ทับหลัง เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 9 ของ คาราบาว ภายใต้สังกัดแว่วหวาน กำหนดเดิมออกจำหน่ายวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 แต่เมื่อทางสถาบันศิลปะนครชิคาโก รัฐอิลลินอย สหรัฐอเมริกา ยินยอมให้นำทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์กลับคืนสู่ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ภายในวันที่ 10 พฤศจิกายน อัลบั้มก็ได้เลื่อนวันจำหน่ายเป็นวันที่ 9 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันเกิดของหัวหน้าวงคาราบาว เนื่องจากเนื้อหาของบทเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้มเป็นเพียงการเรียกร้องให้กลับคืนมาซึ่งไม่กำหนดวันที่แน่นอน พอเมื่อสถานการณ์พลิกกลับจึงนำเพลง "แม่สาย" ขึ้นมาเป็นเพลงนำร่องอีกเพลงหนึ่ง [1]
สมาชิกวงในชุดนี้ยังคงเป็นชุดคลาสสิก แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาจากชุดที่แล้วก็คือ มีความคืบหน้าทางดนตรีที่เด่นชัดยิ่งขึ้น ด้วยรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย เช่น มีการเริ่มใช้คอรัสหญิงมาสอดใส่เสียงประสาน มีการใช้เสียงพูดกับดนตรีตลอดเพลง ในภาคการโปรโมทนั้นได้มีการผลิตมิวสิกฟิล์มเป็นครั้งแรกในเพลง "ทับหลัง" และมิวสิกแอนิเมชั่นครั้งแรกในเพลง "แม่สาย" จากฝีมือของกลุ่มอัศเจรีย์ และเพลง "รักทรหด" ที่ได้นำดาวตลกชื่อดังอย่าง อรุณ ภาวิไล และ ปู โลกเบี้ยว มาเล่นมิวสิกวิดีโอให้กับคาราบาวเป็นครั้งแรก ซึ่งเพลงรักทรหดได้มีการถ่ายทอดเรื่องราวต่อเป็นภาคสองในอัลบั้มถัดไป
เพลงดังในอัลบั้มชุดนี้ ได้แก่ "ทับหลัง", "รักทรหด"(ภาค 1) และเพลงสะท้อนสังคมที่มีความหมายลึกซึ้งกินใจอย่าง "แม่สาย" ซึ่งเพลงดังกล่าวยังคงถูกเผยแพร่และมีศิลปินคนอื่นๆ ในแนวเดียวกันและต่างแนวนำขับร้องใหม่จนถึงปัจจุบัน ส่วนเพลงที่ถูกทาง กบว. ห้ามออกอากาศได้แก่เพลง "พระอภัยมุณี" และถือเป็นอัลบั้มชุดสุดท้ายของสมาชิกยุคคลาสสิกเมื่อเกิดข่าวการแยกวง จนมีการออกอัลบั้มในลักษณะเดี่ยวและส่วนหนึ่งของวงในภายหลัง [2]
|
1. | "ทับหลัง" | คำร้อง/ทำนอง: ยืนยง โอภากุล | 5.27 |
---|
2. | "รักทรหด" | คำร้อง/ทำนอง: ยืนยง โอภากุล | 3.42 |
---|
3. | "ลูกบ้างเน้อ" | คำร้อง/ทำนอง: ปรีชา ชนะภัย | 5.11 |
---|
4. | "มิสชาวนา" | คำร้อง: ยืนยง โอภากุล ทำนอง: ปรีชา ชนะภัย | 4.45 |
---|
5. | "แม่สาย" | คำร้อง: ยืนยง โอภากุล ทำนอง: ปรีชา ชนะภัย | 4.52 |
---|
6. | "น้ำท่วม" | ไพบูลย์ บุตรขัน (ดัดแปลงเนื้อร้องโดย ยืนยง โอภากุล) | 3.53 |
---|
7. | "ปาณาฯ" | คำร้อง/ทำนอง: ยืนยง โอภากุล | 4.47 |
---|
8. | "หนุ่มสุพรรณ (2)" | มานพ รัตนพันธากุล (ครูตึ๋ง) & ยืนยง โอภากุล | 3.49 |
---|
9. | "พระอภัยมุณี" | คำร้อง/ทำนอง: ยืนยง โอภากุล | 4.53 |
---|
10. | "ถึกควายทุย ภาค 9" | คำร้อง: ยืนยง โอภากุล ทำนอง: ปรีชา ชนะภัย | 2.37 |
---|
11. | "นิค" | คำร้อง: ยืนยง โอภากุล ทำนอง: ปรีชา ชนะภัย | 4.12 |
---|
12. | "น้า" | คำร้อง: ยืนยง โอภากุล, ปรีชา ชนะภัย ทำนอง: ปรีชา ชนะภัย | 4.06 |
---|
ความยาวทั้งหมด: | 52:14 |
---|
มิวสิกวิดีโอ
- ทับหลัง
- แม่สาย
- รักทรหด
- หนุ่มสุพรรณ 2
ผู้ร่วมงาน
- แอ๊ด : ร้องนำ, กีตาร์โซโล่, กีตาร์คอร์ด, กีตาร์โปร่ง , คำร้อง, ทำนอง, ควบคุมการผลิต, คุมเสียง
- เล็ก : ร้องนำ เพลง ลูกบ้างเน้อ, กีตาร์โซโล่, กีตาร์โปร่ง, กีตาร์คอร์ด, คีย์บอร์ด, กลองไฟฟ้า, ประสานเสียง, คำร้อง, ทำนอง, ควบคุมการผลิต
- เทียรี่ : ร้องนำ เพลง แม่สาย, กีตาร์โซโล่, กีตาร์โปร่ง, กีตาร์คอร์ด, ประสานเสียง
- อ๊อด : เบส, คุมเสียง
- อ.ธนิสร์ : คีย์บอร์ด, เปียโน, แซ็กโซโฟน เพลง รักทรหด, ขลุ่ย และร้องนำ เพลง พระอภัยฯ
- เขียว : ประสานเสียง, คุมโปรแกรม, คุมเสียง
- เป้า : กลองไฟฟ้า, คุมเสียง
- ปุ้ม ตาวัน : เปียโน-คีย์บอร์ด
- นิ่ม, ส้ม : ประสานเสียง
- ครูตึ๋ง : ช่วยแต่งเนื้อเพลง หนุ่มสุพรรณ (2)
- เอก, จอม : คุมเสียง
คอนเสิร์ต
- รายการ โลกดนตรี วันที่ 27 พ.ย. 2531
- รายการ เอ็ม 88 ซูเปอร์แจม วีคเอนด์คอนเสิร์ต วันที่ 2 ธ.ค. 2531 (รายได้มอบให้ผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้)
- แสดงสดฉลองทับหลังนารายณบรรทมสินธุ์ ที่ปราสาทพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ วันที่ 4 ธ.ค. 2531
- คอนเสิร์ต เมืองหลวงห่วงเมืองใต้ ร่วมกับ กองทัพบก และ กรุงเทพมหานคร ที่ท้องสนามหลวง วันที่ 9 ธ.ค. 2531
- รายการ 7 สีคอนเสิร์ต วันที่ 17 ธ.ค. 2531
การจัดจำหน่าย
รางวัล
- ได้รับรางวัล
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ มิวสิกวิดีโอรองดีเด่น ปี 2531 (เพลงทับหลัง)
- รางวัล BAD AWARDS 1988 มิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยม/ รางวัลด้านตัดต่อภาพ/ รางวัลด้านกำกับศิลป์ จากเพลง "แม่สาย"
และ รางวัลด้านถ่ายภาพจากเพลง "ทับหลัง"
- ได้เข้าชิง
- รางวัลสีสัน อะวอร์ดส์ ครั้งที่ 1 ปี 2531 สาขาศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม
- ติดอันดับ
- รายการดาวเทียมทองคำ โค้ก มิวสิกอะวอร์ด
เพลง ทับหลัง ติดอันดับเดือนธันวาคม 2531 - กุมภาพันธ์ 2532
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
|
---|
|
สตูดิโออัลบั้ม | |
---|
อัลบั้มพิเศษ | |
---|
ผลงานเพลง | |
---|
คอนเสิร์ตครั้งใหญ่ | |
---|
ค่ายเพลง | |
---|
ดูเพิ่มเติม | |
---|