินรายการโดยปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (ป๊อก) และมีคณะกรรมการในการตัดสินคือ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (คุณอิงค์), หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (คุณป้อม) และพงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน) ออกอากาศทางช่อง 7HD เริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2567
เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2567 มีการประกาศผลิตรายการมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ เป็นฤดูกาลที่ 3 โดยเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันสำหรับฤดูกาลนี้ ซึ่งได้ปรับลดอายุผู้เข้าแข่งขันลงมาเล็กน้อย จากเดิม 8-13 ปี เป็น 8-12 ปี[1] ต่อมาเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ได้ประกาศว่ารายการจะเริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 2 มิถุนายน โดยยังคงใช้พิธีกรและกรรมการชุดเดิมจากมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ทุกเวอร์ชั่นทั้งหมด[2] แต่มีการปรับเปลี่ยนพื้นหลังของห้องสัมภาษณ์ใหม่
ออกอากาศ 2 มิถุนายน 2567
ก่อนเริ่มการแข่งขัน คณะกรรมการได้มอบผ้ากันเปื้อนให้น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 25 คน โดยผ้ากันเปื้อนซ่อนอยู่ในลูกโป่งใบใหญ่ (ลักษณะเดียวกับในฤดูกาลที่ 2) น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันต้องทำลายลูกโป่งให้แตกจึงจะได้ผ้ากันเปื้อนไป แต่ทว่าเชฟเอียนได้อำน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขัน โดยบอกว่ามีผ้ากันเปื้อนไม่ครบ ซึ่งสุดท้ายมี 2 คนที่ไม่ได้ผ้ากันเปื้อน เชฟเอียนจึงประกาศให้ทั้งคู่กลับบ้าน แต่หลังจากนั้นเชฟเอียนก็หยิบผ้ากันเปื้อนออกมามอบให้น้อง ๆ อีก 2 คนที่เหลือกลับเข้าแข่งขันตามเดิม
ออกอากาศ 9 มิถุนายน 2567
ในตอนนี้ เนื่องจากเชฟเอียนไม่อยู่เพื่อเตรียมสถานที่สำหรับการแข่งขันในรอบต่อไป จึงมีแขกรับเชิญคือ เชฟวิลแมน ลีออง เชฟผู้ก่อตั้งสถาบัน Thailand Culinary Academy สถาบันฝึกสอนเชฟทีมชาติไทย และกรรมการตัดสินรายการท็อปเชฟไทยแลนด์และเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ ซึ่งเชฟวิลแมนเคยมาเป็นแขกรับเชิญในรายการจูเนียร์ มาสเตอร์เชฟ ไทยแลนด์ และ มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 6 ตอนที่ 15 - ตอนที่ 16
ออกอากาศ 16 มิถุนายน 2567
โดยในการแข่งขันแบบทีมครั้งแรกในฤดูกาลที่ 3 นี้ ทางรายการได้นำน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 21 คน มาแข่งขันในบททดสอบภารกิจแบบทีมที่ สระว่ายน้ำในร่ม ABAC บางนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ โจทย์ในการแข่งขันครั้งนี้คือ ต้องทำของคาว 1 เมนู และของหวาน 1 เมนู โดยเมนูของหวานจะต้องมีนมรสช็อกโกแลตเป็นวัตถุดิบหลัก เพื่อเสิร์ฟให้กับพี่ ๆ นักกีฬาทางน้ำจำนวนทั้งหมด 51 คน โดยมีเวลาในการทำอาหาร 2 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งต้องทำของคาว 51 จาน และ ของหวาน 51 จาน รวมเป็น 102 จาน ซึ่งทีมสีแดงได้ทำเป็นเมนู "ข้าวผัดไก่บิน" เป็นของคาว และ "ขนมปังอบนรกกับไอศกรีมสวรรค์" (ขนมปังอบเนย โยเกิร์ตสตรอว์เบอร์รี ไอศกรีมนมช็อกโกแลต) เป็นของหวาน ส่วนทีมสีน้ำเงินได้ทำเป็นเมนู "ตะวันตกพบสยาม เปนเนซอสต้มข่าฟิวชัน" เป็นของคาว และ "ซิมโฟนีแห่งช็อกโกแลต เบอร์รีและมะม่วง" (ไอศกรีมนมช็อกโกแลต ซอสเบอร์รี และมะม่วงครัมเบิ้ล) เป็นของหวาน ทั้งนี้ รายการได้ประกาศผลทีมที่ชนะในตอนถัดไป
ออกอากาศ 30 มิถุนายน 2567
ออกอากาศ 7 กรกฎาคม 2567
น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้ชิ้นส่วนของไก่ที่ถูกเลือกมาเป็นวัตถุดิบหลักในการทำอาหาร โดยมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที แต่ระหว่างการแข่งขัน เชฟเอียนได้ประกาศให้หยุดการแข่งขันชั่วคราว และประกาศต่อว่า เอญ่า ผู้ชนะจากรอบที่แล้วยังมีสิทธิพิเศษอีก 1 ข้อ คือ สามารถเลือกเพื่อนผู้หญิง 3 คน และผู้ชาย 3 คน ให้ผ่านเข้ารอบทันที โดยเอญ่าได้เลือก แอรี่, ยูจิน, น้ำใจ, แซค, ชิน และซัญ หลังจากที่กรรมการได้ชิมอาหารของน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันแล้ว ผู้ที่เป็น 2 จานที่ดีที่สุดในรอบนี้ คือ บัวหอม และ เอตะ ซึ่งทั้ง 2 คนจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีมในสัปดาห์ต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขัน 3 คนที่ทำอาหารออกมาได้ผิดพลาดมากที่สุดคือ คอปเตอร์, อลีน่า และ แพนเตอร์ และคณะกรรมการเห็นว่าจานของคอปเตอร์มึความคิดสร้างสรรค์ที่ดี แม้จะจัดการวัตถุดิบได้ไม่สมบูรณ์ แต่มีข้อผิดพลาดน้อยกว่าอีก 2 จานที่เหลือ จึงได้กลับเข้าแข่งขันต่อ ส่งผลให้ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันคือ อลีน่า และ แพนเตอร์
ออกอากาศ 14 กรกฎาคม 2567
โดยในการแข่งขันแบบทีมครั้งนี้ มีศิลปินกลุ่มหญิงวง BNK48 (บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต) จำนวน 37 คน มาเป็นแขกรับเชิญร้องเพลง "คุกกี้เสี่ยงทาย" ในช่วงต้นของรายการ และ "365 วันกับเครื่องบินกระดาษ" ในช่วงระหว่างการแข่งขัน ซึ่งโจทย์ในการแข่งขันครั้งนี้คือ ขนมไทย โดยมีกะทิเป็นวัตถุดิบหลัก น้อง ๆ ต้องทำจำนวน 2 เมนู เพื่อเสิร์ฟให้กับพี่ ๆ วง BNK48 ทุกคน รวมทั้งหมด 74 จาน โดยมีเวลาในการทำอาหาร 2 ชั่วโมง ซึ่งทีมสีแดงได้ทำเมนู "พุดดิงกะทิซอสมะม่วง" และ "บัวลอยน้ำกะทิ เสิร์ฟพร้อมกล้วยและโฟมมะม่วง" ส่วนทีมสีน้ำเงินได้ทำเป็นเมนู "ไอศกรีมรสขนมถ้วย" (กะทิใบเตยราดด้วยซอสคาราเมลกะทิ สาคู และครัมเบิ้ล) และ "กล้วยบวชชีสาคู และคาเวียร์ใบเตย" ผลจากการตัดสิน ทีมสีแดงชนะไปด้วยคะแนน 21 ต่อ 16 คะแนน
ออกอากาศ 21 กรกฎาคม 2567
น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้วัตถุดิบ 2 อย่างที่ถูกเลือกมาเป็นวัตถุดิบหลักในการทำอาหาร โดยมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากที่กรรมการได้ชิมอาหารของน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันแล้ว ผู้ที่เป็น 2 จานที่ดีที่สุดในรอบนี้ คือ ซันจิ และ บัวหอม ส่วนผู้เข้าแข่งขัน 3 คนที่ทำอาหารออกมาได้ผิดพลาดมากที่สุดคือ ชิน, วิน และ ซัญ โดยคณะกรรมการเห็นว่าทั้ง 3 คนมีข้อผิดพลาดเรื่องความคิดสร้างสรรค์และการชูวัตถุดิบหลักทั้งหมด จึงตัดสินที่รสชาติ และผู้ที่ทำอาหารออกมารสชาติใช้ได้มากที่สุดใน 3 จานนี้และได้กลับเข้าแข่งขันต่อ คือ วิน ส่งผลให้ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันคือ ชิน และ ซัญ
ออกอากาศ 4 สิงหาคม 2567
ในช่วงแรกนี้ น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 12 คน ไม่ต้องทำการแข่งขัน แต่จะได้ไปท่องเที่ยวพักผ่อนที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมไทย โดยมีเชฟเอียนเป็นผู้นำเที่ยว โดยก่อนออกไปเที่ยว เชฟป้อมเป็นห่วงอาการของเอตะที่เจ็บขาจากการเล่นฟุตบอล แต่อนุญาตให้ออกไปร่วมเที่ยวกับเพื่อน ๆ ได้ หลังจากไปถึงวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารแล้ว เชฟเอียนได้ให้น้อง ๆ แบ่งทีม ทีมละ 3 คน เพื่อเล่นเกมตอบคำถามเกี่ยวกับวัดแห่งนี้ 5 ข้อ โดยแบ่งทีมดังนี้
ซึ่งคำถามเกี่ยวกับ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร มีดังต่อไปนี้ (คำตอบอยู่ภายในวงเล็บ)
ทีมที่ตอบถูกมากที่สุดคือทีมสีแดง สีส้ม และสีเหลือง แต่ทีมสีแดงได้คำตอบก่อนจึงได้รับเงินซื้ออาหารจากร้านที่เชฟเอียนพาไปรับประทานจำนวน 1,000 บาท รองลงมาเป็นทีมสีส้ม ได้รับเงินจำนวน 600 บาท และทีมสีเหลือง ได้รับเงินจำนวน 300 บาท ส่วนทีมสีเขียวที่แพ้ในเกมนี้ได้รับเงินจำนวน 100 บาท หลังจากนั้นเชฟเอียนได้พาน้อง ๆ ไปรับประทานอาหาร ทั้งของหวานขึ้นชื่อ และ ร้านอาหารฝรั่งเศสร่วมสมัยรูปแบบไฟน์ไดนิ่งระดับมิชลินสตาร์ 4 ปีซ้อน ซึ่งมีร้านดังต่อไปนี้
เพราะกรอบกว่าแป้งทั่วไป และมีสองไส้ ไส้เค็มและหวาน
สีส้ม: หวาน 3 เค็ม 1 (60 บาท) สีเขียว: หวาน 1 ชิ้น (15 บาท)
ออกอากาศ 11 สิงหาคม 2567
อีกทั้งเชฟเคอร์ ก็สาธิตเมนู ครีมชีสเจลลี่ ให้กันน้องๆ ในอยู่ในการแข่งขันอีกด้วย และการแข่งขัน ใช้เวลา 60 นาที ในการทำ เมนู ครีมชีสเจลลี่ ให้ตรงตามต้นฉบับมากที่สุด
ออกอากาศ 18 สิงหาคม 2567
ก่อนเริ่มการแข่งขัน เชฟป้อมได้ประกาศว่าสัปดาห์นี้จะเป็นการแข่งขันครั้งสุดท้ายก่อนเข้าสู่การแข่งขันในรอบรองชนะเลิศ
และคณะกรรมการพิเศษทั้ง 7 คน ลงความเห็นว่า ผู้ชนะในรอบนี้ คือ ฟรอยด์ ทำให้ฟรอยด์ได้ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศในทันที
หลังจากที่กรรมการได้ชิมอาหารของน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันแล้ว กรรมการได้ตัดสินให้น้ำใจออกจากการแข่งขันในทันที เนื่องจากทำแป้งไม่สุก ทำให้คณะกรรมการไม่สามารถรับประทานได้
ออกอากาศ 25 สิงหาคม 2567
ในรอบรองชนะเลิศ น้องๆ 8 คนสุดท้ายที่เข้ารอบ ได้เจอบททดสอบสุดท้าทาย ซึ่งมีผ้าม่านสีส้มบังไว้ ซึ่งก็คือแผนที่ประเทศไทย โดยน้องๆทั้ง 8 คน ต้องปาลูกดอกตามอาหารที่อยากจะทำมากที่สุด ซึ่งแต่ละคนได้ปาลูกดอกในแต่ละภาค และผลที่ได้ ดังนี้
ภาคเหนือ: ไม่มี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: วิน
ภาคกลาง: ดราโก้,คานี่,ซันจิ,เอตะ
ภาคใต้: บัวหอม,ยูจิน,ฟรอยด์
แต่เนื่องจาก คุณอิงค์อยากให้การแข่งขันรอบรองชนะเลิศมีความยุติธรรมมากที่สุด จึงทำให้น้องๆทั้ง 8 คน ทำอาหารภาคเดียวกัน ซึ่งคะแนนโหวตสูงสุดในภาคนั้นๆ จะได้โจทย์ทำอาหารในภาคนั้นไป อีกทั้งเชฟป้อมให้โจทย์ความคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ แต่ยังคงเป็นอาหารไทย และจะมีสองคนที่ผิดพลาดมากที่สุดในแต่ละรอบ จะถูกคัดออกโดนทันที
รอบแรก อาหารไทยภาคกลาง
พอมาถึงรอบที่ 2 ซึ่งยังมีน้องๆ 6 คนสุดท้ายที่ยังทำการแข่งขันอยู่ จะต้องได้เจอโจทย์อย่างอาหารไทยภาคเหนือที่ไม่ได้ถูกเลือก โดยมีวัตถุดิบหลักคือเนื้อโคราชไทยวากิว ซึ่งเป็นเนื้อลูกผสมวัวสายพันธุ์ไทยและญี่ปุ่น การตัดสินในรอบนี้เน้นชูวัตถุดิบเป็นหลัก จานที่ผิดพลาดมากที่สุด 2 คน จะไม่มีสิทธิเข้ารอบชิงชนะเลิศทันที
รอบสอง อาหารไทยภาคเหนือ
ออกอากาศ 1-8 กันยายน 2567
ก่อนเริ่มการแข่งขัน คุณป๊อก ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ และเชฟเอียน พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย ไปทำความรู้จักน้องๆที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศในที่ต่างๆ คุณป๊อก ได้ไปหาน้องคานี่ที่โรงเรียนสอนเต้นแห่งหนึ่ง และคานี่ได้เต้นเพลงสไตล์ T-Pop โชว์อีกด้วย ต่อมา เชฟเอียน ได้ไปหาน้องเอตะที่ร้านอาหารของเชฟบิ๊ก ซึ่งตั้งใจฝึกซ้อมก่อนแข่งขันจริง และมีภารกิจท้าทายของน้องเอตะ และ เชฟบิ๊กอีกด้วย หลังจากนั้น คุณป๊อก ได้ไปหา น้องบัวหอมที่สวนสัตว์เปิดซาปารีปาร์ค เพื่อได้ฮีลใจก่อนการแข่งขัน และสุดท้าย เชฟเอียน ได้ไปหา น้องซันจิ ที่ สยาม อเมซิ่ง พาร์ค ซึ่งเชฟเอียนขอท้าประลองซันจิให้เล่นเครื่องเล่นเสียวๆ โดยที่ซันจิไม่กรีดร้องออกมา
การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ: ในการแข่งขันครั้งนี้ ผู้ปกครองของเชฟทุกคน ซึ่งมีด้านครอบครัวของผู้เข้าแข่งขัน 4 คนสุดท้ายตามลำดับ เอตะ ซันจิ คานี่ และ บัวหอม นอกจากนั้นมีแขกรับเชิญคือน้องๆผู้เข้าแข่งขันที่เคยตกรอบมาร่วมเชียร์เหล่าเพื่อนๆ อีก 4 คน การแข่งขันจะมีทั้งหมด 3 รอบ รอบ Appetizer Main Course และ Dessert โดยทั้ง 4 คนคิดธีมอาหาร และหยิบวัตถุดิบในซูเปอร์มาร์เก็ตเพื่อรังสรรค์เมนูทั้งสามจาน ภายใน 10 นาที และการแข่งขันในแต่ละรอบ มีเวลา 60 นาที พอหมดเวลาในแต่ละรอบ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 คน เสิร์ฟอาหารของตัวเอง 3 จาน ต่อหน้าคณะกรรมการ และเมนูของผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 คน มีดังต่อไปนี้
แขกรับเชิญพิเศษ: ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ได้เชิญรุ่นพี่จาก มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ (ฤดูกาลที่ 1) ทั้ง 3 คน นั่นก็คือ แพทตี้ ชนัญชิดา (แชมป์มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 1) มาร์ค ภาวริสร์ และ เชฟ สิริศักดิ์ (รองแชมป์มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 1) มาส่งกำลังใจเชียร์น้องๆทั้ง 4 คนในครั้งนี้
นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ที่มีผู้เข้าแข่งขันชนะเลิศ 2 คน
ในช่วงต้นของการออกอากาศตอนแรกในฤดูกาลนี้ มีผู้เข้าแข่งขันของรายการคนหนึ่งพูดพาดพิงถึงเชฟป้อม (คณะกรรมการ) ในเชิงลบในรายการ จึงถูกแฟนคลับรายการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับมารยาททางสังคมของเขา แต่หลังจากรายการออกอากาศตอนแรกเสร็จสิ้น เชฟบิ๊ก - อรรถสิทธิ์ พัฒนเสถียรกุล ผู้ชนะเลิศของท็อปเชฟไทยแลนด์ 2023 ซึ่งเป็นญาติของผู้เข้าแข่งขันคนดังกล่าว ได้โพสต์เฟซบุ๊กว่า หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้น ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นได้ขอโทษเชฟป้อมหลังไมค์แล้ว และครอบครัวจะอบรมผู้เข้าแข่งขันคนดังกล่าวเพิ่มเติม[3]