ต่อไปนี้คือ การตอบสนองต่อการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564
การตอบสนองภาครัฐ การคุกคามและจับกุม
บทวิเคราะห์พบว่าการตอบสนองของภาครัฐได้แก่การใช้กำลังและการคุกคาม การกักขังตามอำเภอใจ การจับกุมและตั้งข้อหา การเผยแพร่ความเท็จ การใช้หน่วยสงครามข่าวสาร (IO) การตรวจพิจารณาสื่อ การประวิงเวลา การขัดขวาง การสนับสนุนกลุ่มนิยมรัฐบาล และการเจรจา[ 1] ทั้งนี้ การมีอยู่ของหน่วยสงครามข่าวสารที่มีการรณรงค์ไซเบอร์ต่อผู้วิจารณ์รัฐบาลได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะในเดือนกุมภาพันธ์ 2563[ 2] กรมประชาสัมพันธ์ เปิดตัวคลิปโฆษณาชวนเชื่อโจมตีผู้ประท้วง[ 3]
ยุทธวิธีของทางการไทยประกอบด้วยคำสั่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อสั่งให้ขัดขวางการชุมนุมของนักศึกษา และรวบรวมชื่อแกนนำผู้ประท้วง การกล่าวหาว่าข้อเรียกร้องของนักศึกษาจะนำไปสู่ความรุนแรง บ้างมีการพาดพิงถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา และพฤษภาทมิฬ [ 4] มหาวิทยาลัยที่สั่งห้ามชุมนุมในพื้นที่ของตน เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีข่าวว่าตำรวจบางท้องที่ส่งจดหมายสั่งห้ามจัดการชุมนุมในสถานศึกษา[ 5] ต่อมาวันที่ 18 สิงหาคม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ออกประกาศอนุญาตให้นักเรียนจัดการชุมนุมในโรงเรียนรัฐได้โดยห้ามคนนอกเข้าร่วม[ 6] แต่ในปลายเดือนสิงหาคม มีรายงานว่ามีการกีดกันหรือคุกคามการแสดงออกทางการเมืองอย่างน้อย 109 กรณี[ 7]
ต้นเดือนสิงหาคม กลุ่มทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเปิดเผยว่ามียุทธวิธีคุกคามฝ่ายผู้ประท้วงของทางการ เช่น การติดตามหาข้อมูลถึงบ้าน การถ่ายภาพผู้ประท้วงและป้ายข้อความรายบุคคล การปิดกั้นพื้นที่ ฯลฯ[ 8] จนถึงเดือนตุลาคม 2563 มีผู้ถูกจับกุมอย่างน้อย 167 คน โดยมีการตั้งข้อหาหนักสุดคือปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง รวมทั้งมีการจับกุมเยาวชน 5 คนโดยไม่มีการตั้งข้อหา[ 8] [ 9] อ้างว่าทราบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนว่าถูกควบคุมตัวไปยังค่าย ตชด. แห่งหนึ่ง[ 10] ฝ่ายตำรวจอ้างว่าตรวจสอบแล้วไม่พบเหตุดังกล่าว และได้ออกหมายจับนายเวหา หรืออาร์ท แสนชนชนะศึก แอดมินของเพจดังกล่าว ข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ[ 9] ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกล่าวว่า หากผู้ประท้วงไม่อยากถูกจับ ให้ไปประท้วงที่ทุ่งกุลาร้องไห้ [ 11] ตำรวจยึดหนังสือคำปราศรัยของอานนท์ นำภา[ 12] มีผู้ถูกจับกุมอย่างน้อย 63 คนตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉินทั้งที่รัฐบาลอ้างว่าอนุญาตให้มีการชุมนุมภายใต้กฎหมายดังกล่าว [ 13] ผู้ที่ถูกตำรวจควบคุมตัวบางครั้งพบว่าได้รับบาดเจ็บ[ 14]
มีรายงานข่าวการคุกคามรูปแบบอื่น เช่น ทหารพรานเข้าหาตัวผู้ชุมนุมที่มัสยิดกรือเซะ จังหวัดปัตตานี ที่บ้าน[ 15] เจ้าหน้าที่ตามหาเด็กอายุ 3 ขวบที่ชูสัญลักษณ์ 3 นิ้วต้านรัฐบาล[ 16] ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (รุ้ง) และพริษฐ์ ชิวารักษ์ (เพนกวิน) แกนนำ สนท. โพสต์ข้อความว่า มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบมาติดตามพวกตนมายังที่พัก คาดว่าเตรียมจับกุมพวกตน[ 17] นอกจากนี้ พริษฐ์ยังถูกแจ้งความข้อหากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วย[ 18] ต้นเดือนกันยายน ตำรวจออกหมายเรียกผู้ประท้วงนักเรียนมัธยมในความผิดตามกฎหมายความมั่นคง[ 19] กลางเดือนกันยายน ตำรวจเข้าตรวจค้นบ้านพักของ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา พบป้ายผ้า 17 ผืน[ 20] ศ. นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักประวัติศาสตร์ไทย แสดงความกังวลว่าหากปล่อยเวลาไปอีก 6 เดือน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อาจจัดตั้งฝ่ายต่อต้านได้สำเร็จเหมือนกับครั้งในปี 2519[ 21] วันที่ 14 ตุลาคม ชนกนันท์ รวมทรัพย์ จัดประท้วงที่สถานเอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
วันที่ 15 ตุลาคม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร และตั้งกองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยมี พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้อำนวยการ[ 22] ซึ่งอาจารย์และนักรัฐศาสตร์กว่า 100 คนเขียนจดหมายเปิดผนึกตั้งคำถามถึงความชอบด้วยกฎหมายของการประกาศดังกล่าว เพราะไม่มีภัยคุกคามต่อความมั่นคงเช่นความรุนแรง[ 23] ต่อมามีการใช้อำนาจสั่งปิดสื่อ 4 สำนัก ประกอบด้วยประชาไท เดอะรีพอร์ตเตอส์ เดอะสแตนดาร์ด และวอยซ์ทีวี [ 24] รวมทั้งสั่งปิดแอปพลิเคชันเทเลแกรม[ 25] แต่ต่อมาศาลมีคำสั่งยกเลิกคำร้อง[ 26] ตำรวจยังยึดหนังสือที่มีเนื้อหาวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน [ 27] กรุงเทพมหานครอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ชุมนุมนิยมเจ้า[ 28]
กรุงเทพมหานครให้การสนับสนุนผู้ประท้วงโต้โดยมีการจัดรถส่งคนไปยังที่ชุมนุม[ 29] และจัดหารถสุขาและรถขยะให้[ 30]
บทบาทของพระมหากษัตริย์
ป้ายแบนเนอร์ “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” ที่การขุมนุมในวันที่ 29 ตุลาคม
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสำนักพระราชวังไม่มีความเห็นใด ๆ เกี่ยวกับการประท้วงต่อสาธารณะตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ในเดือนสิงหาคม หนังสือพิมพ์ เอเชียไทมส์ รายงานอ้างข้าราชการคนหนึ่งว่า พระมหากษัตริย์ทรงไม่รู้สึกถูกรบกวนจากการประท้วง และผู้ประท้วงควรสามารถแสดงความคิดเห็นได้[ 31] อย่างไรก็ดี อัลจาซีรารายงานว่า พระมหากษัตริย์ทรงให้สื่อไทยตรวจพิจารณาข้อเรียกร้อง 10 ข้อ[ 32]
วันที่ 24 ตุลาคม พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสชมสุวิทย์ ทองประเสริฐ อดีตพระพุทธะอิสระและผู้ชูพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรกลางกลุ่มผู้ชุมนุม[ 33] นับเป็นการแสดงความเห็นต่อสาธารณะครั้งแรกต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ทำให้แฮชแท็ก #23ตุลาตาสว่าง ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ของประเทศไทย โดยมีการรีทวีตกว่า 500,000 ครั้ง ผู้ประท้วงคนหนึ่งออกความเห็นว่า พระมหากษัตริย์อยู่ ณ ใจกลางของปัญหาการเมืองไทยมาโดยตลอด[ 9] แพทริก จอรี อาจารย์มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ระบุว่า พระองค์ทรงมีอุปนิสัยทำนายไม่ได้ ทรง "เต็มพระทัยใช้ความรุนแรง" และอาจกดดันประยุทธ์ให้ปราบปรามผู้ประท้วง[ 34]
สนับสนุน
ผู้ประท้วงสตรีนิยม แสดงข้อความรณรงค์เกี่ยวกับอวัยวะเพศสตรีและแนวคิดสิทธิเสรีภาพของสตรีในการชุมนุมในกรุงเทพมหานคร
สำหรับข้อกังวลเกี่ยวกับโอกาสการรับเข้าทำงานของเยาวชนที่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง ผู้เชี่ยวชาญทรัพยากรมนุษย์ตอบว่า คนที่จะได้รับผลกระทบมีเฉพาะผู้ที่มีฝ่ายทางการเมือง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมืองเท่านั้น[ 35]
มี ส.ส. สังกัดพรรคก้าวไกล ระบุว่าการพาดพิงถึงพระมหากษัตริย์ในการประท้วง (เช่น การล้อเลียน เสียดสี มีม ฯลฯ) เป็นความจริงที่น่ากระอักกระอ่วน และจำต้องให้ความสนใจ อย่างไรก็ดี หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ และอภิรัชต์ตอบโต้อย่างรุนแรง โดยมองว่าในผู้ประท้วงมีกลุ่มผู้ต้องการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์แอบแฝง หรือไม่นักศึกษาก็ตกเป็นเหยื่อของผู้อยู่เบื้องหลังที่มีเจตนาดังกล่าว[ 36] ศาสตราจารย์ อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขียนว่า "เด็กเขาก็แสดงออกในสิ่งที่เขาคิด... ถามว่าทำไมเราถึงรู้สึกหวั่นไหว ตกอกตกใจ หรือสะดุ้งเวลาเห็นข้อความบางข้อความ เพราะว่าจุดที่เราสะดุ้งนั้น มันไม่ใช่จุดของเด็ก มันเป็นจุดของเราเอง เป็นเพดานของเรา แต่เด็กเขาไม่เห็นเพดาน เขายังไม่มีเพดาน ส่วนพวกเราที่ผ่านชีวิตมาแล้ว เราเห็นเพดาน หรือเราเห็นเส้นที่ห้ามแตะ ห้ามเกิน เป็นเส้นตัด" มีเด็กนักเรียนคนหนึ่งที่ถือป้ายทำนองดังกล่าวให้สัมภาษณ์ว่า "พี่เขาให้มา หนูก็รับ ไม่ได้คิดว่าจะมีปัญหา มันเป็นสิ่งที่ควรพูดได้ และไม่ควรมีใครต้อง 'เป็นบ้า' เพียงเพราะเขียนข้อความอะไรลงแผ่นกระดาษหรือบนเสื้อ"[ 37] ในวันที่ 28 กรกฎาคม อานนท์ นำภา โพสต์ว่า ทราบมาว่ามีการจัดตั้งกลุ่มคนมาทำร้ายผู้ชุมนุมตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม[ 38]
นับแต่มีข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ สำหรับพรรคการเมืองมีเพียงพรรคก้าวไกล ที่ออกมาสนับสนุนให้เปิดโอกาสแสดงออกแก่นักศึกษา[ 39] คณาจารย์อย่างน้อย 147 คนลงชื่อสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกของนักศึกษาในวันที่ 10 สิงหาคม และระบุว่าเนื้อหาไม่ได้ขัดต่อกฎหมาย[ 40] [ 8] และนักวิชาการเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองอย่างน้อย 358 สนับสนุนการประท้วง[ 8] บุคลากรโรงเรียนบางส่วนสนับสนุนการแสดงออกของนักเรียน[ 41]
มารีญา พูลเลิศลาภ นางงาม แสดงจุดยืนเข้ากับผู้ประท้วง[ 42] ต่อมาเธอเล่าว่าตนได้รับผลกระทบจากการสนับสนุนดังกล่าว นักแคสเกมที่มีชื่อเสียงที่ใช้ชื่อว่า ฮาร์ตร็อกเกอร์ ก็แสดงความสนับสนุนเช่นกัน[ 43] หลังมีข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ในต้นเดือนสิงหาคม ได้แก่ ทรงยศ สุขมากอนันต์ , พีรวัส แสงโพธิรัตน์ , ศดานนท์ ดุรงคเวโรจน์ , ชลิตา ส่วนเสน่ห์ , โฟกัส จีระกุล , หนึ่งธิดา โสภณ ประกาศสนับสนุนการประท้วง[ 44] เช่นเดียวกับสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ห้าคน อาทิ แพรวา สุธรรมพงษ์ [ 45] [ 46]
ศัลยแพทย์หญิง [ 47] คนหนึ่งถูกไล่ออกเพราะลงนามสนับสนุนผู้ประท้วง[ 48] ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ นักร้องถูกไล่ออกเช่นเดียวกัน[ 49]
วันที่ 18 สิงหาคม ยูนิเซฟ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทุกฝ่ายรับรองความปลอดภัยของผู้ชุมนุมเด็กและเยาวชน โรงเรียนและสถานศึกษาเป็นที่แสดงออกและแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างสร้างสรรค์[ 50]
สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และองค์การนิรโทษกรรมสากล รับรองสภาพสงบของการชุมนุม และประณามการสลายการชุมนุม[ 51] [ 52] ผู้อำนวยการฮิวแมนไรต์วอชเอเชียกล่าวว่า การทำให้การชุมนุมโดยสงบเป็นความผิดเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองระบอบเผด็จการ ทั้งเรียกร้องให้สหประชาชาติและรัฐบาลนานาประเทศประณามด้วย และให้ปล่อยตัวนักโทษ[ 8] นักเคลื่อนไหวชาวฮ่องกง โจชัว หว่อง โพสต์ทวิตเตอร์แสดงความเป็นอันหนึ่งเดียวกับผู้ประท้วง และขอให้ทั่วโลกสนใจการประท้วงในประเทศไทย[ 53]
หนังสือพิมพ์ ข่าวสด และ บางกอกโพสต์ เขียนบทบรรณาธิการเรียกร้องให้ประยุทธ์ลาออกเพื่อลดความขัดแย้ง แต่ทั้งสองไม่ได้กดดันข้อเรียกร้องรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์[ 54] [ 55]
วันที่ 23 ตุลาคม กลุ่มประชาสังคมในประเทศเกาหลีใต้ เรียกร้องให้รัฐบาลเลิกส่งออกรถติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูง แก่ทางการไทย[ 56]
คัดค้าน
อดีตรองโฆษกกองทัพบกเรียกผู้ประท้วงว่า "ม็อบมุ้งมิ้ง" ทางเฟซบุ๊ก การประท้วงต่อมาบ้างใช้คำว่า "มุ้งมิ้ง" ในชื่อกิจกรรมของพวกตน[ 57] พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์เตือนว่าการกระทำของผู้ประท้วงบางคนอาจเข้าข่ายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย และน้ำตาคลอเมื่อเล่าถึงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ของตน[ 58] ด้านพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย เตือนเขาไม่ให้ยุ่งกับผู้ประท้วง และให้ "รีบเกษียณอายุราชการ"[ 59] ด้านพลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบกคนใหม่ที่เพิ่งรับตำแหน่งในเดือนตุลาคม 2563 รีบตำหนิข้อเสนอปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ทันที พร้อมกับบอกว่าให้ "ปฏิรูปตนเองก่อน"[ 60]
ด้านอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย แสดงความกังวลถึงโอกาสแพร่กระจายของโรคโควิด-19 แต่วางท่าทีเป็นกลางต่อข้อเรียกร้อง 3 ประการ[ 61]
นักเรียนเลว
@BadStudent_
นี่สิ่งที่เพื่อน ๆ ของเราหลายคนต้องเจอค่ะ
- ขู่ตัดแม่ตัดลูกถ้ายังไม่หยุดทำ
- ไม่ให้เงินไปโรงเรียนมาเกือบ 2 เดือน
- เก็บค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าที่อยู่กับลูกตัวเอง
- จะไล่ออกจากบ้าน ให้ไปอยู่ที่อื่น
- จะส่งไปอยู่ต่างประเทศ
- จะไม่จ่ายค่าเทอมให้
ผู้ชุมนุมกลุ่มคณะราษฎรถูกผู้ชุมนุมตอบโต้ในชุดเหลืองทำร้ายร่างกาย, 14 ตุลาคม 2563
การคัดค้านในเวลาต่อมาพยายามอ้างว่ามีรัฐบาลหรือองค์การนอกภาครัฐต่างชาติให้การสนับสนุนการประท้วง วันที่ 10 สิงหาคม สถาบันทิศทางไทย ซึ่งมีอดีตสมาชิกกลุ่ม กปปส. เข้าร่วม[ 63] เผยแพร่ "แผนผังเครือข่ายปฏิวัติประชาชน" ซึ่งโยงผู้ประท้วงนักศึกษา กับ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ ทักษิณ ชินวัตร ตลอดจนมีการเชื่อมโยงเป็นทฤษฎีสมคบคิดเพื่อทำลายประเทศไทย[ 64] ภูมิวัฒน์ แรงกสิวิทย์ แกนนำแนวร่วมนวชีวิน ที่มีข่าวว่าเริ่มอดอาหารประท้วงหน้าสัปปายะสภาสถาน ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม โดยให้สัมภาษณ์ว่าทำเพื่อเน้นย้ำความยากจนที่เกิดจากโควิด-19[ 65] แต่ภายหลังออกมาให้สัมภาษณ์ว่าแตกหักกับกลุ่มเยาวชนปลดแอกเนื่องจากไม่พอใจที่ไม่ได้ขึ้นเวที ขณะเดียวกันตัวเขาเองก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นสายตำรวจ[ 66] บ้างอ้างว่า ที่องค์การการบริจาคทรัพย์เพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Endowment for Democracy) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นองค์การนอกภาครัฐที่ได้รับจัดสรรเงินสนับสนุนผ่านรัฐสภาสหรัฐ สนับสนุนกลุ่มต่าง ๆ ที่สนับสนุนฝ่ายผู้ประท้วงนั้น เป็นหลักฐานเชื่อมโยงดังกล่าว[ 67]
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองส่วนใหญ่ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ประยุทธ์แสดงความไม่สบายใจ[ 68] ผศ.ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ขออภัยกรณีข้อเสนอ 10 ข้อของนักศึกษา โดยระบุว่าเมื่อนักศึกษามาขอใช้พื้นที่ชุมนุมไม่ได้แจ้งเรื่องนี้[ 69] ด้าน คุณหญิง ดร.สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ให้สัมภาษณ์ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอที่กระทบกระเทือนพระราชอำนาจ[ 70] ด้านประวิตร โรจนพฤกษ์ ตั้งคำถามถึงเงินทุนสนับสนุนและการจัดระเบียบที่มีลักษณะคล้าย นปช. หรือ กปปส.[ 71] หนังสือพิมพ์แนวหน้า เขียนว่าข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำชั่วร้าย สร้างความแตกแยก อ้างว่าเป็นการประท้วงรัฐบาลหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อบังหน้า แต่เป็นการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ มีเบื้องหลังเป็นพรรคเพื่อไทย และพรรคอนาคตใหม่ [ 72] ในช่องทางออนไลน์ กลุ่มองค์กรเก็บขยะแผ่นดิน ซึ่งถูกขนานนามในวารสารวิชาการระดับนานาชาติว่าเป็นองค์การคลั่งเจ้า ลัทธิฟาสซิสต์ และได้รับการสนับสนุนจากรัฐ[ 73] [ 74] [ 75] กล่าวหานักศึกษาว่าเป็นพวกล้มเจ้า กบฏ คนทรยศและขยะ[ 76] [ 77] นอกจากนี้เกิดเหตุทำร้ายร่างกายผู้ประท้วงโดยมวลชนฝ่ายตรงข้าม[ 78] วันที่ 16 กันยายน ศาลรัฐธรรมนูญ รับวินิจฉัยกรณีปราศรัยข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ในวันที่ 10 สิงหาคมในข้อหาล้มล้างการปกครอง[ 79]
หลังจากการเข้าร่วมการชุมนุมของนักเรียนมัธยม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่ามีกรณีการคุกคามนักเรียนอย่างน้อย 103 กรณี[ 80] ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ประกาศให้รางวัลครูที่ตบสมาร์ทโฟน ของนักเรียน และว่าถ้าตนพบเห็นนักเรียนชูสามนิ้วจะจับตีก้น[ 81] การดูหมิ่นผู้ประท้วงนักเรียนหญิงบางคนไปไกลถึงขั้นว่าสมควรถูกข่มขืนกระทำชำเรา[ 82] ต่อมาในเดือนกันยายน ทวิตเตอร์กลุ่มนักเรียนเลวโพสต์ว่าสมาชิกกลุ่มบางส่วนได้รับผลกระทบทั้งในด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและเศรษฐกิจจากการเข้าร่วมการชุมนุม[ 83]
บางคนและกลุ่มค้านยุทธวิธีของผู้ประท้วง เช่น รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ หรือเพจโปลิศไทยแลนด์ ประณามการสาดสีใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจของผู้ประท้วง โดยกล่าวว่าเป็น "ความรุนแรง "[ 84] [ 85] บางกลุ่มรับไม่ได้กับภาษาหยาบคายที่แกนนำผู้ชุมนุมใช้[ 86]
ตำรวจและกลุ่มฝ่ายขวาส่วนหนึ่งรังควาน ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และอดีตสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ เพราะถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนการประท้วง[ 87] [ 88] สื่อหลายสำนักพยายามลงข่าวให้เข้าใจว่าฝ่ายผู้ชุมนุมพยายามก่อให้เกิดความรุนแรงก่อน[ 89] [ 90]
สนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำกลุ่ม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เรียกร้องให้กองทัพเข้ารักษาความสงบอีกครั้ง แม้นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารบกประกาศว่าจะไม่รัฐประหาร[ 91]
ในเดือนมีนาคม 2564 ผู้อำนวยการซูเปอร์โพลเปิดเผยการสำรวจ 1,858 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 9–12 มีนาคม 2564 ระบุว่าผู้ตอบร้อยละ 97.2 ระบุว่าการประท้วงทำให้โควิด-19 แพร่ระบาดมากขึ้น และร้อยละ 97.1 ระบุว่าการประท้วงก่อความเดือดร้อนมากกว่ากฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ร้อยละ 96.2 มุ่งทำร้ายสถาบันหลักอันเป็นหัวใจของคนไทย ร้อยละ 95.2 มองว่าผู้ประท้วงกำลังชักศึกเข้าบ้าน และร้อยละ 94.8 กังวลว่ารัฐบาลต่างชาติอยู่เบื้องหลังผู้ประท้วง ก่อนสรุปว่าคนไทยส่วนใหญ่ "รู้เท่าทันม็อป"[ 92]
การห้ามใช้พื้นที่ชุมนุม
สถานศึกษาที่ประกาศห้ามชุมนุม เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ 93] มหาวิทยาลัยมหิดล [ 94] โรงเรียนราชินี ส่วนที่โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน มีการพ่นยากันยุงในวันที่นัดชุมนุม[ 95]
ส่วนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อนุญาตให้นักเรียนจัดกิจกรรมในโรงเรียนได้ เพียงแต่ห้ามบุคคลภายนอกเข้าร่วม[ 96]
อ้างอิง
↑ Chotanan, Patawee. "Dancing with dictatorship: how the government is dealing with the Free Youth movement" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-10-18.
↑ BBC News (26 February 2020). "อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล : ส.ส. จากพรรคที่เพิ่งถูกยุบกล่าวหากองทัพใช้เงินภาษีทำสงครามจิตวิทยากับผู้เห็นต่างทางสื่อสังคมออนไลน์" . BBC News . {{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ "แห่ดิสไลค์ คลิปกรมประชาฯ โวยรัฐใช้ภาษีทำคลิปดิสเครดิตม็อบเยาวชน" . ไทยรัฐ . 22 August 2020. สืบค้นเมื่อ 22 August 2020 .
↑ "Exclusive: Thailand tells universities to stop students' calls for monarchy reform" . www.msn.com . สืบค้นเมื่อ 2020-09-14 .
↑ "ด่วน! ตร.พัทลุง ทำหนังสือถึงโรงเรียน สั่งห้าม นร.-นศ. ชุมนุมไล่รัฐบาล" . Khaosod . 24 July 2020. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2020. สืบค้นเมื่อ 26 July 2020 .
↑ "ให้ทุกรร.สังกัดสพฐ.อนุญาตเด็กจัดชุมนุมแต่ห้ามคนนอกร่วม" . เนชั่น . 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020 .
↑ "เปิดชื่อ 109 รร. คุกคาม นร. "ผูกโบว์ขาว-ชู 3 นิ้ว" " . BBC Thai . สืบค้นเมื่อ 24 August 2020 .
↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 ศูนย์ทนายสิทธิฯ เปิด 8 รูปแบบการคุกคามปิดกั้น รอบ 2 อาทิตย์หลังเยาวชนเริ่มปลดแอก
↑ 9.0 9.1 9.2 ไม่รอด! ตร.จับแอดมินกุข่าวอุ้ม 3 แกนนำเยาวชนพิษณุโลกเข้าค่าย ตชด. แฉมีคดีติดตัว
↑ 3 แกนนำเยาวชนยังหายตัวปริศนา ส.ส.พิษณุโลก เผย ตชด.ปฏิเสธ ไม่ได้คุมตัว
↑ "ม็อบสะดุ้ง จักรทิพย์ เล่นมุข อยากชุมนุมไม่โดนจับ ให้ไปทุ่งกุลาร้องไห้" . ข่าวสด . 20 August 2020. สืบค้นเมื่อ 25 August 2020 .
↑ "สกัดรถยึดหนังสือ กลุ่มนักศึกษาปลดแอก 50,000 เล่ม มวลชนเผาหุ่นฟางนายกฯ" . ไทยรัฐ . 19 September 2020. สืบค้นเมื่อ 19 October 2020 .
↑ "The politics of decree" . Bangkok Post . สืบค้นเมื่อ 2 October 2020 .{{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ "Police vow to detain 3 protesters further" . Bangkok Post . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2020. สืบค้นเมื่อ 31 October 2020 .
↑ 'ทหารพราน' อ้าง 'นายสั่งมา' เยี่ยมบ้าน-สอบข้อมูลส่วนตัวผู้ชุมนุม 'แฟลชม็อบปัตตานี' หลายราย Prachatai. (2020-08-12 22:19) สืบค้นเมื่อวันที่ 13-08-2020
↑ "แห่แชร์!! เจ้าหน้าที่ตามหา 'เด็กอนุบาล 3 ขวบ' ถึงบ้าน หลัง ชู 3 นิ้วต้านเผด็จการ" . มติชนออนไลน์ . 22 August 2020. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020 .
↑ รุ้ง-เพนกวิน' 2 แกนนำ สนท. โพสต์มีเจ้าหน้าที่ตามถึงหอพัก หวั่นถูกจับกุมกลางดึก Prachatai. (2020-08-12) สืบค้นเมื่อวันที่13สิงหาคม2563
↑ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ทรงให้ความเห็นเรื่องการคุกคามประชาชน ด้าน "เพนกวิน พริษฐ์" โดนแจ้งความ ม. 112
↑ "High school student summoned for Ratchaburi protest" . Prachatai . 10 September 2020.{{cite news }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ "ด่วน! เจ้าหน้าที่บุกค้นบ้าน 'ไผ่ ดาวดิน' ที่ขอนแก่น ขอยึดป้ายกิจกรรมเป็นหลักฐาน" . มติชน . 17 September 2020. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020 .
↑ "นิธิ เอียวศรีวงศ์ หวั่น 6 ตุลา รอบใหม่" . BBC ไทย . สืบค้นเมื่อ 12 August 2020 .
↑ "ประกาศแต่งตั้ง หัวหน้าผู้รับผิดชอบ กอร.ฉ. แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง" . ไทยรัฐ . 15 October 2020. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020 .
↑ English, Khaosod (2020-10-16). "Editorial: Prayut Has Lost All Legitimacy. He Must Go" . Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-10-17 .
↑ "Police move to silence news, Facebook platforms" . Bangkok Post . สืบค้นเมื่อ 2020-10-19 .{{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ "โลกออนไลน์ เผยแพร่เอกสาร สั่งปิด 'เทเลแกรม' " . มติชนออนไลน์ . 19 October 2020. สืบค้นเมื่อ 19 October 2020 .
↑ "ด่วน! ศาลอาญายกเลิกคำร้องปิดวอยซ์ทีวี รวมทั้ง 'เยาวชนปลดแอก' ด้วย" . ประชาไท . สืบค้นเมื่อ 21 October 2020 .
↑ "ตำรวจบุก "ฟ้าเดียวกัน" ตรวจยึดหนังสือวิจารณ์สถาบันกษัตริย์" . ูผู้จัดการออนไลน์ . 19 October 2020. สืบค้นเมื่อ 19 October 2020 .
↑ " 'อัศวิน'จัดรถขยะ-รถสุขา ให้ม็อบป้องสถาบันฯหน้ารัฐสภา" . เดลินิวส์ . สืบค้นเมื่อ 25 October 2020 .
↑ "Anti-Gov't Protest Plans Complicated by Royal Itinerary" . Khaosod English . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2020. สืบค้นเมื่อ 14 October 2020 – โดยทาง Reuters.
↑ " 'อัศวิน'จัดรถขยะ-รถสุขา ให้ม็อบป้องสถาบันฯหน้ารัฐสภา" . Daily News . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2020. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020 .
↑ Crispin, Shawn W. (18 August 2020). "New generation of daring resistance in Thailand" . Asia Times . สืบค้นเมื่อ 20 August 2020 .
↑ "Thai PM says protesters' call for monarchy reform 'went too far' " . www.aljazeera.com . สืบค้นเมื่อ 2020-08-20 .
↑ " "ในหลวง" ตรัส "กล้ามาก เก่งมาก ขอบใจ" ชายชูพระบรมฉายาลักษณ์ ร.๙ กลางผู้ประท้วง (ชมคลิป)" . ผู้จัดการออนไลน์ . 24 October 2020. สืบค้นเมื่อ 23 October 2020 .
↑ "Can Thai monarchy emerge unscathed as it faces its greatest challenge?" . South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 31 October 2020. สืบค้นเมื่อ 1 November 2020 .
↑ "โควิด-19 : นายจ้างหาอะไรใน CV เด็กจบใหม่ ในยุคเศรษฐกิจทรุด" . BBC Thai . 5 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-27 .{{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ ยอมรับแล้ว! “ปิยบุตร” ยืมปาก “พิธา” เฉลย “ล้มเจ้า” ในม็อบ “สาธิต” นักธุรกิจอินเดียรักในหลวงขอถก “บิ๊กแดง”
↑ แฟลชม็อบ : การต่อสู้ระหว่างกลุ่ม "ฟันน้ำนม" กับ "ฟันปลอม"
↑ ทนายอานนท์เผยได้ข่าวมีการจัดตั้งกลุ่มคนมาทำร้ายผู้ชุมนุมตั้งแต่พรุ่งนี้
↑ @MFPThailand (11 August 2020). "นอกจาก 3 ข้อเรียกร้องทางการเมืองไทยแล้ว" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์ .
↑ "คณาจารย์ ลงชื่อหนุนกลุ่ม นศ. "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" " . ไทยรัฐ . 12 August 2020. สืบค้นเมื่อ 12 August 2020 .
↑ ครูร่วมปลดแอก ชูสามนิ้วในห้องพักครู ขออยู่เคียงข้างนักเรียน matichon.co.th เผยแพร่เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563
↑ 'มารีญา' โพสต์ประกาศจุดยืนขออยู่ข้าง 'เยาวชนปลดแอก'
↑ เอก HRK และ โบ๊ะบ๊ะแฟมมิลี่ ออกมาแสดงจุดยืนทางการเมือง ถึงกลุ่ม เยาวชนปลดแอก
↑ "Time to call out. Thai stars show solidarity with protest leader" . workpointTODAY . 13 August 2020. สืบค้นเมื่อ 16 September 2020 .
↑ AmirinTV. "คอมเมนต์สนั่น! ปรากฏการณ์โซเชียลมูฟเมนต์ จากไอดอลสาว BNK 48" . Amarin . {{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ Prachachat (14 August 2020). "ดารา-คนบันเทิง แห่โพสต์สนับสนุนเสรีภาพ ต้านการคุกคามประชาชน" . Prachachat . {{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ “หมอจรสดาว” โพสต์อำลาคนไข้ ระบุจากนี้ต้องหาทางเดินของตัวเอง หลังโดน “หมอเหรียญทอง” ไล่ออก
↑ "Doctor sacked for opposing govt's dispersal of protesters" . Bangkok Post . สืบค้นเมื่อ 18 October 2020 .
↑ 'แอมมี่'ขึ้นเวทีมธ. ครวญโดนเลิกจ้างงานทั้งปี ขู่'บิ๊กตู่'ถ้าคุกคามพร้อมสู้ทุกรูปแบบ
↑ "ยูนิเซฟ เรียกร้องเคารพสิทธิ-ปกป้องความรุนแรงเด็กและเยาวชน" . ประชาชาติธุรกิจ . 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020 .
↑ "Thailand: Bangkok shuts public transport as protests persist | DW | 17.10.2020" . Deutshe Welle . สืบค้นเมื่อ 17 October 2020 .
↑ "Thailand: Police disperse pro-democracy protesters outside PM's office" . Euro News (ภาษาอังกฤษ). 15 October 2020. สืบค้นเมื่อ 15 October 2020 .
↑ "โจชัว หว่อง ฝากถึงชาวโลก ให้ช่วยยืนเคียงข้างชาวไทยหัวใจประชาธิปไตย" . Khaosod . 16 October 2020. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020 .
↑ English, Khaosod (2020-10-16). "7 Arrested for Fresh Protest, Cops Threaten to Charge Everyone" . Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-10-17 .
↑ "Listen to the young" . Bangkok Post . สืบค้นเมื่อ 2020-10-19 .{{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ "เกาหลีใต้ จี้ รบ.เลิกส่งออกรถฉีดน้ำสลายม็อบ" . VoiceTV . สืบค้นเมื่อ 23 October 2020 .
↑ "#MGRTOP7 : "บอส อยู่วิทยา" คุกไทยมีไว้ขังคนจน? — "ม็อบมุ้งมิ้ง" เฝ้ามองไม่คุกคาม — "สุริยะ+นิติตะวัน" พ่าย "จันทร์โอชา" " . MGR Online . 25 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26 .
↑ " "บิ๊กแดง" น้ำตาคลอ! เปิดใจถึงม็อบ นศ. เตือนอย่าใช้วาจาจาบจ้วง" . Channel 8 . 24 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26 .
↑ " "เสรีพิศุทธ์" เตือน ผบ.ทบ. "อย่ายุ่งม็อบ นศ." ไล่ รีบ ๆ เกษียณอายุราชการไปเสีย" . Post Today . 25 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26 .
↑ "ผบ.ทบ. ลั่นโอกาสรัฐประหาร "เป็นศูนย์" " . BBC ไทย . สืบค้นเมื่อ 6 October 2020 .
↑ "จับตา! #ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้ง ทวง 3 ข้อรัฐบาล" . ThaiPBS . 25 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26 .
↑ "เปิดตัว 'สถาบันทิศทางไทย' ขับเคลื่อนไทยไร้ขัดแย้ง" . bangkokbiznews.com . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-03-04. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020 .
↑ "สถาบันทิศทางไทย เปิดผังเครือข่ายปฏิวัติประชาชน (เพ้อฝัน)" . nationtv.tv . 10 August 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-12-14. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020 .
↑ "อดข้าวประท้วง : เพราะรัฐบาลไม่เคยเห็นความอดอยากผู้คน นศ.เผยเหตุผลที่อดอาหารร้องรัฐบาลแก้ปัญหาปากท้อง" . The Bangkok Insight . 23 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26 .
↑ " "ภูมิวัฒน์" ยุติบทบาทแนวร่วมม็อบปลดแอก แฉถูกปิดปากห้ามขึ้นเวที มีอีแอบรับเงินสถานทูต-NGO ต่างชาติ" . Manager Online . 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020 .
↑ "A global conspiracy against the Thai Kingdom" . thisrupt.co . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-11-01. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020 .
↑ "นายกฯ ไม่สบายใจม็อบธรรมศาสตร์ชุมนุม บอกติดตามดูอยู่" . ไทยรัฐ . 11 August 2020. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 .
↑ "อ.ปริญญา ขอน้อมรับผิด โพสต์ชี้แจงกรณี ชุมนุม "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" " . ไทยรัฐ . สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 .
↑ " 'สุดารัตน์'ติงไม่ควรก้าวล่วงสถาบัน วอนยึด3ข้อเรียกร้อง" . เดลินิวส์ . 11 August 2020. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 .
↑ "นักข่าวเทวดาออกโรงถามลั่น 'ม็อบธรรมศาสตร์จะไม่ทน' เอาเงินมาจากไหน!" . Thai Post . สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 .
↑ "หยุดจาบจ้วงพระมหากษัตริย์" . แนวหน้า . สืบค้นเมื่อ 17 August 2020 .
↑ Sombatpoonsiri, Janjira; Carnegie Endowment for International Peace (2018). "Conservative Civil Society in Thailand". ใน Youngs, Richard (บ.ก.). The mobilization of conservative civil society (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Washington, D.C.: Carnegie Endowment for International Peace. pp. 27–32. OCLC 1059452133 .
↑ Correspondent, Our. "Thailand Blocks Overseas Opposition Voice" . www.asiasentinel.com . สืบค้นเมื่อ 29 August 2020 .
↑ "New Social Media and Politics in Thailand: The Emergence of Fascist Vigilante Groups on Facebook". ASEAS - Austrian Journal of South-East Asian Studies (ภาษาเยอรมัน). 9 (2): 215–234. 2016. ISSN 1999-2521 . OCLC 7179244833 .
↑ English, Khaosod (28 July 2020). "Royalist Campaign Tells Companies Not to Hire Protesters" . Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 28 August 2020 .
↑ "Thai royalist seeks to shame, sack young protesters - UCA News" . ucanews.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 August 2020 .
↑ "Thai protests: Thousands gather in Bangkok as king returns to country" . BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-10-14. สืบค้นเมื่อ 2020-10-14 .
↑ "ศาลรธน.รับวินิจฉัยปมปราศรัยล้มล้างการปกครอง" . เดลินิวส์ . 16 September 2020. สืบค้นเมื่อ 16 September 2020 .
↑ "11th grader summoned by teacher, asked not to give protest speeches" . Prachatai English (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 September 2020 .
↑ " 'ปารีณา' ประกาศให้รางวัลครูตบมือถือเด็ก ลั่นเจอนร.ชูสามนิ้ว จะตีก้นให้ลาย" . ข่าวสด . 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 19 August 2020 .
↑ " "Whores" & "Sluts": why "good people" love these insults" . thisrupt.co . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-09-11. สืบค้นเมื่อ 2020-09-14 .
↑ "นักเรียนเลว โอดเคลื่อนไหวทางการเมือง โดนครอบครัวขู่-ไล่ออกจากบ้าน" . ข่าวสด . 16 September 2020. สืบค้นเมื่อ 16 September 2020 .
↑ " 'อ.เจษฎา' ชี้ม็อบสาดสีใส่ตร. 'รุนแรง-คุกคาม' ยกตัวอย่างสากลประท้วงสันติวิธีด้วยภาพวาด" . Thai Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 September 2020 .
↑ "เพจโปลิศไทยแลนด์ ตำหนิม็อบสาดสีใส่ตำรวจไม่เกิดผลดีเลย แสดงออกถึงตัวตนเป็นเช่นไร" . Thai Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 September 2020 .
↑ "หมอสุกิจ อัดม็อบหยาบคายใส่ 'ชวน' ยันเป็นกลาง ไล่ไปด่า ส.ส.-สว.ตัวเอง" . ข่าวสด . 25 September 2020. สืบค้นเมื่อ 14 October 2020 .
↑ "ตำรวจ บุกไทยซัมมิท กลางวงแถลงข่าวคณะก้าวหน้า" . Bangkokbiznews . สืบค้นเมื่อ 16 October 2020 .
↑ "บุก 'ไทยซัมมิท' หนสอง ศ.ป.ป.ส.ไล่ 'ธนาธร' พ้นแผ่นดิน จี้ถือธงนำหน้า อย่าแอบหลังขบวนการ น.ศ." Matichon . 12 October 2020. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020 .
↑ "มือมืดปาสี ใส่กลุ่มไทยภักดี ขณะชุมนุมปกป้องสถาบันที่ศาลหลักเมืองขอนแก่น" . สยามรัฐ . 23 October 2020. สืบค้นเมื่อ 23 October 2020 .
↑ "ชูป้ายผิดชีวิตเปลี่ยน หวิดถูก'กลุ่มผู้ชุมนุม'ประชาทัณฑ์" . เดลินิวส์ . 23 October 2020. สืบค้นเมื่อ 23 October 2020 .
↑ "นิวยอร์กไทมส์ ระบุข่าวลือรัฐประหารในไทยผุดขึ้นหลังการประท้วงของเยาวชน" . BBC ไทย . สืบค้นเมื่อ 3 November 2020 .
↑ "ยึดแนวสะพานชมัยมรุเชฐ สร้างหมู่บ้าน-เขียนรธน.ใหม่ ม็อบเดินทะลุฟ้ามาตามนัด" . แนวหน้า . สืบค้นเมื่อ 22 March 2021 .
↑ " "ม็อบนิสิตจุฬา" ส่อเค้าล่ม สำนักบริหารกิจการนิสิต ไม่อนุญาตใช้พื้นที่" . www.thairath.co.th . 14 August 2020. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020 .
↑ "ไม่สนคำสั่งห้าม! นักศึกษา ม.มหิดล ลุยจัดแฟลชม็อบ #ศาลายาแสกหน้าเผด็จการ" . ข่าวสด . 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020 .
↑ "นักเรียน รร.ดังขอนแก่น ประกาศชุมนุม รร.จัดฉีดยุงด่วนไล่เด็กกลับบ้าน" . ข่าวสด . 13 August 2020. สืบค้นเมื่อ 24 August 2020 .
↑ "ให้ทุกรร.สังกัดสพฐ.อนุญาตเด็กจัดชุมนุมแต่ห้ามคนนอกร่วม" . เนชั่น . 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020 .
สาเหตุโดยตรง ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ฝ่ายผู้ประท้วง ฝ่ายผู้ประท้วงโต้
เหตุการณ์ ผลกระทบ