มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด
St Edward's Crown

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด
ตราสัญลักษณ์
รายละเอียด
สำหรับ อังกฤษ (จนกระทั่งค.ศ. 1707)
 สหราชอาณาจักร (ค.ศ. 1707-ปัจจุบัน)
ผลิตเมื่อค.ศ. 1661
ผู้ครอบครองพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร
น้ำหนักสุทธิ2.3 กิโลกรัม
จำนวนโค้ง2 โค้ง
วัตถุดิบหลักทองคำ 22 กะรัต
วัสดุซับในกำมะหยี่สีม่วงกรุขอบด้วยขนเออร์มิน
องค์ก่อนหน้ามงกุฎทิวดอร์

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด (อังกฤษ: St. Edward's Crown) เป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและเป็นกกุธภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่ง โดยเรียกชื่อตามพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี โดยใช้เป็นมงกุฎราชาภิเษก (Coronation crown) อย่างเป็นทางการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดองค์ปัจจุบันสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1661 โดยมีลักษณะคล้ายกับมงกุฎองค์เดิมโดยต่างเพียงแค่ส่วนโค้งซึ่งทำแบบศิลปะบารอกแทน ซึ่งใช้สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทำจากทองคำสูง 30 ซม. หนัก 2.23 กิโลกรัม ประดับด้วยอัญมณีและรัตนชาติกว่า 444 ชิ้น โดยสร้างขึ้นแทนมงกุฎองค์เดิมที่ถูกทำลายในสมัยของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ระหว่างสงครามกลางเมือง และเชื่อกันว่าเป็นมงกุฎที่สร้างเลียนแบบมงกุฎของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขีที่มีองค์ประกอบบางส่วนมาจากมงกุฎของสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช[1]

ภายหลังจากปีค.ศ. 1689 มงกุฎองค์นี้ไม่ได้ถูกใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเลยกว่า 200 ปี โดยในปีค.ศ. 1911 พระเจ้าจอร์จที่ 5 ได้รื้อฟื้นการใช้มงกุฎองค์นี้ในพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และถือปฏิบัติต่อเนื่องเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน (ยกเว้นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8) โดยมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดได้นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ประกอบตราอาร์ม และตราสัญลักษณ์ต่างๆ ในประเทศในราชอาณาจักรเครือจักรภพเพื่อแสดงถึงพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดปัจจุบันถูกเก็บรักษาอยู่ที่หอคอยแห่งลอนดอนร่วมกับมงกุฎอิมพีเรียลสเตตและเครื่องราชกกุธภัณฑ์อื่น ๆ

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดองค์เดิม

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด (องค์เดิม)

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดองค์เดิมทรงสวมโดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเมื่อวันคริสต์มัส ค.ศ. 1065 และว่ากันว่าเป็นมงกุฎที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ในวันคริสตมาสปีต่อมา ค.ศ. 1066 เพื่อเป็นการแสดงว่าทรงสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมิใช่ด้วยการพิชิตอังกฤษของพระองค์ และใช้กันต่อมาในบรรดาพระมหากษัตริย์นอร์มันจนถึงรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 3 ผู้ทรงได้รับการสวมมงกุฎครั้งแรกโดยบาทหลวงแห่งวินเชสเตอร์ที่กลอสเตอร์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1216[2]

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดองค์ปัจจุบัน

สร้างขึ้นสำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ว่ากันว่าบางส่วนสร้างจากทองจากมงกุฎเดิมที่ถูกทำลายโดยครอมเวลล์ และมีไข่มุกที่เป็นของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 มงกุฎที่ถูกทำลายอาจจะเป็นมงกุฎที่สร้างเลียนแบบมงกุฎของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพที่ไม่ใช่มงกุฎเดิมที่หายไปในสมัยของสมเด็จพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษในปี ค.ศ. 1216[3] แต่แสตนลีย์อ้างว่าเครื่องราชกกุธภัณฑ์มีอยู่จน ค.ศ. 1642 และเก็บไว้ที่แอบบีเวสต์มินสเตอร์จนกระทั่งถึงรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8.[4]

ตัวมงกุฎบนฐานประกอบด้วยกางเขนแพตตี สี่กางเขนที่ฐานสลับกับสัญลักษณ์ดอกลิลลีจำนวนสี่ดอก เหนือจากฐานขึ้นไปเป็นโค้งสองโค้งที่มีกางเขนอยู่ข้างบน ตรงกลางมงกุฎเป็นหมวกกำมะหยี่ที่มีขอบเป็นขนเออร์มิน เดิมประดับด้วยอัญมณีที่เช่ามาเฉพาะเมื่อมีการราชาภิเษก โดยเมื่อเสร็จสิ้นพระราชพิธีก็ถอดคืนเหลือแต่โครงมงกุฎเปล่าๆ และแต่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1911 เป็นต้นมาก็ได้มีการฝังอัญมณีอย่างถาวร ประกอบด้วยอัญมณี 444 ชิ้น ประกอบด้วยอะความารีนทรงกุหลาบ 345 เม็ด โทปาซสีขาว 37 เม็ด ทัวร์มาลีน 27 เม็ด ทับทิม 12 เม็ด แอเมทิสต์ 7 เม็ด ไพลิน 6 เม็ด เพทาย 2 เม็ด โกเมน 1 เม็ด ทับทิมสปิเนล 1 เม็ด และคาร์บันเคิล 1 เม็ด ไข่มุกเทียมบริเวณส่วนโค้งด้านบนและบริเวณฐานของมงกุฎได้ถูกเปลี่ยนเป็นทอง ซึ่งในสมัยนั้นใช้วัสดุเป็นทองคำเคลือบแพลตตินัม[5] โดยได้ถูกสร้างให้มีขนาดเล็กลงเพื่อให้เข้ากับพระเจ้าจอร์จที่ 5 ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดเป็นพระองค์แรกในรอบ 200 ปี


พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดใช้ทรงในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรจำนวนเจ็ดพระองค์ ได้แก่ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 (ค.ศ. 1661), พระเจ้าเจมส์ที่ 2 (ค.ศ. 1685), พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1689), พระเจ้าจอร์จที่ 5 (ค.ศ.1911), พระเจ้าจอร์จที่ 6 (ค.ศ.1937), สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (ค.ศ. 1953) และ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 (ค.ศ. 2023)

สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 และสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ได้เลือกทรงมงกุฎเพชรของพระองค์เอง พระเจ้าจอร์จที่ 1 พระเจ้าจอร์จที่ 2 พระเจ้าจอร์จที่ 3 และพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 ได้เลือกทรงมงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 1 ส่วนพระเจ้าจอร์จที่ 4 ทรงมงกุฎราชาภิเษกองค์ใหญ่ที่จัดสร้างขึ้นใหม่สำหรับพระองค์เอง

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ทรงเลือกทรงมงกุฎอิมพีเรียลสเตท ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแทนมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดเนื่องจากน้ำหนักซึ่งหนักถึงสองกิโลกรัมกว่าๆ (2,155 กรัม)

ในกรณีที่ไม่ได้ใช้มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดทรงในระหว่างพระราชพิธี มงกุฎจะถูกเชิญไว้บนแท่นบูชาในระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แต่ไม่พบการปฏิบัติเช่นนี้ในคราของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย[6]

ก่อนหน้าค.ศ. 1649 ในพระราชพิธีบรมราชภิเษก พระมหากษัตริย์จะทรงมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดองค์เดิม และจะเปลี่ยนไปทรงมงกุฎองค์อื่นๆ ในระหว่างพระราชพิธี

หลังจากปี ค.ศ. 1689 มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดมิได้ถูกใช้ในการราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรนานกว่าสองร้อยปี จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1911 สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงเลือกมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดในพระราชพิธีราชาภิเษก นับตั้งแต่นั้นมุงกุฏก็ได้ถูกใช้มาตลอดจนถึงรัชสมัยปัจจุบัน

ตราสัญลักษณ์

ตราสัญลักษณ์ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 โดยปรากฏสัญลักษณ์มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดอยู่ด้านบนอักษรย่อพระบรมนามาภิไธย

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดใช้เป็นสัญลักษณ์ปรากฏในตราสัญลักษณ์ ตราอาร์ม และตราอื่นๆ ใช้สำหรับราชอาณาจักรเครือจักรภพ (Commonwealth Realms) โดยแสดงออกซึ่งพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 โดยมีพระบรมราชโองการ[7]ใช้ตรามงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดแทนตรามงกุฎทิวดอร์ (ซึ่งใช้ตั้งแต่ค.ศ. 1902) นับตั้งแต่ปีที่ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นต้นมา อนึ่งการใช้ตราสัญลักษณ์มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดจะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตเท่านั้น[8][9]

อ้างอิง

  1. King-Hall 1936-37.
  2. Arthur Penrhyn Stanley, Historical Memorials of Westminster Abbey (London, John Murray 1876 (4th Edn)), 42-54.
  3. This theory is referred to by Stanley 1876, p. 54, citing vol. I of a work by Reinhold Pauli, (presumably his continuation of J. M. Lappenberg's Geschichte von England, 1154-1509 (Henry II to Henry VII), (Gotha 1853-1858)), p. 489.
  4. Stanley 1876, pp. 45, and 458-459.
  5. Tessa Rose (1992). The Coronation Ceremony and the Crown Jewels. HM Stationery Office. p. 29. ISBN 978-0-117-01361-2.
  6. Kenneth J. Mears; Simon Thurley; Claire Murphy (1994). The Crown Jewels. Historic Royal Palaces Agency. p. 23. ASIN B000HHY1ZQ.
  7. "Victorian Coat of Arms". Victoria State Government. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.
  8. "Royal Crown and Cypher". Government of Canada. Canadian Heritage. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 3 December 2016.
  9. "Symbols of Canada" (PDF). Department of Canadian Heritage. 2010. p. 2. สืบค้นเมื่อ 3 December 2016.
  • Stephen King-Hall, The Crowning of the King and Queen (London: Evans Brothers (Russell Square), 1936-1937), Plate 1 and caption, facing p. 4.

ดูเพิ่ม

Read other articles:

AśokaSutradara Santosh Sivan Produser Shah Rukh Khan Juhi Chawla Ditulis oleh Santosh Sivan Saket Chaudhary SkenarioSantosh Sivan Saket ChaudharyPemeranShah Rukh KhanAjith kumarDanny DenzongpaKareena KapoorHrishita BhattNaratorSuresh OberoiPenata musikSandeep ChowtaAnu MalikSinematograferSantosh SivanPenyuntingA. Sreekar PrasadDistributorDreamz UnlimitedTanggal rilis26 Oktober 2001Durasi171 menitNegara India Bahasa Hindi Anggaran₹12,50 crore (US$1,8 juta)[1] Aśhoka (Hin...

 

Plaque outside the Unitarian Church on St Stephen's Green, Dublin The Unitarian Church in Ireland presently consists of two Congregations, Dublin and Cork, part of the Synod of Munster, in the Republic of Ireland, which has itself been part the Non-Subscribing Presbyterian Church of Ireland since 1935. Some congregations remain closely associated with the General Assembly of Unitarian and Free Christian Churches. These churches would abide by the traditional Unitarian principles of Freedom, R...

 

Desa MasawahDesaNegara IndonesiaProvinsiJawa BaratKabupatenPangandaranKecamatanCimerakKode pos46595Kode Kemendagri32.18.03.2004 Luas18,479 km²Jumlah penduduk4.095 jiwaKepadatan221 jiwa/km² Masawah adalah sebuah desa di Kecamatan Cimerak, Kabupaten Pangandaran, Provinsi Jawa Barat, Indonesia. Geografi Peta Peta Desa Masawah Letak Desa Masawah dengan topografi dataran dan perbukitan memiliki ketinggian rata-rata 0 - 95 mdpl. Bentuk morfologi desa di bagian timur berupa dataran pantai, da...

This article includes a list of general references, but it lacks sufficient corresponding inline citations. Please help to improve this article by introducing more precise citations. (April 2011) (Learn how and when to remove this template message) Ministry of Foreign Affairsوزارة الخارجيةMinistry overviewTypeGovernment MinistryJurisdictionCabinet of BahrainHeadquartersGovernment Road, Manama26°14′15.96″N 50°34′42.14″E / 26.2377667°N 50.5783722°E࿯...

 

Suburb of Sydney, New South Wales, AustraliaMiddle CoveSydney, New South WalesView of Sugarloaf Bay from Harold Reid ReservePopulation1,327 (2021 census)[1] • Density416.0/km2 (1,077.4/sq mi)Established1958Postcode(s)2068Area3.19 km2 (1.2 sq mi)Location9 km (6 mi) from CBDLGA(s)City of WilloughbyState electorate(s)WilloughbyFederal division(s)North Sydney Suburbs around Middle Cove: Roseville Castle Cove Castle Cove Chatswood Middle Cove ...

 

Orang RajasthanJumlah populasica. 68.548.437 (2011)[1]Daerah dengan populasi signifikan IndiaBahasaRajasthan, Hindi, UrduAgamaMayoritas:HinduismeMinoritas:Islam, Jainisme, dan KekristenanKelompok etnik terkaitOrang Indo-Arya lainnya Orang Rajasthan adalah kelompok masyarakat Indo-Arya yang berasal dari Rajasthan (tanah kerajaan-kerajaan),[2] sebuah negara bagian di India Utara. Bahasa mereka, bahasa Rajasthan, merupakan bagian dari kelompok barat rumpun bahasa Indo-...

Humaira BegumHumaira Begum di Gedung Putih bersama suaminya, Mohammad Zahir Shah.Permaisuri AfganistanPeriode8 November 1933 – 17 Juli 1973Penobatan8 November 1933PendahuluMah Parwar BegumPenerusMonarki dihapuskan (Zamina Begum sebagai Ibu Negara Afganistan)Informasi pribadiKelahiran24 Juli 1918Keamiran AfganistanKematian26 Juni 2002(2002-06-26) (umur 83)Roma, ItaliaPemakamanMaranjan HillWangsaBarakzaiAyahSardar Ahmad Shah KhanIbuZarin BegumPasanganMohammad Zahir ShahAnakPutri Bilqis B...

 

American advocacy group You can help expand this article with text translated from the corresponding article in Russian. (January 2023) Click [show] for important translation instructions. Machine translation, like DeepL or Google Translate, is a useful starting point for translations, but translators must revise errors as necessary and confirm that the translation is accurate, rather than simply copy-pasting machine-translated text into the English Wikipedia. Consider adding a topic to ...

 

この項目では、自治政府について説明しています。主権国家については「パレスチナ国」を、自治政府が治める地域については「パレスチナ領域」をご覧ください。 パレスチナ自治政府 السلطة الوطنية الفلسطينية (地域の旗) (国章) 地域の標語:なし 地域の歌:革命者 公用語 アラビア語 主都 東エルサレム(名目上) ラマッラー(事実上)[Ref_a 1] ...

Landon Cassill Landon Douglas Cassill (lahir 7 Juli 1989) merupakan seorang pembalap mobil profesional asal Amerika Serikat. Saat ini ia turun di ajang NASCAR Seri Piala bersama tim BK Racing. Ia memulai debutnya di NASCAR pada tahun 2006. Pada musim 2007 ia sempat dikontrak oleh Hendrick Motorsports sebagai pembalap tes. Debut Sprint Cup-nya ia mulai pada tahun 2010 di Michigan International Raceway. Pranala luar Situs resmi Landon Cassill dalam Racing Reference Artikel bertopik biografi Ame...

 

British hard rock band This article needs additional citations for verification. Please help improve this article by adding citations to reliable sources. Unsourced material may be challenged and removed.Find sources: Jerusalem British band – news · newspapers · books · scholar · JSTOR (October 2020) (Learn how and when to remove this template message) JerusalemOriginBritainGenresHard rock, heavy metalYears active1972; 2009–presentLabelsDeramUni...

 

British statesman (1792–1861) The Right HonourableSir James GrahamGCB Bt PCHome SecretaryIn office6 September 1841 – 30 June 1846MonarchVictoriaPrime MinisterSir Robert PeelPreceded byThe Marquess of NormanbySucceeded bySir George GreyFirst Lord of the AdmiraltyIn office22 November 1830 – 7 June 1834MonarchWilliam IVPrime MinisterThe Earl GreyPreceded byThe Viscount MelvilleSucceeded byThe Lord AucklandIn office30 December 1852 – 13 March 1855Monarch...

Swedish company, known for RAKEL Sectra ABTypeAktiebolagTraded asNasdaq Stockholm: SECT BIndustryHealthcare ITSecured CommunicationsHeadquartersLinköping, SwedenWebsitesectra.com Sectra AB is a Swedish company founded in 1978 active within medical technology and encrypted communication systems. Notable products include the communication system RAKEL[1] which is used by Swedish organisations and institutions that provide vital public services such as emergency services and public...

 

Nayanar saint For the Malayalam author, see Nandanar (author). For other uses, see Nandanar (disambiguation). NandanarIcon in the Tirupunkur templePersonalBornc. 7th-8th centuryAdhanurReligionHinduismPhilosophyShaivism, BhaktiHonorsNayanar saint Nandanar (also spelt as Nantanar), also known as Thirunaallaippovaar (transl. The one who will go tomorrow) and Tirunallaipovar Nayanar,[note 1] was a Nayanar saint, who is venerated in the Hindu sect of Shaivism. He is the only Paraiyar...

 

Pelantikan PresidenJohn F. KennedyTanggal20 Januari 1961; 62 tahun lalu (1961-01-20)LokasiWashington, D.C.Gedung CapitolPeserta/Pihak terlibatJohn Fitzgerald KennedyMulai menjabatKetua Mahkamah Agung Amerika Serikat,Earl WarrenPengambil sumpah Wakil Presiden Amerika SerikatLyndon B. JohnsonMulai menjabatKetua Dewan Perwakilan Rakyat Amerika Serikat, Sam RayburnPengambil sumpahKongres Komite Bersama dalam Upacara Pelantikan Amerika Serikat Pelantikan John F. Kennedy sebagai Presiden Ameri...

1593–1603 Irish war against Tudor conquest For the war of the 1690s, see Nine Years' War. This article needs additional citations for verification. Please help improve this article by adding citations to reliable sources. Unsourced material may be challenged and removed.Find sources: Nine Years' War Ireland – news · newspapers · books · scholar · JSTOR (November 2021) (Learn how and when to remove this template message) Nine Years' WarPart of th...

 

2006–2012 political party in South Korea Not to be confused with Liberty Korea Party, which formerly (1997-2012) used this name. This article has multiple issues. Please help improve it or discuss these issues on the talk page. (Learn how and when to remove these template messages) This article needs additional citations for verification. Please help improve this article by adding citations to reliable sources. Unsourced material may be challenged and removed.Find sources: Hannara Part...

 

Freedom Museum, Groesbeek the old National Liberation Museum, Groesbeek The Freedom Museum (Dutch: Vrijheidsmuseum), until September 2019 National Liberation Museum 1944-1945,[1] is a museum in Groesbeek, the museum is about the liberation of the Netherlands at the end of World War II. The museum is located in Groesbeek, close to the German border. The structure shaped like a parachute was built in remembrance of the Rhineland Offensive (Operation Veritable, Operation Grenade, Operati...

2014 video gameWarhammer 40,000: CarnageDeveloper(s)Roadhouse GamesPublisher(s)Roadhouse GamesSeriesWarhammer 40,000Platform(s)iOS, AndroidReleaseiOSMay 8, 2014[1]AndroidJune 20, 2014[2]Genre(s)Action role-playing Warhammer 40,000: Carnage is a mobile action role-playing video game developed and published by Canadian indie studio Roadhouse Games Ltd. It is based on Games Workshop's tabletop wargame franchise Warhammer 40,000. It released for the iOS and Android platforms in Ma...

 

Logo des MKV Der Mittelschüler-Kartell-Verband der katholischen, farbentragenden Studentenkorporationen Österreichs (MKV) ist der Dachverband der katholischen Schülerverbindungen an allgemeinbildenden und berufsbildenden höheren Schulen Österreichs. Er selbst ist Mitglied des Europäischen Kartellverbandes (EKV), der wiederum als Nichtregierungsorganisation (NGO) beim Europarat registriert ist und der Arbeitsgemeinschaft katholischer Verbände Österreichs (AKV) angehört. Über 160 Verb...

 

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!