พิมล ศรีวิกรม์

พิมล ศรีวิกรม์
กรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
13 กันยายน พ.ศ. 2566
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
ประธานเศรษฐา ทวีสิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 เมษายน พ.ศ. 2507 (60 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิมล ศรีวิกรม์ (เกิด 14 เมษายน พ.ศ. 2507) อดีตที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน) กรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ, นายกสมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย,รองประธานสหพันธ์เทควันโดโลก,กรรมการโรงเรียนศรีวิกรม์, ประธานที่ปรึกษานโยบายด้านกีฬา พรรคเพื่อไทย, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, อดีตรองโฆษกพรรคไทยรักไทย และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย

ประวัติ

พิมล ศรีวิกรม์ เกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2507 เป็นลูกชายของนายเฉลิมพันธ์ และคุณหญิงศศิมา ศรีวิกรม์ ที่มีรากฐานทางธุรกิจ ทางการเมืองมั่นคงครอบครัวหนึ่ง เริ่มตั้งแต่คุณพ่อของเขาที่เป็นนักการเมือง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และลาออกมาตั้งกลุ่ม "10 มกราฯ" ปี 2530 ช่วงปลายรัฐบาลพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

ส่วนคุณแม่ของผศ.พิมล ถือเป็นแม่บ้าน ที่คอยสนับสนุนทางการเมือง มีธุรกิจโรงเรียนศรีวิกรม์ สอนตั้งแต่ระดับประถม มัธยม และเปิดสอน ถึงระดับการบริหารธุรกิจ รวมทั้งธุรกิจโรงแรม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และบริษัทต่างๆมากมาย แต่การดำเนินบริษัทมาถึง ปี 2540 ก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ลดค่าเงินบาท ทำให้ธุรกิจครอบครัว ได้รับผลกระทบสาหัส

ผศ.พิมล ทายาทตระกูลศรีวิกรม์ ได้ก้าวเข้าสู่การเมือง เป็นเลขาส่วนตัว ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ครั้งแรก เมื่อพรรคไทยรักไทยลงเลือกตั้งปี 2544 และตัวผศ.พิมลเอง ลงเลือกตั้งในนามส.ส.เขต เมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 พรรคไทยรักไทย เขต 18 กรุงเทพมหานคร ได้คะแนนเสียง 3,151 คะแนน ไม่ลงคะแนนเสียง 3,234 บัตรเสีย 164

ผศ.พิมล ถือว่าเป็นนักการเมืองหนุ่มวัยแรงคนหนึ่ง หลังจากติดตาม ดร.สมคิด ทำให้ตัวเขาได้บ่มเพาะวิชาความรู้ทั้งที่เรียนมา และการถ่ายถอดงานทางการเมืองมาจากผู้เป็นพ่อ และมาจากการร่วมงานการเมืองเคียงข้าง ดร.สมคิด มานานหลายปี

หลังจากช่วงรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ผศ.พิมล ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[1] และได้เข้าไปช่วย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ก่อตั้งกลุ่มธรรมาธิปไตย และภายหลังได้เข้าร่วมกลุ่มกับนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ตั้งเป็นพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย และได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานที่ปรึกษานโยบายด้านกีฬาของพรรค[2] หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งเขาเป็นกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ[3]

การศึกษา

ประสบการณ์

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ส.ส.เขต พรรคไทยรักไทย กรุงเทพมหานคร ปี 2544 และ 2548
  • นายกสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย
  • ที่ปรึกษา รมช.กระทรวงพานิชย์ 2538-2539
  • รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง 2546-2547
  • เลขานุการ รมว.กระทรวงการคลัง(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) 2547

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  2. "เลือกตั้ง66: เพื่อไทยมอบ พิมล ศรีวิกรม์ ผลักดันนโยบายกีฬาสร้างรายได้". posttoday. 2023-03-10.
  3. "เชฟชุมพล – นิค จีนี่ – ดวงฤทธิ์ นั่งกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ ดึง 'หมอเลี้ยบ' เป็นกรรมการและเลขานุการ" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-09-13.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!