สมัชชาคนจน

สมัชชาคนจน
อังกฤษ: Assembly of the Poor
ก่อตั้งจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในวันสิทธิมนุษยชนสากล 10 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (29 ปี)
ประเภทสถาบันไม่แสวงหาผลกำไร

สมัชชาคนจน เป็นองค์การนอกภาครัฐในประเทศไทย ซึ่งมุ่งช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ได้รับประโยชน์จากโครงการของรัฐบาล

ตั้งใจเป็นกระบอกเสียงทางการเมืองแก่ชาวบ้านและสมาชิกชายขอบของสังคม สมาชิกประกอบด้วยเกษตรกรรายย่อยและแรงงาน และเนื่องจากมีสมาชิกหลากหลาย จึงก้าวข้ามเส้นแบ่งภูมิภาคและชนชั้น เมื่อแรกก่อตั้ง สมัชชาคนจนถูกกล่าวหาว่าบั่นทอนความสามัคคีของชาติไทย และหลักการประชาธิปไตย[1]

สมัชชาคนจนค่อย ๆ เติบโตขึ้นจากกลุ่มชาวบ้านที่ไม่พอใจต่อผลกระทบของเขื่อนปากมูล และจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในวันสิทธิมนุษยชนสากล 10 ธันวาคม 2538 และเป็นกระบอกเสียงทางการเมืองแรกของคนชนบทนับแต่การปราบปรามสหพันธ์ชาวนาในปี 2518[2] ในการประชุมวันแรกนั้นมีการออกปฏิญญาแม่น้ำมูล ซึงวิจารณ์การให้ความสำคัญแก่การพัฒนาอุตสาหกรรมแต่ชุมชนท้องถิ่นเสียประโยชน์[2]

หนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ ลงว่า ปัญหาในระยะหลังของประเทศไทยมีส่วนอย่างมากกับตัวแสดงการเมืองพยายามบ่อนทำลายสมัชชาคนจน[3]

สมัชชาคนจน ได้เข้าร่วมในการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563[4]

อ้างอิง

  1. Phongpaichit, Pasuk (1999). Civilising the State: state, civil society and politics in Thailand (PDF). Amsterdam: Amsterdam: Centre for Asian Studies Amsterdam. pp. 1–14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-02. สืบค้นเมื่อ 2011-09-29.
  2. 2.0 2.1 Missingham, Bruce (November 2003). "Forging Solidarity and Identity in the Assembly of the Poor: from Local Struggles to a National Social Movement in Thailand". Asian Studies Review. 27 (3): 317–340. doi:10.1080/10357820308713381. S2CID 144927656.
  3. Chalermsripinyorat, Rungrawee. "POLITICS OF REPRESENTATION" (PDF). A Case Study of Thailand’s Assembly of the Poor. Routledge. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 May 2014. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  4. 'สมัชชาคนจน' ขู่ชุมนุมยืดเยื้อหากไม่ปล่อยตัว 'บารมี ชัยรัตน์' หนุนข้อเรียกร้องม็อบปลดแอก

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!