พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวุฒิอาภรณ์

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวุฒิอาภรณ์
พระราชวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ23 เมษายน พ.ศ. 2416
สิ้นพระชนม์26 ธันวาคม พ.ศ. 2485 (69 ปี)
พระบุตร9 องค์
ราชสกุลวรวุฒิ
ราชวงศ์จักรี
พระบิดากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
พระมารดาจอมมารดาป้อม

เรือโท พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวุฒิอาภรณ์ราชกุมาร[1] (23 เมษายน พ.ศ. 2416 — 26 ธันวาคม พ.ศ. 2485) เป็นพระโอรสอันดับที่ 15 ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นต้นราชสกุล วรวุฒิ[2]

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวุฒิอาภรณ์ราชกุมาร
รับใช้ราชนาวีไทย
ชั้นยศ เรือโท

พระประวัติ

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวุฒิอาภรณ์ราชกุมาร เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 15 ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประสูติแต่จอมมารดาป้อม (ธิดาพระยาพระราม (แสง) และท่านปุก) เมื่อวันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2416 ทรงศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ

พระองค์ได้เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์หญิงพร้อม วรวุฒิ ราชสกุลเดิม ฉัตรกุล

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2429 ได้ผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระราชพงษ์ปฏิพัทธ (หม่อมราชวงศ์ล้น ญาณวโร) เป็นพระศีลาจารย์[3]

ต่อมาทรงเข้ารับราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่กรมศึกษาธิการ ต่อมาทรงย้ายไปกระทรวงยุติธรรม เป็นรองผู้พิพากษาศาลโปริสภา (ตลาดน้อย) และกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ เมื่อปี พ.ศ. 2446

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็นนายเรือโท[4] ให้รับราชการในกองประวัติศาสตร์ กระทรวงทหารเรือ จนกระทั่งเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2471

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวุฒิอาภรณ์ ประชวรด้วยพระโรคอัมพาต ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 พระอาการกำเริบมากขึ้นจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ที่วังตรอกโรงไหม (ปัจจุบันคือ โรงเรียนข่าวทหารบก) สิริพระชันษา 69 ปี

พระโอรส พระธิดา

  1. หม่อมเจ้าวรพัฒนาภรณ์ วรวุฒิ (ประสูติปี พ.ศ. 2434) เสกสมรสกับหม่อมทุเรียน มีโอรสธิดา 3 คน คือ
    1. หม่อมราชวงศ์พัฒน์ วรวุฒิ
    2. หม่อมราชวงศ์หญิงทิพย์อาภรณ์ วรวุฒิ
    3. หม่อมราชวงศ์สงวนศักดิ์ วรวุฒิ
  2. หม่อมเจ้าสาธรวรบุตร วรวุฒิ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441)
  3. หม่อมเจ้าหญิงศิริสุทนารี วรวุฒิ
  4. หม่อมเจ้าทวีกิติวงษ์ วรวุฒิ
    1. หม่อมราชวงศ์อัครัฐ วรวุฒิ
  5. หม่อมเจ้าวรพงษ์ทัศนา วรวุฒิ (7 สิงหาคม พ.ศ. 2445 — 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 (พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509)) เสกสมรสกับหม่อมบุญเทียบ มีโอรสธิดากับหม่อมบุญเทียบ 4 คน และ มีโอรสธิดากับหม่อมอื่น ๆ อีก 6 คน รวมเป็น 10 คน คือ
    1. หม่อมราชวงศ์แสงอาภรณ์ วรวุฒิ (หม่อมบุญเทียบเป็นมารดา)
    2. หม่อมราชวงศ์พรพุฒิ วรวุฒิ (หม่อมบุญเทียบเป็นมารดา)
    3. ศาสตราจารย์ ดร. หม่อมราชวงศ์พุฒิพงศ์ วรวุฒิ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ร.จ.พ. (หม่อมบุญเทียบเป็นมารดา)
    4. หม่อมราชวงศ์กนกทัณฑ์ วรวุฒิ (หม่อมบุญเทียบเป็นมารดา)
    5. หม่อมราชวงศ์หญิงมณฑลี วรวุฒิ
    6. หม่อมราชวงศ์หญิงพัชรี วรวุฒิ
    7. หม่อมราชวงศ์อภิชาติ วรวุฒิ
    8. หม่อมราชวงศ์เกรียงศักดิ์ วรวุฒิ
    9. หม่อมราชวงศ์เริงคนอง วรวุฒิ
    10. หม่อมราชวงศ์คคนาง วรวุฒิ
  6. หม่อมเจ้าพิทยากรพันธ์ วรวุฒิ เสกสมรสกับหม่อมสถาพร มีโอรส 1 คน คือ
    1. หม่อมราชวงศ์สริพงษ์ วรวุฒิ
  7. ท่านหญิงศรีอัปษร หรือ ท่านหญิงศรีสุวรรณอัปษร ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เพื่อทำการสมรสกับสามัญชน
  8. หม่อมเจ้าหญิงสุนทรทิดา วรวุฒิ (ประสูติ 15 กันยายน พ.ศ. 2456)
  9. หม่อมเจ้าหญิงยุพาพิมล วรวุฒิ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • พ.ศ. 2452 - เข็มพระชนมายุสมมงคล ชั้น 3 (เงิน)[6]

พระยศ

พระยศทหาร

  • เรือโท

พระยศเสือป่า

  • นายหมวดตรี[7]

พงศาวลี

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. ราชสกุลวงศ์, หน้า 141
  2. "ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๗๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ง): 2115. 20 ตุลาคม 2460. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "การทรงผนวช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 3 (16 ง): 125–8. 15 สิงหาคม 2429. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. พระราชทานยศทหารเรือ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 40 หน้า 4515 วันที่ 23 มีนาคม 2466
  5. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญราชรุจิ
  6. พระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 26 หน้า 2633 วันที่ 6 มีนาคม 128
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/D/3071.PDF
บรรณานุกรม

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!