ทะเลทรายสะฮารา (الصحراء الكبرى)
|
ทะเลทรายใหญ่
|
พื้นที่แห้งแล้ง
|
|
ประเทศ
|
แอลจีเรีย, ชาด, อียิปต์, เอริเธรีย, ลิเบีย, มาลี, มอริเตเนีย, โมร็อกโก, ไนเจอร์, ซูดาน, ตูนิเซีย, เวสเทิร์นสะฮารา
|
|
จุดสูงสุด
|
Emi Koussi 11,204 ft (3,415 m)
|
- coordinates
|
19°47′36″N 18°33′6″E / 19.79333°N 18.55167°E / 19.79333; 18.55167
|
จุดต่ำสุด
|
Qattara Depression −436 ft (−133 m)
|
- coordinates
|
30°0′0″N 27°5′0″E / 30.00000°N 27.08333°E / 30.00000; 27.08333
|
|
ความยาว
|
4,800 km (2,983 mi), E/W
|
Width
|
1,800 km (1,118 mi), N/S
|
พื้นที่
|
9,400,000 ตร.กม. (3,629,360 ตร.ไมล์)
|
|
ไบโอม
|
ทะเลทราย
|
|
ทะเลทรายสะฮารา (อังกฤษ: Sahara) เป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นบริเวณแห้งแล้งใหญ่สุดเป็นอันดับสามรองจากทวีปแอนตาร์กติกาและอาร์กติก[1] มีเนื้อที่มากกว่า 9,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,500,000 ตารางไมล์ คำว่า สะฮารา ในภาษาอาหรับ (صحراء, ออกเสียงⓘ) หมายถึง ทะเลทราย
อาณาเขตของทะเลทรายสะฮารา ด้านทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศเหนือคือเทือกเขาแอตลาสและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันออกจรดทะเลแดงและประเทศอียิปต์ ทิศใต้จรดประเทศซูดานและหุบเขาของแม่น้ำไนเจอร์
ภูมิศาสตร์
ทะเลทรายสะฮาราครอบคลุมส่วนใหญ่ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย, ชาด, อียิปต์, ลิเบีย, มาลี, มอริเตเนีย, โมร็อกโก, ไนเจอร์, เวสเทิร์นสะฮารา, ซูดานและตูนิเซีย
ทะเลทรายสะฮารา มีความกว้างขวางถึง 9,000,000 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียทั้งทวีป มีขนาดพื้นที่พอ ๆ กับสหรัฐอเมริกา และเป็นเนื้อที่ 1 ใน 3 ของทวีปแอฟริกาทั้งหมด[2] แต่นับเป็นทะเลทรายที่ถือกำเนิดได้ราว 2,000 ปีเท่านั้น โดยเกิดจากความแห้งแล้งลงของภูมิภาคแอฟริกาเหนือ ซึ่งในอดีตเมื่อกว่า 4,000 ปีก่อน ณ ที่แห่งนี้ยังเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์คล้ายโอเอซิส มีแม่น้ำ และสัตว์ป่าขนาดใหญ่มากมายอาศัยอยู่ โดยปรากฏเป็นหลักฐานทางโบราณคดี คือ ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำของมนุษย์ในยุคนั้น[3]
ภูมิอากาศ
ทะเลทรายสะฮารา แม้จะได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ ที่ร้อนและแห้งแล้งที่สุดในโลก แต่ทว่าทะเลทรายแห่งนี้ก็ยังมีปรากฏการณ์หิมะตก ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 ที่เมืองอินเซฟรา ในแอลจีเรีย มีหิมะตก แต่ทว่าละลายไปในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงเท่านั้น จากนั้นอีก 37 ปีต่อมา ในปลายปี ค.ศ. 2016 ที่เมืองนี้ก็มีหิมะตกนับเป็นครั้งที่สอง โดยคราวนี้คงสภาพอยู่ได้ประมาณหนึ่งวัน ก่อนจะละลายหายไปในที่สุด[4] สรุปว่า ในปี ค.ศ 1979 - ปัจจุบัน (ค.ศ 2024) ทะเลทรายสะฮาราได้มีหิมะตกทั้งหมด 2รอบ แต่หิมะที่ตกในทะเลทรายสะฮารา โดยรวมจะอยู่ไม่ถึง 2 วัน เพราะว่า ละลายไปหมดก่อนจะถึง 2 วัน
อ้างอิง
- asdadawdwae Arab Conquest to 1830. Praeger, 1970.
- Abdallah Laroui. The History of the Maghrib: An Interpretive Essay. Princeton, 1977.
- Hugh Kennedy. Muslim Spain and Portugal: A Political History of al-Andalus. Longman, 1996.
- Richard W. Bulliet. The Camel and the Wheel. Harvard University Press, 1975. Republished with a new preface Columbia University Press, 1990.
- Eamonn Gearon. The Sahara: A Cultural History. Signal Books, UK, 2011. Oxford University Press, USA, 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น