ธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1931 (อังกฤษ : Statute of Westminster, 1931 )[ a] เป็นพระราชบัญญัติแห่งสหราชอาณาจักรที่กำหนดหลักการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรเครือจักรภพ กับพระมหากษัตริย์ (The Crown)[ 1]
ผ่านเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1931 โดยผลของธรรมนูญ[ 2] ทำให้ประเทศในเครือจักรภพ ทั้งหลายในจักรวรรดิอังกฤษ ที่มีความสามารถในการปกครองตนเองระดับหนึ่งสามารถมีเอกราชทางนิติบัญญัติได้อย่างสมบูรณ์จากสหราชอาณาจักร และยังมีผลบังคับให้ประเทศเหล่านี้ต้องได้รับการรับรองของกันและกันในประเด็นของการเปลี่ยนแปลงพระอิสริยยศแห่งพระมหากษัตริย์และการสืบราชสันตติวงศ์ โดยธรรมนูญนี้สามารถมีผลบังคับใช้ได้ทันทีหรือภายหลังการให้สัตยาบัน จึงทำให้หลักการด้านความเท่าเทียมกันและการยอมรับต่อพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรตามที่กล่าวไว้ในคำประกาศบัลโฟร์ ค.ศ. 1926 ที่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นนั้นชอบด้วยกฎหมาย
ธรรมนูญนี้ได้ถอดถอนอำนาจแทบทั้งหมดของรัฐสภาสหราชอาณาจักรในการตรากฎหมายสำหรับประเทศในเครือจักรภพ ซึ่งมีผลทำให้ประเทศเหล่านี้มีเอกราชเป็นของตนเองโดยปริยาย ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการเปลี่ยนผ่านจากความเป็นประเทศในเครือจักรภพไปสู่รัฐเอกราชโดยสมบูรณ์
การมีผลบังคับใช้
ออสเตรเลีย
ภาพวาด "The Big Picture" แสดงการเปิดสมัยประชุมรัฐสภาออสเตรเลีย เมื่อ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1901 โดยจิตรกร ทอม รอเบิร์ต
ออสเตรเลียได้รับธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์ในตอนที่ 2 ถึง 6 โดยตราเป็นพระราชบัญญัติการรับรองธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1942 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชัดเจนในการนิติบัญญัติของออสเตรเลียในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งในการรับรองนั้นได้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังไปถึง 3 กันยายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นวันที่สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย เข้าร่วมสงคราม
ในการรับรองเนื้อหาตอนที่ 2 ของธรรมนูญได้แจกแจงว่ารัฐสภาออสเตรเลียสามารถที่จะตรากฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสหราชอาณาจักรได้ และในการรับรองเนื้อหาตอนที่ 3 ได้อธิบายว่าออสเตรเลียสามารถมีอำนาจนิติบัญญัตินอกอาณาเขตได้ การรับรองเนื้อหาตอนที่ 4 ระบุว่าสหราชอาณาจักรสามารถมีอำนาจนิติบัญญัติต่อออสเตรเลียทั้งประเทศได้เฉพาะในกรณีที่ได้รับการร้องขอและยินยอมโดยออสเตรเลีย
อำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภาสหราชอาณาจักรต่อออสเตรเลียนั้นสิ้นสุดลงกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติออสเตรเลีย ค.ศ. 1986 ซึ่งในฉบับของสหราชอาณาจักรระบุว่าได้ผ่านโดยคำร้องขอและคำยินยอมจากรัฐสภาออสเตรเลีย ซึ่งได้รับความเห็นชอบโดยรัฐสภาของรัฐต่างๆ ในออสเตรเลียในเวลาเดียวกัน[ 3]
แคนาดา
กฎหมายนี้จำกัดอำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภาสหราชอาณาจักร ต่อแคนาดา ซึ่งมีผลทำให้แคนาดามีอิสรภาพในด้านนิติบัญญัติในฐานะของประเทศในเครือจักรภพ ที่ปกครองตนเองได้ อย่างไรก็ตามรัฐสภาสหราชอาณาจักรยังคงไว้ซึ่งอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญแคนาดาตามคำร้องของรัฐสภาแคนาดา ซึ่งได้มีผลมาจนถึงการผ่านรัฐธรรมนูญแคนาดา ค.ศ. 1982 ซึ่งถ่ายโอนอำนาจมาเป็นของประเทศแคนาดา อย่างสมบูรณ์ โดยถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการได้รับเอกราชอย่างเต็มตัว[ 4] [ 5] [ 6]
เสรีรัฐไอริช
นิวซีแลนด์
รัฐสภานิวซีแลนด์ ได้รับธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์โดยผ่านพระราชบัญญัติการรับธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1947 เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1947 ตามด้วยพระราชบัญญัติการแก้ไขรัฐธรรมนูญนิวซีแลนด์ซึ่งผ่านรัฐสภาในปีเดียวกันโดยมีสาระสำคัญคือการยอมให้รัฐสภานิวซีแลนด์มีอำนาจเต็มในการแก้ไขรัฐธรรมนญแต่อย่างไรก็ดียังไม่ได้เพิกถอนสิทธิของรัฐสภาสหราชอาณาจักรในการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญนิวซีแลนด์ ซึ่งบทบาทที่เหลืออยู่ของรัฐสภาสหราชอาณาจักรนั้นถูกยกเลิกโดยสมบูรณ์โดยรัฐธรรมนูญนิวซีแลนด์ ค.ศ. 1986 และจึงทำให้ธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์นั้นมีผลถูกยกเลิกไปทั้งฉบับ[ 3] [ 7]
นิวฟันด์แลนด์
ประเทศนิวฟันด์แลนด์ในเครือจักรภพ ไม่เคยรับรองธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจต่างๆ และการคอรัปชั่น ในปีค.ศ. 1934 โดยการร้องขอจากรัฐบาลนิวฟันด์แลนด์ สหราชอาณาจักรได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการรัฐบาลขึ้นเพื่อนำการปกครองโดยตรงกลับมาใช้จนกระทั่งปีค.ศ. 1949[ 8] เมื่อนิวฟันด์แลนด์กลายมาเป็นรัฐหนึ่งของแคนาดาจากการออกเสียงประชามติเมื่อค.ศ. 1948[ 9]
สหภาพแอฟริกาใต้
แม้ว่าสหภาพแอฟริกาใต้ นั้นไม่อยู่ในกลุ่มประเทศในเครือจักรภพที่จำเป็นจะต้องรับรองธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์จึงจะสามารถบังคับใช้ได้ อย่างไรก็ตามสหภาพแอฟริกาใต้ ได้ผ่านพระราชบัญญัติสองฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติสถานะของสหภาพ ค.ศ. 1934 และพระราชบัญญัติอำนาจบริหารและตรา ค.ศ. 1934 โดยมีวัตถุประสงค์ในการรับรองสถานะของแอฟริกาใต้ในฐานะประเทศเอกราช[ 10]
ความเกี่ยวข้องต่อการสืบราชสันตติวงศ์
นายกรัฐมนตรีแคนาดา วิลเลียม ไลอัน แมกเคนซี คิง (ซ้าย) และนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร สแตนลีย์ บอลดวิน (ขวา) เมื่อ ค.ศ. 1926
ในบทนำของธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์ได้กำหนดถึงขนบประเพณีที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนกฎการสืบราชสันตติวงศ์ แห่งพระมหากษัตริย์ในย่อหน้าที่สองของบทนำระบุว่า
และทั้งที่เป็นการสมควรและเหมาะสมที่จะกำหนดไว้ในคำนำในพระราชบัญญัตินี้ว่าตราบเท่าที่สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ของสมาชิกสัมพันธ์เสรีในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ ซึ่งได้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวภายใต้ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์เสมอเหมือนกัน จึงเป็นการสอดคล้องกันกับสถานะทางรัฐธรรมนูญที่ได้จัดตั้งขึ้นของประเทศสมาชิกแห่งเครือจักรภพซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันว่าการเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆ ในกฎหมายที่จะเกี่ยวข้องกับการรสืบราชสันตติวงศ์หรือพระอิสริยยศจะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตและได้รับการยินยอมเห็นชอบจากรัฐสภาในประเทศเครือจักรภพทั้งหมดรวมถึงรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร
ซึ่งหมายความว่า ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงของบทบัญญัติในพระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ของประเทศใดๆ ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญที่ห้ามมิให้ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกขึ้นครองราชสมบัติ ซึ่งการจะเปลี่ยนแปลงบทบัญญัตินี้ได้นั้นจะต้องได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภาทั้งหมดในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ หากจะคงไว้ซึ่งวัตถุประสงค์เดียวกันเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ คำนำนี้ไม่ได้มีบทบัญญัติที่สามารถบังคับใช้ได้เอง โดยเพียงแค่เป็นการชี้ให้เห็นถึงจารีตรัฐธรรมนูญแม้ว่าจะมีเพียงพื้นฐานประการหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรเครือจักรภพ (ในฐานะของรัฐเอกราชนั้น แต่ละรัฐย่อมมีอิสระในการเพิกถอนจากข้อตกลงโดยผ่านขั้นตอนของการแก้ไขรัฐธรรมนูญในรัฐนั้นๆ) นอกจากนี้ ในหมวดที่ 4 บัญญัติไว้ว่าหากอาณาจักรใดมีความประสงค์ที่จะให้ผ่านกฎหมายสหราชอาณาจักรเพื่อแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ของสหราชอาณาจักรเพื่อจะนำไปใช้ในเป็นกฎหมายของอาณาจักรนั้น จึงจะถือเป็นการแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ของอาณาจักรนั้นได้ ซึ่งจะต้องมีการร้องขอต่อและต้องได้รับการยินยอมรัฐสภาสหราชอาณาจักรโดยตราเป็นกฎหมายสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตามหมวดที่ 4 แห่งธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์นั้นถูกยกเลิกในหลายอาณาจักรโดยถูกแทนที่ด้วยมาตราในรัฐธรรมนูญที่ห้ามมิให้รัฐสภาสหราชอาณาจักรเข้ามามีอำนาจนิติบัญญัติในอาณาจักรนั้นๆ โดยเด็ดขาด
เหตุนี้จึงทำให้เกิดความกังวลในหลายฝ่าย ซึ่งหมายความว่ารัฐสภาในทุกประเทศจะต้องให้คำยินยอมต่อความเปลี่ยนแปลงใดๆ ของแต่ละอาณาจักรที่จะเปลี่ยนแปลงกฎการสืบราชสันตติวงศ์ดังตัวอย่างเช่นในความตกลงเพิร์ธ ซึ่งเป็นข้อเสนอในการยกเลิกหลักสิทธิของบุตรชายหัวปี [ 11]
กรณีสละราชสมบัติของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8
ตราสารแห่งการสละราชสมบัติ ลงพระปรมาภิไธยโดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 พร้อมด้วยพระอนุชาทั้งสามพระองค์ ได้แก่ เจ้าชายอัลเบิร์ต , เจ้าชายเฮนรี และเจ้าชายจอร์จ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1936
ในช่วงวิกฤตการณ์สละราชสมบัติ ในปีค.ศ. 1936 นายกรัฐมนตรีสแตนลีย์ บอลดวิน ได้หารือกับนายกรัฐมนตรีในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ ตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 เนื่องจากทรงมีพระราชประสงค์จะอภิเสกกับวอลลิส ซิมป์สัน ผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีและนักการเมืองทั้งหลายในสหราชอาณาจักรเห็นว่าไม่เหมาะสมต่อฐานะสมเด็จพระราชินีเนื่องจากเป็นชาวอเมริกันผู้ที่เคยผ่านการหย่าร้างมาก่อน บอลดวินยังสามารถได้ความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีจากห้าประเทศในเครือจักรภพให้ตกลงต่อความไม่ชอบนี้และบันทึกความไม่เห็นชอบต่อการอภิเสกสมรส ต่อมาทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยให้นายกรัฐมนตรีทั้งหลายในเครือจักรภพตกลงเห็นชอบกันเรื่องแผนการรอมชอมที่จะทรงอภิเสกต่างฐานันดร ซึ่งจะทำให้วอลลิส ซิมป์ซันไม่ได้ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินี และด้วยการกดดันจากบอลดวิน แผนสำรองนี้ไม่ได้รับการเห็นชอบโดยกลุ่มประเทศในเครือจักรภพ โดยข้อต่อรองต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นในระดับการทูตเท่านั้น และไม่เคยถึงรัฐสภาในประเทศเครือจักรภพเลย อย่างไรก็ดี การตรากฎหมายเพื่อยินยอมให้มีการสละราชสมบัติ (พระราชบัญญัติพระราชประสงค์ในการสละราชสมบัติ ค.ศ. 1936 ) ต้องการความเห็นชอบของรัฐสภาของแต่ละประเทศในเครือจักรภพ และได้รับการยินยอมจากรัฐบาลของประเทศนั้นๆ เพื่อที่จะบังคับใช้เป็นพระราชบัญญัติของในแต่ละประเทศได้โดยสมบูรณ์ เพื่อความสะดวกและหลีกเลี่ยงความลำบากใจนั้น รัฐบาลสหราชอาณาจักรจึงแนะนำให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ในเครือจักรภพให้เห็นชอบต่อประเด็นว่าสมาชิกในพระราชวงศ์พระองค์ใดที่ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรนั้นย่อมเป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศในเครือจักรภพอื่นๆ โดยปริยาย อย่างไรก็ตาม ประเทศอื่นๆ ไม่ยอมรับข้อเสนอนี้ วิลเลียม ไลอัน แมกเคนซี คิง นายกรัฐมนตรีแคนาดา ได้ระบุว่าธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์บัญญัติไว้ชัดว่าแคนาดาจะต้องได้รับคำร้องขอและต้องให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายใดๆ ที่ผ่านโดยรัฐสภาสหราชอาณาจักร ก่อนที่จะมาบังคับใช้เป็นกฎหมายแคนาดาและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการสืบสันตติวงศ์ของแคนาดาได้ โดยบทบัญญัติในพระราชบัญญัติฉบับของสหราชอาราจักรบัญญัติไว้ว่าแคนาดาจะต้องได้รับคำร้องขอและแคนาดาจะต้องให้ความเห็นชอบ (เป็นประเทศเดียวในเครือจักรภพ[ 12] ) ในพระราชบัญญัติใดๆ ที่จะบังคับใช้ในแคนาดาภายใต้ธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ ในขณะที่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้เพียงแค่ให้ความยินยอมเพียงฝ่ายเดียว
อนุสรณ์
ในบางประเทศซึ่งกำหนดให้ธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ วันครบรอบของการผ่านร่างกฎหมายนี้มีพิธีรำลึกกันโดยกำหนดเป็น "วันธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์" ในประเทศแคนาดา ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่าทุกวันที่ 11 ธันวาคม ของทุกปีจะมีการเชิญธงราชธวัชสหภาพ (Royal Union Flag) ซึ่งคือธงยูเนียนแจ็ก ซึ่งเป็นชื่อเรียกตามกฎหมายในแคนาดา ขึ้นสู่ยอดเสาในบริเวณสถานที่ราชการในพระมหากษัตริย์แห่งสหพันธ์[ 13] ที่มีเสาธงรอง
ดูเพิ่ม
หมายเหตุ
↑ 1.0 1.1 ในชื่อย่อตามหมวดที่ 12 ของพระราชบัญญัตินี้ เมื่อแรกเริ่มตราขึ้น ชื่อเรื่องได้มีเครื่องหมายลูกน้ำ (ในภาษาอังกฤษ) ดังนี้ "Statute of Westminster, 1931" ซึ่งต่อมาเครื่องหมายลูกน้ำได้ถูกถอดออกในการแก้ไขพระราชบัญญัตินี้ในกาลต่อมา การตราชื่อย่อของพระราชบัญญัติในสมัยใหม่ของสหราชอาณาจักรนั้นยกเลิกการใช้เครื่องหมายลูกน้ำก่อนการระบุวันที่
อ้างอิง
↑ Mackinlay, Andrew (10 March 2005). "Early day motion 895: Morganatic Marriage and the Statute of Westminster 1931" . Queen's Printer. สืบค้นเมื่อ 5 November 2011 .
↑ "Statute of Westminster 1931" (PDF) . legislation.gov.uk . The National Archives (UK). 2017. สืบค้นเมื่อ 10 February 2017 . All content is available under the Open Government Licence v3.0
↑ 3.0 3.1 Twomey 2011 , p. 10 harvnb error: no target: CITEREFTwomey2011 (help )
↑ "Proclamation of the Constitution Act, 1982" . Canada.ca . Government of Canada. 5 May 2014. สืบค้นเมื่อ 10 February 2017 .
↑ "A statute worth 75 cheers" . Globe and Mail . Toronto. 17 March 2009. สืบค้นเมื่อ 10 February 2017 .
↑ Couture, Christa (1 January 2017). "Canada is celebrating 150 years of… what, exactly?" . CBC . CBC. สืบค้นเมื่อ 10 February 2017 . ... the Constitution Act itself cleaned up a bit of unfinished business from the Statute of Westminster in 1931, in which Britain granted each of the Dominions full legal autonomy if they chose to accept it. All but one Dominion — that would be us, Canada — chose to accept every resolution. Our leaders couldn't decide on how to amend the Constitution, so that power stayed with Britain until 1982.
↑ A.E. Currie, New Zealand and the Statute of Westminster, 1931 (Butterworth, 1944).
↑ Webb, Jeff A. (January 2003). "The Commission of Government, 1934–1949" . Newfoundland and Labrador Heritage Web Site (2007). สืบค้นเมื่อ 2007-08-10 .
↑ "Newfoundland Joins Canada) and Newfoundland and Confederation (1949)" . .marianopolis.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ กรกฎาคม 20, 2008. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 3, 2010 .
↑ Dugard, John; Bethlehem, Daniel L.; Du Plessis, Max (2005). International law: a South African perspective . Juta & Co. p. 19. ISBN 978-0-7021-7121-5 .
↑ "Consent given for change to royal succession rules" . BBC News . สืบค้นเมื่อ 8 December 2012 .
↑ E. C. S. W. (June 1937). "Declaration of Abdication Act, 1936". Modern Law Review . 1 (1): 64–66.
↑ Kinsella, Noël (11 December 2006), Statute of Westminster Day (PDF) , Queen's Printer for Canada, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 18 December 2014, สืบค้นเมื่อ 11 December 2012