ภาษารัสเซีย

ภาษารัสเซีย
русский язык[หมายเหตุ 1]
ออกเสียง[ˈruskʲɪj jɪˈzɨk] ( ฟังเสียง)
ประเทศที่มีการพูดประเทศรัสเซีย
ภูมิภาคโลกที่พูดภาษารัสเซีย
ชาติพันธุ์ชาวรัสเซีย
จำนวนผู้พูด150 ล้านคน  (2020)[1]
ผู้พูดเป็นภาษาที่ 2: 110 ล้านคน (2020)[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ระบบการเขียนซีริลลิก (อักษรรัสเซีย)
อักษรเบรลล์รัสเซีย
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน
ผู้วางระเบียบสถาบันภาษารัสเซีย[25] ที่สถาบันวิทยาศาสตร์รัสเซีย
รหัสภาษา
ISO 639-1ru
ISO 639-2rus
ISO 639-3rus
Linguasphere53-AAA-ea < 53-AAA-e
(วิธภาษา: 53-AAA-eaa ถึง 53-AAA-eat)
บริเวณที่ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาชนกลุ่มใหญ่ (น้ำเงินเข้ม) หรือภาษาชนกลุ่มน้อย (ฟ้า)
รัฐที่ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาทางการ (น้ำเงินเข้ม) หรือรัฐที่มีประชากรตั้งแต่ร้อยละ 30 ขึ้นไปพูดภาษารัสเซียเป็นภาษาที่หนึ่งหรือสอง

ภาษารัสเซีย (รัสเซีย: русский язык, อักษรโรมัน: russkiy yazyk) เป็นภาษากลุ่มสลาฟตะวันออกที่ชาวรัสเซียใช้พูดในยุโรปตะวันออก โดยเป็นภาษาทางการในประเทศรัสเซีย, เบลารุส, คาซัคสถาน, คีร์กีซสถาน และใช้เป็นภาษากลางอย่างแพร่หลายทั่วประเทศยูเครน, ภูมิภาคคอเคซัส, เอเชียกลาง และบางส่วนของรัฐบอลติก[26][27] ภาษารัสเซียเป็นภาษาทางการโดยพฤตินัยของสหภาพโซเวียตจนกระทั่งสหภาพฯ ล่มสลายในวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1991[28]

ภาษารัสเซียเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดในทวีปยุโรปและเป็นภาษาที่กระจายตัวตามเขตภูมิศาสตร์มากที่สุดในยูเรเชีย[29] โดยมีผู้พูดมากกว่า 258 ล้านคนทั่วโลก จึงถือเป็นภาษากลุ่มสลาฟที่มีผู้พูดมากที่สุด[30] ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับที่ 7 ของโลกหากเรียงตามจำนวนผู้พูดภาษาแม่ และเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ของโลกหากเรียงตามจำนวนผู้พูดทั้งหมด[31] ภาษานี้เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 6 ภาษาของสหประชาชาติ และยังเป็นภาษาที่แพร่หลายในอินเทอร์เน็ตมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 โดยเป็นรองเพียงภาษาอังกฤษ[32]

ภาษารัสเซียเขียนด้วยอักษรซีริลลิกซึ่งจำแนกความต่างระหว่างหน่วยเสียงพยัญชนะที่มีการออกเสียงรองเป็นเสียงเพดานแข็งกับหน่วยเสียงพยัญชนะที่ไม่มี (ซึ่งเรียกกันว่าเสียง อ่อน และเสียง แข็ง) เสียงพยัญชนะเกือบทุกเสียงมีคู่เสียงอ่อน-แข็ง ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการกร่อนเสียงสระที่ไม่ได้เน้นหนัก ในอักขรวิธีโดยปกติไม่มีการระบุว่าสระใดเป็นสระที่เน้นเสียงหนัก[33] แต่บางครั้งก็มีการใช้เครื่องหมายอะคิวต์แอกเซนต์แสดงการเน้นหนักเพื่อจำแนกความต่างระหว่างคำพ้องรูป เช่น замо́к (zamók – "แม่กุญแจ") กับ за́мок (zámok – "ปราสาท") หรือเพื่อแสดงการออกเสียงที่ถูกต้องของคำหรือชื่อที่พบไม่บ่อยนัก

การจัดจำแนก

ภาษารัสเซียเป็นภาษากลุ่มสลาฟในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน ในแง่ของภาษาพูดมีความใกล้เคียงกับภาษาไบโลรัสเซียและภาษายูเครนที่อยู่ในภาษากลุ่มสลาฟตะวันออกและเป็นลูกหลานของภาษาสลาฟตะวันออกโบราณเช่นเดียวกัน หลายแห่งในไบโลรัสเซียและยูเครน มีผู้พูดภาษาเหล่านี้ได้สองภาษาซึ่งเป็นผลมาจากการปะปนกัน

ลักษณะของศัพท์ในภาษาเขียน หลักการสร้างคำ และการผันคำในภาษารัสเซียได้รับอิทธิพลจากภาษาสลาโวนิกคริสตจักรที่พัฒนามาจากภาษากลุ่มสลาฟใต้ ภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณซึ่งใช้ในทางศาสนาของคริสต์ศาสนา นิกายรัสเซียนออร์โธดอกซ์ สัทวิทยาและการเรียงประโยคของภาษารัสเซีย (โดยเฉพาะสำเนียงทางเหนือ) ได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มฟินน์ของภาษาตระกูลฟินโน-ยูกริก เช่นภาษาเมอร์ยา ภาษามอกซาภาษามูโรเมียด้วย ภาษาเหล่านี้มักเป็นภาษาที่ตายแล้ว แต่เคยใช้พูดในบริเวณภาคกลางและภาคเหนือของรัสเซียในยุโรป

การแพร่กระจายในทางภูมิศาสตร์

ภาษารัสเซียใช้พูดในรัสเซียเป็นหลัก ประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษารัสเซียมักเป็นประเทศที่เคยรวมอยู่ในสหภาพโซเวียต ซึ่งใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษากลางตั้งแต่ พ.ศ. 2460 จนเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายไปเมื่อ พ.ศ. 2534 ประเทศเหล่านั้นจึงกลับไปใช้ภาษาของตนเอง

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 ประเทศในกลุ่มกติกาสัญญาวอร์ซอและประเทศที่อยู่ในสหภาพโซเวียต ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาในโรงเรียน เช่นในโปแลนด์ บัลแกเรีย เช็กเกีย สโลวาเกีย ฮังการี โรมาเนีย แอลเบเนีย และคิวบา แต่คนรุ่นต่อมาเริ่มใช้ภาษารัสเซียน้อยลง นอกจากนั้นมีชาวยิวในอิสราเอลที่พูดภาษารัสเซียอีกราว 750,000 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่อพยพไปจากรัสเซีย ในอเมริกาเหนือ พบผู้พูดภาษารัสเซียแพร่กระจายทั่วไปในช่วงก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ผู้พูดเหล่านี้ส่วนมากเป็นชาวยิวที่อพยพมาจากรัสเซีย ในยุโรปตะวันตกมีผู้พูดภาษารัสเซียซึ่งอพยพออกจากรัสเซียในพุทธศตวรรษที่ 25

สถานะการเป็นภาษาราชการ

ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการของรัสเซีย และเป็นภาษาราชการร่วมในเบลารุส คาซัคสถาน และคีร์กิซสถาน เป็น 1 ใน 6 ภาษาราชการของสหประชาชาติ มีการเรียนการสอนเป็นภาษารัสเซียในฐานะภาษาที่สองในหลายประเทศ โดยมากเป็นประเทศที่เคยอยู่ในสหภาพโซเวียตมาก่อน

สำเนียง

นักภาษาศาสตร์แบ่งภาษารัสเซียเป็นสองกลุ่มหลักคือกลุ่มเหนือและกลุ่มใต้ โดยสำเนียงมอสโกอยู่ระหว่างกลางทั้งสองกลุ่ม (ถือเป็นกลุ่มกลาง) และเป็นสำเนียงมาตรฐาน

ประวัติ

เมื่อประมาณ พ.ศ. 1543 กลุ่มชนส่วนใหญ่ในบริเวณที่เป็นประเทศรัสเซีย ยูเครน และไบโลรัสเซียเป็นชาวสลาฟกลุ่มตะวันออกที่พูดภาษาใกล้เคียงกัน การรวมตัวทางการเมืองบริเวณนี้เป็นเคียวาน รุสเมื่อ พ.ศ. 1423 ทำให้เกิดภาษาสลาฟตะวันออกโบราณที่กลายเป็นภาษาทางวรรณคดีและการค้า ตามมาด้วยการรับอิทธิพลของศาสนาคริสต์เมื่อ พ.ศ. 1531 และการเข้ามาของภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณที่เป็นภาษากลุ่มสลาฟใต้ และเป็นภาษาราชการและภาษาทางศาสนาในยุคนั้น เริ่มมีการยืมคำจากภาษากรีกยุคไบแซนไทน์ ทำให้ภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณเริ่มถูกเปลี่ยนแปลง

เมื่อเคียวาน รุสแตกสลายเมื่อราว พ.ศ. 1643 จึงมีการพัฒนาสำเนียงที่แตกต่างกัน ความแตกต่างอย่างชัดเจนเกิดขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 18 เมื่อมีการตั้งเขตของดยุกแห่งลิทัวเนีย ทางตะวันตกและดินแดนอิสระของสาธารณรัฐฟิวดัลโนฟโกรอดและดินแดนของตาตาร์ทางตะวันออก ภาษาราชการในโนฟโกรอด มอสโก และตาตาร์เป็นภาษาสลาโวนิกคริสตจักร ที่พัฒนามาจากภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณ ภาษารัสเซียได้รับอิทธิพลจากภาษาสลาโวนิกคริสตจักรจนถึงพุทธศตวรรษที่ 22 มีการจัดมาตรฐานโดยเมเลเตียส สโมเตรียสกีเมื่อ พ.ศ. 2163 และมีการปรับตัวอักษรในพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ได้รับอิทธิพลด้านคำศัพท์จากยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะภาษาฝรั่งเศสกับภาษาเยอรมัน

ภาษารัสเซียสมัยใหม่มีการปรับเปลี่ยนอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2461 อิทธิพลในยุคของสหภาพโซเวียตทำให้ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีผู้ใช้แพร่หลายมากภาษาหนึ่ง

ภาษาลูกหลาน

ภาษาที่มีพัฒนาการไปจากภาษารัสเซียได้แก่

  • ภาษาเฟนยา ไวยากรณ์มีจุดกำเนิดเดียวกับภาษารัสเซียแต่ใช้คำศัพท์ต่างไป
  • ภาษาซุรเซียก เป็นภาษาที่มีลักษณะของภาษารัสเซียและภาษายูเครน ใช้พูดในบางบริเวณของประเทศยูเครน
  • ภาษาทราเซียนกา เป็นภาษาที่มีลักษณะของภาษารัสเซียและภาษาไบโลรัสเซีย ใช้พูดในเบลารุส
  • สำเนียงบาลัชกา ใช้พูดโดยชาวคอสซักก์ในบริเวณดอน คูบันและเตเรก
  • ภาษากวูเอเลีย เป็นภาษาผสมระหว่างภาษารัสเซียกับภาษาเยอรมัน
  • ภาษารุสเซนอร์ส เป็นภาษาผสมที่ตายแล้วใช้คำศัพท์จากภาษารัสเซียและไวยากรณ์ของภาษานอร์เวย์ ใช้ในการติดต่อทางการค้าระหว่างชาวรัสเซียและนอร์เวย์ในอดีต
  • ภาษารุงลิซ เป็นภาษาผสมระหว่างภาษารัสเซียกับภาษาอังกฤษ ใช้เรียกการพูดภาษาอังกฤษของชาวรัสเซียที่ใช้ลักษณะและการเรียงประโยคแบบภาษารัสเซีย
  • ภาษานักซัต เป็นภาษาในนิยายพูดโดย “A Clockwork Orange” ใช้คำและคำแสลงจากภาษารัสเซียมาก

ระบบการเขียน

เมเลเตียส สโมเตรียสกี นำอักษรซีริลลิกมาใช้เขียนภาษารัสเซียเมื่อราว พ.ศ. 2162 ใช้ตัวอักษร 33 ตัว มีการปรับปรุงตัวสะกดในภาษารัสเซียหลายครั้ง เช่นเมื่อ พ.ศ. 2423, 2461, และครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2533 อักษรที่ใช้เขียนภาษารัสเซียเรียกว่าอักษรซีริลลิก มีอยู่ทั้งหมด 33 ตัวด้วยกัน ดังต่อไปนี้

Аа Бб Вв Гг Дд Ее Ёё Жж Зз Ии Йй

Кк Лл Мм Нн Оо Пп Рр Сс Тт Уу Фф

Хх Цц Чч Шш Щщ Ъъ Ыы Ьь Ээ Юю Яя

ในภาษาอื่นที่ใช้อักษรซีริลลิก เช่น ภาษายูเครน ภาษามองโกเลีย ฯลฯ จะมีอักขระพิเศษเพิ่มขึ้นมาตามแต่ละภาษาในประเทศรัสเซีย อักษรซีริลลิกนอกจากจะใช้เขียนภาษารัสเซีย ปัจจุบันยังใช้เขียนภาษาของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในประเทศด้วย

ระบบเสียง

เสียงพยัญชนะ

  ริมฝีปาก ริมฝีปากกับฟัน ฟัน &
ปุ่มเหงือก
หลังปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน
นาสิก หนัก /m/   /n/      
เบา /mʲ/ มฺย   /nʲ/ นฺย      
กัก หนัก /p/   /b/ ป บ   /t/   /d/ ต ด    A/อ /k/   /g/ ก กฺง
เบา /pʲ/   /bʲ/ ปฺย บฺย   /tʲ/   /dʲ/ ตฺย ดฺย     /kʲ/*   [gʲ] กฺย งฺย
Affricate หนัก     /t͡s/    จ(ตฺซ)        
เบา         /t͡ɕ/    จ    
เสียดแทรก หนัก   /f/   /v/ ฟฺว /s/   /z/ /ʂ/   /ʐ/ ซ(ม้วนลิ้น)   /x/      ฮฺค
เบา   /fʲ/   /vʲ/ ฟฺย วฺย /sʲ/   /zʲ/ ซฺย - /ɕː/*   /ʑː/* ศ -   [xʲ]      ฮฺย
รัวลิ้น หนัก     /r/      
เบา     /rʲ/ รฺย      
เปิดข้างลิ้น หนัก     /l/      
เบา     /lʲ/ ลฺย   /j/  

ไวยากรณ์

ภาษารัสเซียมีลักษณะคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน คือมีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อแสดงเพศ พจน์ กาล การก แม้ว่าในหลายภาษาในตระกูลเดียวกันกฎเกณฑ์เหล่านี้ได้หายไปบ้าง แต่ในภาษารัสเซียรวมทั้งภาษาสลาฟอื่น ๆ ยังคงมีกฎเหล่านี้อยู่ มีการเปลี่ยนรูปคำมาก การเรียงประโยคเป็นการผสมอิทธิพลระหว่างภาษาสลาโวนิกคริสตจักรกับภาษาในยุโรปตะวันตก

infinitive работать ทำงาน
รูปปัจจุบัน รูปอดีต
Я (สรรพนามบุรุษที่ 1 เอกพจน์) работаю ช работал ญ работала
Ты (สรรพนามบุรุษที่ 2 เอกพจน์) работаешь ช работал ญ работала
Он (สรรพนามเพศชายบุรุษที่ 3 เอกพจน์) работает работал
Она (สรรพนามเพศหญิงบุรุษที่ 3 เอกพจน์) работает работала
Оно (สรรพนามเพศกลางบุรุษที่ 3 เอกพจน์) работает работало
Мы (สรรพนามบุรุษที่ 1 พหูพจน์) работаем работали
Вы (สรรพนามบุรุษที่ 2 พหูพจน์) работаете работали
Они (สรรพนามบุรุษที่ 3 พหูพจน์) работают работали

นอกจากนี้แล้ว กริยาภาษารัสเซีย ยังมีรูปสมบูรณ์ และ ไม่สมบูรณ์ โดยกริยาสมบูรณ์เน้นที่ผลของการกระทำกริยาตัวนั้นๆ ได้แก่ прочитать หมายถึง อ่าน (จบแล้ว)

ประโยคตัวอย่าง

Я прочитал эту книгу. (ฉันอ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว)

ส่วนกริยาไม่สมบูรณ์เน้นที่ขั้นตอนของการกระทำกริยาตัวนั้นๆ ได้แก่ читать หมายถึง อ่าน

ประโยคตัวอย่าง

Я читаю эту книгу. ฉันกำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่ (เริ่มอ่านแล้ว และ ยังอ่านไม่จบเล่ม)


อนึ่ง กาลของกริยาสมบูรณ์มีเพียง 2 กาล คือ อดีต และ อนาคต ต่างจากกริยาไม่สมบูรณ์ ที่มี อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต (กาลอนาคตใช้ กริยา быть มาขยายข้างหน้ากริยารูป infinitive โดยผันกริยา быть ตามประธาน กาลปัจจุบัน (เช่น Я буду, ты будешь...они будут)

การก

ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการผันคำนามและคุณศัพท์ตามการกหรือหน้าที่ของคำในประโยคนั้นๆ ภาษารัสเซียมีหกการก ดังนี้

  • กรรตุการก (Именительный падеж: Nominative case)ใช้เป็นประธาน หรือผู้กระทำ
  • สัมพันธการก (Родительный падеж: Genitive case)ใช้แสดงความเป็นเจ้าของ ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนหรือสิ่งของกับคน
  • สัมปทานการก (Дательный падеж: Dative case)ใช้เป็นกรรมรอง เช่นได้รับของ ได้รับความช่วยเหลือ ได้รับคำแนะนำ
  • กรรมการก (Винительный падеж: Accusative case)ใช้เป็นกรรมตรง หรือผู้ถูกกระทำ
  • กรณการก (Творительный падеж: Instrumental case)ใช้เป็นตัวช่วย เป็นเครื่องมือ
  • อธิกรณการก (Предложный падеж: Prepositional case)ใช้แสดงตำแหน่ง หรือสถานที่

หมายเหตุ

  1. ประวัติของการใช้คำว่า "русский" ("russkiy") และ "российский" ("rossiyskiy") ในฐานะคำคุณศัพท์ภาษารัสเซียที่หมายถึง "เกี่ยวกับรัสเซีย" ดู: Oleg Trubachyov. 2005. Русский – Российский. История, динамика, идеология двух атрибутов нации (pp. 216–227). В поисках единства. Взгляд филолога на проблему истоков Руси., 2005. РУССКИЙ - РОССИЙСКИЙ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2014. สืบค้นเมื่อ 25 January 2014.. ส่วนการเปลี่ยนแปลงชื่อเรียกภาษารัสเซียในภาษารัสเซียในคริสต์ทศวรรษ 1830 และสาเหตุ ดู: Tomasz Kamusella. 2012. The Change of the Name of the Russian Language in Russian from Rossiiskii to Russkii: Did Politics Have Anything to Do with It? (pp. 73–96). Acta Slavica Iaponica. Vol 32, "The Change of the Name of the Russian Language in Russian from Rossiiskii to Russkii: Did Politics Have Anything to Do with It?" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2013. สืบค้นเมื่อ 7 January 2013.
  2. สถานะของไครเมียและเมืองเซวัสโตปอลอยู่ภายใต้ข้อพิพาทระหว่างรัสเซียกับยูเครนตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 ประเทศยูเครนและประชาคมระหว่างประเทศส่วนใหญ่ถือว่าไครเมียเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองของยูเครนและถือว่าเซวัสโตปอลเป็นหนึ่งในเมืองที่มีสถานะพิเศษของยูเครน ส่วนประเทศรัสเซียถือว่าไครเมียเป็นหน่วยองค์ประกอบของประเทศรัสเซียและถือว่าเซวัสโตปอลเป็นหนึ่งในสามเมืองสหพันธ์ของรัสเซีย

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ภาษารัสเซีย at Ethnologue (26th ed., 2023) Closed access
  2. "Article 68. Constitution of the Russian Federation". Constitution.ru. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2013. สืบค้นเมื่อ 18 June 2013.
  3. "Article 17. Constitution of the Republic of Belarus". President.gov.by. 11 May 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2007. สืบค้นเมื่อ 18 June 2013.
  4. Nazarbaev, N. (4 December 2005). "Article 7. Constitution of the Republic of Kazakhstan". Constcouncil.kz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2007. สืบค้นเมื่อ 18 June 2013.
  5. "Официальный сайт Правительства КР". Gov.kg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2012. สืบค้นเมื่อ 16 February 2020.
  6. "КОНСТИТУЦИЯ РЕСПУБЛИКИ ТАДЖИКИСТАН". prokuratura.tj. Parliament of Tajikistan. สืบค้นเมื่อ 9 January 2020.
  7. Юрий Подпоренко (2001). "Бесправен, но востребован. Русский язык в Узбекистане". Дружба Народов. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2016. สืบค้นเมื่อ 27 May 2016.
  8. Шухрат Хуррамов (11 September 2015). "Почему русский язык нужен узбекам?". 365info.kz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 May 2016.
  9. Евгений Абдуллаев (2009). "Русский язык: жизнь после смерти. Язык, политика и общество в современном Узбекистане". Неприкосновенный запас. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2016. สืบค้นเมื่อ 27 May 2016.
  10. "Article 16. Legal code of Gagauzia (Gagauz-Yeri)". Gagauzia.md. 5 August 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2013. สืบค้นเมื่อ 18 June 2013.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 Abkhazia and South Ossetia are only partially recognized countries
  12. "Конституция Республики Абхазия". 18 January 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2009. สืบค้นเมื่อ 16 February 2020.
  13. "Russian Language To Get Official Status In Nagorno-Karabakh". RFERL. Radio Free Europe/Radio Liberty. สืบค้นเมื่อ 26 March 2021.
  14. "КОНСТИТУЦИЯ РЕСПУБЛИКИ ЮЖНАЯ ОСЕТИЯ" [CONSTITUTION OF THE REPUBLIC OF SOUTH OSSETIA]. 11 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2009. สืบค้นเมื่อ 5 April 2021.
  15. Парламент ЛНР признал русский язык единственным государственным в республике [LPR legislature adopted Russian language as the sole state language of the republic] (ภาษารัสเซีย). Interfax. 3 June 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-06-05.
  16. Русский признали в ДНР единственным государственным языком [Russian language became the sole state language in the DPR]. Российская газета (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
  17. "Charter of Organization for democracy and economic development". GUAM. 22 April 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016.
  18. "Romania : Languages of Romania". Ethnologue.com. 1999-02-19. สืบค้นเมื่อ 2016-01-28.
  19. 19.0 19.1 19.2 "List of declarations made with respect to treaty No. 148 (Status as of: 21/9/2011)". Council of Europe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 May 2012.
  20. "National Minorities Policy of the Government of the Czech Republic". Vlada.cz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2012. สืบค้นเมื่อ 22 May 2012.
  21. "At home Latvian is spoken by 62% of Latvian population; the majority – in Vidzeme and Lubāna county". Central Statistical Bureau of Latvia. 26 August 2013.
  22. "Președintele CCM: Constituția nu conferă limbii ruse un statut deosebit de cel al altor limbi minoritare". Deschide.md. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.
  23. Русский язык в Монголии стал обязательным [Russian language has become compulsory in Mongolia] (ภาษารัสเซีย). New Region. 21 September 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2008. สืบค้นเมื่อ 16 May 2009.
  24. Article 10 เก็บถาวร พฤษภาคม 21, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of the Constitution says: "The state language of Ukraine is the Ukrainian language. The State ensures the comprehensive development and functioning of the Ukrainian language in all spheres of social life throughout the entire territory of Ukraine. In Ukraine, the free development, use and protection of Russian, and other languages of national minorities of Ukraine, is guaranteed."
  25. "Russian Language Institute". Ruslang.ru. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2010. สืบค้นเมื่อ 16 May 2010.
  26. "Russian Language Enjoying a Boost in Post-Soviet States". Gallup.com. 1 August 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2010. สืบค้นเมื่อ 16 May 2010.
  27. Арефьев, Александр (2006). Падение статуса русского языка на постсоветском пространстве. Демоскоп Weekly (ภาษารัสเซีย) (251). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2013.
  28. Constitution and Fundamental Law of the Union of Soviet Socialist Republics, 1977: Section II, Chapter 6, Article 36
  29. "Russian: Eurasia's Most Geographically Widespread Language". Day Translations Blog. 4 August 2014.
  30. "Russian". Ethnologue. สืบค้นเมื่อ August 10, 2020.
  31. "The World's Most Widely Spoken Languages". Saint Ignatius High School. Cleveland, Ohio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2011. สืบค้นเมื่อ 17 February 2012.
  32. "Usage Statistics and Market Share of Content Languages for Websites, February 2020". w3techs.com. สืบค้นเมื่อ 16 February 2020.
  33. Timberlake 2004, p. 17.

ข้อมูล

แหล่งข้อมูลอื่น

Read other articles:

Tom yum goong RESEP BUMBU TOM YAM Tom yam (bahasa Thai: ต้มยำ, IPA: [tôm jām], inggris : tom yum) adalah sup yang berasal dari Thailand. Sup ini merupakan salah satu makanan Thailand yang terkenal. Di Thailand, tom yam biasanya dibuat dengan udang (tom yum goong), ayam (tom yum gai), ikan (tom yum pla), atau makanan laut yang dicampur (tom yum talay atau tom yum po taek) dan jamur. Pranala luar Resep Tom Yam Diarsipkan 2012-01-12 di Wayback Machine.Tom Yum asli Thailand ...

 

  ميّز عن أسد الله بيات زنجاني. أسد الله الزنجاني (بالأذرية: Əsədulla Zəncani)‏  معلومات شخصية الميلاد 4 فبراير 1866  زنجان  الوفاة 7 أكتوبر 1935 (69 سنة)   النجف  مكان الدفن العتبة العلوية  مواطنة الدولة القاجارية الانتداب البريطاني على العراق المملكة العراقية  الح

 

هذه المقالة يتيمة إذ تصل إليها مقالات أخرى قليلة جدًا. فضلًا، ساعد بإضافة وصلة إليها في مقالات متعلقة بها. (فبراير 2017) خورخي سميث معلومات شخصية الميلاد 1740ترنتون (نيوجيرسي)  الوفاة 29 أغسطس 1807ترنتون (نيوجيرسي)  الجنسية الولايات المتحدة الأمريكية مناصب الحياة العملية الم...

The New Janitoradegan dari filmSutradara Charlie Chaplin Produser Mack Sennett Ditulis olehPemeran Charles Chaplin Jess Dandy John T. Dillon Al St. John SinematograferFrank D. WilliamsPerusahaanproduksiKeystone StudiosDistributorMutual FilmTanggal rilis 24 September 1914 (1914-09-24) Durasi16 menitNegara Amerika Serikat BahasaFilm bisu dengan antar judul Inggris Film lengkap The New Janitor adalah film komedi ke-27 dari Keystone Studios yang menampilkan Charlie Chaplin. Film tersebut dia...

 

Alan Dzagoev Berseragam CSKA pada 2011Informasi pribadiNama lengkap Alan Yelizbarovich DzagoevTanggal lahir 17 Juni 1990 (umur 33)Tempat lahir Beslan, Uni SovietTinggi 1,79 m (5 ft 10+1⁄2 in)Posisi bermain GelandangInformasi klubKlub saat ini CSKA MoscowNomor 10Karier junior2000–2005 Yunost Vladikavkaz2005 Konoplyov AcademyKarier senior*Tahun Tim Tampil (Gol)2006–2007 Krylia Sovetov-SOK 37 (6)2008– CSKA Moscow 102 (26)Tim nasional‡2008– Rusia 18 (4) * Penam...

 

201 Pulogadung Halte TransjakartaTampak luar Halte Transjakarta Pulogadung setelah direvitalisasiLetakKotaJakarta TimurDesa/kelurahanPulogadung, PulogadungKodepos13260AlamatTerminal PulogadungKoordinat6°11′00″S 106°54′32″E / 6.183291°S 106.909009°E / -6.183291; 106.909009Koordinat: 6°11′00″S 106°54′32″E / 6.183291°S 106.909009°E / -6.183291; 106.909009Desain HalteStruktur BRT, median jalan bebas 1 tengah Pintu masukM...

Superliga słowacka 2009/2010Corgoň liga 2008/2009 2010/2011 Szczegóły Państwo  Słowacja Termin 2009–2010 Liczba meczów 198 Liczba stadionów 13[1] (w 12[1] miejscowościach) Zwycięzca MŠK Žilina Król strzelców Róbert Rák (18) W sezonie 2009/2010 rozegrano 17. edycję najwyższej klasy rozgrywkowej piłki nożnej na Słowacji (po podziale Czechosłowacji), znanej pod sponsorską nazwą Corgoň liga. Tytułu mistrzowskiego bronił Slovan Bratysława. Zespoły DDSDBBNITSENDU...

 

Hardline nationalist political movement in Russia Club of Angry Patriots Клуб рассерженных патриотовAbbreviationKRPLeaderIgor StrelkovChairmanPavel GubarevFoundersIgor StrelkovPavel GubarevMaxim KalashnikovViktor AlksnisYevgeny MikhailovMikhail AkselFounded1 April 2023 (2023-04-01)Preceded byAll-Russian National MovementIdeologyRussian nationalism[1]MilitarismJingoismColours  Black  Gold  WhiteSloganEverything for the front, ...

 

This article includes a list of references, related reading, or external links, but its sources remain unclear because it lacks inline citations. Please help to improve this article by introducing more precise citations. (November 2017) (Learn how and when to remove this template message) Qatar Basketball FederationAbbreviationQBFFormation1964; 59 years ago (1964)LocationDoha, QatarPresidentMohammed Saad AlmeghaiseebSecretary GeneralSaadoun AlkuwariAffiliationsFIBAFIBA AsiaQ...

Paok bidadari Status konservasi Rentan (IUCN 3.1)[1] Klasifikasi ilmiah Kerajaan: Animalia Filum: Chordata Kelas: Aves Ordo: Passeriformes Famili: Pittidae Genus: Pitta Spesies: P. nympha Nama binomial Pitta nymphaTemminck & Schlegel, 1850 Paok bidadari (Pitta nympha) adalah spesies burung paok dalam famili Pittidae. Burung ini berbiak di Jepang, Korea, dan China timur. Pada musim dingin pindah keselatan sampai China selatan, Indocina, dan Kalimantan. Paok bidadari menuj...

 

Charles H. Turpin (died 1935) was a constable[1] filmmaker, theater owner, and judge in St. Louis, Missouri.[2][3] In 1910, he became the first African American elected to city-wide office in St. Louis.[1][4] A legal dispute contested his estate.[2] He was born in Ohio and moved with his family to Mississippi for a few years as a child.[5] Tom Turpin, a musician and ragtime composer, was his brother. Saloon owner and businessman John L. ...

 

قرية المطايبة  - قرية -  تقسيم إداري البلد  اليمن المحافظة محافظة حجة المديرية مديرية أسلم العزلة عزلة أسلم الوسط السكان التعداد السكاني 2004 السكان 110   • الذكور 53   • الإناث 57   • عدد الأسر 22   • عدد المساكن 22 معلومات أخرى التوقيت توقيت اليمن (+3 غرينيتش) ...

Guagua longganisaAlternative namesCandaba longganisaCourseSausagePlace of originPhilippinesRegion or stateGuagua, PampangaMain ingredientspork Guagua longganisa, also known as Candaba longganisa, is a Filipino pork sausage originating from the towns of Guagua and Candaba, Pampanga. It is a type of de recado longganisa characterized by its salty and sour taste because of its heavier use of vinegar in comparison to other Filipino sausages.[1][2][3] See also Pampanga long...

 

Artikel ini sebatang kara, artinya tidak ada artikel lain yang memiliki pranala balik ke halaman ini.Bantulah menambah pranala ke artikel ini dari artikel yang berhubungan atau coba peralatan pencari pranala.Tag ini diberikan pada November 2020. Santa Katarina Labouré, D.C.Kesusteran Karitas, visioner MariaLahir(1806-05-02)2 Mei 1806Fain-lès-Moutiers, Côte-d'Or, PrancisMeninggal31 Desember 1876(1876-12-31) (umur 70)Enghien-les-Bains, Seine-et-Oise, PrancisDihormati diKatolik RomaBeati...

 

Hospital in Ontario, CanadaQueensway Carleton HospitalGeographyLocation3045 Baseline Road, Ottawa, Ontario, CanadaCoordinates45°20′5.35″N 75°48′27.61″W / 45.3348194°N 75.8076694°W / 45.3348194; -75.8076694OrganizationCare systemPublic Medicare (Canada) (OHIP)FundingPublic hospitalTypeGeneralServicesEmergency departmentYesBeds355HelipadNoHistoryOpened1976LinksWebsitewww.qch.on.caListsHospitals in Canada Queensway Carleton Hospital (QCH) is a 355-bed hospital...

Transmigrasi (dari bahasa Belanda: transmigratie) adalah suatu program yang dibuat oleh pemerintah Indonesia untuk memindahkan penduduk dari suatu daerah yang padat penduduk (kota) ke daerah lain (desa) di dalam wilayah Indonesia. Penduduk yang melakukan transmigrasi disebut Transmigran. Sejarah transmigrasi di Indonesia Tujuan resmi program ini adalah untuk mengurangi kemiskinan dan kepadatan penduduk di pulau Jawa [1][pranala nonaktif permanen], memberikan kesempatan bagi orang yang...

 

Ice cream brand D'OnofrioD'Onofrio ice cream carts (with theD'Onofrio/Nestlé logo) pictured in 2009TypeSubsidiaryIndustryFoodFounded1897; 126 years ago (1897)FounderPedro D'OnofrioFateAcquired by Nestlé in 1997HeadquartersLima, PeruArea servedPeruProductsIce cream, chocolate, candyParentNestlé D'Onofrio is a Peruvian brand and business dedicated primarily to the sale of confectionery products. It was founded in 1897 by Pietro D'Onofrio. The company and its brand currently...

 

Untuk minyak mentah yang ditemukan dalam deposit geologi, lihat Minyak bumi. Minyak mineral dalam botol yang dijual di A.S. Minyak mineral atau minyak parafin adalah berbagai campuran ringan tak berwarna dan tak berbau dari alkana tinggi [en] yang berasal dari sumber mineral, terutama distilat minyak bumi.[1] Nama minyak mineral itu sendiri kurang tepat, tetapi telah digunakan untuk banyak minyak khusus selama beberapa abad. Nama lainnya juga kurang tepat, termasuk minyak...

Italian painter Bartolomeo Nazari, self-portrait Bartolomeo Nazari (31 May 1693 – 24 August 1758) was an Italian painter of the late-Baroque, mainly active in Venice as a portraitist. Biography Born in Clusone, near Bergamo. By 1716, he had become an apprentice under Angelo Trevisani, but visited in 1723 the Roman studio of Angelo's brother, the Venetian Francesco Trevisani, and then also studied with Benedetto Luti. Nazari likely knew personally Fra Galgario, the renowned portraitist from ...

 

Mónaco en los Juegos Olímpicos Bandera de MónacoCódigo COI MONCON Comité Olímpico Monegasco(pág. web)Juegos Olímpicos de México 1968Deportistas 2 en 1 deportesMedallas 0 0 0 0 Historia olímpicaJuegos de verano 1920 • 1924 • 1928 • 1932 • 1936 • 1948 • 1952 • 1956 • 1960 • 1964 • 1968 • 1972 • 1976 • 1980 • 1984 • 19...

 

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!