พระยามงคลยศประเทศราช

เจ้ามงคลวรยศ
พระยาน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน
องค์ที่ 56 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
ราชาภิเษก2 เมษายน พ.ศ. 2326
ครองราชย์2 เมษายน พ.ศ. 2326 - 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2329
รัชกาล2 ปี 10 เดือน 1 วัน
ก่อนหน้าพระเจ้าวิธูรราชา
ถัดไปสมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ
ประสูติเมืองเชียงใหม่
พิราลัยเมืองน่าน
พระชายา2 องค์
พระราชบุตร4 พระองค์
พระนามเต็ม
พระยามงคลวรยศประเทศราช เจ้านครเมืองน่าน
พระนามเดิม
เจ้าจันทปโชต
ราชสกุลวรยศ [1]
ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
พระบิดาพระเจ้าอริยวงษ์
พระมารดาแม่เจ้าเมืองเชียงใหม่อรรคราชเทวี

พระยามงคลยศประเทศราช หรือ พระยามงคลวรยศ[2]ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 56 และองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ มีพระนามเดิมว่า “เจ้าจันทปโชติ” เป็นราชโอรส ในเจ้าอริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 52 ประสูติแม่เจ้าเมืองเชียงใหม่อัครเทวี และทรงเป็นพระนัดดาในพระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 51 และปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ทรงครองเมืองน่าน ระหว่างปี พ.ศ. 2326 - พ.ศ. 2329

พระประวัติ

พระยามงคลยศประเทศราช หรือพระนามเดิม เจ้าจันทปโชต เป็นโอรสในเจ้าอริยวงษ์ ประสูติแต่ แม่เจ้าเมืองเชียงใหม่

พระยามงคลยศประเทศราช มีพระอนุชา และพระขนิษฐา ร่วมเจ้ามารดา รวม 5 พระองค์

  1. พระยามงคลยศประเทศราช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 56
  2. เจ้าวิธูร เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 55
  3. เจ้าเทพินทร์
  4. เจ้าน้อยตู๊ย
  5. เจ้ามหาวงษ์

ราชโอรส ราชธิดา

เจ้าพระยามงคลวรยศประเทศราช ทรงมีพระชายา 2 พระองค์ ราชโอรส และราชธิดา 5 พระองค์ ดังนี้

  • พระชายาที่ 1 แม่เจ้าเมืองเทิงอัครเทวี ประสูติราชโอรสและราชธิดา 3 พระองค์
  1. เจ้านางเกี๋ยงคํา
  2. เจ้าหนานปินตา (บ้านฝายแก้ว)
  3. เจ้านางบัวแก้ว เสกสมรสกับ พระเจ้าดวงทิพย์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร มีพระโอรส 1 องค์ คือ เจ้าพรหมาภิพงษธาดา เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร และพระธิดา 1 องค์ คือ เจ้านางคำหล้า ผู้เป็นพระมารดาใน พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร
  • พระชายาที่ 2 แม่เจ้านางเทวี ประสูติราชโอรสและราชธิดา 2 พระองค์
  1. เจ้าคำตัน
  2. เจ้านางเมืองเทิง

อิสริยยศ

ในช่วง พ.ศ. 2297- 2327 หัวเมืองล้านนาต่าง ๆ พยายามแข็งข้อต่อพม่า มีการสู้รบกันตลอดมา สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช สามารถโจมตีขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2317 แต่เมือง น่านยังตกอยู่ในฝ่ายพม่า เจ้าหลวงวิธูร เจ้าเมืองน่านถูกจับและถูกคุมตัวส่งไปยังกรุงธนบุรี (พ.ศ. 2321) เมืองน่านจึงไม่มีเจ้าผู้ครองนคร พม่าได้โอกาศจึงยกทัพเข้ามากวาดต้อนผู้คนในเมืองน่านไปอยู่ที่เชียงแสน ทำให้เมืองน่านถูกทิ้งร้างว่างเปล่า จนกระทั่งปี พ.ศ. 2326 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงแต่งตั้งให้เจ้าหนานจันทปโชติ โอรสในเจ้าหลวงอริยวงศ์ ที่รับราชการมาจนเป็นที่โปรดปราน ขึ้นเป็นพระยามงคลยศประเทศราช และให้กลับขึ้นมาครองเมืองน่าน เจ้ามงคลวรยศจึงไปตั้งมั่นอยู่ที่บ้านท่าปลา (เขตนครน่าน ในอดีต) ฝ่ายพม่าได้แต่งตั้งให้เจ้าอัตถวรปัญโญ นัดดาของเจ้ามงคลวรยศเป็นเจ้าเมืองน่าน ในปีต่อมาเช่นกัน โดยไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองเทิง (เขตนครน่าน ในอดีต) ส่วนเจ้าสมณะ อนุชาเจ้ามงคลวรยศ ไปตั้งอยู่ที่เวียงสา และในปี พ.ศ. 2329 เจ้าพระยามงคลยศประเทศราช ก็ได้ยกบ้านเมือง นครน่านให้เจ้าอัตถวรปัญโญ ปกครองสืบไป

สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม

  1. วัดมงคล ตั้งอยู่ เลขที่ 5 บ้านมงคล ถนนมหาวงศ์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

ประวัติความเป็นมาของวัด

 วัดมงคล สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2329 โดยสมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 (ครองราชย์ พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2353 (24 ปี) เพื่อถวายเป็นอนุสรณ์สถานเฉลิมพระเกียรติแด่พระเจ้าลุงของพระองค์ท่าน คือ พระเจ้ามงคลวรยศ หรือ เจ้าหลวงจันทประโชติ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 56 (ครองราชย์ พ.ศ. 2326 - พ.ศ. 2329 (3 ปี) โดยพระองค์ได้พระราชทานนามว่า "วัดมงคล"

ราชตระกูล

อ้างอิง

ดูเพิ่ม


ก่อนหน้า พระยามงคลยศประเทศราช ถัดไป
พระเจ้าวิธูร เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 56
และองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์

(พ.ศ. 2326 - พ.ศ. 2329)
สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!