ตำบลสระกะเทียม

ตำบลสระกะเทียม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Sa Kathiam
ประเทศไทย
จังหวัดนครปฐม
อำเภอเมืองนครปฐม
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด16.6 ตร.กม. (6.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[2]
 • ทั้งหมด7,180 คน
 • ความหนาแน่น432.53 คน/ตร.กม. (1,120.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 73000
รหัสภูมิศาสตร์730120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สระกะเทียม เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองธรรมชาติและคลองขุดชลประทานไหลผ่าน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ทำไร่ นา สวนมะพร้าวและมะม่วง) ที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง[3]

สระกะเทียมเป็นตำบลหนึ่งที่เคยอยู่ในการปกครองของอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จนกระทั่งใน พ.ศ. 2486 ทางราชการจึงได้โอนมาขึ้นกับอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม[4] ปัจจุบันท้องที่ตำบลทั้งตำบลอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสระกะเทียมซึ่งได้รับการยกฐานะจากเดิมที่เป็นสภาตำบลสระกะเทียมเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538[5]

ที่มาของชื่อ

ในอดีตมีผู้ขุดพบไหกระเทียม[6] หลายใบในสระน้ำสระหนึ่ง (ปัจจุบันอยู่ในเขตหมู่ที่ 3 บ้านปากสระ) ชาวบ้านในละแวกนั้นและละแวกใกล้เคียงจึงเรียกสระนั้นว่า "สระกะเทียม"[7] เมื่อมีการจัดตั้งตำบลก็เรียกท้องที่อันเป็นที่ตั้งสระนั้นว่า ตำบลสระกะเทียม

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตำบลสระกะเทียมตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองนครปฐม มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียงดังต่อไปนี้[8]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหนองอ้อ (อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี) และตำบลหนองดินแดง (อำเภอเมืองนครปฐม)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหนองดินแดงและตำบลวังเย็น (อำเภอเมืองนครปฐม)
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลดอนใหญ่ (อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี) และตำบลสวนป่าน (อำเภอเมืองนครปฐม)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลสวนป่าน (อำเภอเมืองนครปฐม) และตำบลหนองอ้อ (อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี)

การแบ่งเขตการปกครอง

ตำบลสระกะเทียมแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 14 หมู่บ้าน ได้แก่[1][8]

  • หมู่ที่ 1 บ้านลาดหญ้าแพรกตะวันออกหรือบ้านลาดหญ้าแพรก
  • หมู่ที่ 2 บ้านลาดหญ้าแพรกตะวันตกหรือบ้านลาดหญ้าแพรก
  • หมู่ที่ 3 บ้านปากสระ
  • หมู่ที่ 4 บ้านไร่
  • หมู่ที่ 5 บ้านต้นมะขาม
  • หมู่ที่ 6 บ้านบ่อน้ำเค็ม
  • หมู่ที่ 7 บ้านดอนมะยม
  • หมู่ที่ 8 บ้านใน
  • หมู่ที่ 9 บ้านดอนทราย
  • หมู่ที่ 10 บ้านหนองบัวลอย
  • หมู่ที่ 11 บ้านบ่อโรงเหล้า
  • หมู่ที่ 12 บ้านหมู่ใหญ่
  • หมู่ที่ 13 บ้านดอนพุทรา
  • หมู่ที่ 14 บ้านหลักประดู่

การคมนาคม

ถนนสายหลักในพื้นที่ตำบลสระกะเทียม ได้แก่

ถนนสายรองในพื้นที่ตำบลสระกะเทียม ได้แก่

  • ทางหลวงชนบท นฐ. 1003 สายแยกทางหลวงหมายเลข 4 (กม.ที่ 65+960) – บ้านหนองอ้อ
  • ทางหลวงท้องถิ่น นฐ.ถ 98-001 สายบ้านต้นมะขาม–บ้านดอนทราย

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. 1.0 1.1 องค์การบริหารส่วนตำบลสระกะเทียม. "ประวัติ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.srakathiam.go.th/history.php [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2563.
  2. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 อำเภอเมืองนครปฐม". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. องค์การบริหารส่วนตำบลสระกะเทียม. "สภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.srakathiam.go.th/condition.php [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2563.
  4. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดนครปถม พุทธสักราช 2486" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (7): 244–246. 2 กุมภาพันธ์ 2486.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (พิเศษ 6 ง): 1–63. 3 มีนาคม 2538. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2020-07-19.
  6. ไหกระเทียมคือไหดินเผาชนิดหนึ่ง มีหลายขนาด เดิมคงใช้บรรจุกระเทียมดองเป็นหลัก แต่ต่อมาได้นำมาใช้บรรจุของอย่างอื่นด้วย เช่น น้ำปลา น้ำผึ้ง เป็นต้น
  7. ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอเมืองนครปฐม. มหาวิทยาลัยคริสเตียน. "ภูมินามท้องถิ่นจังหวัดนครปฐม: อำเภอเมืองนครปฐม." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://service.christian.ac.th/ncc/Name_History_NakhonPathom/001.pdf เก็บถาวร 2020-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2563.
  8. 8.0 8.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (พิเศษ 63 ง): 18–89. 27 มิถุนายน 2543.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!