เจ้าหลวงน้อยอินทร์ (ไทยถิ่นเหนือ: ) หรือ "พระยาน้อยอินท์" เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 8 และเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 3[2] เป็นราชบุตรของพระยาคำโสม องค์ที่ 3 เป็นพระอนุชาพระยาขัติยะ
พระประวัติ
เจ้าน้อยอินท์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าหลวงนครลำพูน เมื่อปี พ.ศ. 2370 สืบแทนพระเจ้านครลำพูนบุญมา ซึ่งถึงแก่พิราลัย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2381 เจ้าหลวงขัติยะ เจ้าผู้ครองนครลำปาง ถึงแก่พิราลัย รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหลวงน้อยอินทร์ ไปเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางในปีเดียวกัน
ในปี พ.ศ. 2391 เจ้ามหาวงศ์ (ภายหลังคือ พระยามโหตรประเทศ) และเจ้าไชยลังกา (ภายหลังคือ เจ้าหลวงไชยลังกาพิศาล) พร้อมกันมีใบบอกกล่าวโทษพระยานครลำปางน้อยอินท์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาน้อยอินท์ เดินทางมาเข้าเฝ้าที่กรุงเทพมหานคร[3]
ครั้นเดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ยังมิทันได้ชำระความ เจ้าหลวงน้อยอินทร์ ถึงแก่พิราลัยเมื่อเดือน 2 ศักราช 1210 ปีวอก ตรงกับ พ.ศ. 2391 รวมพระชนมายุ 70 พรรษา รวมเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน 11 ปี และครองนครลำปาง 10 ปี[4]
พระโอรส
พระยาน้อยอินท์ มีราชโอรสและราชธิดา 12 พระองค์ อาจจะมีราชเทวีและหม่อมหลายพระองค์ตามธรรมเนียมของเจ้าผู้ครองนคร
- เจ้าหนานปัญญา เจ้าราชวงศ์เมืองงาว
ราชตระกูล
อ้างอิง
ลำดับเจ้าผู้ครอง นครลำพูน ในฐานะประเทศราชและส่วนหนึ่งของสยาม เรียงตามปีพุทธศักราช |
---|
รายพระนาม | |
---|
รายพระนาม | |
---|
คำอธิบายสัญลักษณ์ | |
---|
ลำดับเจ้าผู้ครอง นครลำปาง ในฐานะประเทศราชและส่วนหนึ่งของสยาม เรียงตามปีพุทธศักราช |
---|
รายพระนาม | |
---|
รายพระนาม | |
---|
รายพระนาม | |
---|
คำอธิบายสัญลักษณ์ | |
---|