เจ้าอริยวงษ์

เจ้าอริยวงษ์
เจ้าฟ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน
องค์ที่ 52 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
ราชาภิเษก30 กันยายน พ.ศ. 2297[1]
ครองราชย์30 กันยายน พ.ศ. 2297 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2311
รัชกาล14 ปี 4 วัน
ก่อนหน้าพระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์
ถัดไปพระเจ้านายอ้าย
ประสูติเมืองเชียงใหม่
พิราลัย10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2324[2]
กรุงธนบุรี
พระมเหสีแม่เจ้าเมืองเชียงใหม่อรรคราชเทวี
พระชายาแม่เจ้าเมืองรามราชเทวี[3]
พระราชบุตร8 พระองค์
พระนามเต็ม
เจ้าอริยวงษ์ เจ้าเมืองน่าน
ราชสกุลไชยวงศ์หวั่นท๊อก
ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
พระบิดาพระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์
พระมารดาแม่เจ้าเมืองเชียงใหม่อรรคราชเทวี[4]

เจ้าอริยวงษ์ หรือ เจ้าหลวงอริยวงษ์ [5]ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 52 และองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ครองนครน่าน ระหว่างปี พ.ศ. 2297 - พ.ศ. 2311 และได้สละราชย์สมบัตินครน่านยกมอบให้แก่ เจ้านายอ้าย ผู้เป็นพระภาติยะขึ้นเสวยราชย์สมบัติสืบต่อไป เมื่อปี พ.ศ. 2311

พระประวัติ

เจ้าอริยวงษ์ เป็นพระโอรสในพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ ประสูติแต่แม่เจ้าเมืองเชียงใหม่ ครองราชในปี พ.ศ. 2297 สืบต่อจากพระบิดาเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 2 ในราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ มีอนุชา และขนิษฐา ร่วมแม่เจ้ามารดา 4 พระองค์

และได้สละราชสมบัติ ให้เจ้านายอ้าย ผู้เป็นพระนัดดา (หลาน) ให้ครองเมืองน่านสืบต่อไป ในวันอังคาร ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2311 หรือ (เดือน 10 ลง 8 ค่ำ จ.ศ. 1130)[6]

พระชายา พระโอรส/ธิดา

เจ้าอริยวงษ์ มีพระชายา 2 องค์ และพระโอรส 9 พระองค์ มีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้

ชายาองค์ที่ 1 แม่เจ้าเมืองเชียงใหม่อรรคราชเทวี ประสูติพระโอรส 5 พระองค์ ดังนี้

  1. เจ้าจันทปโชต[7] ภายหลังเป็น พระเจ้ามงคลวรยศ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 56
  2. เจ้าวิธูร ภายหลังเป็น พระเจ้าวิธูรราชา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 55
  3. เจ้าเทพินทร์
  4. เจ้าน้อยตุ้ย
  5. เจ้ามหาวงษ์

ชายาองค์ที่ 2 แม่เจ้าเมืองรามราชเทวี ประสูติพระโอรส 3 พระองค์ ดังนี้

  1. เจ้าขวา ภายหลังเป็น เจ้าพระยาจางวางขวา เมืองน่าน
  2. เจ้าซ้าย ภายหลังเป็น เจ้าพระยาจางวางซ้าย เมืองน่าน
  3. เจ้าสมณะ ภายหลังเป็น พระเจ้าสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 58

กรณียกิจ

  • พ.ศ. 2303 พระเจ้ามังลอกกษัตริย์พม่าได้ส่งอภัยคามินีเป็นแม่ทัพยกมาตีเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองอื่น ๆ เจ้าอริยวงศ์ เจ้าเมืองน่านต้องยอมอ่อนน้อมต่อพม่า เมื่อพม่าปราบปรามหัวเมืองล้านนาได้ราบคาบแล้ว จึงได้แต่งตั้งให้อภัยคามินีเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่[8]
  • พ.ศ. 2306 พระเจ้ามังระได้ครองราชย์เมืองอังวะ บรรดาท้าวพญาในหัวเมืองล้านนาได้กำลังสนับสนุน จากเมืองหลวงพระบางพากันแข็งเมือง พระเจ้ามังระให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพนำกำลังร่วมกับกองทัพของอภัยคามินี เจ้าเมืองเชียงใหม่ยกไปปราบปราม
  • พ.ศ. 2310 พม่ายกกองทัพไปตีกรุงศรีอยุธยา ได้มอบหมายให้อภัยคามินีระดมไพร่พลจาก หัวเมืองล้านนาเข้าร่วมศึกครั้งนี้ด้วย เจ้าอริยวงศ์ได้มอบหมายให้ เจ้านายอ้ายผู้เป็นนัดดา(หลาน)คุมกำลังจากเมืองน่านไปสมทบกับกองทัพพม่าด้วย
  • พ.ศ. 2311 ฮ่อยกกำลัง 90,000 คนไปตีเมืองอังวะ พระเจ้ามังระให้เจ้าอ้ายยกกำลังจากเมืองน่านไปช่วยรบจนฮ่อแตกกลับไป

สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม

  1. ถนนอริยวงษ์

ราชตระกูล

อ้างอิง

ก่อนหน้า เจ้าอริยวงษ์ ถัดไป
พระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 52
และองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์

(พ.ศ. 2297 - พ.ศ. 2311)
พระเจ้านายอ้าย

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!