นางงามจักรวาล
การประกวดนางงามจักรวาล หรือ มิสยูนิเวิร์ส (อังกฤษ: Miss Universe) เป็นการประกวดความงามประจำปี เริ่มจัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2495 โดยแปซิฟิกมิลส์ บริษัทเสื้อผ้าจากรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ และหลังจากนั้นได้บริหารงานโดยเคย์เซอร์-รอธ (Kayser-Roth) และตามด้วยกัล์ฟแอนด์เวสเทิร์นอินดัสทรีซ์ (Gulf and Western Industries) จนกระทั่งปี พ.ศ. 2539 ดอนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งต่อมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ ได้ซื้อกิจการและบริหารงานโดยองค์การนางงามจักรวาล (Miss Universe Organization) ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ดอนัลด์ ทรัมป์ ได้ขายกิจการองค์การนางงามจักรวาลให้เอนเดฟเวอร์ (Endeavour) ผ่านไอเอ็มจี จนกระทั่งในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป ของจักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ได้เข้าซื้อกิจการองค์การนางงามจักรวาลผ่านเจเคเอ็น เมตาเวิร์ส ไอเอ็นซี ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่จัดตั้งตามกฎหมายของสหรัฐ [1] วันที่ 23 มกราคม 2567 เจเคเอ็นได้ขายหุ้น 50% ขององค์กรนางงามจักรวาลให้กับ ราอูล โรชา นักธุรกิจและเศรษฐีชาวเม็กซิโก ทำให้เป็นผู้ร่วมจัดการประกวดนางงามจักรวาลในปัจจุบัน
รูปแบบการแข่งขัน
ในยุคที่ไอเอ็มจีถือลิขสิทธิ์ การแข่งขันจะคัดเลือกสาวงามจากประเทศที่ส่งเข้าประกวด โดยผ่านรอบ Prelimnary ซึ่งคะแนนจากส่วนนี้จะส่งผลต่อการเข้ารอบในวันประกวดจริง โดยจะแยกเป็นคะแนนที่มาจาก การเดินชุดว่ายน้ำ (Swimming Suit Competition), การเดินชุดราตรี (Evening Gown Competition) และการสัมภาษณ์ต่อหน้าคณะกรรมการ (Interview) โดยเมื่อจบจากรอบนี้ ในวันประกวดจริง จะมีการประกาศผู้ที่ได้คะแนนสะสมจากรอบ Prelimnary ที่สูงสุด 20 อันดับเพื่อเข้ารอบ 20 คนสุดท้าย (Semifinalist) จากนั้นผู้เข้าประกวดทั้ง 20 คนจะต้องสปีช 15 วินาที เพื่อคัดเข้ารอบ 10 คนต่อไป โดยรอบ 10 คนสุดท้าย จะใช้การเดินชุดว่ายน้ำและชุดราตรีตัดสินผู้เข้ารอบ 5 คนสุดท้าย และผู้เข้ารอบ 5 คนสุดท้าย จะต้องตอบคำถามจากคณะกรรมการ เรียงตามลำดับการประกาศชื่อในรอบก่อนหน้า โดยคำถามที่แตกต่างกัน เพื่อคัดเข้ารอบ 3 คนสุดท้าย และทั้งสามคนจะต้องตอบคำถามเดียวกัน โดยผู้ที่รอตอบคำถาม จะต้องสวมหูฟังเพื่อไม่ให้ได้ยินเสียงผู้เข้าประกวดคนอื่น โดยคะแนนในรอบต่าง ๆ ที่ผ่านมาเป็นคะแนนตัดสิน ก่อนที่กรรมการแต่ละคนจะพิจารณาถึงความเหมาะสมในตำแหน่งต่าง ๆ อีกครั้งจากไฟนอลลุค ในช่วงสุดท้ายนางงามผู้ครองมงกุฎจากปีก่อนหน้าจะเดินอำลาตำแหน่ง ตามด้วยการประกาศรองอันดับสอง และผู้ครองตำแหน่งนางงามจักรวาล ตามลำดับ (ก่อนปี 2011 พิธีกรจะประกาศชื่อรองอันดับหนึ่ง ตามด้วยผู้ครองมงกุฎนางงามจักรวาล)
หลังจากเจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป เข้าซื้อกิจการองค์การนางงามจักรวาล จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเจเคเอ็นได้ประกาศว่านับตั้งแต่การประกวดนางงามจักรวาล 2023 เป็นต้นไป สตรีที่ผ่านการสมรสและสตรีข้ามเพศจะสามารถเข้าร่วมการประกวดได้ โดยจักรพงษ์ในฐานะเจ้าของกิจการองค์การนางงามจักรวาล จะไม่มีส่วนร่วมในการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ในการประกวดดังกล่าว[2] นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัวธุรกิจเสริม ได้แก่ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ[3], ผลิตภัณฑ์บำรุงร่างกาย[4] และกิจการนำเที่ยว[5]
ช่องโทรทัศน์
สหรัฐ
- CBS (1955 - 2002)
- NBC (2003 - 2014)
- FOX (2015 - 2019, 2021)
- FYI (2020)
- The Roku Channel (2022 – ปัจจุบัน)
ผู้ชนะการประกวดในช่วงไม่กี่ปี
ทำเนียบนางงามจักรวาล
-
-
-
-
นางงามจักรวาล 2021หรนาซ สันธู, อินเดีย
-
-
-
-
-
-
-
-
-
นางงามจักรวาล 2012โอลิเวีย คัลโป, สหรัฐ
-
นางงามจักรวาล 2011ไลลา ลอปึช, แองโกลา
-
-
-
-
นางงามจักรวาล 2007ริโยะ โมริ, ญี่ปุ่น
-
-
นางงามจักรวาล 2005นาตาลี เกลโบวา, แคนาดา
-
-
-
นางงามจักรวาล 2002จัสติน ปาเสค, ปานามา
-
นางงามจักรวาล 2001เดนิส กิญโญเนส, ปวยร์โตรีโก
-
นางงามจักรวาล 2000ลารา ดัตตา, อินเดีย
-
นางงามจักรวาล 1999เอ็มพูเล คเว-ลาโกเบ, บอตสวานา
-
นางงามจักรวาล 1998เวนดี ฟิตซ์วิลเลียม, ตรินิแดดและโตเบโก
-
นางงามจักรวาล 1997บรุก ลี, สหรัฐ
-
นางงามจักรวาล 1996อาลิเซีย มาชาโด, เวเนซุเอลา
-
นางงามจักรวาล 1994ชุชมิตา เซน, อินเดีย
-
นางงามจักรวาล 1993ดายานารา ตอร์เรส, ปวยร์โตรีโก
-
นางงามจักรวาล 1991ลูปิตา ยอนส์, เม็กซิโก
-
นางงามจักรวาล 1989แองเจลา ฟิสเซอร์, เนเธอร์แลนด์
-
นางงามจักรวาล 1987เซซิเลีย โบโลโก, ชิลี
-
นางงามจักรวาล 1984อีวอนน์ ไรดิง, สวีเดน
-
นางงามจักรวาล 1983ลอร์เรน ดาวเนส, นิวซีแลนด์
-
นางงามจักรวาล 1980ชอว์น เวเธอร์ลี, สหรัฐ
-
นางงามจักรวาล 1979มาริตซา ซายาเลโร, เวเนซุเอลา
-
นางงามจักรวาล 1977จาเนียล คอมมิสซิออง, ตรินิแดดและโตเบโก
-
นางงามจักรวาล 1976รีนา เมซซิงเกอร์, อิสราเอล
-
นางงามจักรวาล 1973มาการีตา โมแรน, ฟิลิปปินส์
-
นางงามจักรวาล 1969กลอเรีย เดียซ, ฟิลิปปินส์
-
นางงามจักรวาล 1968มาร์ธา แวสคอนเซลลอส, บราซิล
-
นางงามจักรวาล 1967ซิลเวีย ฮิชค็อก, สหรัฐ
-
นางงามจักรวาล 1965อาภัสรา หงสกุล, ไทย
-
-
นางงามจักรวาล 1959อากิโกะ โคจิมะ, ญี่ปุ่น
-
นางงามจักรวาล 1956แครอล มอร์ริส, สหรัฐ
-
-
องค์กรนางงามจักรวาล
องค์การนางงามจักรวาล เป็นองค์การในปัจจุบันที่เป็นเจ้าของและดำเนินการประกวดนางงามจักรวาล จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2020 องค์การนางงามจักรวาลได้ประกาศให้สิทธิ์การดำเนินการจัดประกวดมิสยูเอสเอและมิสทีนยูเอสเอ ให้กับคริสตัล สจวร์ต ซึ่งเป็นมิสยูเอสเอ 2008 แต่อีกสองปีต่อมาเธอถูกระงับการปฏิบัติหน้าที่ สิทธิ์ดังกล่าวจึงกลับมาอยู่กับองค์กรนางงามจักรวาล[6][7]
องค์การนางงามจักรวาล มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครนิวยอร์ก, เม็กซิโกซิตี และจังหวัดสมุทรปราการ องค์การขายสิทธิทางโทรทัศน์ให้กับการประกวดนางงามจักรวาลในประเทศอื่น ๆ
ผู้ครองตำแหน่งองค์การนางงามจักรวาล
ด้านล่างนี้เป็นรายนามผู้ครองตำแหน่งทั้งหมดขององค์การนางงามจักรวาลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
- หมายเหตุ
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 รองอันดับ 1 มิสยูเอสเอ ได้รับตำแหน่งมิสยูเอสเอหลังจากที่เจ้าของตำแหน่งเดิมได้รับตำแหน่งนางงามจักรวาลหรือถอนตัวจากตำแหน่งมิสยูเอสเอไม่ว่ามีกรณีใดก็ตาม
- ↑ 2.0 2.1 มิสยูเอสเอและมิสทีนยูเอสเอไม่ได้อยู่ภายใต้ดำเนินการขององค์การนางงามจักรวาลในปี 2021 และปี 2022
- ↑ ในปี 2002 ออกซานา โฟยโดโรวา ลาออกจากตำแหน่งนางงามจักรวาล
- ↑ รองอันดับ 1 นางงามจักรวาล ได้รับตำแหน่งนางงามจักรวาลหลังจากที่เจ้าของตำแหน่งเดิมลาออกจากตำแหน่งหรือถอดตำแหน่งนางงามจักรวาล
- ↑ ในปี 1957 แมรี ลีโอนา เกจ ถูกถอดตำแหน่งมิสยูเอสเอ เมื่อมีการเปิดเผยว่าเธอแต่งงานแล้วและเป็นแม่ของลูกสองคน
-
คริสตัล สจวร์ต มิสยูเอสเอ 2008 และ สเตวี เพร์รี มิสทีนยูเอสเอ 2008
-
ฮิลารี ครูซ มิสทีนยูเอสเอ 2007 และ คริสตัล สจวร์ต มิสยูเอสเอ 2008
-
ฮิลารี ครูซ มิสทีนยูเอสเอ 2007 และ ริโยะ โมริ นางงามจักรวาล 2007 เข้าร่วม "แฟชันร็อกส์เดอะยูนิเวิร์ส" ก่อนการประกวดมิสยูเอสเอ 2008
-
เรเชล สมิท มิสยูเอสเอ 2007 และ ฮิลารี ครูซ มิสทีนยูเอสเอ 2007 ลงนามลายมือชื่อในทัวร์ USO ของฐานทัพญี่ปุ่น
-
เชลซี คูลีย์, มิสยูเอสเอ 2005 และ เชลลีย์ แฮนนิก มิสทีนยูเอสเอ 2004 ที่อ่าวฮวนตานาโม
-
นางงามจักรวาล 2002, จัสติน ปาเสค, กับ มิสยูเอสเอ 2002 ชานเทย์ ฮินตัน และ มิสทีนยูเอสเอ 2002 วาเนสซา เซมโรว์ ที่อ่าวกวนตานาโม
-
คริสตัล สจวร์ต มิสยูเอสเอ 2008 และ ดายานา เมนโดซา นางงามจักรวาล 2008 ที่อ่าวกวนตานาโม
-
ชอว์น เวเทอร์ลี นางงามจักรวาล 1980 และ คิม ซีลบรีด มิสยูเอสเอ 1981 ร่วมกับประธานาธิบดีสหรัฐ โรนัลด์ เรแกน
รางวัลพิเศษ
ตัวแทนประเทศไทย
ปัจจุบันตัวแทนประเทศไทยในการประกวดนางงามจักรวาลสามารถเข้ารอบได้เป็นจำนวนทั้งหมด 15 ครั้ง โดยตำแหน่งที่ดีที่สุด ณ ขณะนี้คือ นางงามจักรวาล ในปี 1965 และ 1988 สำหรับตำแหน่งล่าสุดของประเทศไทยคือ รองชนะเลิศอันดับ 3 ในปี 2024
ผลงานตัวแทนประเทศไทยในนางงามจักรวาล
|
ตำแหน่งในการประกวด
|
ตัวแทนประเทศไทย
|
นางงามจักรวาล
|
|
รองชนะเลิศอันดับ 1
|
|
รองชนะเลิศอันดับ 2
|
|
รองชนะเลิศอันดับ 3
|
|
เข้ารอบ 5 คนสุดท้าย
|
|
เข้ารอบ 6 คนสุดท้าย
|
|
เข้ารอบ 10 คนสุดท้าย
|
|
เข้ารอบ 15 คนสุดท้าย
|
|
เข้ารอบ 20 คนสุดท้าย
|
|
รางวัลพิเศษ
|
ตัวแทนประเทศไทย
|
ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม
|
|
ขวัญใจช่างภาพ
|
|
มิสปอปปูล่าโหวต
|
|
นางงามยิ้มสวย
|
|
นางงามมิตรภาพ
|
|
ผู้สร้างอิมแพคให้กับสังคม (Leadership Awards ImpacWayv)
|
|
Voice for Change Silver
|
|
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
ดำเนินการอยู่ (1952–ปัจจุบัน) |
---|
แอฟริกา | |
---|
อเมริกา | |
---|
เอเชีย | |
---|
ยุโรป | |
---|
โอเชียเนีย | |
---|
|
| |
---|
แอฟริกา | |
---|
อเมริกา | |
---|
เอเชีย | |
---|
ยุโรป | |
---|
โอเชียเนีย | |
---|
|
| ดินแดนที่ไม่ได้ดำเนินการ (1952–2006) |
---|
ประเทศองค์ประกอบของบริเตนใหญ่ | |
---|
จังหวัดของญี่ปุ่น | |
---|
บันตูสถานของแอฟริกาใต้ | |
---|
รัฐของสหรัฐ | |
---|
อดีตหน่วยงาน (1952–2006) | |
---|
|
|
เวทีการประกวดนางงามระดับนานาชาติที่สำคัญ |
---|
| |
|
|